ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เกร็ดประวัติศาสตร์

ประวัติชีวิตซิม วีระไวทยะ "เพื่อนที่รัก และซื่อสัจจะ"

4
สิงหาคม
2567

 

Focus

  • ข้อเขียนของนายปรีดี พนมยงค์ ที่เขียนถึงประวัติชีวิตนายซิม วีระไวทยะอย่างละเอียดในหนังสือที่พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพนายซิม วีระไวทยะ วัดมกุฏกษัตริยาราม เมื่อ พ.ศ. 2486 โดยการเขียนเป็นแบบอักขรวิธีในยุคนั้น
  • นายซิม วีระไวทยะ คือผู้ที่นายปรีดี พนมยงค์ ทาบทามเข้ามาร่วมการอภิวัฒน์สยามนับตั้งแต่ที่นายปรีดีกลับมาจากสำเร็จการศึกษาเพียงไม่นานคือประมาณ พ.ศ. 2472-2473 ถือเป็นสมาชิกคณะราษฎรกลุ่มนักเรียนกฎหมายกลุ่มแรก ๆ ที่ได้รับการเชิญชวน โดยนายซิมตอบรับพร้อมกับนายสงวน ตุลารักษ์ที่จะเข้าร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนี้ และได้เข้าไปพบนายปรีดี ณ บ้านย่านสีลม นอกจากความสนใจในการเมือง กฎหมาย และการอภิวัฒน์แล้ว นายซิมยังสนใจการศึกษาปัญหาเศรษฐกิจและทฤษฎีสังคมวิทยาเศรษฐกิจ​ของคาร์ล ซี. ซิมเมอร์แมน จึงเป็นจุดตั้งต้นที่ทำให้สนทนากับนายปรีดีได้อย่างออกรสจนนำไปสู่ความสนิทสนมนับจากวัยหนุ่มตราบจนวาระสุดท้ายที่นายปรีดีเขียนบอกเล่าถึงประวัติชีวิตของนายซิมไว้อาลัยในหนังสืออนุสรณ์งานศพอย่างละเอียดสะท้อนถึงความสัมพันธ์อย่างสนิทแนบ และรู้จักกันอย่างชิดใกล้ทางความคิดและอุดมคติทำประโยชน์เพื่อบ้านเมือง 

 


นายซิม วีระไวทยะ

 

นายซิม วีระไวทยะ เกิดนะวันอาทิจ เดือน 8 ปีฉลู ตรงกับเดือนสิงหาคม พ.ส. 2444 ที่บ้านคลองบางยี่สูน ตำบนวัดเพลง อําเพอแม่น้ำอ้อม จังหวัดราชบุรี โดย นายสิงโต วีระไวทยะ เปนบิดา นางชุ่ม เปนมารดา เมื่อเยาว์ได้เข้าสึกสาภาสาไทยที่โรงเรียนสัทธาสมุทร จังหวัดสมุทรสงคราม จบชั้นประถมบริบูรณ์แล้วจึงได้เข้าสึกสานะโรงเรียนอัสสัมชัญ เมื่อวันที่ 15 พรึสภาคม พ.ส. 2459 แต่เรียนได้ 3 วันก็ป่วย ต้องพักการเรียนตลอดปี แล้วกลับมาสึกสาต่อและสอบไล่ได้ชั้นเตรียม เอ. ไนปลาย พ.ส. 2461 ข้ามชั้นหนึ่งไปเรียนชั้น 2 เมื่อ พ.ส. 2462 และเรียนต่อมาจนสอบไล่ได้ชั้น 6 เมื่อ พ.ส. 2466 แล้วขึ้นเรียนชั้น 7 ใน พ.ส. 2467 แต่เรียนไปได้ไม่เต็มปี โรงเรียนแต่งตั้งให้เปนครูของโรงเรียนนั้นเอง จึงต้องออกจากการเปนนักเรียนสามัญ และได้สมัคเข้าเปนนักเรียนกดหมายในโรงเรียนกดหมายกะซวงยุตติธัมไนปีนี้ด้วย

ไน พ.ส. 2469 สอบไล่วิชากดหมายได้ชั้นเนติบันทิตและเปนสามัญสมาชิกแห่งเนติบันดิตยสภา จึงได้ลาออกจากตําแหน่งครูโดยได้รับอนุญาตเปนทนายความชั้นที่ 1 และเข้าร่วมอยู่ในสํานักงานทนายความ “ผดุงธัม” ซึ่งมี พ.อ. สุวรรน เพ็นจันท์ (ขุนวิสุทธจรรยา) และนายทองอินทร์ อุดล เป็นผู้เริ่มจัดตั้ง และนายสงวน ตุลารักส์ ได้ร่วมอยู่ในสํานักงานนี้ด้วย

