Focus
- บันทึกประกอบคำประท้วงกรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 21) ของนายปรีดี พนมยงค์ เสนอให้เห็นข้อบิดเบือนในหนังสือชีวิต 5 แผ่นดินฯ 7 ประการที่โต้กลับงานของนายประยูร ภมรมนตรี ด้วยข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ 1. ระบบปกครองที่จะสถาปนาขึ้นแทนที่ระบบสมบูรณาฯ 2. หลัก 6 ประการของคณะราษฎร 3. วิธี (Moans) เพื่อเปลี่ยนระบบสมบูรณาฯ 4. วินัยของผู้ก่อตั้งคณะราษฎรและสมาชิก 5. ระเบียบการจัดตั้ง (Organisation) ของคณะราษฎร 6. ค่าใช้จ่ายสำหรับคณะราษฎร 7. กำหนดตัวบุคคลที่รับเลี้ยงครอบครัวในกรณีที่คณะถูกปราบปราม 8. เลือกตั้งหัวหน้าคณะชั่วคราว รวมทั้งประเด็นการหาสมาชิกของคณะราษฎร
- นายปรีดี พนมยงค์ ได้เสนอประเด็นสำคัญคือ ปัญหาเศรษฐกิจของสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ผ่านการประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสในยุคพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ที่ไม่ได้มีการวางแผนเศรษฐกิจไว้ล่วงหน้าจนทำให้ราษฎรต้องอดอยากนำไปสู่การล่มสลายในที่สุด ที่สำคัญคือ นายปรีดีได้เสนอการแก้ไขเศรษฐกิจผ่านเค้าโครงการเศรษฐกิจ (สมุดปกเหลือง) ตามแนวทางของหลัก 6 ประการ เพื่อประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎร (Social Assurance)
- ที่มาของหลักฐานประวัติศาสตร์ชุดนี้ เนื่องมาจากในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2523 นายปรีดี พนมยงค์ ได้มอบอํานาจให้นางสาวนวลจันทร์ ณ ป้อมเพชร เป็นโจทก์ยื่นฟ้องกระทรวงศึกษาธิการที่ 1 ห้างหุ้นส่วนจํากัดบรรณกิจเทรดดิ้งที่ 2 เป็นจําเลยต่อศาลแพ่ง เรื่อง ละเมิดหมิ่นประมาทไขข่าวแพร่หลายต่อหนังสือชีวิต 5 แผ่นดินของข้าพเจ้า โดยประยูร ภมรมนตรี ซึ่งการฟ้องร้องคดีความฯ ของนายปรีดีถือเป็นการยืนยันสัจจะทางประวัติศาสตร์ให้ปรากฏโดยในเนื้อหาของคำฟ้องคดีความฯ ต่อหนังสือชีวิต 5 แผ่นดินของข้าพเจ้าคดีความฯ ได้สิ้นสุดลงเมื่อศาลแพ่งได้พิพากษาในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 ตามหนังสือประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจําเลยและนายปรีดีไม่ได้ฟ้องร้องคดีต่อนายประยูร ภมรมนตรี ด้วยปรารถนาจะประกาศสัจจะทางประวัติศาสตร์และเผยแพร่ข้อเท็จจริงของการก่อตั้งคณะราษฎรและประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ถูกบิดเบือนไป
17.4.
ระเบียบวาระการประชุม
ในระหว่างเวลา 3 วันแห่งการประชุมนั้น ผู้ก่อตั้งคณะราษฎรได้อธิปรายอย่างเต็มที่ตามระเบียบวาระต่อไปนี้
(1)
ระบบปกครองที่จะสถาปนาขึ้นแทนที่ระบบสมบูรณาฯ
ก่อนอื่นที่ประชุมตกลงกันเป็นเอกฉันท์ว่าตามสภาพที่เหมาะสมแก่สยามนั้น ระบบปกครองที่จะสถาปนาขึ้นแทนที่ระบบสมบูรณาฯ คือ “ระบบประชาธิปไตยภายใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน” หรือที่เรียกว่า “ระบบราชาธิปไตยจำกัด”( Limited Monarchy )
ปัญหาต่อไปจึงมีว่าระบบราชาธิปไตยจำกัดจะควรเป็นไปในรูปใด ?
