Focus
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 24) นายปรีดี พนมยงค์ กล่าวถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่นายประยูรฯ เขียนไว้กรณีที่บิดเบือนเรื่องราวในช่วงก่อตั้งคณะราษฎรภายใต้แนวคิดนิยมเผด็จการนาซีและลัทธิเจ้าขุนมูลนายโดยได้นำไปเสนอต่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดาทั้งยังปรากฏต่อมาว่านายประยูรได้นิยมลัทธิทหารของจอมพล ป. พิบูลสงคราม
- ที่มาของหลักฐานประวัติศาสตร์ชุดนี้ เนื่องมาจากในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2523 นายปรีดี พนมยงค์ ได้มอบอํานาจให้นางสาวนวลจันทร์ ณ ป้อมเพชร เป็นโจทก์ยื่นฟ้องกระทรวงศึกษาธิการที่ 1 ห้างหุ้นส่วนจํากัดบรรณกิจเทรดดิ้งที่ 2 เป็นจําเลยต่อศาลแพ่ง เรื่อง ละเมิดหมิ่นประมาทไขข่าวแพร่หลายต่อหนังสือชีวิต 5 แผ่นดินของข้าพเจ้า โดยประยูร ภมรมนตรี ซึ่งการฟ้องร้องคดีความฯ ของนายปรีดีถือเป็นการยืนยันสัจจะทางประวัติศาสตร์ให้ปรากฏโดยในเนื้อหาของคำฟ้องคดีความฯ ต่อหนังสือชีวิต 5 แผ่นดินของข้าพเจ้าคดีความฯ ได้สิ้นสุดลงเมื่อศาลแพ่งได้พิพากษาในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 ตามหนังสือประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจําเลยและนายปรีดีไม่ได้ฟ้องร้องคดีต่อนายประยูร ภมรมนตรี ด้วยปรารถนาจะประกาศสัจจะทางประวัติศาสตร์และเผยแพร่ข้อเท็จจริงของการก่อตั้งคณะราษฎรและประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ถูกบิดเบือนไป
19.3.
หวาดระแวงพล.ท.ประยูร ฟื้นลัทธิเจ้าขุนมูลนายและทรรศนะเผด็จการภายหลัง 24 มิถุนาฯ
ภายหลัง 24 มิถุนายน 2475 แล้ว ร.ท. หรือรองอำมาตย์เอกประยูรฯ ได้แสดงถึงการฟื้นลัทธิเจ้าขุนมูลนายและลัทธิเผด็จการทหารกับเผด็จการนาซีให้ประจักษ์ ดังต่อไปนี้
(1)
ฟื้นลัทธิเจ้าขุนมูลนาย
ภายหลังที่พล.ท.ประยูรฯ ได้เป็นเลขาธิการคณะกรรมการราษฎร (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเลขาธิการคณะรัฐมตรี แล้วท่านได้มีการปฏิบัติตามที่ท่านเขียนไว้ในหนังสือของท่านหน้า 209-210 ดังต่อไปนี้
เป็นเลขาฯ นายกฯ
นอกจากตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการราษฎรดังกล่าว ข้าพเจ้ายังทําหน้าที่เป็นเลขาฯประจําตัวของท่านเจ้าคุณมโนปกรณ์ฯ หัวหน้ารัฐบาล และได้ไปกินนอนประจําที่บ้านท่าน นําหนังสือเอกสารที่สําคัญไปเสนอและฟังบัญชาการปรึกษาข้อราชการ นอกจากนี้มีหน้าที่คอยปลุกเร่งเร้าให้ท่านตื่นมาแต่งตัวไปทํางาน รู้สึกว่าท่านมีชีวิตที่เหี่ยวแห้งนับแต่คุณหญิงเกิดอุบัติเหตุรถคว่ำตายในขบวนเสด็จของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เมืองไซ่ง่อนก็เศร้าหมองรําพึงถึงอยู่เสมอ
พร่ำบ่นว่าเอาเขามาทรมานพอแล้ว เบื่อหน่ายเต็มทน สําหรับบ้านท่านจัดระเบียบการกินอยู่เป็นแบบอังกฤษจ๋า ได้คุณหญิงสงครามมาช่วยดูแลเป็นแม่บ้าน โดยมากรับประทานอาหารเข้าด้วยกันเสร็จแล้วไปนั่งสงบ บางครั้งข้าพเจ้าต้องตามเข้าไปจักเครื่องแต่งตัวและโจงกระเบนให้อีกด้วย ทําหน้าที่คนใช้โดยสมบูรณ์ ข้าพเจ้า รู้สึกหนาว่าท่านเจ้าคุณโนปกรณ์มีคุณสมบัติควรแก่การเคารพและคารวะเป็นพิเศษ มีความซื่อสัตย์สุจริต และซื่อตรงในหน้าที่ มีความปรารถนาและยึดมั่นที่จะส่งเสริมระบบประชาธิปไตยอย่างจริงจัง ไม่มีท่าทีใฝ่ฝันที่จะพลิกแผ่นดินหรือมุ่งแสวงหาอํานาจความเป็นใหญ่แต่ประการใด โดยเฉพาะมีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริบเป็นชีวิตจิตใจ
