Q ผู้เข้าร่วมงาน :
รู้สึกชื่นชมมากครับ ที่ทำหน้าที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับทุกคน ไม่ว่าจะทั้งผู้หญิงหรืออะไรก็ตาม ผมเห็นด้วยว่าเราจะต้องต่อสู้เพื่อที่จะทำให้เสียงของผู้หญิงมีความสำคัญมากขึ้น อย่างไรก็ตามจริงๆ แล้วเสียงของพวกเราไม่ควรจะเห็นคุณค่าแค่ในฐานะการเป็นคนที่ทำอะไรบางอย่างที่สร้างการเปลี่ยนแปลง ในแง่ของการได้รับการยอมรับเทียบเท่ากับผู้ชายแค่นั้น
เพราะว่าจริงๆ แล้วผู้หญิงมีคุณค่าอย่างมากมาย ในแบบที่ตัวเองมีอยู่แล้ว แต่กลับไม่ได้รับความสำคัญเท่านั้นเอง คือเราจะเห็นว่าสังคมของเรา ผู้หญิงถูกกดมาก ทำให้ผู้หญิงคนที่จะเด่นขึ้นมาเป็นที่ยอมรับ มีแสงจับจ้องได้ จะต้องเป็นคนที่แข็งแกร่ง ต้องเป็นคนที่ออกมาเรียกร้องต่อสู้ แล้วเห็นว่าผู้หญิงที่ได้กล่าวไปข้างต้น อาจจะเป็นคนที่มีลักษณะบางอย่างคล้ายกับผู้ชายนั่นเองจึงจะได้รับความสนใจ
เมื่อลองมองมุมนี้ก็เป็นอย่างนั้น ทั้งที่จริงๆ แล้วมีงานอีกเยอะ เช่น งานของการเลี้ยงลูก งานบ้าน งานดูแลคน งานที่ต้องใช้การดูแลความใส่ใจความรัก ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมคิดว่า ผู้ชายก็ทำได้ดี สำหรับผมคิดว่าผู้หญิงทำได้ดีมากกว่าผู้ชายโดยทั่วไปแล้ว แต่งานเหล่านี้กลับไม่ได้รับความสนใจ ทั้งที่จริงๆ แล้ว ถ้าถามต่อไปว่า ไม่ทำได้ไหม ต่อไปไม่มีใครเลี้ยงลูก
ผมว่าสังคมนี้ล่มสลาย แต่งานเหล่านี้กลับไม่ได้รับคุณค่า เพราะว่างานที่เรามองว่ามีคุณค่า จะต้องเป็นแรงงานเท่านั้น ต้องหารายได้ให้ครอบครัวได้ ต้องเป็นอาชีพ ผมว่าเรื่องนี้ อาจจะเชื่อมกับเรื่องที่อาจารย์พัทธ์ธีราพูดถึงว่า “เพราะว่ามันเป็นทุนนิยมไง ก็เลยถูกให้ความสำคัญแค่ว่าต้องมีเรื่องของการทำงานเทียบเท่าผู้ชาย” ซึ่งผมเห็นด้วยว่าเราต้องสู้ แต่อีกเรื่องหนึ่งที่เราต้องสู้ คือเราจะสู้เพื่อให้เรื่องของลักษณะบางอย่างที่แบบคุณค่าที่เรามีอยู่แล้วสามารถจะปรากฏออกมาได้แปลว่าเราไม่จำเป็นจะต้องเป็นนักวิชาการ นักข่าว ทนายความ นักการเมือง หรือว่าเป็นนักเคลื่อนไหวเท่านั้น แต่ว่าเราสามารถจะผลักดันประเด็นอย่างไรต่อไปคุณค่า แม้แต่ของผู้หญิงเอง ซึ่งไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิงจะมาทำหน้าที่นี้สามารถได้รับการยอมรับหรือว่ามีศักดิ์ศรีเทียบเท่ากับคนที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานด้วย
Q ผู้เข้าร่วมงาน :
ในรัฐสภา การที่จะเป็นตัวแทนว่าเป็นกระบอกเสียงของประชาชน แล้วเราที่เป็นผู้หญิงด้วย อยากรู้ว่าในความเป็นจริง ในสังคมการเมืองไทยหรือว่าในรัฐสภาไทย การเป็น ส.ส. หญิง เรียกว่ามี Power หรือว่าเป็นสามารถเป็นกระบอกเสียงเกี่ยวกับผู้หญิงให้กับประชาชนได้มากน้อยแค่ไหน หรือว่าเสียงของผู้หญิงอย่างเราจะเสียงดังมากน้อยเพียงใด?
A ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ :
เราว่ายุคนี้ต่างจากยุคเดิม คือเดิมไม่เคยไปมาก่อนแต่คือเท่าที่คุยกับพี่ๆ ส.ส. (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) ที่เป็นมาสมัยก่อนหน้าเขาก็บอกว่า ส.ส. สมัยนี้มีสัดส่วนที่ต่างจากสมัยก่อน อาจจะมีคนธรรมดาเข้าไปเยอะ แล้วสัดส่วนผู้หญิงอาจจะต่ำ แต่สัดส่วนของส.ส. หญิงเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 10 กว่าๆ ประมาณ 16 ส่วนปีนี้ประมาณ 19 กว่าๆ คือเกือบ 20% กำลังจะไปสู่มาตรฐานสัดส่วนขั้นต่ำคือ 30% จะพบว่ามีสัดส่วนเพิ่มขึ้น แล้วสส. ผู้หญิงที่เข้ามา สำหรับนักการเมืองผู้หญิงมีอะไรบางอย่างที่จะต้องพิสูจน์ตัวเองอยู่พอสมควร
เราต้องกล้าที่จะพูดอธิบายในสภามากขึ้น เราจะพบว่ายุคนี้มีสส. ผู้หญิงออกมาพูดหลายคนมากขึ้น แล้วมีประเด็นที่หลากหลายมาก อย่าง ส.ส. ผึ้ง พนิดา ในประเด็นตำรวจ หรือว่า ส.ส. หญิงหลายๆ คนจากพรรคเพื่อไทยมาพูดในประเด็นที่หนักๆ มากขึ้น มีบทบาทมากขึ้น อย่างในตอนนี้ได้เป็นรองประธานคณะกรรมการ แล้วบางคนอย่าง ส.ส. เบญจา ที่เกือบจะได้เป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะอยากเห็น ส.ส. หญิงเป็นประธาน แต่สิ่งที่อยากเห็นในอนาคต คือ ประธานสภาฯ ผู้หญิง
มีคนบอกว่าให้ทนายแจมเป็นประธานสภาฯ แล้วอยากเห็นผู้หญิงในบทบาทที่เป็นผู้นำมากขึ้น เพื่อให้การเมืองเปลี่ยนไป ถ้ามีโอกาสอยากชวนมาเป็นนักการเมืองกัน แล้วก็ถามว่ามีความยากในการเป็นนักการเมืองไหม มีความยาก เพราะที่เคยบอกบางครั้ง พอตอนที่อภิปราย ถ้าจำได้จะชอบเกริ่นก่อนแนะนำตัวเอง แล้วคนจะเริ่มแซว อันนี้เลิกแซวกันมาแล้วว่า “ทนายแจม ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานครเขต 11 และคุณแม่ลูก 2 ค่ะ” ที่กำลังเปลี่ยนแปลงสังคมผ่านการเมือง ช่วงแรกๆ เราพูดแบบนี้จะโดนแซวว่า “จะบอกเขาไปว่ามีลูกแล้ว มีผัวแล้วอะไรอย่างนี้หรือ” ผู้ชายนั่นแหละแซว “ไม่ต้องไปบอก อีหนู พูดชื่ออย่างเดียวก็พอ เดี๋ยวเขารู้ว่ามีลูกมีผัวแล้ว”