ฉันได้รู้จักนายซิมเมื่อ พ.ส. 2470 พายหลังที่ฉันได้กลับจากการสึกสาวิชานะประเทศฝรั่งเสสแล้ว ไนระหว่างนั้นฉันกําลังเสาะหาผู้ที่มีความคิดร่วมไนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้รับซาบจากนายกลึง พนมยงค์ (หลวงอรรถกิจกำจร) ว่ามีเนติบันดิต พวกผดุงธัมหยู่คนะหนึ่ง ซึ่งเคยได้สนทนาถึงการที่หยากจะเปลี่ยนการปกครองโดยไห้ประเทสไทยได้ปกครองตามระบอบรัถธัมนูญ ฉันจึงได้ทําความรู้จักกับทนายความไนสํานักนี้ และทาบทามดูลาดเลาตลอดมา ก็ได้ความสมจิงว่า สํานักนี้มีวี่แววไปไนทางที่ต้องการ นายซิมและคนะผดุงธัมได้จัดการหาสมัคพัคพวกโดยสอนทบทวนวิชากดหมายไห้แก่นักเรียนกดหมายซึ่งสอบไล่เปนเนติบันดิตได้ประมาน 30 คน

ไน พ.ส. 2473 ผู้ที่ร่วมสํานักงานผดุงธัมได้แยกไป รับราชการเป็นผู้พิพากสาบ้าง ประกอบอาชีพส่วนตัวหย่างอื่นบ้าง นายซิมจึงได้แยกไปตั้งสํานักงานทนายความส่วนตัวนะที่บ้านไนเวิ้งท่ากลาง จังหวัดพระนคร ฉะนั้น เพื่อนร่วมสํานักงานที่ยังคงหยู่ไนกรุงเทพฯ คงเหลือแต่นายสงวน ตุลารักส์กับนายซิม ไนปลายปีนี้ เมื่อได้ตกลงกับนายสงวน ตุลารักส์เปนที่เรียบร้อยถึงการที่จะเข้าร่วมเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว

ฉันได้ไห้นายสงวน ตุลารักส์ เชินตัวนายซิมไปพบกับฉันที่บ้านถนนสีลม ไนการสนทนากับนายซิมครั้งนี้ นายซิมได้ถามฉันว่า เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเส็ดแล้ว จะดําเนินการเสถกิจของประเทสไนรูปได้ ฉันจึงได้ชี้แจงไห้ชายตามแนวที่ได้ตกลงไนระหว่างพวกก่อการ และได้แนะนําไห้นายซิมไปค้นคว้าและสึกสาวิธีการที่จะช่วยประเทสชาติไนทางเสถกิจ พร้อมทั้งไห้ไปชักชวนหาสมัคพัคพวกต่อไปตามกติกาของคนะก่อการ

ครั้นถึงกําหนดที่จะลงมือกะทําการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงได้กําหนดแยกหน้าที่ว่าผู้ไดทําหน้าที่อะไร นายซิมได้รับหน้าที่ไห้ทําการร่วมกับฝ่ายทหาน ซึ่งพนะท่านจอมพล ป. พิบูลสงครามได้กําหนดไห้ไปทําการร่วมกับพนะท่าน พ.อ. ช่วง ชเวงสักดิสงคราม

ไนวันที่ 25 มิถุนายน 2475 พายหลังที่คนะราสดรได้อํานาดการปกครองแล้ว คนะราสดรได้เชินเสนาบดีและปลัดทูลฉลองมาประชุมนะพระที่นั่งอนันตสมาคม ฉันได้ไห้นายซิมเข้ามาร่วมประชุมและจดรายงาน ทําหน้าที่เสมือนเลขาธิการเสนาบดีสภา ดังปรากดไนสําเนารายงานการประชุม ซึ่งได้โคสนาไนวันที่ 25 มิถุนายน 2475 นับตั้งแต่วันนั้นมา นายซิมพร้อมด้วยพวกก่อการฝ่ายพลเรือนบางคนก็ได้ช่วยเหลือการงานไนหน้าที่พลเรือนของคนะราสดรจนได้รับพระราชทานรัถธัมนูญฉบับชั่วคราวแล้ว นายซิมก็ได้รับแต่งตั้งให้เปนสมาชิกสภาผู้แทนราสดรผู้หนึ่งไนสมัยแรกนี้ด้วย

แม้นายซิมจะหยู่ไนเกนท์ที่อาดได้รับเลือกให้เปนผู้พิพวกสาฝึกหัดไนถานะที่เปนเนติบันดิตและทนายความชั้นที่ 1 มากกว่า 5 ปี ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตุลาการไนเวลานั้น แต่นายซิมได้สแดงความจํานงต่อฉันว่า ยังไม่ประสงค์ที่จะเข้าทําราชการไนขนะนั้น เพราะหยากจะดําเนินชีวิตในทางการเมือง โดยเวลานั้นมีคนะการเมืองพัคอื่นกําลังจะก่อกําเหนิดขึ้น ก็จําเปนที่จะต้องมีบุคคลไนคณะราสตรคอยต่อสู้ไนด้านการเมืองโดยวิถีอันชอบธัม เวลานั้นเปนที่ปรากดว่า มีบุคคลบางคนไนคนะการเมืองอื่นได้ไช้หนังสือพิมพ์เปนเครื่องมือเขียนข้อความไปไนทํานองยุยงส่งเสิมที่จะไห้มหาชนเข้าไจผิดไนคณะราสดร อันสามาถอาดที่จะนําความไม่สงบเรียบร้อยมาสู่บ้านเมืองได้