นายแนบ พหลโยธิน (เนติบัณฑิตอังกฤษ) ถามปรีดีถึงเรื่องธรรมนูญการปกครองของอังกฤษว่าสมควรที่จะนำมาเป็นตัวอย่างในสยามได้อย่างไรบ้าง ปรีดีได้ชี้แจงว่า นายแนบฯ ทราบแล้วว่ารัฐสภาอังกฤษนั้นประกอบด้วยสภาเจ้าศักดินา (House of Lord) ที่บางคนเรียกเป็นภาษาไทยว่า “สภาขุนนาง” และสภาสามัญ (House of Commone) สภาเจ้าศักดินาหรือสภาขุนนางนั้นประกอบด้วยบุคคลที่มีฐานันดรศักดินา ดยุ๊ก, มาควิส, เอร์ล, ไวท์เคาน์ท, บารอน, อันเป็นตำแหน่งที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ยกเว้นบางคนจำนวนน้อยที่เคยเป็นเสนาบดีมาแล้วที่รัฐบาลเสนอพระเจ้าแผ่นดินให้มีฐานันดรนั้นชั่วชีวิตของผู้นั้นเป็นการเฉพาะตัวซึ่งไม่เป็นมรดกตกทอดไปยังพายามได้
ถ้าจะเอาตัวอย่างสภาเจ้าศักดินาหรือสภาขุนนางอังกฤษแล้วก็ต้องสถาปนาระบบขุนนางหรือเจ้าศักดินาอังกฤษขึ้นในสยามซึ่งขัดต่อประเพณีไทย ฉนั้นจึงควรสถาปนาระบบราชาธิปไตยจำกัดภายใต้รัฐธรรมนูญประชาชนที่สุดซึ่งสมาชิกแห่งรัฐสภาเป็นผู้ที่ได้เลือกตั้งจากราษฎร แต่เราควรมีบทเฉพาะกาลไว้ชั่วคราวว่าสมาชิกรัฐส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งโดยทำเสมอของรัฐบาล
นายตั้วฯ ถามปรีดีว่าราชาธิปไตยจำกัดนั้นรูปใดจะเหมาะสม
ปรีดีชี้แจงตามใจความที่ได้นำมา กล่าวย้ำไว้ยึดในเค้าโครงการเศรษฐกิจเมื่อ พ.ศ. 2476 ที่เสนอต่อพระยามโนปกรณ์ นายกรัฐมนตรี มีความดังต่อไปนี้
“ข้าพเจ้ามิปรารถนาจะเปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดินองค์เดียวมาเป็นหลายองค์ ซึ่งเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยแต่เปลือกนอกเท่านั้น ข้าพเจ้ามุ่งต่อสาระสำคัญ คือ “บำรุงความสมบูรณ์ของราษฎร” และถือว่ารัฐธรรมนูญเปรียบประดุจกุญแจที่จะไขเปิดช่องให้ราษฎรได้มีส่วนมีเสียงในการปกครองให้จัดถูกต้องตามความต้องการของตน และเมื่อประตูที่กีดกันอยู่ได้เปิดออกแล้ว รัฐบาลก็จะต้องนำราษฎรผ่านประตูนั้นเข้า ไปสู่ภพภูมิแห่งความสุขสมบูรณ์ มิใช่นำให้ราษฎรเดินถอยหลังเข้าคลอง ด้วยเหตุดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลซึ่งรับหลัก ๖ ประการของคณะราษฎร ที่จะต้องจัดการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคณะราษฎรนั้น”
เมื่อได้อภิปรายกันพอสมควรแล้วจึงตกลงกันว่ารูปแบบการปกครองที่จะสถาปนาขึ้นในสยามตามความเหมาะสมระบบราชาธิปไตยจำกัด (Limited Monarchy) ภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยที่สุดสิ่งอำนวยให้บรรรลุถึงความสำคัญคือ บำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรดังกล่าวนั้น
(2)
หลัก 6 ประการของคณะราษฎร
ที่ประชุมได้ตกลงกันยืนยันตามที่ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในข้อ 11.1 ใจความว่า
