บทความ
บทความ เว็บไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI BANOMYONG INSTITUTE
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
20
มิถุนายน
2563
เป็นที่น่าเสียดายว่ากระแสประชาธิปไตยและปรีดีศึกษาที่ดูเหมือนกำลังไปได้ดีกลับถูกเหนี่ยวรั้งให้ชะลอตัวลงจากรัฐประหาร ๑๙ ก.ย.๒๕๔๙ รัฐบาลพลเรือนผ่านการเลือกตั้งต้องพ้นวงจรอำนาจไปอีกครั้ง รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ ถูกฉีกทิ้ง พร้อมกับระบอบขุนทหารฝ่ายอนุรักษ์นิยมกลับขึ้นมามีอำนาจ บุคคลจำนวนไม่น้อยที่เคยร่วมฉลองและมีส่วนในการฟื้นภาพลักษณ์นายปรีดี พนมยงค์ เริ่มเผยทัศนคติย้อนแย้งต่ออุดมการณ์ประชาธิปไตยด้วยการหันไปสนับสนุนเผด็จการทหาร
บทความ • ชีวิต-ครอบครัว
20
มิถุนายน
2563
2 พฤษภาคม 2536 เป็นวันที่นายปรีดี พนมยงค์ ได้ละโลกอันสับสนวุ่นวายไปสู่ที่ที่มีความสงบครบ 10 ปี ถึงแม้กาลเวลาจะล่วงเลยมานานแล้ว แต่เนื่องจากเราได้ร่วมชีวิตกันมาเป็นเวลากว่า 55 ปี จึงอดที่จะระลึกถึงความหลัง ซึ่งเป็นเรื่องส่วนตัวเฉพาะครอบครัว ไม่ได้ และเป็นชีวิตเสี้ยวหนึ่งของนายปรีดีที่ไม่ค่อยมีใครทราบ
บทความ • แนวคิด-ปรัชญา
19
มิถุนายน
2563
ในวาระครบรอบ 60 ปี แห่งการอภิวัฒน์ประชาธิปไตย ไทย ผมใคร่จะถือโอกาสนี้เขียนถึง ฯพณฯ รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ผู้เป็นมันสมองของคณะราษฎรในการอภิวัฒน์ครั้งนั้น
บทความ • บทบาท-ผลงาน
18
มิถุนายน
2563
ในการเสวนาเรื่อง “ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ฉบับ 27 มิถุนายน 2475” เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2550 ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ปรีชา สุวรรณทัต ได้ร่วมอภิปราย ความตอนหนึ่งดังนี้
ความจริงการเสวนาในวันนี้มีสองมิตินะครับที่กําหนดเป็นหัวข้อ มิติทางประวัติศาสตร์และมิติทางรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย คือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2745 พี่สุพจน์ [ด่านตระกูล] ได้พูดถึงมิติทางด้านประวัติศาสตร์ไปในรายละเอียด ผมจะขอให้ข้อสังเกตบางประการทางด้านมิติรัฐธรรมนูญฉบับแรก
บทความ • บทสัมภาษณ์
17
มิถุนายน
2563
โคทม อารียา เป็นผู้แทนสหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน สัมภาษณ์นายปรีดี.
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
16
มิถุนายน
2563
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เวลา 17.15 น. โปรดเกล้าฯ ให้พระยามโนปกรณ์, พระยาศรีวิสาร, พระยาปรีชาชลยุทธ, พระยาพหล, กับหลวงประดิษฐมนูธรรม มาเฝ้าฯ ที่วังสุโขทัย มีพระราชดํารัสว่า อยากจะสอบถามความบางข้อ และบอกความจริงใจ ตั้งแต่ได้รับราชสมบัติ ทรงนึกว่า ถูกเลือกทําไม บางทีเทวดาต้องการให้พระองค์ ทํา อะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง
บทความ • แนวคิด-ปรัชญา
15
มิถุนายน
2563
ปรีดี พนมยงค์ ทำการอภิวัฒน์สยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ด้วยความปรารถนาจะให้ประเทศสยามในขณะนั้นได้มีประชาธิปไตยสมบูรณ์ คือประกอบไปด้วยประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ประชาธิปไตยการเมือง และทัศนะทางสังคมที่เป็นประชาธิปไตย
บทความ • ศิลปะ-วัฒนธรรม
14
มิถุนายน
2563
สาเหตุของความแตกแยกภายในคณะราษฎร มีพื้นฐานสืบเนื่องมาจากความแตกต่างในอุดมการณ์ทางการเมืองของบุคคลชั้นหัวหน้าในคณะราษฎรเป็นสําคัญ การรวมตัวกันของคณะราษฎรเป็นที่น่าสังเกตว่า ประกอบด้วยบุคคลซึ่งมีแนวความคิดต่างกันอยู่มาก แต่เท่าที่สามารถรวมกลุ่มกันได้ในระยะแรก เป็นเพราะบุคคลเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายร่วมกันอยู่ คือ ความต้องการยึดอํานาจจากชนชั้นปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพื่อสถาปนารัฐบาลชุดใหม่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
บทความ • ชีวิต-ครอบครัว
13
มิถุนายน
2563
“ผมกับภรรยาสืบมาจากเชียดเดียวกัน”
ท่านปรีดี พนมยงค์ กล่าวตอนหนึ่งในการสนทนากับนายฉัตรทิพย์ นาถสุภา เมื่อเดือนเมษายน 2525 ถึงความสัมพันธ์ทางสายเลือดระหว่างท่านกับท่านผู้หญิงพูนศุข ผู้เป็นศรีภริยา
คําว่า “เชียด” นั้นเป็นคําโบราณที่ไม่ค่อยมีใครในปัจจุบันเรียกกัน หมายถึงพ่อของชวด (ทวด) ตามประวัติของท่านรัฐบุรุษอาวุโสนั้น เชียดของท่านมีบุตรอยู่หลายคน บุตรีคนหนึ่งชื่อปิ่นได้แต่งงานกับจีนก๊ก แซ่ตั้ง เป็นพ่อค้าเชื้อชาติจีน ทั้งสองมีบุตร หลายคนคนหนึ่งชื่อเกิด ได้แต่งงานกับนางคุ้ม มีบุตร 8 คน ชื่อ ฮวด ชุ้น แฟง ง้วย ใช้ ฮ้อ เสียง และบุญช่วย
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
Subscribe to บทความ
13
มิถุนายน
2563
ตอน ๖
ปรีดีอสัญกรรม พ.ศ.๒๕๒๖
ถึง
งาน ๑๐๐ ปีชาตกาลท่านรัฐบุรุษอาวุโส บุคคลสำคัญองค์กร UNESCO
ณ บ้านอองโตนี ชานกรุงปารีส เวลา ๑๑ นาฬิกาเศษ ของวันจันทร์ที่ ๒ พ.ค.๒๕๒๖ นายปรีดีสิ้นใจอย่างสงบด้วยอาการหัวใจวายขณะกำลังเขียนหนังสืออยู่ที่โต๊ะทำงาน สรีระของท่านได้รับการประกอบพิธีฌาปนกิจศพอย่างสมเกียรติและเรียบง่ายตามเจตนารมณ์ของผู้วายชนม์เมื่อเที่ยงของวันจันทร์ที่ ๙ พ.ค.๒๕๒๖ ณ บริเวณสุสาน Père Lachaise สถานที่สำหรับ ฝังศพบุคคลสำคัญของประเทศ เช่น Chopin, Molière, Hugo, Delacroix ฯลฯ