นายซิมจึงได้ตั้งหนังสือพิมพ์รายวันขึ้นฉบับหนึ่ง ไห้ชื่อว่า "หนังสือพิมพ์สจฺจํฯ" ทำหน้าที่คอยโต้ตอบกับบทความหรือข้อความซึ่งบุคคลไนคนะการเมืองอื่นนั้นได้เขียนหรือตําหนิคนะราสดร หรือตําหนิรัถบาลในเวลานั้นโดยไม่เปนธัม และเขียนบทความคิดเห็นไนทางเสถกิจต่าง ๆ ที่เห็นว่าจะเปนประโยชน์ต่อประเทสชาติ แต่เวลานั้นเปนสมัยที่โลกหวาดสดุ้งไนเรื่องภัยคอมมิวนิสต์ ความคิดเห็นไนหนังสือพิมพ์สจฺจํฯ ก็ดี ข้อความที่โต้ตอบกับความเห็นของบุคคลบางคนไนคนะการเมืองอื่นก็ดี ยังเกิดทําไห้มีการถูกป้ายสีตั้งแต่สีเรื่อ ๆ จนกะทั่งแดงจัดขึ้นทุกวัน ไนที่สุด ก็เกิดมีการเข้าใจผิด หาว่าเปนคอมมิวนิสต์โดยผสมผเสเหตุผลหลายหย่างจนกะทั่งเทียบชื่อหนังสือพิมพ์สจฺจํฯ ว่าตรงกับหนังสือพิมพ์ Pravda ของโซเวียต

ไนการที่ไห้ชื่อหนังสือพิมพ์ของนายซิมว่าสจฺจํฯ ก็เพราะนายซิมได้มาปรึกสาฉันว่า ข้อความที่หนังสือพิมพ์บางฉบับได้ตําหนิการกะทําของคนะราสดรและรัถบาลไนขณะนั้น ไม่เปนความจิง บางเรื่องก็เปนการเสกสันกล่าวแกล้งขึ้น นายซิมหยากจะต่อสู้ด้วยความจิง ฉะนั้น จึงขอไห้ฉันคิดชื่อหนังสือพิมพ์ไปไนถ้อยคําที่เกี่ยวกับความจิง ฉันนึกได้ว่า มีพุทธภาสิตบทหนึ่งที่ว่า สจฺจํ เว อมตา วาจา (ความสัจแลเป็นวาจาไม่ตาย) จึงไห้ชื่อว่า สจฺจํฯ โดยหวังว่าเปนสําเนียงที่เร้าไจและเหมาะสมด้วยพุทธภาสิต หาไช่แผลงหรือจําแลงมาจากหนังสือพิมพ์ Pravda ของโซเวียตไม่

นายซิม วีระไวทยะ เปนผู้เลื่อมไสไนพระพุทธศาสนา และมีความเห็นไนทางที่จะช่วยแพร่พระพุทธสาสนาให้มหาชนเข้าใจในหลักธัมที่ถูกต้องแน่แท้ จึงได้ปรึกสากับมิตรสหายและสมนะบางรูป และพร้อมไจกันจัดตั้งพุทธมามะกะสมาคมขึ้น

ทั้งหนังสือพิมพ์สจฺจํฯ และทั้งพุทธมามะกะสมาคม ซึ่งนายซิมได้มีส่วนเกี่ยวข้องหยู่ด้วยนี้ ก็ทําไห้เกิดความเข้าไจผิดสงสัยไปไนทํานองที่จะเปนบ่อเกิดช่วยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ นายกรัถมนตรีไนสมัยนั้นได้ขอร้องไห้เลิกหนังสือพิมพ์สจฺจํฯ เสีย นายซิมก็ยอมตกลงเลิก ส่วนพุทธมามะกะสมาคมก็ต้องเลิกไนเวลาต่อมาไม่ช้า

นายซิม คงกลับไปประกอบอาชีพส่วนตัวจนมีการปิดสภาผู้แทนราสดร และเมื่อผู้ก่อการเปิดสภาผู้แทนราสดร ไนวันที่ 20 มิถุนายน พ.ส. 2476 ได้กะทําการสําเหร็ดแล้ว นายซิมได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนแล้วราสดร และประกอบอาชีพส่วนตัวตามเดิม

ไนระหว่างปราบปรามกบถ พ.ส. 2476 นายซิมได้อาสาพร้อมด้วย พวกก่อการฝ่ายพลเรือนต่อท่านผู้บัญชาการทหานและท่านผู้บังคับกองผสมไปทําการรบ และได้รับมอบหมายหน้าที่จากท่านผู้บังคับกองผสมไห้ปฏิบัติหน้าที่ไนสนามด้วย