เป็นเวลาหลายเดือนก่อนวันประชุมนั้น ข้าพเจ้าซึ่งได้รับมอบหน้าที่ให้เป็นผู้ค้นคว้าทางทฤษฎีและทางปฏิบัติซึ่งเคยแจ้งให้เพื่อนทราบว่า ในสมัยสมบูรณาฯ สยามก่อนรัชกาลที่ 5 ทรงปรับปรุงราชการบริหารนั้นได้มี “จตุสดมภ์” (แปลว่า “4”, สดมภ์ แปลว่า “เสาหลัก”) หมายถึง “หลัก 4 เสา” ซึ่งค้ำจุนระบบสมบูรณาฯ สยามโบราณนั้นคือ เวียง, วัง, คลัง, นา ในหนังสือจดหมายเหตุของฝรั่งเศสที่มาเยือนกรุงศรีอยุธยานั้นแปลว่า “จตุสดมภ์” ว่า Colonnee Royalee
ข้าพเจ้าได้เสนอแก่เพื่อนหลายคนว่าในการที่เราเปลี่ยนระบบสมบูรณาฯ มาเป็นระบบราชาธิปไตย ภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยนั้น ปวงชนชาวสยามได้คืนสิทธิ์เป็นเจ้าของประเทศโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามระบบประชาธิปไตย
เมื่อเพื่อนหลายคนได้ช่วยกันคิดค้นแล้วจึงได้นำมาแสดงในที่ประชุมก่อตั้งคณะราษฎรดังกล่าว เมื่อได้อภิปรายกันแล้วจึงเห็นพร้อมกันว่ามี “หลัก” สำคัญ 6 ประการ คือ
1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง
2. จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงมาก
3. จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะพยายามหางานให้ราษฎรทุกคนทำโดยเต็มความสามารถจะร่างโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4. จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอกัน
5. จะต้องให้ราษฎรมีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น
6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
(3)
วิธี (Moans) เพื่อเปลี่ยนระบบสมบูรณาฯ
ผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความเห็นหลายประการ เกี่ยวกับวิธีต่าง ๆ ที่มีคณะอื่นทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศเคยปฏิบัติมาซึ่งได้รับความสำเร็จบ้าง ไม่ได้รับความสำเร็จบ้าง ซึ่งที่ประชุมจะได้ศึกษาเป็นบทเรียนส่วนที่เห็นเป็นประโยชน์แก่การนำเอาไปใช้ให้เหมาะสมแก่สภาพของสยาม
(ก)
บางคนแถลงใจความว่าไม่ต้องการใช้วิธีเปลี่ยนปกครองแบบฝรั่งเศส เมื่อ ค.ศ. 1709 (พ.ศ. 2332) โดยอ้างว่าจะเกิดฆ่าฟันกันเองภายในคณะเช่นเดียวกัน “โรเบสปิแอร์” (Robespierre) กับ “ดองตอง” (Danton )
ข้าพเจ้าจึงชี้แจงว่าเรื่องโรเบสปิแอร์กับดองตองนั้นมีคนแต่งเป็นนิยายอิงชื่อ 2 คนนั้นไว้หลายเล่ม และมีภาพยนต์อิงชื่อ 2 คนนี้หลายเรื่อง แต่มีใช่สารคดีที่คณะราษฎรจะเชื่อตามนั้น หากจะต้องศึกษาหลักฐานเอกสารแท้จริงของประวัติศาสตร์ว่าความจริงเป็นอย่างไร
โดยเฉพาะวิธีเปลี่ยนแปลงการปกครองฝรั่งเศส เมื่อ ค.ศ. 1789 นั้น เพื่อนที่ศึกษาประวัติศาสตร์เบื้องต้นของฝรั่งเศสตอนนั้นก็ย่อมรู้ว่าใน ค.ศ. 1789 นั้นราษฎรฝรั่งเศสใช้วิธีต่อสู้ทางรัฐสภา (Parliamentary Struggle) จนได้รับความสำเร็จในการสถาปนาระบบราชาธิปไตยภายใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินเมื่อ ค.