ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ข่าวสารและบทความ

เกร็ดประวัติศาสตร์
14
มิถุนายน
2565
การทำนาเป็นรากฐานสำคัญที่สุดของเศรษฐกิจสังคมสยาม ตลอดระยะเวลาของประวัติศาสตร์อันยาวนาน การปลูกข้าวเพื่อส่งออกและการค้าภายในเป็นกิจกรรมหลักทางเศรษฐกิจ โดยในช่วงต้นของ พ.ศ. 2400 สินค้าส่งออกทางการเกษตรมีสัดส่วนถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด สังคมเกษตรกรรมช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นจึงต่อเนื่องยาวนานจนถึง พ.ศ. 2490 สังคมภาคเกษตรในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ถือเป็นสังคมที่ประกอบไปด้วยชาวนาอิสระจำนวนมาก และชาวนาเหล่านี้ก็สามารถจับจองพื้นที่ในการเพาะปลูกได้ สังคมในลักษณะดังกล่าวสะท้อนถึงวัฒนธรรมแห่งการพึ่งตนเอง ให้คุณค่ากับความเสมอภาค และยึดถือประเพณีช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
แนวคิด-ปรัชญา
13
มิถุนายน
2565
บนหน้าประวัติศาสตร์ความเหลื่อมล้ำของไทย เลี่ยงไม่ได้ที่ต้องพิจารณาการถือครองที่ดิน เพราะเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ
แนวคิด-ปรัชญา
12
มิถุนายน
2565
“ความคิดเห็นไม่ตรงกัน การพนันจึงเกิดขึ้น”  นั่นคือคำกล่าวที่เรามักจะแว่วยินกันอยู่บ่อยหน  หากอีกหลายบรรทัดที่ผมกำลังจะบอกเล่าต่อไป  เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการนัดประชุมวางแผนยึดอำนาจของกลุ่มผู้นำ คณะราษฎร ช่วงก่อนหน้าที่พวกเขาจะร่วมกันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบรัฐธรรมนูญ เมื่อวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งการนัดประชุมแต่ละครั้งมีลักษณะเข้าทำนอง “แม้ความคิดเห็นจะตรงกัน แต่การพนันก็เกิดขึ้น”
เกร็ดประวัติศาสตร์
11
มิถุนายน
2565
ความเดิมตอนที่แล้ว : ศุขปรีดาเล่าเรื่อง : หวอเหงียนย้าป จอมทัพคู่บารมีโฮจิมินห์ : นักอภิวัฒน์หนุ่ม
บทบาท-ผลงาน
10
มิถุนายน
2565
เมื่อมีอายุ 11 ปีในพุทธศักราช 2454 ข้าพเจ้าสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันและน่าแปลกใจอย่างยิ่งในวัฒนธรรมของชาวจีนโพ้นทะเลและในหมู่ลูกหลานของพวกเขา ซึ่งมีอยู่ราวร้อยละ 25 ของราษฎรทั้งหมดในประเทศสยาม กล่าวคือ ผู้ชายแทบทุกคนได้ตัดผมหางเปียของเขาออก ทั้งๆ ที่เป็นทรงผมที่พวกเขาไว้กันมานานหลายศตวรรษแล้ว พวกเขาอธิบายสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ให้ราษฎรชาวสยามฟังว่า ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบโบราณซึ่งบังคับให้พวกเขาไว้หางเปียอันน่าอับอายเช่นนี้ได้ถูกโค่นล้มแล้ว ด้วยการอภิวัฒน์ของฝ่ายสาธารณรัฐนำโดย ดร.ซุนยัดเซ็น ซึ่งในเวลานั้นได้เรียกร้องให้ชาวจีนทุกคนไว้ผมสั้นเช่นชาวยุโรป (ในสมัยนั้น)
เกร็ดประวัติศาสตร์
9
มิถุนายน
2565
ปรีดี พนมยงค์ไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปของประธานคณะกรรมการชันสูตรพระบรมศพสรุป นายปรีดี พนมยงค์ ตำหนิการให้ความเห็นของแพทย์ว่าทำเกินขอบเขตหน้าที่ของแพทย์ และไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปของคณะแพทย์ในส่วนที่ไม่ได้เป็นเอกฉันท์ โดยปรากฏคำให้การของ นายแพทย์นิตย์ เวชชวิศิษฏ์ ที่เบิกความในศาลอาญาเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 ไว้ตอนหนึ่งว่า
แนวคิด-ปรัชญา
8
มิถุนายน
2565
จุดเริ่มต้นแห่งจิตสำนึกในการอภิวัฒน์สยามของนายปรีดี พนมยงค์นั้น เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วัยเยาว์ที่ถือกำเนิดมาในครอบครัวที่มีอาชีพชาวนา ได้ประสบชะตากรรมความยากลำบาก ได้เห็นชาวบ้านคนอื่นๆ ถูกเอารัดเอาเปรียบจากการทำนา
6
มิถุนายน
2565
  ตามที่ปรากฏรายงานข่าวว่ารัฐทหารพม่าได้ มีมติอนุมัติให้ประหารชีวิตสองนักโทษทางการเมืองที่เป็นนักกิจกรรมทำงานประชาธิปไตย โดยอ้างว่าทั้งสองมีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย ซึ่งหากมีการประหารชีวิตเกิดขึ้นจริงแล้วจะเป็นการประหารชีวิตนักโทษทางการเมืองครั้งแรก นับตั้งแต่ปี 2519
เกร็ดประวัติศาสตร์
5
มิถุนายน
2565
ย้อนไปช่วงปลายทศวรรษ 2460 และต้นทศวรรษ 2470 ก่อนหน้าที่กลุ่มของ “คณะราษฎร” จะร่วมกันเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสังคมไทยเคยปรากฏกลุ่มของบุคคลหลายคณะที่ก่อตัวขึ้นเพื่อเคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจากการปกครองแบบระบอบศักดินา ณ บัดนี้ ผมจะพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ “คณะ” ต่างๆ เหล่านั้น
เกร็ดประวัติศาสตร์
4
มิถุนายน
2565
ความเดิมตอนที่แล้ว : ศุขปรีดาเล่าเรื่อง : หวอเหงียนย้าป จอมทัพคู่บารมีโฮจิมินห์ ถิ่นกำเนิดแห่งปฐมวัย