ไนปลายปี พ.ส. 2476 พายหลังที่ได้มีการจัดตั้งรัถบาลไหม่ตามระบอบรัถธัมนูญแล้ว นายชิ้น จารุวัสตร์ (พระสารสาสน์ประพันธ์) ได้รับตําแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกะซวงสึกสาธิการ (กะซวงธัมการเดิม) ต่อมาเปนรัฐมนตรีว่าการกะซวงนั้น ได้มาปรารภกับฉันถึงการที่จะจัดทําหลักสูตรการสึกสาสําหรับชั้นประถมไหม่ พร้อมทั้งคิดที่จะทําตําราเรียนด้วย จึงประสงค์หยากได้พวกก่อการที่เคยเป็นครูมาสักคนหนึ่ง เพื่อไปช่วยเหลือไนการนี้ ฉันจึงนึกขึ้นได้ว่า นายซิมเคยเปนครูมาก่อน พอที่จะรับใช้ราชการตามที่รัฐมนตรีผู้นั้นพึงประสงค์ได้คนหนึ่งรัถมนตรีผู้นั้นก็ยินดี นายซิมก็สมัคที่จะไปช่วยโดยถือว่า เปนงานเพียงครั้งคราว ไม่ขอรับเปนตําแหน่งประจํา ขอไห้เปนประเภทลูกจ้าง เมื่อเส็ดงานแล้วก็ดี หรือทางกะซวงไม่พอไจหย่างไดก็ดี ก็พร้อมที่จะออกได้ทุกเมื่อและเปนการสดวกไจด้วยกันทั้งสองฝ่าย แต่ขอซาบความประสงค์ว่าแนวแห่งการศึกษาจะดําเนินไปในทางใด

ฉันจึงได้สนทนากับรัถมนตรีผู้ที่กล่าวนามข้างต้นถึงเรื่องแนวแห่งการศึกษา ก็เห็นพร้อมกันว่ารากถานแห่งการสึกสา ซึ่งจะวางมาจากชั้นประถมนั้น ก็ชอบที่จะวางหลักไว้ 3 ประการ คือธัมชาติ การงาน และสมาคม กับทั้งจะต้องหาวิถีทางที่จะฝึกเด็กตั้งแต่ชั้นประถมไห้ชอบค้นคว้าสอบสวนหาความรู้ตามกําลังสติปัญญาของตนมาแต่ต้นด้วย

นายซิมก็พอใจในแนวความคิดนี้ จึงได้รับมอบหมายหน้าที่จากรัถมนตรีผู้นั้นไห้ค้นคว้าเทียบเคียงกับตําราที่ไช้ไนประเทสไนเอเชียตวันออก เพื่อนํามาเทียบเคียงดัดแปลงไห้สมแก่สภาพที่จะไช้ไนประเทศไทย นายซิมได้ไห้ผู้ที่รู้ภาสาจีนและภาสาญี่ปุ่นเข้าช่วยค้นคว้าและทําการแปลตำราที่ไช้ไนโรงเรียนประถมของประเทสเหล่านั้น

ไนการค้นคว้าตําราเหล่านี้ปรากดว่า ประเทสไนเอเชียตวันออกบางประเทสได้จัดไห้มีตําราวิชาการหลายหย่างหลายชนิดสําหรับหอสมุดนักเรียนชั้นประถม เพื่อนักเรียนชั้นประถมจะได้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ตามความสมัคที่ผู้ไดต้องการจะได้ความรู้เพิ่มเติมก็จะทําได้นอกจากตําราที่ไช้ในหลักสูตร หรือเมื่อเรียนจบหลักสูตรประถมสึกสาแล้วไม่ประสงค์จะเรียนต่อไปไนชั้นมัธยมก็อาจจะหาความรู้เพิ่มเติมได้ นายซิมโดยอนุมัติของรัถมนตรีผู้นั้นจึงจัดทําตําราชนิดที่กล่าวข้างต้น

ไนปี พ.ส. 2477 ประเทสญี่ปุ่นจัดไห้มีการประชุมยุวพุทธมามะกะของชนชาวเอเชีย อุปทูตยี่ปุ่นนะกรุงเทพฯ จึงได้มาหาฉันที่กะซวงมหาดไทย แจ้งความจํานงว่า ขอไห้ฉันเป็นผู้เลือกผู้ที่จะไปประชุมแทนยุวพุทธมามะกะไนประเทสไทย ฉันจึงได้จัดเลือกให้ตามความประสงค์ของอุปทูตย์ยี่ปุ่น โดยมีนายซิมรวมอยู่ด้วยผู้หนึ่ง เพราะเห็นว่าเปนผู้ที่เคยดําริตั้งพุทธมามะกะสมาคมมาครั้งหนึ่ง มีความเข้าไจไนพระพุทธสาสนาพอสมควน กับทั้งจะได้เปนโอกาสที่จะไปดูงานการสึกสาไนประเทศยี่ปุ่นและประเทสต่าง ๆ ไนบูรพทิส เพื่อนํามาไช้เปนประโยชน์ไนหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากรัถมนตรีว่าการกะซวงสึกสาธิการ