ศ. 1791 โดยมิได้ปลงพระชนม์ชีพของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ขณะนั้นนาย “ดองตอง” เป็น “องคมนตรี” (Conecil du Roi) โดยมิได้เป็นสมาชิกรัฐสภา ต่อมาพวกจากศักดินาที่ตกค้างอยู่ได้ยุยงและสนับสนุนให้พระองค์กับพระมเหสีทรงปฏิบัติการเพื่อล้างล้มระบบรัฐธรรมนูญนั้นเพื่อฟื้นระบบสมบูรณาฯ ขึ้นมาอีก อันเป็นเหตุให้ราษฎรฝรั่งเศสใช้กำลังอาวุธยึดอำนาจรัฐแล้วได้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรแห่ง “ชุมนุมสมัชชา” (Convention) ส่วนสมเด็จเจ้าฟ้า “ฟิลิปห์แห่งดอร์เลอองส์” (Due Philippe d'Orléans) แห่งสายอนุชา(Dranche Cadette) ของพระราชวงศ์บูรบองได้ทรงสละฐานันดรศักดิ์เป็นพลเมืองสามัญแล้วได้รับเลือกตั้งทั้งเป็นผู้แทนราษฎรแห่ง “ชุมนุมสมัชชา” นั้น
ส่วน “โรเบสปิแอร์” กับ “ดองตอง” ก็ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรนั้นด้วย “ชุมนุมสมัชชา” ซึ่งเป็นรัฐสภาสมัยนั้นได้ประกาศถาปนาสาธารณรัฐฝรั่งเศสครั้งที่ 1 ขึ้นแล้วได้ประชุมปรึกษาโทษพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ฐานเป็นกายาภายในและภายนอกพระราชอาณาจักร์ ที่ประชุมชุมนุมสมัชชาได้ปรึกษาญัตติต่างๆที่มีผู้เสนอแล้ว ในที่สุดลงมติว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 มีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญาฐานกบถดังกล่าวพระองค์จึงถึงชะตาฆาต อดีตสมเด็จเจ้าฟิลิปป์แห่งออร์เลยองส์เป็นผู้หนึ่งซึ่งลงมติเห็นชอบด้วยว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 มีความผิดดังกล่าว
ต่อมา “โรเบสปิแอร์” กับนาย “ดองตอง” นั้นก็แย่งชิงกันในการที่จะมี “อำนาจเผด็จการ” (ท่านที่สนใจในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสตอนนั้นย่อมคว้าศึกษารายละเอียดได้ ซึ่งข้าพเจ้าได้พิมพ์เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งถึงเหตุการณ์ในตอนนั้นของฝรั่งเศส)
(ข)
ข้าพเจ้าได้แถลงในที่ประชุมว่าเราไม่ควรคิดว่าชอบวิถีนั้นหรือไม่ชอบวิธีนี้หรือไม่ชอบวิธีนี้หรือเกลียดขี้หน้านายคนนั้นหรือนายคนนี้ หากต้องคิดให้รอบคอบทุกด้านว่าวิธีใดจึงจะไม่ทำให้สยามตกหนักไปยิ่งกว่าที่เป็นอยู่แล้วด้วย ทั้งนี้มีใจความทำนองเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าเคยชี้แจงแก่นักศึกษาหลายคนแล้ว และเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ข้าพเจ้าก็ได้ตอบคำถามของคณะกรรมการนิสิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยที่ได้ขอให้ข้าพเจ้าเขียนบทความในหัวข้อเรื่อง“ทางรอดของสังคมไทย” ซึ่ง “สถาบันสยามเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม” ได้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2519 มีความตอนหนึ่งที่กล่าวถึงวิธี (Moans) เปลี่ยนระบบสมบูรณาฯ เมื่อ พ.ศ. 2475
ตัวอย่างในหลายประเทศที่ขบวนการทางรอดของสังคมนั้นเกิดแก่ด้วยทำลายโดยไม่มีแผนการก่อสร้างไว้ล่วงหน้าก็เป็นเหตุให้เศรษฐกิจที่ทรุดลงต้องทรุดหนักลงอีก เช่น ณ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศฝรั่งเศสเนื่องจากการอภิวัฒน์ ค.ศ. ๑๗๘๙ คือ “บัตรแทนเงินตรา” ซึ่งเรียกว่า “อัสชิญกาต์”หรืออีกนัยหนึ่ง “ธนบัตร” นั้น ได้ลดค่าลงมาก