ท่านผู้อ่านที่มีใจเป็นธรรมก็ย่อมเห็นได้ว่า พระยามโนฯ มีแม่บ้านและคนใช้หลายคนที่ทําหน้าที่รับใช้ท่านอยู่ครบถ้วนแล้วแต่คุณประยูรฯ ก็เอาเวลาของตนไปปรนนิบัติพระยามโนฯ เป็นการส่วนตัวแทนคนใช้ของพระยามโนฯ โดยไม่จําเป็นเลย ถึงขนาดคุณประยูรฯ ลดฐานะ “เลขาธิการคณะกรรมการราษฎร” (ต่อมาเรียกว่า “เลขาธิการคณะรัฐมนตรี”) อันเป็นตําแหน่งเทียบเท่าปลัดทูลฉลองสมัยราชาธิปไตยสบูรณาฯ หรือ “ปลัดกระทรวง” สมัยปัจจุบันนั้น ไปทําหน้าที่รับใช้ส่วนตัวให้แก่พระยามโนฯ โดยคลุกคลีไปนอนบ้านพระยามโนฯ อย่างสนิทสนมรวมทั้งคุณประยูรฯ เป็นคนจัดเครื่องแต่งตัวและโจงกระเบนให้พระยามโนฯ แทนหญิงคนใช้ซึ่งมีหน้าที่โจงกระเบนให้พระยามโนฯ คุณประยูรฯ อ้างไว้เองว่าท่านทําหน้าที่คนใช้บริบูรณ์ของพระยามโนฯ ทั้งนี้ไม่เคยปรากฏมาก่อนว่าข้าราชการชั้นอธิบดีหรือปลัดทูลฉลองหรือทางเลขาธิการได้ปฏิบัติต่อในหลวงดังที่คุณประยูร ปฏิบัติต่อพระยามโนฯ
เมื่อพระยามโนฯ เอ็นดูคุณประยูรมากขึ้นแล้ว คุณประยูร ก็ได้ใช้วิธีอย่างที่เรียกกันในสมัยสมบูรณาฯ ว่า “เพ็ดทูล” เจ้านายให้หลงเชื่อได้ ดังนั้นจึงปรากฏความตามที่พล. ท.ประยูร กล่าวไว้เองในหนังสือของท่านนั้นมีหลายเรื่องที่ท่านกล่าวหาผู้ก่อการพลเรือนหลายคนต่อพระยามโนฯ อันเป็นเหตุให้พระยามโนฯ สั่งการที่ขัดต่ออุดมคติของคณะราษฎรบ้าง และคุณประยูรฯ อ้างบัญชาของพระยามโนฯ มาสั่งการบ้าง
(ก)
ในหนังสือของพล.ท.ประยูร หน้า 200 ปรากฏความที่คุณประยูรใส่ความเพื่อนผู้ก่อการหลายคนว่า
ประการที่สี่
เรื่องหน่วยโฆษณา ออกปราศรัยรับชี้แจงสถานการณ์เรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปตามท้องที่ต่าง ๆ ในพระนครและต่างจังหวัด มิได้เลือกเฟ้นโฆษกที่พูดจา มีวาทะศิลป์ และชั้นเชิงที่จะทําความเข้าใจและส่งเสริมให้เลื่อมใสในระบอบประชาธิปไตย กลับมุ่งแต่ใช้พวกคณะเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ไม่มีชั้นเชิงและแสดงวาทะก้าวร้าว แต่งกายเป็นเชิงนักเลง พูดจาแสลงหู ทําให้ผู้ที่มาชุมนุมจึงหมั่นไส้ แล้วก็ย้อนได้ถามเสียดสี ซึ่งในที่สุดบางรายลงท้ายด้วยการตบโต๊ะ แล้วประกาศศึกก้องว่า ถ้าผู้ใดยังไม่เข้าใจและสงสัยก็ให้ถามปืนกระบอกนี้ เรื่องการออกปราศรัยสร้างความเลื่อมใสกลับเป็นเรื่องโดยนําความเสื่อมศรัทธามาสู่คณะผู้ก่อการเป็นอย่างมาก ซึ่งในที่สุดจำต้องเลิกไป
ทั้งนี้พระยามโนฯ หลงเชื่อรายงานของพล.ท.ประยูรฯ ท่านจึงสั่งให้ผู้ก่อการงดการโฆษณา โดยท่านได้สอบสวนความจริงว่าผู้ก่อการที่ไปทําการโฆษณาระบบปกครองใหม่นั้นได้ประพฤติเช่นนั้นจริงหรือไม่
ท่านผู้อ่านที่มีใจเป็นธรรมซึ่งต้องการสัจจะก็สามารถตรวจเอกสารหลักฐานหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ที่ออกในสมัยนั้นได้ว่าไม่มีผู้ก่อการได้ประพฤติดังที่พล.ท.ประยูรฯ รายงานพระยามโนฯ หนึ่งผู้ก่อการได้ประกอบเป็นคณะในการโฆษณาระบบใหม่ เช่น คณะของหลวงธํารงนาวาสวัสดิ์ โฆษณาทางภาคเหนือ, คณะของเรือเอกชลิต กุลกำม์ธร กับนายทวี บุณยเกตุ โฆษณาทางภาคตะวันออก, คณะนายดิเรก ชัยนามกับเพื่อนพลเรือนทําการโฆษณาในกรุงเทพฯ ฯลฯ ท่านผู้อ่านที่มีใจเป็นธรรมย่อมเห็นว่าผู้ก่อการดังกล่าวเป็นผู้มีวาทะศิลป์พูดอย่างตรงไปตรงมา
(ข)
ข้าพเจ้ามีหลักฐานเรื่องหนึ่งที่พระยามโนฯ หลงเชื่อคําบอกเล่าของผู้ที่เขม่นนายสงวน ตุลารักษ์ กับนายซิม วีระไวทยะ ถึงกับพระยามโนฯ นำมากล่าวในที่ประชุมคณะกรรมานุการพิจารณาเค้าโครงการเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2475 (ปีปฏิทินไทยขณะนั้น) ปรากฏในบันทึกคณะกรรมานุการตอนหนึ่งดังต่อไปนี้
พระยามโนฯ ประกาศโครงการออกมานั้น ขอให้ฟังเสียงข้างนอกบ้างว่า หลวงประดิษฐ์ฯ นั้นเป็นผู้บงการในวงการรัฐบาลนี้ และนายสงวน นายซิมเป็นโมกคัลลา สารีบุตรของหลวงประดิษฐ์ฯ แยกกันไม่ออก
ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นโอกาสดีที่จะเรียนพระยามโนฯ ถึงการที่ท่านหลงเชื่อผู้ใส่ความนายสงวนฯ และนายซิมว่าเป็นคอมมิวนิสต์ขวาซ้ายของข้าพเจ้านั้นว่าเป็นความไม่จริง ข้าพเจ้าจึงได้เรียนพระยามโนฯ ดังปรากฏในบันทึกของคณะกรรมการฯ ต่อไปดังนี้
หลวงประดิษฐ์ฯ ว่าที่จริงนั้นสงวนกับซิมเป็นลูกศิษย์ของใต้เท้า ขอให้ไปเปิดดูทะเบียนที่โรงเรียนกฎหมาย จะเห็นได้ว่าสงวนสอบไล่ได้ในปี 2467 ในเวลานั้นผมยังไม่ได้สอน และใต้เท้าเป็นครูสอนกฎหมายมรดก
พระยามโนฯ จึงได้สติแล้วท่านกล่าวต่อไปว่า
พระยามโนฯ จริง ควรจะเป็นลูกศิษย์ข้าพเจ้ามากกว่า
(ค)
พล.ท.ประยูรฯ ได้เขียนไว้ในหนังสือของท่าน 231-232 ถึงการที่ท่านเสนอให้ยุบเลิกสมาคมคณะราษฎรและพุทธสมาคม
(ง)
ยังมีอีกมากมายหลายเรื่องที่ปรากฏในหนังสือของพล.ท.ประยูรฯแล้ว ซึ่งท่านผู้นี้กล่าวถึงการรายงานของท่านต่อพระยามโนฯ ที่คลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริง
เพื่อไม่เสียเวลา ณ ที่นี้ ข้าพเจ้าขอสรุปว่าในที่สุดคุณประยูรฯ ก็สามารถร่วมมือกับพระยามโนฯ และพระยาทรงฯ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 ทําการปิดสภาผู้แทนราษฎรและงดใช้รัฐธรรรมแบฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 โดยสถาปนาระบบปกครองที่มีลักษณะเป็นเผด็จการศักดินาผสมกับเผด็จการทหาร คือคณะรัฐมนตรี ตั้งขึ้นใหม่นั่นมีอํานาจบริหารและอํานาจนิติบัญญัติ และออกกฎหมายว่าด้วยคอมมิวนิสต์ อีกทั้งใส่ความว่าข้าพเจ้าเป็นคอมมิวนิสต์แล้วบีบบังคับให้ข้าพเจ้าต้องเนรเทศไปอาศัยอยู่ในฝรั่งเศส
ภาคผนวก
คำขอขมาของห้างหุ้นส่วนจำกัดบรรณกิจเทรดดิ้งและประกาศกระทรวงศึกษาธิการเพิกถอนคำตัดสินของคณะกรรมการพิจารณาหนังสือแห่งชาติ หนังสือชื่อ “ชีวิต 5 แผ่นดินของข้าพเจ้า” โดย พล.ท. ประยูร ภมรมนตรี
บรรณานุกรม
หลักฐานชั้นต้น :
- ปรีดี พนมยงค์, บันทึกประกอบคำประท้วงของนายปรีดี พนมยงค์, (มปท., มปป.)
เรื่องที่เกี่ยวข้อง :
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 1)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 2)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 3)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 4)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 5)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 6)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 7)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 8)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 9)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 10)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 11)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 12)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 13)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 14)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 15)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 16)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 17)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 18)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 19)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 20)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 21)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 22)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 23)