นายซิมได้เดินทางไปประเทสยี่ปุ่น เส็ดแล้วได้ไปประเทสเกาหลี ประเทสแมนจู ประเทสจีน แล้วเดินทางกลับ ประเทสไทย โดยผ่านอินโดจีน

เมื่อได้กลับมาประเทศไทยแล้ว ได้จัดทําตําราที่ได้ตั้งต้นไว้ต่อไป ซาบว่าตําราที่ได้จัดทําขึ้นเส็ดไปแล้วมีไม่น้อยกว่า 40 เรื่อง 40 เรื่อง ฉันได้เคยอ่านบางเล่มเห็นข้อความกะทัดรัด ไช้ภาสาง่าย ๆ เหมาะแก่ภาวะของนักเรียนชั้นประถม แต่กะซวงสึกสาธิการยังมิได้พิจารนา นายซิมก็ได้ลาออกจากหน้าที่ในปี พ.ส. 2477 นี่เอง โดยกลับไปประกอบอาชีพอิสระอีก

ครั้นถึงวันที่ 1 มกราคม 2477 นายซิมสมัคเข้ารับราชการไนกะซวงยุตติธัม ตามสิทธิไนกดหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตุลาการไนเวลานั้น โดยได้รับตําแหน่งเปนผู้ช่วยตุลาการตรี ฝึกหัดวิธีพิจารนาพิพากสาคดีที่สาลโปริสภาที่ 1 และได้เปนผู้ช่วยตุลาการเอก เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2477 รับพระราชทานเงินเดือน 100 บาท และได้รับแต่งตั้งเปนผู้พิพากสาในกะซวงยุตติธัม รับพระราชทานเงินเดือนในอัตราตุลาการ อันดับ 4 เดือนละ140 บาท ในวันที่ 1 เมสายน 2478 และคงปฏิบัติราชการหยู่ที่สาลโปริสภานั้น

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2478 ย้ายมารับราชการที่สาลอาญา เมื่อวันที่ 1 เมสายน 2479 ได้เงินเดือนขึ้นเปนเดือนละ 150 บาท ครั้นถึงวันที่ 13 สิงหาคม พ.ส. 2479 กะซวงยุตติธัมได้มีคําสั่งไห้ไปช่วยราชการที่สาลจังหวัดสมุทรปราการชั่วคราว 

ไนปี พ.ส. 2479 นี้ อัครราชทูตอังกริด นะกรุงเทพฯ ได้มาหาฉันที่กะซวงการต่างประเทส โดยปรารภว่าสมาคมเหมืองแร่ไทยเวลานั้นตั้งหยู่ที่ปีนัง และมีเลขานุการเปนบริสัททนายความอังกริด อัครราชทูตมีความเห็นว่า จะไห้สมาคมเหมืองแร่ไทยมาตั้งไนประเทสไทย และมีทนายความไทยเปนเลขานุการ จึงถามว่า ฉันจะมีความเห็นประการได ฉันจึงตอบว่า ก็เปนการสมควนแล้ว เพราะเปนสมาคมเหมืองแร่ไทย จะไปตั้งสํานักงานไหย่ หยู่ที่ต่างด้าวเปนการไม่สมควน ส่วนเลขานุการประจํานั้นก็ควนที่จะไห้คนไทยได้เปนเลขานุการประจํา เพราะไนประเทศไทยก็มีทนายความที่สามาถหยู่มาก อัครราชทูตจึงขอร้องฉันว่า ขอไห้หาทนายความไห้สักคนหนึ่งที่จะแนะนําไปยังสมาคมเหมืองแร่ เพื่อพิจารณาไห้เปนเลขานุการ

ฉันขอผลัดไปตรึกตรองดูก่อน แล้วฉันจึงได้ไห้นายซิมมาพบ แจ้งข้อความตามที่สนทนากับอัครราชทูตอังกริด และถามความสมัคไจนายซิมว่า จะสมัคลาออกจากราชการโดยกลับมาตั้งสํานักงานทนายความ และสมัคเปนเลขานุการสมาคมเหมืองแร่ไทย นายซิมตกลงขอไห้ฉันแจ้งชื่อไปยังอัครราชทูตอังกริดว่า ถ้าสมาคมเหมืองแร่ตกลงหลักการที่จะไห้นายซิมเปนเลขานุการสมาคมเหมืองแร่แล้ว ก็จะลาออกจากราชการกลับมาประกอบอาชีพทนายความ และเปนเลขานุการไห้สมาคมพายหลังที่อัครราชทูตอังกริดได้ตกลงไนหลักการแล้ว