แต่รัฐบาลที่ได้อำนาจรัฐต่อมานั้นมิได้มีแผนการเศรษฐกิจไว้ล้วงหน้า และเมื่อเก็บภาษีอากรได้ไม่พอใช้จ่ายก็ใช้วิธีออกธนบัตรแทนเงินตราจนเหลือล้น ค่าของบัตรนั้นก็ลดลงเรื่อย ๆ จนเกือบถึงศูนย์กรรมกรฝรั่งเศสก็เบื่อหน่ายเพราะตนได้รับค่าจ้างเป็นบัตรที่เกือบไม่มีค่า ชาวนาและพลเมืองส่วนข้างมาก เกือบจนหรือมีทุนน้อยก็ไม่พอใจผู้ครองอำนาจรัฐใหม่ จึงเป็นเหตุหนึ่งที่นายพลนโปเลียน โบนาปาร์ค ทำรัฐประหารล้มระบบสาธารณรัฐแล้วตั้งธนาคารแห่งประเทศฝรั่งเศสขึ้นแล้วใช้เงินตราใหม่ และรักษาเสถียรภาพเงินตราไว้ได้
ตัวอย่างของประเทศอื่น ๆ ก็มีมาก จึงขอให้ท่านทั้งหลายศึกษาหาความรู้ในเรื่องนี้ด้วย
การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักรไทยชั่วคราว ฉบับ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ และฉบับ ๑๐ ธันวาคม นั้นคณะราษฎรย่อมมีความผิดพลาดหลายประการ ซึ่งท่านทั้งหลายควรศึกษาเพื่อไม่ผิดพลาดซ้ำอีก ขอให้ท่านพึงรับฟังความทุก ๆ กลุ่มที่ขัดแย้งตั้งแต่ต้นมาจนถึงทุกวันนี้ เพราะเป็นประโยชน์ที่ท่านจะพิจารณาความเห็นของกลุ่มนั้น ๆ ที่ไม่พิจารณาภาระของสยามสมัยนั้นอย่างไรบ้าง
แต่คณะราษฎรเห็นว่า สมัยนั้นสยามตกอยู่ในวงล้อมของจักรวรรดินิยมอังกฤษกับฝรั่งเศส ท่านที่ศึกษาประวัติศาสตร์นั้นเบื้องต้น ๆ จากผู้จำความได้ก็คงทราบจากหลายคนว่า ใน ค.ศ. ๑๘๙๖ จักรวรรดินิยมทั้งสองทำความตกลงกันว่า ยินยอมให้สยามเป็นเอกราชเพื่อเป็น “ประเทศกันชน” (Buffer State) ระหว่างอาณานิคมของสองประเทศในแหลมอินโดจีน โดยเขาขมวดไว้ว่าข้อตกลงนั้นไม่ตัดสิทธิที่สองประเทศจะยกกองกำลังมายึดเอาสยามไปแบ่งเป็นอาณานิคมของแต่ละประเทศนั้นได้ ถ้าท่านทั้งหลายทราบสภาพของสยามเช่นนั้นแล้ว ก็ขอให้ลองคิดดูว่าถ้าคณะราษฎรใช้วิธีจัดตั้งมวลชนไทยสมัยนั้นให้กว้างใหญ่ไพศาลประกอบเป็นกองทัพใหญ่ยกมากองทัพฝ่ายรัฐบาล
จักรวรรดินิยมอังกฤษกับฝรั่งเศสสมัยนั้นจะแทรกแซงได้หรือไม่ และถ้ามีการแทรกแซงขึ้นแล้ว และถ้ามีการแทรกแซงขึ้นแล้วสังคมไทยที่แท้มีเพียงเอกราช
ทางนิตินัย จะคงฐานะเช่นนั้นต่อไปได้ หรือจะสูญเสียเอกราชทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย คณะราษฎรใช้วิธียืดอำนาจโดยฉับพลันที่เรียกว่า “คูป์ เดคาต์” ซึ่งมีผู้แปลว่า “รัฐประหาร” อันเป็นการกระทำชุดเดียว ประกอบด้วยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงพระปรีชาญาณว่า ถ้ารับสั่งให้ทหารหัวเมืองที่จงรักภักดีต่อพระองค์ นำกำลังต่อสู้ฝ่ายคณะราษฎรแล้ว การต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธก็จะยิงทิ้ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อังกฤษกับฝรั่งเศสส่งกองทัพมาแทรกแซง พระองค์ทรงมีพระทัยเห็นแก่แค่ความเป็นเอกราชของชาติจึงพระราชทานระบบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญดังที่คณะราษฎรของพระราชทาน
