ข่าวสารและบทความ
บทความ • แนวคิด-ปรัชญา
6
ธันวาคม
2564
บริบทของการพัฒนากฎหมายแรงงานในประเทศไทย เริ่มต้นก่อรูปอย่างเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในช่วงหลังปี 2475 เนื่องจากในเวลานั้นอาชีพของคนส่วนใหญ่เป็นข้าราชการและเกษตรกร อาชีพแรงงานยังเป็นอาชีพของคนส่วนน้อยในประเทศ[1] และกลุ่มผู้ใช้แรงงานโดยส่วนมากเป็นคนต่างด้าวมากกว่า
บทความ • บทบาท-ผลงาน
5
ธันวาคม
2564
ดิฉันรู้จักคุณเตียงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2476 เมื่อดิฉันไปเข้าเรียนอักษรศาสตร์ที่ ม.จุฬาลงกรณ์ ตอนนั้นคุณเตียงเรียนจบไปหลายปีแล้ว ตั้งแต่ครั้งที่แผนกอักษรศาสตร์ยังไม่มีปริญญา ปีที่ดิฉันไปเข้านั้นดูเหมือนจะเป็นปีแรกที่เขาตั้งปริญญาขึ้น เพื่อนๆ คุณเตียงกลับมาเรียนต่อหลายคน คุณเตียงไม่ได้มาเรียน (เข้าใจว่าเริ่มยุ่งกับการเมือง) แต่ก็ได้แวะวนมาเยี่ยมเพื่อนๆ ที่จุฬาฯ เสมอ และเมื่อมีงานเลี้ยงของคณะอักษรศาสตร์ก็มาร่วมด้วยไม่เคยขาด คุณเตียงเป็นคนใจกว้าง รักหมู่คณะเป็นยอด เพื่อนๆ จึงรักเธอมากทุกคน เพื่อนเหล่านี้เป็น น.ร.หญิงหลายคนที่มาจาก ร.ร. ราชินี ร.ร.
บทความ • บทบาท-ผลงาน
4
ธันวาคม
2564
ย้อนกาลเวลาสู่ช่วงทศวรรษ 2440 กลางท้องทุ่งริมเขตแดนของอำเภออุทัย (ยุคนั้นเรียก “อำเภออุไทย”) แห่งอยุธยา มณฑลกรุงเก่า ได้ปรากฏบุรุษสามรายผู้ประพฤติตนเป็น “นักต่อสู้ไล่ช้าง” อันมีนามว่า คุณแดง นายฮ้อ และนายเสียง เรื่องราวของพวกเขาจะเป็นอย่างไร? และเกี่ยวข้องประการใดกับ นายปรีดี พนมยงค์?
โปรดติดตาม ณ บัดนี้
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
3
ธันวาคม
2564
“............
วนเวียนมาก็นานแล้วกับความทรงจำเก่าๆ อาจจะถึงเวลาที่ใกล้จะต้องจบลงเสียทีกระมัง สงครามก็ใกล้จะสิ้นสุด และงานการหน้าที่ของเสรีไทยในอเมริกาก็บรรลุตามที่มุ่งหมายเอาไว้แล้ว ด้วยความร่วมมือของคนหลายฝ่าย ทั้งเสรีไทยในประเทศ ทั้งเสรีไทยในอเมริกาด้วยกันที่รับผิดชอบหน้าที่อื่นที่ไม่ใช่งานสนามรบโดยตรง
อาจจะยังคงเหลืองานอยู่อีกส่วนหนึ่งที่ยังมิได้กล่าวถึงโดยเฉพาะ นั่นก็คือ งานของพวกผู้หญิง เขาทำอะไรกัน แล้วคราวหน้าก็คงจะจบลงด้วยเรื่องว่าพวกเขาอยู่ที่ไหนเมื่อประเทศสงบสงคราม
บทความ • บทบาท-ผลงาน
2
ธันวาคม
2564
ข้าพเจ้าได้ช่วยนายปรีดีรับฟังวิทยุต่างประเทศเพื่อทราบความเคลื่อนไหวของสัมพันธมิตร ข่าวการสู้รบในสมรภูมิต่างๆ ทั่วโลก และบางครั้งข้าพเจ้าก็ช่วยเขียนรหัส ด้วยลายมือโดยไม่ใช้พิมพ์ดีด
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
1
ธันวาคม
2564
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า นับเป็นสมเด็จพระนางเจ้าพระองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระชนมายุยืนยาวจนได้ทอดพระเนตรสงครามโลกทั้ง ๒ ครั้ง ทรงเป็นพระชนนีของสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ซึ่งต่อมาได้เฉลิมพระนามเป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในห้วงเวลาของสงครามโลก ครั้งที่ ๒ สมเด็จพระพันวัสสาฯ จึงมีศักดิ์เป็น “พระอัยยิกา” ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
29
พฤศจิกายน
2564
รัฐบาลใหม่ของคณะรัฐประหารและของ ‘จอมพล ป. พิบูลสงคราม’ ในปี 2491 ได้รับการรับรองอย่างรวดเร็วจากรัฐบาลของประเทศตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสหรัฐฯ และอังกฤษ ดังที่ทราบมาแล้วว่าแต่เดิมนั้นมหาอำนาจตะวันตกจะให้ความสนับสนุนต่อรัฐบาลพลเรือนที่เป็นประชาธิปไตยของไทย และต่อต้านรัฐบาลทหารไทยที่ถูกถือว่าเป็นฝ่ายฟาสซิสต์
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
28
พฤศจิกายน
2564
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับประธานโฮจิมินห์ที่ฮานอยเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1945 ได้สร้างความเข้าใจด้านทฤษฎี แนวทางอภิวัฒน์ ให้แก่เจ้าสุพานุวงในการกอบกู้เอกราชของชาติเป็นอย่างยิ่ง จากนั้นมาเจ้าสุพานุวงได้รับการติดอาวุธทางความคิดอันถูกต้องเพื่อเข้าสู่รูปธรรมแห่งการปฏิบัติจริง ท่านโฮจิมินห์กล่าวเน้นถึงการสร้างความสามัคคีในหมู่ชาวลาวด้วยกัน ทั้งยังต้องสามัคคีกับชาวเวียดนาม และชาวเขมรด้วย เพราะดินแดนของทั้งสามชาติตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ที่ฝรั่งเศสขนานนามว่า “อินโดจีนของฝรั่งเศส”
บทความ • ชีวิต-ครอบครัว
27
พฤศจิกายน
2564
ถ้าจะถือเอาถ้อยคำบอกเล่าของ นายปรีดี พนมยงค์ มาพินิจพิจารณา ย่อมเผยให้ทราบว่า เขามิใช่บุคคลผู้สันทัดด้านการเล่นกีฬาเท่าไหร่นัก แม้ความไม่ถนัดนี้อาจดูเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ก็มีแง่มุมเกี่ยวโยงกับบทบาททางการเมืองของนายปรีดีเช่นกัน
ในข้อเขียน “ความเป็นไปภายในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์” นายปรีดีบอกเล่าไว้ตอนหนึ่งว่า