นายซิมก็ได้ลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ส. 2479 แล้วตั้งสํานักงานทนายไห้ชื่อว่า วีระ จัดตั้งสํานักงานขึ้นบนตึกธนาคารกวางตุ้ง ถนนเยาวราช จังหวัดพระนคร และจัดแต่งสํานักงานไห้เปนสถานที่สําหรับสํานักงานสมาคมเหมืองแร่ไทยขึ้นด้วย โดยได้รับแต่งตั้งเปนเลขานุการสมาคมเหมืองแร่ไทยตามที่ตกลง สํานักงานนี้ต่อมาได้มีนายฟุ้ง วรรธนะสาร ผู้พิพากสาได้ลาออกมาทํางานร่วมหยู่ด้วย

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ส. 2481 นายซิมได้รับเลือกตั้งไห้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราสดร ประเภท 2 อีกครั้งหนึ่ง และได้ดํารงตําแหน่งนี้ต่อมาจนถึงแก่ก้ม ไนระหว่างที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราสดรครั้งหลังนี้ ได้รับแต่งตั้งไห้เปนกัมมาธิการสามัญ และวิสามัญชุดต่าง ๆ หลายครั้ง

เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ส. 2481 ได้รับตั้งเปนเทสมนตรีนครกรุงเทพฯ และดํารงตําแหน่งนี้มาจนถึงวันที่ 1 พรึสภาคม พ.ส. 2493 แต่คนะเทสมนตรีนครกรุงเทพฯ เห็นว่า นายซิมเปนผู้ที่เข้าใจการงานของเทสบาลนครกรุงเทพฯ หยู่ก่อนแล้ว อาจที่จะช่วยเหลือเป็นประโยชน์ไนการงานของเทสบาลได้ จึงขอร้องไห้นายซิมคงช่วยเหลือกิจการของเทสบาลนั้น โดยจะแต่งตั้งไห้เป็นที่ปรึกสา นายซิมก็ยอมรับ และดํารงตําแหน่งนี้จนถึงแก่กัม

ไนส่วนการงานของสโมสรคนะราสดรนั้น นายซิมก็ได้ช่วยเหลือกิจการของสโมสรและได้รับเลือกตั้งไห้เปนกัมการไนตอนหลังนี้ด้วย

สํานักงานวีระได้มีความจเรินและมีรายได้มาก โดยเหตุที่นอกจากเปนเลขานุการสมาคมเหมืองแร่เปนส่วนรวมแล้ว บริสัทเหมืองแร่ต่างด้าวหลายบริสัทได้จ้างไห้เป็นทนายความประจําไนประเทสไทยเปนรายบริสัทอีกหลายบริสัทด้วย แม้นายซิมจะได้เปนเลขานุการ และเปนทนายความประจําบริสัทเหมืองแร่นั้น ได้ไห้คํามั่น ต่อฉันหยู่เสมอว่า ได้ถือคติว่าระวังผลประโยชน์ของประเทสชาติเปนส่วนใหญ่ ไม่ไช่แต่จะระวังผลประโยชน์ของบริสัทต่างด้าวแต่ฝ่ายเดียว กิจการของสํานักงานได้ดําเนินเปนผลดีตลอดมา และได้รับว่าความคดีใหม่หลายเรื่อง ทั้งได้รับการปรึกสาไนการตั้งห้างหุ้นส่วนบริสัท

เมื่อธนาคาร โอเวอร์ซีไชนีส สาขากรุงเทพฯ จะเลิกทําการไนประเทศไทย และผู้ก่อการธนาคารแห่งเอเชียฯ รับซื้อสํานักงานของธนาคาร โอเวอร์ซีไชนิส โดยหวังที่จะสงวนลูกค้าชาวจีนไว้ไนธนาคารของไทยนั้น ก็ได้มอบไห้สํานักงานวีระเปนเลขานุการของผู้ก่อการบริสัท คงเป็นเลขานุการกัมการธนาคารหยู่ตลอดมาจนบัดนี้ ต่อมาเมื่อมีการก่อตั้งบริสัทไทยนิยมพานิช จํากัด ผู้ก่อการบริสัทก็ได้ไห้นายซิมเป็นผู้ไห้คําปรึกษาในการจัดตั้งบริสัทด้วยผู้หนึ่งและยังมีอีกหลายบริสัทที่นายซิมได้มีส่วนร่วมไนการจัดตั้ง และให้คําปรึกสาไนการจัดตั้งบริสัทด้วย เช่น บริษัทไทยเดินเรือทเล จํากัด บริสัทเรือไทย จํากัด บริสัทธนาคารนครหลวง จํากัด บริสัทจังหวัดต่าง ๆ บริสัท ประกันคุ้มภัย จํากัด บริสัท ไทยประกันชีวิต จํากัด ฯลฯ เหล่านี้เปนต้น