เรารู้สึกว่าเราภูมิใจ ถ้าพูดถึงเรื่องตำรวจ แล้วบอกว่าและภรรยาของตำรวจที่ถูกธำรงวินัย คือเราต้องเอาเรื่องพวกนี้ออกมาพูดให้ได้ เพื่อให้เราภูมิใจในความที่เราเป็นแม่ที่อยู่ในสภาและเป็นภรรยาตำรวจที่ถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง อยู่ในสภาเพื่อให้เราเป็นกระบอกเสียงของคนหลายๆ คนเพื่อให้คนอื่นกล้าที่จะรู้สึกว่า “ฉันก็สามารถที่จะมาเป็นตัวแทนได้เหมือนกัน” “ฉันมีประเด็นที่อยากทำเหมือนกัน” คิดว่าอาจจะมี แต่อาจจะน้อยลง แต่ยังไม่ได้ถึงระดับที่เราพอใจ ยังรู้สึกว่าผู้หญิงสามารถที่จะขยับไปเป็นได้มากกว่านี้ในอนาคต
ฐปณีย์ เอียดศรีไชย
พูดถึงน้องผู้ชาย ที่พูดถึงเรื่องของอาชีพของผู้หญิงที่ควรจะได้รับศักดิ์ศรีเท่ากัน คือคล้ายๆ ที่อาจารย์บอกว่าไปต่างประเทศแล้วเดี๋ยวจะไปรู้ว่า ผู้หญิงไทยทำไมเขาถึงไปทำงานแต่งงานกับชาวต่างชาติ เพราะมีสวัสดิการดี ศักดิ์ศรีผู้หญิงไทยเป็นผู้หญิงที่แบบถูกกดแล้วก็ศักดิ์ศรีในสมัยก่อนยากมากๆ ยิ่งผู้หญิงที่ไปอยู่ต่างประเทศ จะถูกมองว่าไปทำงานก็ร้านนวด หรือมองผู้หญิงไทยมองว่าไปทำอาชีพแม่บ้าน
เขาต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีเขาจนปัจจุบันผู้หญิงไทยได้รับการยอมรับในต่างประเทศมากขึ้นแล้วก็ทำงานที่หลากหลายมากขึ้นไม่ใช่แค่แบบไปทำร้านนวดที่อิสราเอล รู้ไหมว่ามีผู้หญิงไทยเป็นเจ้าของธุรกิจ ต่อให้เขาแต่งงานกับผู้ชาย แต่ว่าเขาทำงานเขาต่อสู้นู่นนี่นั่นเยอะมากมายทำให้เกิดการยอมรับ
พอมองย้อนกลับมาในประเทศไทยอาชีพทุกอาชีพ ถูกกำหนดว่า อาชีพนี้เท่านั้นที่จะต้องมีเงินเดือน มีศักดิ์ศรีอย่างที่น้องบอก แต่จริงๆ อาชีพแม่บ้านเขาก็สำคัญมาก เป็นอาชีพที่ให้เกียรติกับคนเหล่านี้มาก ต่อให้จ่ายเงินเท่าไหร่ฉันก็ยอมรับ เพราะว่าเป็นงานที่ฉันทำไม่ได้ เขาเหล่านี้ควรที่จะได้รับศักดิ์ศรี แม้กระทั่งแม่ที่ต้องมาเป็นแม่บ้านในการเลี้ยงลูก เขาเสียสละนะเพราะเขาไม่ต้องทำงาน