อย่างไรก็ตาม การกระทำของคณะราษฎรโดยวิธีนั้นมิได้ทำให้เศรษฐกิจเสื่อมโทรมอยู่แล้วนั้นทรุดหนักลง หากได้ทำนุบำรุงให้ดีขึ้นเท่าที่จะทำได้ตามสภาพสมัยนั้น โดยเฉพาะได้รักษาเสถียรภาพของเงินบาท ซึ่งไม่ทำให้กรรมกรได้เงินตราที่เสื่อมค่าเป็นค่าแรง และชาวนาขายพืชผลตามเงินตราที่มีเสถียรภาพ
ที่ประชุมก่อตั้งคณะราษฎรได้คำนึงถึงเหตุผลดังกล่าวแล้วจึงตกลงกันใช้วิธียึดอำนาจโดยฉับพลันที่เรียกว่า “กูป์ เดคาต์” ซึ่งต่อมากรมหมื่นนราธิปฯ (ม.จ.วรรณไวทยากร) ได้ทรงถ่ายทอดเป็นภาษาไทยว่า “รัฐประหาร”
(4)
วินัยของผู้ก่อตั้งคณะราษฎรและสมาชิก
- เสียสละเพื่อชาติและราษฎรไทยอย่างแท้จริง
- ซื่อสัตย์สุจริตต่อคณะราษฎรและต่อชาติและราษฎรไทย
- ความกล้าหาญ
- รักษาความลับของคณะฯ ไม่ก้าวก่ายหน้าที่ระหว่างสมาชิกด้วยกัน ห้ามสมาชิกที่มีภรรยาหรือคู่รักนำเรื่องของคณะฯไป-แพร่หลายแก่ภรรยาหรือคู่รัก
- ศึกษาความรู้เพิ่มเติมทั้งทางด้านทฤษฎีและด้านการปฏิบัติเกี่ยวกับวิธียึดอำนาจรัฐ. และการจรรโลงประเทศชาติตาม “หลัก 6 ประการของคณะราษฎร”
(5)
ระเบียบการจัดตั้ง (Organisation) ของคณะราษฎร
ผู้ที่เข้าร่วมประชุมครั้งแรกเป็นกรรการกลางของคณะราษฎรไปพลางก่อน กรรมการแต่ละคนเป็นหัวหน้าแต่ละสายที่จะต้องเลือกเป็นผู้ที่ไว้วางใจได้ตามระเบียบพิจารณาตัวบุคคลแล้วนำมาเสนอกรรมการกลางของคณะราษฎรซึ่งจะรับเข้าเป็นสมาชิกคณะราษฎรได้โดยมติเป็นเอกฉันท์เท่านั้น
ในชั้นแรกให้หัวหน้าสายหาสมาชิกเพิ่มเติมเพียงสายละ ๒ คนก่อน แล้วก็แยกเป็นหัวหน้าสายใหญ่น้อยแตกกิ่งก้านสาขาออกไป
การเลือกเฟ้นสมาชิกคณะราษฎรเพิ่มเติมนั้น ต้องคำนึงเพื่อความเสียสละเพื่อชาติอย่างแท้จริง, ความซื่อสัตย์สุจริตต่อคณะฯและชาติกับราษฎรไทย, ความกล้าหาญ.ความสามารถในการรักษาความลับ, ดังนั้นจึงได้แบ่งบุคคลที่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองดังกล่าวออกเป็น ๓ ประเภทคือ
ดี 1. ได้แก่บุคคลที่สมควรได้รับคำทาบทามตามความชักชวนให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะราษฎรก่อนวันลงมือยึดอำนาจรัฐ แต่บุคคลประเภทนี้ก็ต้องแยกแยะบอกไปอีกว่าผู้ใดควรได้รับคำชักชวนได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ หรือชวนต่อมาเมื่อใกล้เวลาที่จะลงมือทำการยึดอำนาจ มิให้ถือเพียงแค่ว่าบุคคลใดเป็นเพื่อนเที่ยวด้วยกัน มิต่างกัน แล้ว
ก็ถึงจะชวนเข้าเป็นสมาชิกในคณะราษฎรได้ทุกคนในทันทีทันใด ถ้าเพื่อนคนนั้นรอบพูดทุกคนเกินไป มีสอดส่องเรื่องที่จริงบ้างไม่จริงบ้างมาถูกเพียงแค่จะให้ผู้ดูเพียงแต่เป็นทหารและอาจเอาเรื่องยุแยงไปเน้นทราบเกี่ยวกับเพื่อนที่่มีลักษณะหลายอย่าง เพื่อนบางคนมีลักษณะที่สยามอย่างแก่เวลากินเหล้าเข้าไปแล้วคุมสติไว้ไม่อยู่แล้วพูดเลอะเทอะ ก็อาจพลาดพลั้งเอาเรื่องคณะไปพูดในเวลาเมา จึงมิได้ความเข้าร่วมในคณะราษฎรก่อนลงมือยึดอำนาจ แต่เมื่อยึดอำนาจได้แล้ว ไม่มีความลับที่จะปิดบังจึงชวนให้ร่วมมือได้