พายหลังที่สํานักงานวีระได้มีความจเรินในทางทนายความแล้ว นายซิมได้จัดตั้งบริษัทวีระ จํากัด เพื่อดําเนินกิจการไนทางการค้าและการอุสาหกัม ต่อมาได้จัดตั้งบริสัท วิสวกัมไทย จํากัด เพื่อรับเหมาทําการก่อส้าง จัดตั้งบริสัท วีระพานิช จํากัด ทำการค้าที่สําคันหลายอย่าง เช่นการค้ามะพร้าว และส่งของที่มีกําเนิดในประเทสไทยไปขายไนต่างด้าว ได้จัดตั้งบริสัทวีระทอผ้า จํากัด ซึ่งทําการทอผ้าด้วยเครื่องจักรแบบทันสมัย จัดตั้งบริสัท แก่งคอย จํากัด ทําการโรงสีและค้าข้าว จัดตั้งบริสัทวิโรจน์ จํากัด ทําการฟอกหนัง จัดตั้งบริสัท วีระประกันภัย จํากัด เพื่อรับประกันอุปัทวอันตราย

และเมื่อก่อนเกิดสงครามมหาอาเซียบูรพา ได้จัดตั้งสํานักงานสาขาในการค้าที่สิงคโปร์และเซี่ยงไฮ้ และนายซิมยังคิดที่จะเช่าเรือเดินทเลได้เจรจาทาบทามไว้แล้ว เพื่อที่จะทําการขนส่งระหว่างประเทสไทยกับประเทสที่ใกล้เคียงในตะวันออกอีกด้วย แต่ยังมิทันจะได้ดําเนินการไป ก็ผเอินเกิดสงครามมหาอาเซียบูรพา

เนื่องด้วยการงานของนายซิมมีมากมายหลายอย่าง ต้องไช้ความคิดและทําการงานไม่ค่อยมีเวลาว่าง จึงทําไห้สุขภาพส่วนร่างกายซุดโซมลงไป เมื่อก่อนที่จะป่วยครั้งสุดท้ายนี้ นายซิมก็ได้เคยปรารภกับญาติมิตรว่า หยากจะพักผ่อนจากการงานโดยมอบให้กัมการหรือผู้ที่จะแต่งตั้งให้เปนกัมการของบริสัทคงดําเนินกิจการไป

คล้ายมีอะไรมาสังหรณ์ไห้รู้สึกถึงอวสานแห่งชีวิต มีญาติผู้ไหญ่ของนายซิมผู้หนึ่งเล่าว่า เมื่อก่อนที่นายซิมจะเจ็บป่วยคราวนี้ ญาติผู้นั้นได้นําวัตถุที่จะทดลองทําไฟเบอร์มาไห้ตามที่นายซิมเคยขอร้องไว้ แต่นายซิมได้แจ้งต่อญาติผู้นั้นว่า นายซิมรู้สึกว่า นายซิมจะถึงซึ่งความมรนะ ขอให้ระงับเรื่องนี้ไว้ก่อน ญาติผู้นั้นจึงกล่าวค้านว่า ยังหนุ่มแน่นหยู่และยังเห็นดี ๆ หยู่ จะตายไปก่อนได้หย่างไร

เมื่อวันที่ 15 พรึสจิกายน พ.ส. 2486 นายซิมเริ่มเป็นฝีที่ก้นย้อยข้างขวา อาการเมื่อครั้งเริ่มเปนไม่หนักหนาประการได แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 20 เดือนเดียวกันนั้น เวลาเช้าประมาน 10 นาลิกา นายซิมได้ไห้นายฟุ้ง วรรธนะสาร นําซองผนึกประทับตรามามอบให้ฉันซองหนึ่ง โดยสั่งนายฟุ้งมาบอกฉันว่า นายซิมได้ทําพินัยก้มไว้ไนเช้าวันนั้นฉบับหนึ่ง และมอบให้ฉันช่วยรักสาพินัยกัมนั้นไว้ เมื่อพายหลังวายชนม์แล้วก็ขอให้แจ้งต่อทายาทให้ปติบัติตามพินัยกัมนั้น

ฉันสอบถามจากนายฟุ้งว่า เหตุไดจึงด่วนทําพินัยกัม ก็ได้รับตอบว่า นายซิมรู้สึกว่าสังขารเปนของไม่เที่ยง และได้เชินนายแพทย์ประจักส์ ทองประเสิด ไปตรวจดูอาการแล้ว แนะนําไห้มาโรงพยาบาลทันทีในวันนั้น จึงได้ทําพินัยกัมไว้เสียไห้เรียบร้อยจะดีกว่า ฉันจึงรู้สึกว่า เมื่อเปนผีชนิดที่นายแพทย์ไห้รีบไปหยู่โรงพยาบาลโดยทันทีแล้ว อาการป่วยก็คงนับว่าสําคันมากหยู่ จึงได้ไปเยี่ยมที่โรงพยาบาลในวันนั้น เมื่อพบนายซิม ๆ ก็บอกต่อฉันอีกว่า ที่ททำพินัยกัมไว้ เพราะสังขารเปนของไม่เที่ยง จะตายลงทันทีทันไดก็รู้ไม่ได้