ปัจจุบันเขาจะดูกันว่าสามีภรรยาคนไหนสามารถทำงานและหาเงินได้ บางบ้านผู้หญิงไปทำงานแต่สามีดูแลลูกเขาแบ่งกันแบบนั้นเพราะอะไรรู้ไหมคะ บางทีการที่พ่อแม่ดูแลลูกเองจะได้มีคุณภาพทางสังคมอีกอย่างหนึ่ง ไม่เหมือนที่เราไปจ้างแม่บ้านหรืออะไรนั่นคือการแก้ปัญหา แต่ถ้าอาชีพเหล่านี้ได้รับการยอมรับหรือมีสวัสดิการหรืออะไรที่มากพอ บางบ้านต้องยอมรับเลยว่าสามี ภรรยาหาเงินเพื่อที่มาจ่ายค่าดูแลแทนแทนที่จะเอาเงิน 30,000 - 40,000 ไปจ้างแรงงานแต่มาจ้างภรรยาเลี้ยงลูกแทน คิดว่าต่อไปก็ต้องฝากเรื่องของการก้าวข้ามตรงนี้เหมือนกันในสังคมไทย
ส่วนเรื่องของส.ส. หญิงที่จะเพิ่มหรือมีคุณค่าแค่ไหนในการเมืองหรือในสภาปัจจุบันคือในฐานะนักข่าวการเมืองและ 20 กว่าปีที่ระบบก็ทำการเมืองไทยไม่มีเส้นทางให้ผู้หญิงเข้าสู่การเมืองได้อย่างภาคภูมิใจเหมือนปัจจุบัน เพราะอำนาจทางการเมืองถูกกดผู้หญิง เราพูดได้เลยแม้กระทั่งคนที่เป็นรัฐมนตรี ซึ่งเอาเข้าจริงเขาก็เก่งนะ แต่ถูกลดทอนคุณค่าไป ก็ต้องยอมรับว่าการเกิดขึ้นของพรรคอนาคตใหม่ พรรคก้าวไกลทำให้ผู้หญิงที่ไม่ได้เป็นลูกหลานรัฐมนตรี ไม่ได้เป็นลูกหลานสส. ได้เข้าสู่เส้นทางการเมืองมากขึ้น คนรุ่นใหม่ที่เข้ามามากขึ้น ทำอาชีพมากขึ้น การได้ส.ส. ที่เป็นส.ส. หญิงที่ไม่ได้เป็นลูกหลานการเมือง
ทีมงานที่เป็นคนรุ่นใหม่ เดี๋ยวนี้ไปในสถานะเห็นเด็กรุ่นใหม่เดินเต็มสภาเลยไม่ใช่พวกคนตามคนขับรถอะไรเหมือนในอดีต นี่คือการเปลี่ยนแปลงหนึ่ง แล้วพี่ก็เชื่อว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะต้องฝากความหวังไว้กับส.ส. รุ่นใหม่ และที่ต้องมาแสดงบทบาทของการพูดให้มากขึ้น ทำให้เกิดการยอมรับ เปลี่ยนภาพของผู้หญิงที่เข้าสู่การเมืองมาเป็นการเข้ามาด้วยความสามารถ มาด้วยความตั้งใจ แต่ไม่ได้มาด้วยอำนาจบางอย่าง
อำนาจของผู้ชายที่จะผลักดันเราเข้าสู่เส้นทางการเมืองซึ่งจริงๆ แล้วพูดแบบน้ำเน่าเน่านะ จริงๆ ก็ยังมีผู้หญิงที่ใช้เส้นทางแบบนั้นเข้าสู่การเมืองซึ่งเราก็พยายามรู้สึกว่า ปัจจุบันทำให้คุณค่าของผู้หญิงถูกยกระดับขึ้น เช่นเดียวกันถ้าวงการการเมืองผู้หญิงได้ถูกยกระดับจะสะท้อนอะไรบางอย่าง
เราเคยมีนายกรัฐมนตรีผู้หญิงมาแล้ว ปัจจุบันเรามีทั้งหัวหน้าพรรคและว่าที่หัวหน้าพรรคที่เป็นผู้หญิง ก็คาดหวังว่าต่อไปการเมืองจะถูกสร้างความภาคภูมิใจให้กับผู้หญิงมากขึ้น ก็ขอให้กำลังใจ การเข้าสู่การเมืองไม่ต้องกลัวแล้วว่าเราไม่ได้เป็นลูก ส.ส. ก็เป็นนักการเมืองได้
ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ :
เรื่องเมื่อสักครู่นี้ ที่บอกว่าคุณค่าของแม่หรือว่าของคนดูแล มีคำถึงที่กล่าวว่า “Care Income” คือ ค่าตอบแทนของผู้ดูแล ซึ่งสุดท้ายเรื่องเหล่านี้ก็จะโยงเข้าสวัสดิการ เพราะว่าในหลายประเทศที่เขาเห็นความสำคัญของอาชีพแม่หรือคนดูแล เขาก็จะให้สวัสดิการเรื่องนั้น อย่างง่ายๆ แค่เรื่องสิทธิลาคลอดของประเทศเราแค่ 6 เดือน ประเทศอื่นๆ ได้รับสิทธิ 1 ปีถึง 2 ปีด้วยซ้ำ สุดท้ายแล้วแม่เลี้ยงลูกได้ดีที่สุด จะทำอย่างไรให้แม่เลี้ยงดูลูกได้ เพราะส่วนใหญ่แม่จะต้องกลับไปทำงาน เพราะว่าอะไร ค่าใช้จ่ายต่างๆ เรื่องกฎหมายการลาคลอง หรือเรื่องอื่นๆ รัฐต้อง Support เรื่องนั้น รัฐต้อง Subsidize ในเรื่องต่างๆ ทั้งวันลาคลอดด้วย ทั้งเรื่องของงบปะมาณ
จริงๆ แล้ว Mildset มันเปลี่ยนง่ายมาก เหมือนกับที่อ.พัทธ์ธิราได้พูดไว้ว่า เราต้องคิดก่อนว่า “เด็กคนหนึ่งไม่ได้เป็นลูกของแจม เด็ก 2 คนเมื่อกี้ที่วิ่งไม่ใช่ลูกของแจมนะ แต่เด็ก 2 คนนั้น คือบุคลากรของรัฐ” คิดแค่นี้นะการจัดสรรงบมาจากง่ายเลย ต้อง Base on ว่าคนนี้เด็กทุกคนคือ คนที่จะมาเป็นผู้เสียภาษีในอนาคตจะทำยังไงให้ผู้เสียภาษี เขาใช้ชีวิตแบบ ได้ดี มีเงินที่จะเสียภาษี ก็ต้องให้ความรู้ ให้การศึกษา ให้เรื่องการพยาบาลทุกอย่างให้ดี เพราะว่า ประเทศที่รัฐสวัสดิการดี เขาจะไม่ต้องมานั่งเลือกอาชีพ เพราะทำอาชีพอะไรก็ได้ ทุกอาชีพเท่ากันหมด จะเป็นแม่ จะเป็นคนกวาดถนน จะเป็นคนขับรถบรรทุก จะเป็นหมอ เป็นพยาบาล ศักดิ์ศรีเท่ากันเพราะว่า ก็เสียภาษีเหมือนกัน
ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล
เห็นว่าอาจารย์พัทธ์ธีรา มีอะไรอยากแลกเปลี่ยนสักนิด ก่อนที่เราจะไปยังท่านผู้ชมที่มีคำถามคนสุดท้าย
ผศ.ดร.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์
ที่จริงอยากจะเสริมประเด็นในเรื่องของอาชีพ ซึ่งทุกอาชีพมีคุณค่าเสมอกัน ตอนที่อยู่ออสเตรเลีย ตอนนั้นถูกส่งไปเรียน โดยยอดเฉลี่ยของนักศึกษาปริญญาเอกและนักศึกษาปริญญาโทจากประเทศไทย โดยที่เราได้ทุนรัฐบาลไป เราทำอาชีพอะไรกันรู้ไหมคะ “แม่บ้านทำความสะอาด” ทำ 2 ชั่วโมง เราอยู่ได้กัน 2 - 3 อาทิตย์ ซึ่งค่าแรงที่นั่นหมายความว่า เขาเห็นคุณค่าของทุกอาชีพเสมอกัน
