ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

บทความ

บทความ เว็บไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI BANOMYONG INSTITUTE

แนวคิด-ปรัชญา
9
กุมภาพันธ์
2566
รวินทร์ คำโพธิ์ทอง เขียนถึงศัพท์เกิดใหม่อย่าง "กรุงเทพอภิวัฒน์" โดยวิเคราะห์ผ่านความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างภาษาและการเมือง พร้อมทั้งบอกเล่าความเป็นมาของคำว่า "อภิวัฒน์" ซึ่งถูกนิยามและเชื่อมร้อยเข้ากับบริบททางการเมืองไทยเมื่อราวต้นทศวรรษ 2500 โดย นายปรีดี พนมยงค์ หนึ่งในสมาชิกคนสำคัญของคณะราษฎร
แนวคิด-ปรัชญา
8
กุมภาพันธ์
2566
กุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) กับข้อเขียน "เสรีภาพ" ตีพิมพ์ราวเดือนกันยายน พ.ศ. 2487 โดยเริ่มต้นจากการตั้งคำถามพื้นฐานที่ว่าด้วยเสรีภาพนั้นคืออะไร? มนุษย์ได้เสรีภาพมาอย่างไร? มนุษย์จะพึงใช้เสรีภาพอย่างไร? รวมถึงประเด็นสำคัญคือ มนุษย์จะรักษาสิ่งล้ำค่านี้ไว้ได้อย่างไร? พร้อมด้วยข้อวิพากษ์ของ "ขอบเขตของการใช้เสรีภาพ"
เกร็ดประวัติศาสตร์
7
กุมภาพันธ์
2566
ภีรดา เขียนถึงการต่อสู้ทางการเมืองด้วย "การอดอาหาร" (Hunger Strike) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายทางอุดมการณ์เพื่อตอบสนองแก่ข้อเรียกร้องจนนำไปสู่การหาทางออกของสังคม ผ่านกรณีความเคลื่อนไหวทางการเมืองในต่างประเทศ และ ไทยโดย 'ฉลาด วรฉัตร' อดีตนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่สามารถสร้างแรงกระเพื่อมให้แก่สังคมบนหน้าประวัติศาสตร์เหตุการณ์พฤษภาประชาธรรม
แนวคิด-ปรัชญา
6
กุมภาพันธ์
2566
กล้า สมุทวณิช เขียนถึงปัญหาเชิงวัฒนธรรมที่สืบถอดกันมาในรูปแบบโครงสร้างรัฐนิยมที่ถูกเชิดชูขึ้นมาอยู่เหนือพื้นฐานสิทธิแห่งเสรีภาพ ผ่านการแทรกซึมในชีวิตประจำวันของสังคม ไม่เว้นแม้กระทั่งชีวิตของเด็กนักเรียน
บทบาท-ผลงาน
5
กุมภาพันธ์
2566
อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ เขียนถึงเรื่องราวระหว่างนายปรีดี พนมยงค์ เมื่อคราวรั้งตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กับการร้องเรียนและขอความช่วยเหลือโดยกลุ่มแขกเจ้าเซ็น กรณีปัญหาความกังวลเกี่ยวกับศาสนวัตถุพระปั้นหย่า ซึ่งมีทีท่าว่าจะถูกปลอมแปลง จนอาจส่งผลต่อความเลื่อมใสของศาสนิกชน
เกร็ดประวัติศาสตร์
4
กุมภาพันธ์
2566
การเดินทางเพื่อแสวงหาเป้าหมายแห่งชีวิต คือ การศึกษาสั่งสมหาความรู้เพื่อตอบสนองต่อเจตจำนงที่ตนได้ตั้งไว้ ตลอดช่วงเวลาดังกล่าวนักปฏิวัติผู้นี้มิได้เคยย่อท้อต่อความยากลำบาก หากฝ่าฟันทุกอุปสรรคและเก็บเกี่ยวทุกประสบการณ์เพื่อประกอบกับการกอบกู้เอกราช
แนวคิด-ปรัชญา
1
กุมภาพันธ์
2566
สุพจน์ ด่านตระกูล วิเคราะห์ผ่านบทความของกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรืออีกนามปากกาหนึ่งคือ อิสรชน โดยวิพากษ์อคติและคำกล่าวหาของฝ่ายปฏิกิริยา อันบิดเบือนไปจากความมุ่งมาดที่แท้จริงของนายปรีดี พนมยงค์ ในการรื้อฟื้นแผนขุดคอคอดกระ อันเป็นความรุดหน้าไปนั้นดำเนินไปก็เพื่อผลประโยชน์ของชาติ
แนวคิด-ปรัชญา
31
มกราคม
2566
กล้า สมุทวณิช กล่าวถึง พลวัตของสิทธิเสรีภาพในรัฐธรรมนูญไทย ซึ่งปรากฏการกำหนดสภาพบังคับในเชิงป้องกันการละเมิดจากอำนาจรัฐ และสิทธิเรียกร้องต่อรัฐให้บังคับตามสิทธิ อันเป็นคุณค่าพื้นฐานของพลเมืองดังบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 และ 2550 ทว่า สิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ถูกรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญไว้โดยชัดแจ้ง กลับมีจุดหักเหเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ได้ถือกำเนิดขึ้น ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลต่อ "มุมมอง" ตลอดจน "การตีความ"
แนวคิด-ปรัชญา
30
มกราคม
2566
เขมภัทร ทฤษฎิคุณ เขียนถึงบทบาทแนวคิดที่หลากมิติของ 'นายปรีดี พนมยงค์' สำหรับการทำงานเพื่อรับใช้สังคมอันเป็นเจตนารมณ์ที่ได้ต่อยอดทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และสันติภาพ อันเป็นหลักการที่วางรากฐานและสร้างคุณค่าให้แก่ระบอบประชาธิปไตย โดยแก่หลักสำคัญได้แก่ "ปรัชญาสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ประชาธิปไตย"
ศิลปะ-วัฒนธรรม
27
มกราคม
2566
กวินพร เจริญศรี เขียนถึง "Bangkok Art Biennale 2022" ภายใต้ธีม "CHAOS: CALM โกลาหล : สงบสุข" โดยรวบรวมงานศิลปะหลายแขนงจากทั่วโลก บอกเล่าเรื่องราวผ่านการตีความที่สอดแทรกความเป็นไปทางสังคมและสัจธรรมของมนุษย์ที่ต้องพบเจอทั้งโรคระบาด ความขัดแย้งทางการเมือง ตลอดจนภัยสงคราม เพื่อเปลี่ยนสภาพการณ์จากดิสโทเปียไปสู่ยูโทเปียในกาลข้างหน้า
Subscribe to บทความ