ฉันสอบถามอาการป่วยจากนายแพทย์ ได้รับตอบว่า โลหิตเกิดเป็นพิสขึ้น นายแพทย์ได้พยายามรักสาเป็นหย่างดี แต่การเชินนายแพทย์ไปตรวจอาการนั้นช้าไป แม้นายแพทย์จะได้พยายามรักสาสุดความสามาถไนตอนหลังนี้ อาการก็มีแต่ซงและซุดลงไป ฉันได้ไปเยี่ยมทุกวัน ไนวันที่ 23 พรึสจิกายน พ.ส. 2486 ซึ่งอาการซุดมากแล้ว เมื่อฉันเข้าไปพบ นายซิมยังปรารภอีกว่า “ถึงผมเจ็บหนักเช่นนี้ ก็อดเปนห่วงบ้านเมืองไม่ได้" ต่อมาเมื่อก่อนถึงแก่กัมราว 2 ชั่วโมง ซึ่งเวลานี้นายซิมพูดไม่ได้เรื่องแล้ว ฉันได้เข้าไปหาที่ข้างเตียง เมื่อเห็นฉันก็ยังอุส่าห์ประนมมือ ซึ่งฉันเข้าใจว่า เปนการสแดงขออําลา เปนวาระสุดท้าย ทําให้ฉันรู้สึกสงสารและอาลัยในการที่เพื่อนที่รักและซื่อสัจจะต้องจากกันไปเปนหย่างยิ่ง

อาการป่วยของนายซิมได้กําเริบมากขึ้นและถึงแก่กัมเมื่อเวลา 13.25 นาลิกา แห่งวันที่ 25 พรึสจิกายน พ.ส. 2486 ได้ นำสพกลับมาบ้านในวันนั้นเอง และวันที่ 26 พรึสจิกายน พ.ส. 2486 พระราชทานน้อาบศพ และพระราชทานหีบทองลายสลักเป็นเกียรติยศ ซึ่งนับว่าเปนพระมหากรุนาธิคุณแก่นายซิมและบันดาญาติมิตรทั้งหลาย

นายซิมได้สมรสกับนางจิ้มลิ้ม วีระไวทยะ บุตรนายเอม อมาตยกุล (หลวงเสน่ห์นรริทธิ์) มีบุตรธิดาด้วยกัน 8 คน ยังมีชีวิตหยู่ 7 คน คือ

1. นายวีระ วีระไวทยะ เกิด พ.ส. 2472

2. ด.ช. ไวทยะ วีระไวทยะ เกิด พ.ส. 2473

3. ด.ย. สมนึก วีระไวทยะ เกิด พ.ส. 2475

4. ด.ย. วาสนา วีระไวทยะ เกิด พ.ส. 2478

5. ด.ย. ยุพา วีระไวทยะ เกิด พ.ส. 2480

6. ด.ย. เพิ่มโภค วีระไวทยะ เกิด พ.ส. 2482

7. ด.ย. วัชรินทร์ วีระไวทยะ เกิด พ.ส. 2485

การวายชนม์ของนายซิมได้นําความเส้าโสกมาสู่บันดาญาตทั้งหลาย ซึ่งต่างก็มีความเสียดาย และฉันไม่มีถ้อยคําอันไดที่จะพรรนาอาลัยยิ่งไปกว่าถ้อยคําที่บันดาท่านทั้งหลายได้ช่วยเขียนมาลงพิมพ์ในหนังสือเล่มนี้ ฉันจึงขอร่วมในถ้อยคําอาลัยของท่านทั้งหลายนั้นด้วย

สังขารทั้งหลาย ย่อมเปนของไม่เที่ยง ตามพุทธวจนะ ซึ่งนายซิมได้ระลึกและปรารภเมื่อก่อนถึงแก่กัม

บุณไห้เกิดสุขไนเวลาสิ้นชีวิต ดั่งพุทธภาสิตที่ว่า

ปุณฺญํ สุขํ ชิวิตปุสงฺขยมฺหิ

ขอผลกุศลบุญราสีซึ่งนายซิม กะทําไว้แล้วแต่หนหลัง จงดนบันดานไห้นายซิมได้ประสบสุขไนสัมปรายภพทุกประการ เทอน.

วันที่ 12 ธันวาคม พ.ส. 2486
ปรีดี พนมยงค์

 

 

หมายเหตุ:

  • ข้อเขียนนี้นายปรีดี พนมยงค์ ได้เขียนไว้ในหนังสือที่พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพนายซิม วีระไวทยะ วัดมกุฏกษัตริยาราม เมื่อ พ.ศ. 2486 การเขียนเป็นแบบอักขรวิธีในยุคนั้น

 

ภาคผนวก: 

หนังสืออนุสรณ์งานศพของนายซิม วีระไวทยะ