ทุนนักเรียนของประเทศไทยมีจำนวนน้อย ทำให้ไม่พอใช้จ่าย จึงต้องไปรับจ้างทำความสะอาด อันนี้เป็นสิ่งที่บอกว่าควรเปลี่ยนที่วิธีคิดแล้วต้องเปลี่ยนเรื่องของการเห็นคุณค่าของทุกอาชีพมีให้มีคุณค่าที่จริงแล้วอาชีพแม่เลี้ยง พ่อเลี้ยงเด็ก เพื่อนที่อยู่สวีเดน เขาลาได้ปีครึ่งเพื่อที่จะเลี้ยงเด็ก 1 คนจนเติบโต เมื่อปีครึ่งเสร็จแล้ว จึงต้องไปที่ Day care ได้เพียงแค่ครึ่งวัน หลังจากนั้นจะต้องรีบกลับบ้านคุณจะฝากเกินทั้งวันไม่ได้ เป็นความผิดของพ่อแม่ แสดงว่าคุณไม่ได้ทำหน้าที่ของการเลี้ยงดูเด็กมากพอ ของการเลี้ยงลูกมากพอ เขาก็ให้คุณค่าความสำคัญกับทรัพยากร
ทีนี้ที่บอกว่าเป็น Change Agent เป็นผู้หญิงที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลง ที่จริงจะบอกว่าแน่นอนถ้าเราเข้ามาจนถึงนักการเมืองได้ แต่ก็สร้างการเปลี่ยนแปลงได้เยอะหรือว่าเป็นสื่อ แต่ว่ามีผู้หญิงอีกจำนวนมากเลย ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับชุมชนพื้นที่ อย่างชายแดนใต้มีเครือข่ายผู้หญิงลุกขึ้นมาทำงานอย่างมีพลัง รวมถึงในภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ เรียกได้ว่าผู้หญิง คือคนที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองเยอะมาก
เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะอาชีพอะไร ทุกคนมีศักยภาพที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ ขอแค่ว่ามั่นใจ มีความกล้าหาญ เหมือนของพี่แยมก่อนที่จะออกมาก้าวแรก และอาจารย์อย่างนี้ ก่อนที่จะก้าวแรกไปที่ชายแดนใต้ได้อาจารย์เขียนบทความ “ก้าวข้ามความกลัว” ผู้หญิงไปทำหน้าที่ในพื้นที่นั้น ไปได้ตลอดรอดฝั่ง แล้วในพื้นที่ซึ่งยังมีความรุนแรงเยอะมากเลย เชื่อมั่นเลยว่าผู้หญิงไปทำหน้าที่ในพื้นที่นั้นได้ดี ได้ปลอดภัยกว่าผู้ชายด้วยซ้ำไป อยากให้เสริมความมั่นใจว่าทุกอาชีพเราทำได้ สร้างการเปลี่ยนแปลงได้ อย่าคิดว่าต้องไปเส้นอย่างนั้นอย่างเดียว เป็นกำลังใจนะคะ
Q ผู้เข้าร่วมงาน :
