ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ข่าวสารและบทความ

เกร็ดประวัติศาสตร์
3
มิถุนายน
2565
เนื้อหาในบทความนี้ ได้รวบรวมฎีกาต่างๆ ที่บอกถึงความทุกข์ยาก ถูกเอารัดเอาเปรียบของชาวนาและราษฎรไทยบนแผ่นดินสยาม เมื่อครั้งสยามประเทศยังปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทั้งในเรื่องความเป็นอยู่ และสภาพเศรษฐกิจในเวลานั้น เรื่องเหล่านี้เองเป็นสาเหตุใหญ่ซึ่งเป็นที่มาของการอภิวัฒน์สยาม 2475
แนวคิด-ปรัชญา
2
มิถุนายน
2565
หากเราใช้เกณฑ์การให้สิทธิการเลือกตั้งที่เท่าเทียมกันโดยไม่จำกัดด้วยแตกต่างของรายได้ เพศสภาพ ชนชั้น ผิวสี หรือชาติพันธุ์ (Universal suffrage) เป็นตัวบ่งชี้ความเป็นประชาธิปไตยของประเทศนั้นๆ แล้ว สยามก็นับว่าเป็นประเทศแรกๆ ของโลกที่รับรองสิทธินี้คล้องจองไปกับโลกสากลที่ให้ความสำคัญการยกระดับความเท่าเทียมหญิง-ชาย เพื่อสร้างโลกที่ควรจะเป็น ฉะนั้น หากเปรียบเทียบช่วงเวลาที่ไทยเรารับรองสิทธินี้ คือ 1 ปี หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 พลเมืองหญิงชายต่างได้ใช้สิทธินี้อย่างเต็มภาคภูมิ บางกรณีก้าวหน้าไปไกลกว่าประเทศมหาอำนาจบางประเทศที่เราเสียเปรียบดุลอำนาจ โปรดดูตารางข้างล่าง  
แนวคิด-ปรัชญา
1
มิถุนายน
2565
ในบทความนี้ มาเริ่มนับหนึ่งกันใหม่กับ PDPA101 มาทำความเข้าใจกันอย่างถูกต้องว่าอะไรใช่หรืออะไรไม่ใช่ อะไรทำได้หรืออะไรทำไม่ได้ อะไรเป็นข้อยกเว้นและอะไรบ้างที่ต้องตระหนัก มาเข้าใจถึงความหมายที่ถูกต้องของกฎหมาย PDPA ที่มาของกฎหมาย จุดมุ่งหมายของการมีกฎหมาย PDPA ใครบ้างที่เป็นผู้ถูกคุ้มครอง PDPA ใช้กับเรื่องใดบ้าง เป็นต้น
แนวคิด-ปรัชญา
31
พฤษภาคม
2565
ยุคเผด็จการของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับเหตุการณ์การประหารชีวิตของ ‘ครูครอง จันดาวงศ์’ และ ‘ครูทองพันธ์ สุทธิมาศ’ ที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์และกบฏแบ่งแยกดินแดน โดยอาศัยมาตรา 17 คำพิพากษาที่มิได้ผ่านกระบวนการยุติธรรมหรือตรวจสอบความจริง ทำให้วันปลิดชีวิตของครูครองและครูทองพันธ์มาถึงอย่างรวดเร็วภายหลังการถูกจับกุมไม่ถึง 1 เดือน
บทบาท-ผลงาน
30
พฤษภาคม
2565
เป็นที่ทราบกันดีว่า การดำเนินนโยบายตามหลัก 6 ประการของคณะราษฎร มาเกิดขึ้นได้จริง ก็เมื่อ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่วนการผลักดันนโยบายตามปณิธาณของการอภิวัฒน์มาเกิดขึ้นอย่างเต็มกำลังก็เมื่อหลังเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดชจบลง อันถือเป็นความพยายามต่อสู้กับระบอบของผู้ศรัทธาในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ครั้งสุดท้าย
ศิลปะ-วัฒนธรรม
29
พฤษภาคม
2565
ในบทความนี้ จะว่าด้วยเรื่องของสัตว์สองประเภท คือ นกและปลา ซึ่งมีการตั้งชื่อเรียกโดยใช้ชื่อของ ‘ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์’ ได้แก่ นกปรีดี, ปลาปล้องทองปรีดี และ นกเสรีไทยที่เคยได้นำเสนอไปแล้ว ทั้งนี้เพื่อเป็นเกียรติและเพื่อการรำลึกคุณูปการของท่านที่มีต่อชาติและราษฎรไทย
เกร็ดประวัติศาสตร์
28
พฤษภาคม
2565
  “หวอเหงียนย้าป” (VO NGUYEN GIAP) เกิดที่หมู่บ้านอานซา (AN XA) จังหวัดกว๋างบิ่นห์ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1911
เกร็ดประวัติศาสตร์
27
พฤษภาคม
2565
พ.ศ. 2565 นอกจากจะเป็นวาระ 90 ปีแห่งการอภิวัฒน์สยามแล้ว ยังมีอีกวาระสำคัญ นั่นก็คือ 90 ปีแห่งการก่อตั้งสวนโมกขพลาราม 'นริศ จรัสจรรยาวงศ์' ได้นำเสนอ คำสัมภาษณ์บางช่วงบางตอนถึงปฏิกิริยาของพุทธทาสภิกขุภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองและ "เทศนาเทอดระบอบใหม่" ซึ่งผู้เขียนสันนิษฐานว่าเป็นการเทศนาที่ท่านอาจารย์ได้แสดงขึ้นที่โรงเรียนสารภีอุทิศ เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2481
บทบาท-ผลงาน
26
พฤษภาคม
2565
ในบทความนี้ ผู้เขียนนำเสนอในเรื่องของ "การประเมินบทบาทที่ปรึกษาต่างชาติ" ว่าเป็นอย่างไร ส่งผลแค่ไหนต่อความสำเร็จในการเจรจาสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมของรัฐบาลภายใต้ระบอบเดิม ซึ่งจากงานศึกษาของนักวิชาการที่ผู้เขียนหยิบยกมาพิจารณานั้นได้เสนอไว้ว่า "ที่ปรึกษาชาวต่างชาติหลายคนมิได้แสดงให้เห็นความสามารถเท่าที่ควร"
บทบาท-ผลงาน
25
พฤษภาคม
2565
นายปรีดี พนมยงค์ นักเรียนกฎหมายวัยเพียง 19 ปีที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและยังเรียนไม่จบ ได้ทำการขออนุญาตเป็นพิเศษต่อผู้พิพากษาเจ้าของคดี รับอาสาว่าความเป็นทนายแก้ต่างให้นายลิ่มซุ่นหงวน ในเวลานั้นได้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก ด้วยทนายอาสาผู้นี้นั้น ทั้งเรียนยังไม่จบและยังไม่เคยว่าความใดๆ มาเลยสักครั้งในชีวิต