ดี 2. ได้แก่บุคคลที่จะได้รับคำชักชวนต่อเมื่อได้ลงมือปฏิบัติในการยึดอำนาจแล้ว ซึ่งเขาต้องมีบทบาทเป็นกำลังคณะราษฎรได้
ดี 3. ได้แก่บุคคลที่จะได้รับคำชักชวนในวันลงมือปฏิบัติการยึดอำนาจนั้นเอง แต่ภายหลังการยึดอำนาจได้มีทีท่าแสดงว่าจะเป็นผลสำเร็จมากกว่าความไม่สำเร็จ
(6)
ค่าใช้จ่ายสำหรับคณะราษฎร
เรื่องนี้ได้มีการอภิปรายกันมากถึงตัวอย่างของคณะในประเทศต่าง ๆ ที่ทำการเปลี่ยนระบบสมบูรณาฯ ในที่สุดที่ประชุมตกลงกันว่าค่าใช้จ่ายก็เป็นไปตามวิธีการ(Moans) ของคณะแต่ละประเทศ ซึ่งคณะได้ใช้วิธีทำสงครามกลางเมือง (Civil War ) ยืดเยื้อยาวนานก็ต้องหาวิธีได้เงินมามากจึงจะพอใช้จ่าย ส่วนวิธีที่คณะราษฎรตกลงกันนั้นใช้วิธี “ยึดอำนาจโดยฉับพลัน” ที่เรียกว่า “กูป์ เดคาต์” จึงไม่ต้องใช้จ่ายเงินมาก คือ สมาชิกได้เสียสละเงินส่วนตัวเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายกิจการที่ได้รับมอบหมายความสวยงามของตน และผู้ใดขาดเงินก็ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนที่ขอช่วยได้บ้างตามอัตภาพ นอกจากนั้นก็จัดให้มีเงินกองกลางไว้จำนวนหนึ่งโดยวิธีรับประทานร่วมกันเป็นรายเดือนซึ่งแต่ละคนเสียค่าอาหารเพิ่มขึ้นกว่าราคาอาหารเพื่อส่วนที่เพิ่มขึ้นนั้นสมทบกองกลาง
(เมื่อข้าพเจ้ากลับสู่สยามในเดือนเมษายน พ.ศ. 2470 แล้วก็ได้นัดเพื่อนรับประทานอาหารร่วมกันที่ภัตตาคารต่าง ๆ เป็นประจำทุกเดือนตามวิธีดังกล่าวข้างบนนั้น)
(7)
กำหนดตัวบุคคลที่รับเลี้ยงครอบครัวในกรณีที่คณะถูกปราบปราม
ที่ประชุมได้พิจารณาเผื่อไว้ถ้าการกระทำของคณะราษฎรต้องถูกปราบปรามหรือพ่ายแพ้ก็ให้มีเพื่อนหัวหน้าสายคนหนึ่งที่เรากันไว้มิให้แสดงออกนอกหน้าว่าเป็นสมาชิกคณะราษฎร โดยไม่ต้องมาประชุมกรรมการหัวหน้าสายบ่อยครั้งไม่ว่าจะในฝรั่งเศสหรือเมื่อกลับสยามแล้ว โดยบำเพ็ญประดุจเป็นคนอยู่ในในบ้านอย่างสงบเงียบ ผู้นี้มีหน้าที่ดำเนินกิจการของคณะราษฎรที่ถูกปราบปรามหรือพ่ายแพ้นั้นต่อไปให้สำเร็จ พร้อมทั้งให้มีหน้าที่คอยช่วยเหลือครอบครัวของเพื่อนที่ถูกติดคุกหรือถึงแด่ความตาย ที่ประชุมเห็นพ้องกันมอบหน้าที่นี้ให้นายแนบ พหลโยธิน ซึ่งเป็นผู้ทรัพย์สินมากโดยได้รับมรดกจากบิดา
(8)
เลือกตั้งหัวหน้าคณะชั่วคราว
ที่ประชุมให้สมาชิกเสนอบุคคลที่สมควรเป็นหัวหน้าคณะราษฎร
นายตั้วฯ เสนอว่า ปรีดีได้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่เพื่อนนักเรียนจนกระทั่งได้รับความไว้วางใจให้เป็นเลขาธิการทำหน้าที่แทนสภานายกและเป็นสภานายกสมาคมตลอดมา ถ้าปรีดีรับเป็นหัวหน้าคณะฯ ก็จะได้เพื่อนนักเรียนอีกจำนวนมากสมัครเป็นสมาชิกของคณะฯ
นายแนบฯ รับรองเห็นชอบด้วย
ที่ประชุมพิจารณาแล้วลงมติชอบให้ปรีดีรับเป็นหัวหน้าคณะฯ
ปรีดีแถลงว่าเมื่อเพื่อนทั้งหลายให้ความไว้วางใจก็ยอมรับตำแหน่งนั้นไปพลางก่อนจนกว่าจะหาบุคคลที่เหมาะสมเป็นหวัหน้าคณะราษฎรต่อไป
17.5.