สวัสดีพี่ๆ ทุกคน คิดว่าทุกคนน่าจะรู้จักอัส (อิชย์อาณิคม์ ชิตวิเศษ) อยู่แล้วใน panel นี้ ก็จริงๆ ก็เห็นด้วยกับทุกๆ คนที่พูด แล้วก็เห็นด้วยกับพี่แจมมากๆ ว่าวันนี้เราควรจะต้องทำให้ตัวเลขของผู้หญิงที่อยู่ในรัฐสภาไทยเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกันตัวเลขของกลุ่มคนที่เป็นคนข้ามเพศ เป็นผู้หญิงข้ามเพศ เป็นผู้ชายข้ามเพศ หรือแม้แต่คนที่เลือกที่จะอยู่นอกระบบ 2 เพศหรือ Non-binary ควรจะมีพื้นที่ในรัฐสภาไทยมากขึ้น ไม่ใช่แค่เพียงพูดถึงเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานที่เขาควรจะมี แต่พูดถึงเรื่องของประเด็นความถนัดของพวกเขา ในมุมมองผ่านเลนส์ที่ชีวิตเขาสั่งสมประสบการณ์มาเพื่อให้ทุกเลนส์สามารถ blend แล้วอยู่ร่วมกันในสังคมได้
แปลว่าแท้จริงแล้ว เหมือนกับว่าทุกคนสามารถที่จะใช้ความคิดเห็นของตัวเองในการออกแบบเพื่อจัดสรรทรัพยากรรวมกัน วันนี้มีความรู้สึกว่าไม่ควรที่จะสร้างกฎหมายอะไรก็ตามที่มาจำกัดสิทธิและบทบาทที่ชัดเจนอีกแล้ว เพราะวันนี้บทบาทลื่นไหลไปได้ตลอด แม้แต่เรื่องของกฎหมายสมรสเท่าเทียม วันนี้เราพยายามที่จะผลักดันกันด้วยซ้ำ ว่ากฎหมายทั้งการหมั้นหรือการให้สินสอดไม่ว่าเพศไหน ถ้าเขามีกำลังมากกว่าเขาสามารถให้ได้ พยายามต่อสู้ว่าให้ใช้คำว่าฝ่ายหนึ่งและอีกฝ่ายหนึ่งไปเลย ตรงนี้คือสิ่งที่เรากำลังผลักดันกันอยู่
อยากฝากคำถามไปถึงพี่ๆ ทุกคนว่า เราจะทำยังไงถ้าสมมติว่า ณ วันนี้ผู้หญิงก็เริ่มมีพื้นที่มากขึ้น จากความเก่งความสามารถในสิ่งที่รวบรวมประสบการณ์และเข้ามาอยู่ในพื้นที่ทางการเมืองได้ ทำยังไงให้ผู้หญิงตรงนี้ตระหนักรู้ว่า การได้มาจากความต่อสู้ มาจากสิ่งที่เขามุ่งมั่นปรารถนาแล้วเขาพร้อมที่จะส่งต่อไปให้คนรุ่นถัดไป โดยที่เขารู้สึกว่าไม่ใช่การมาแย่งพื้นที่กัน แต่เป็นการที่เราจะพัฒนาสังคมไปร่วมกันในฐานะที่เราจะเข้ามามีส่วนในการจัดสรรทรัพยากร จากเดิมที่ผูกไว้กับเพศใดเพศหนึ่งและเจ้าของทรัพยากรเดิม ก็พร้อมที่จะปรับตัวด้วยไม่ใช่แค่เป็นคนที่ถือทรัพยากรตลอดไป
ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล
ใครอยากจะเริ่มแชร์ก่อนบ้าง?
