ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
แนวคิด-ปรัชญา

ถาม-ตอบ 113 ปี ชาตกาล ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ “สตรีกับสันติภาพ : บทบาทภายใต้กระแสชาตินิยมและมุมมองความมั่นคง”

19
มกราคม
2568

 

 

 

 

 

ผศ. อัครพงษ์ ค่ำคูณ :

ก่อนที่จะลาเวทีไปขออนุญาตเรียนเชิญท่านที่มาร่วมงานเสวนาฯ ท่านใดมีข้อเสนอแนะ และประเด็นคำถาม เรียนเชิญครับ

 

 

คุณดุษฎี พนมยงค์ :

ดิฉันขอแนะนำว่า คนนี้คือ บุตรของท่านพระยาพหลพลพยุหเสนา พ.ต.พุทธินาถ พหลโยธิน

 

 

พ.ต.พุทธินาถ พหลโยธิน (ทายาทพระยาพหลพลพยุหเสนา) :

ขออนุญาตพูดเสริม อาจารย์ลลิตา หาญวงษ์ อาจารย์ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ และอาจารย์ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์ สำหรับเรื่องพม่า ซึ่งคนไม่ค่อยรู้ ไม่ค่อยเข้าใจเยอะ หลัง 14 ตุลาคม ปี 2516 ที่นักศึกษาชนะทหาร แล้วมีเฮลิคอปเตอร์ตกที่บรรเลงโดยพบขากระทิงก็บอกว่า ทหารเอาเฮลิคอปเตอร์ไปล่าสัตว์ แต่เรื่องจริงไม่ใช่ เรื่องจริงนั้น ทหารพม่ายึดอำนาจจากท่านอู นุ แล้วท่านอู นุ กับกองกำลังก็มาอยู่ที่ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งในสมัยนั้นป่ายังสมบูรณ์มาก รัฐบาลไทยก็รู้และใช้ท่านอู นุ กับกองกำลังเป็นกันชนระหว่างไทยกับพม่า แล้วทหารจะต้องไปประสานงานกับท่านอู นุ อยู่ประจำทุกเดือน

บางส่วนก็ไปรถ เพราะว่ารถทหารสามารถบุกป่าได้ และบางส่วนก็ไปเฮลิคอปเตอร์ แล้วกองกำลังของอู นุ นาน ๆ จะยิงกระทิงได้สักตัวหนึ่ง พอเวลาทหารไทยไปประสานงาน เขาก็แบ่งเอาขากระทิงไปขาย ไม่ใช่เอาเฮลิคอปเตอร์ไปล่าสัตว์ แต่ที่คนสมัยนั้นไม่เข้าใจ แล้วทหารสมัยนั้นก็พูดไม่ได้ เพราะว่าเป็นฝ่ายแพ้ก็ต้องปิดปากเงียบ สำหรับอาจารย์ชญานิษฐ์ก็คือ ภาคใต้ตอนคุณพ่อเป็นนายกรัฐมนตรีรู้สึกว่าจะปิดวาระประชุม คุณพ่อก็ขออนุญาตไปเยี่ยมคนภาคใต้ที่ปัตตานีกับนราธิวาส โดยขอให้พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ๋ย บินอับดุลลาห์) ท่านเป็นมุสลิม ท่านแปลรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม ปี 2475 เป็นภาษายาวี และพิมพ์ไปหลายชุด เอาไปแจกราษฎรจังหวัดปัตตานีกับนราธิวาส ไม่ใช่ว่า คณะราษฎรไม่ได้ทำอะไรเลย

คุณอาหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) ท่านก็ได้ตั้งคุณอาแช่ม พรหมยงค์ ซึ่งเป็นมุสลิมและจุฬาราชมนตรีเกี่ยวข้องกับภาคใต้ โดยในคณะราษฎรนอกจากคุณอาแช่มที่เป็นมุสลิมแล้วก็มีอีก 3 ท่าน คือ ตระกูลศรีจรูญ ได้แก่ คุณบรรจง ศรีจรูญ คุณอานายประเสริฐ ศรีจรูญ และการิม ศรีจรูญ ที่ผมเรียกพวกท่านเหล่านี้ว่าคุณอา เพราะเป็นรุ่นหลังคุณพ่อทั้งนั้น

 

ผศ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ :

ทางสถาบันปรีดี พนมยงค์ ก็อยากให้เราพูดเรื่อง ว้าแดง MOU44 เพราะฉะนั้น ผมขอยกยอดไป PRIDI Talks5hk ครั้งที่ 30 เราอาจจะพูดเรื่อนั้นได้สะดวกกว่า ตอนนี้เราสุขสันต์วันเกิดท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ อยู่ถ้ามาพูดเรื่อง MOU44 เดี๋ยวจะปวดหัวไปหมด มีบางคนไม่เคยอ่านกฎหมายทะเลก็พูดไปเรื่อย

ถ้าไม่มีท่านใด ในนามของผู้จัดและสถาบันปรีดี-มูลนิธิปรีดี พนมยงค์ และในนามทายาทและครอบครัวท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ขอเสียงปรบมือให้วิทยากรทั้ง 5 ท่าน 113 ปี ชาตกาลท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ “สตรีกับสันติภาพ : บทบาทภายใต้กระแสชาตินิยมและมุมมองความมั่นคง” ท่านแรกขอเสียงปรบมือให้กับอาจารย์ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ อาจารย์ชานันท์ ยอดหงษ์ ดร.ลลิตา หาญวงษ์ อาจารย์ ดร.ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์ และ ศ. ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ ผมอัครพงษ์ ค่ำคูณ ในฐานะกรรมการบริหารสถาบันปรีดี พนมยงค์ ต้องขอยุติเพียงเท่านี้ และขอให้ท่านบันทึกในสมุดอีกครั้งหนึ่ง ว่าทุกเดือนมกราคมเราจะมาคิดถึงคนดีของเราทั้งท่านปรีดีและท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์

 

 

 

รับชมถ่ายทอดสดฉบับเต็มได้ที่ : https://www.youtube.com/watch?v=jAcAYTzqiLY

 

ที่มา : PRIDI Talks #29 : 113 ปี ชาตกาล ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ “สตรีกับสันติภาพ : บทบาทภายใต้กระแสชาตินิยมและมุมมองความมั่นคง” อาทิตย์ที่ 12 มกราคม 2568 เวลา 14.00-17.00 น. ณ สมาคมธรรมศาสตร์ฯ ซอยงามดูพลี กรุงเทพฯ