สมาชิกคณะราษฎรที่เพิ่มขึ้น
เมื่อเสร็จการประชุมก่อตั้งคระราษฎรแล้ว ปรีดีเดินทางจากปารีสในเดือนมีนาคมปีนั้นเพื่อกลับสู่สยามแล้ว เพื่อนที่ยังอยู่ปารีสเลือกเฟ้นผู้ที่สมควรชวนร่วมคณะราษฎรต่อไป อีกประมาณ ๒-๓ เดือน เพื่อนที่ยังอยู่ปารีสได้ชวนนายทวี บุณยเกตุ นักศึกษาวิชาเกษตร, และชาวไทยมุสลิม ที่สำเร็จการศึกษาจากอียิปต์แล้วเดินทางมาเยือนปารีสคือ นายบรรจง ศรีจรูญ กับนายแช่ม มุสตาฟา ต่อมาได้ชวนนายเรือตรีสินธุ์ กมลนาวิน นักศึกษาวิชาทหารเรือเดนมาร์กที่มาเยือนปารีสอีกครั้งหนึ่งต่อจากที่เพื่อนคนนี้ตกลงกันเคยสนทนา กับปรีดีและนายทวี บุณยเกตุไว้เมื่อ ค.ศ. ๑๙๒๖ (พ.ศ. ๒๔๖๙)
เพื่อนที่ก่อตั้งคณะราษฎรได้ทบทวนกันกลับสู่สยามแล้วได้ชวนเพื่อนนักศึกษามาที่เคยสังเกตไว้ในการสนทนาคร่าวๆนั้นโดยมิได้จำกัดเฉพาะนักศึกษาในฝรั่งเศสเท่านั้น ฉนั้นเมื่อกลับสยามแล้วจึงได้ชวนผุ้สำเร็จทางการศึกษาจากสวิตเซอร์แลนด์คือ ดร.ประจวบ บุนนาค, ม.ล.อุดม สนิทวงศ์, และผู้สำเร็จการศึกษาจากอังกฤษ คือ ม.ล.กรี เดชาติวงศ์, นายสพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา, เล้ง ศรีสมวงศ์, นายวิลาศ โอสถานนท์, และผู้สำเร็จการศึกษาจากฟิลิปินส์ คือ นายจรูญ สืบแสง และผู้สำเร็จการศึกษาในสยามที่เป็นสมาชิกคณะนั้นก็มีเนติบัณฑิตหลายคน และผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนกฎหมาย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบางคน หลวงนฤเบศร์มานิต (สงวน จูฑะเตมีย์) อดีตอาจารย์ราชวิทยาลัยให้นำศิษย์ของท่านหลายคนสมัครเป็นสมาชิกคณะราษฎร
นอกนั้น ก็มีเพื่อนสายพลเรือนอีกหลายคนตามบัญชีที่ชื่อฝ่ายพลเรือนได้ทำไว้แล้ว
ส่วน ร.ท.แปลกฯ และเรือตรีสินธุ์ฯ เมื่อกลับสยามแล้วก็ได้ชวนเพื่อนทหารบกและทหารเรือหลายคนเข้าเป็นสมาชิกตามบัญชีชื่อที่สายทหารบกและสายทหารเรือทำไว้แล้ว
โปรดติดตาม “บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 ตอนที่ 22” ในตอนต่อไป
หมายเหตุ :
- คงอักขร การสะกดคำศัพท์ การเว้นวรรค และเลขไทยตามเอกสารต้นฉบับ
- ภาพประกอบจากบันทึกประกอบคำประท้วงของนายปรีดี พนมยงค์
ภาคผนวก
คำขอขมาของห้างหุ้นส่วนจำกัดบรรณกิจเทรดดิ้งและประกาศกระทรวงศึกษาธิการเพิกถอนคำตัดสินของคณะกรรมการพิจารณาหนังสือแห่งชาติ หนังสือชื่อ “ชีวิต 5 แผ่นดินของข้าพเจ้า” โดย พล.ท. ประยูร ภมรมนตรี
บรรณานุกรม
หลักฐานชั้นต้น :
- ปรีดี พนมยงค์, บันทึกประกอบคำประท้วงของนายปรีดี พนมยงค์, (มปท., มปป.)
เรื่องที่เกี่ยวข้อง :
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 1)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 2)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 3)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 4)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 5)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 6)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 7)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 8)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 9)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 10)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 11)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 12)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 13)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 14)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 15)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 16)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 17)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 18)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 19)
- บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 20)