ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ข่าวสารและบทความ

14
มีนาคม
2566
วันนี้ (14 มีนาคม 2566) ณ ห้องประชุม Millennium มหาวิทยาลัยสยาม สถาบันปรีดี พนมยงค์ และ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อเป็นเครือข่ายพันธมิตรในการพัฒนา ส่งเสริมการค้นคว้า และงานวิจัย โดยมีภารกิจเพื่อการเผยแพร่และสื่อสารแนวคิดภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งอาจารย์เอกชัย ไชยนุวัติ รองคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม และ กรรมการบริหารสถาบันปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้ริเริ่มและผลักดันให้ความร่วมมือนี้เกิดขึ้นได้เป็นผลสำเร็จ
แนวคิด-ปรัชญา
14
มีนาคม
2566
ปัญหาการเกิดขึ้นของ "นายกฯ คนนอก" ด้วยกระบวนการที่เปิดประตูให้แก่บุคคลนอกระบอบเล็ดลอดเข้ามามีอำนาจโดยไม่ผ่านกลไกด้วยระบอบประชาธิปไตย ปัญหาดังกล่าวถูกปิดตายด้วยรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ฉบับ 2540 กระทั่งปัญหาดังกล่าวบังเกิดอีกครั้งภายหลังการแทรกแซงทางการเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2557 ในรัฐธรรมนูญสืบทอดอำนาจ ฉบับ 2560
แนวคิด-ปรัชญา
13
มีนาคม
2566
การเมืองของการผลิตซ้ำและการต่อสู้บนพื้นที่ทางความทรงจำ ผ่านการวิเคราะห์การเกิดขึ้นใหม่ของ "เค้าโครงการเศรษฐกิจ" และ "พระบรมราชวินิจฉัยฯ" ในหลายรูปแบบ พร้อมทั้งสะกดรอยวิวาทะแห่งการพิมพ์และสัญญะทางความคิด ซึ่งพบร่องรอยการโต้ตอบเพื่อสถาปนาการรับรู้ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา
แนวคิด-ปรัชญา
12
มีนาคม
2566
19 ปี การบังคับสูญหาย สมชาย นีละไพจิตร กับการเดินทางของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงในระบบยุติธรรมและสังคมที่รอวันมาถึง
เกร็ดประวัติศาสตร์
11
มีนาคม
2566
โฮจิมินห์กลับเข้าศึกษาต่อ ณ กรุงมอสโก สหภาพโซเวียต พร้อมทั้งทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับสหายชาวเวียดนามคนอื่นๆ ที่กำลังศึกษาเช่นเดียวกัน ชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส และผลของการสงบศึกชั่วคราวระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับก๊กมินตั๋ง เปิดโอกาสขยับย่นย่อให้การกอบกู้เอกราชของชาวเวียดนามเดินมาถึงในเร็ววัน
10
มีนาคม
2566
วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา นายปรีดิวิชญ์ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ได้มอบทุนสนับสนุนการดำเนินงานให้แก่ iLaw โดยมีนายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการ iLaw เป็นตัวแทนรับมอบ
แนวคิด-ปรัชญา
10
มีนาคม
2566
ย้อนรอยสำรวจการเมืองแห่งการอ่าน ผ่านการปะทะโต้ตอบทางอุดมการณ์ด้วยการผลิตตีพิมพ์ซ้ำระหว่าง "เค้าโครงการเศรษฐกิจ" และ "พระบรมราชวินิจฉัยฯ" โดยเริ่มต้นข้อทบทวนความเป็นมาและเป้าหมายของเอกสารทางประวัติศาสตร์ทั้งสองฉบับ ก่อนจะนำไปสู่การพยายามรื้อฟื้นเอกสารทั้งสองฉบับในนับตั้งแต่ พ.ศ. 2490 เป็นต้นไป
เกร็ดประวัติศาสตร์
9
มีนาคม
2566
เรื่องราวของขวัญวันเกิดในปีที่ 38 ซึ่งสะท้อนเจตนารมณ์การทำงาน ศ.ดร.ป๋วย ผ่านสายตาและการยอมรับจากผู้คนที่แวดล้อมรอบข้าง เมื่อครั้งปฏิบัติงานในกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ตลอดจนคุณูปการด้านวิชาการและการศึกษา
แนวคิด-ปรัชญา
8
มีนาคม
2566
การเดินทางเพื่อความเสมอภาคของสิทธิสตรี ซึ่งพวกเธอต้องเผชิญหน้าต่อปัญหาเชิงโครงสร้างทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยมีเหตุปัจจัยมาจากฐานคิดความไม่เท่าเทียมทางเพศ อาทิ ความรุนแรงทางเพศ อนามัยเจริญพันธุ์ สิทธิทางการเมือง ฯลฯ
แนวคิด-ปรัชญา
7
มีนาคม
2566
คำอธิบายชุดความคิดและหัวใจทางการเมืองของ 'ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์' ด้วยหลัก "สันติประชาธรรม" ซึ่งเน้นย้ำถึงความสำคัญของสันติวิธีเพื่อให้ถึงพร้อมด้วยประชาธรรมของผู้คน ผ่านการวิเคราะห์แตกย่อยอุดมคติทางการเมืองและความปรารถนาที่ ศ.ดร.ป๋วยต้องการให้บังเกิดขึ้นและไหลเวียนภายในสังคมไทย