ฐปณีย์ เอียดศรีไชย
แล้วก็เห็นด้วย ว่าเราแล้วกฎหมายที่อาจารย์พูดว่าเราและที่มายพูดว่าไม่ควรอยู่ในคำว่า “ชายหรือหญิง” ในรัฐธรรมนูญ เพราะว่าทุกวันนี้ความเป็นคนมีหลากหลาย ที่จะให้ความรู้สึกว่าทุกคนไม่ถูก ในยุคหนึ่งหลายคนบอกเราเป็นผู้หญิงต้องต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี ทำให้พี่กลายเป็นคนที่แอนตี้คำว่า “สิทธิสตรี” มาก ทำไมต้องมาเรียกร้องสิทธิสตรี ในเมื่อเราก็มีสิทธิเท่ากัน การบอกว่าต้องมาต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี เท่ากับการด้อยค่าผู้หญิง ทำไมต้องมาต่อสู้เพื่อตัวฉัน ฉันก็ควรจะมีสิทธิ์และเสียงเท่ากับผู้ชาย หรือบางทีผู้ชายเขาก็พูดไม่ได้นะผู้ชายบางคนก็ถูกลิดรอนสิทธิความเป็นผู้ชายเหมือนกัน แล้วแบบผู้ชายไม่สามารถพูดได้ว่าจะต่อสู้เพื่อสิทธิผู้ชาย
เพราะถ้าพูดออกมาแล้ว จะถูกมองว่า “เป็นผู้ชายเสียเปล่า” ในบางครั้งเราต้องเลิกพูดคำว่า ‘สิทธิของใครของมัน’ เพราะเป็นสิทธิของทุกคนที่เท่ากัน ดังนั้นก็สนับสนุนสิ่งที่พูดแล้วว่า เราอาจจะใช้บทบาทของแต่ละคนในการที่จะช่วยผลักดันหรือช่วยพูดเรื่องนี้ เพราะว่าสุดท้ายแล้วเหมือนเราผ่านการต่อสู้กันมาในแต่ละอาชีพ ทำให้เราได้เกิดการยอมรับเสนอ ตอนนี้อย่างในสภาก็มี ส.ส. (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) ที่มีความหลากหลายมากขึ้น ดังนั้นการได้รับการยอมรับแบบนี้ จะต้องทำให้เห็นมากขึ้น มีพื้นที่มากขึ้น คิดว่าพวกเราในสื่อของสังคมไทยก็ค่อนข้างก้าวข้ามสิ่งเหล่านี้ และหลังจากนี้ก็อยู่ที่ว่าเราจะทำอย่างไรให้ได้เกิดการยอมรับ
ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์
สิ่งนี้ก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง คือ เรื่องความเข้าใจในเพศสภาพ ความเป็นชายหญิง และความหลากหลายทางเพศ ซึ่งการศึกษามีความสำคัญเช่นเดียวกัน แบบเจาะลงลึกไปถึงในระบบการศึกษาไทย ซึ่งตัวเรามีลูก 2 คน จะพยายามสอนเขาเรื่องนี้อยู่เสมอ แล้วในหลักสูตรการศึกษาที่ไม่ได้เป็นของประเทศไทย เพราะลูกของเราเรียนโรงเรียนอินเตอร์ทั้งคู่ ซึ่งพบว่าเขามีการใส่ใจเรื่องนี้พอสมควร เขาจะพยายามพูดให้เด็กเข้าใจถึงเรื่องว่า “ทุกคนมีความแตกต่างหลากหลาย แต่ควรจะมีอยู่ในระบบการศึกษาไทยด้วยซ้ำ มากกว่าให้เราไปแบบเคารพธงชาติ กวาดล้างลานวัด เวลาอ่านหนังสือการศึกษาไทยในเด็กเล็กอย่างนี้ คิดว่าเรื่องนี้ต้อง Rise เป็นคำใหญ่เองก็ตาม เรื่องวินัยจราจร เรื่องที่เกี่ยวกับเกี่ยวกับจิตสำนึก ควรจะบรรจุในการศึกษาของเด็กเล็กอย่างมาก” เพื่อให้ไม่ได้แก้แค่รุ่นเรา เพราะบางทีมีความเคยชิน อยู่กับสิ่งเหล่านี้ตลอดมา จะทำให้แก้ไขได้ยาก แต่ถ้าเป็นเด็กเล็กเขาเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่เด็กๆ จะช่วยให้มีความง่ายขึ้น
การผ่านกฎหมายสมรสเทียมเช่นกัน จะเป็นอีกหนึ่งกฎหมายสำคัญที่ทำให้เราเห็นว่าประเทศชาติขยับไปไกลมากกว่าคำว่า “เพศชายและเพศหญิง” เพราะว่าถ้ากฎหมายฉบับนี้ผ่านมติ เราคิดว่าเหมือนมีอะไรบางอย่างที่เป็นที่เป็นตัว Support ของคนทุกคนอย่างแท้จริง ตามที่พี่แยมอธิบายไปเมื่อไม่นานมาในเรื่องนี้เหมือนกันว่าเรามีลูกเหมือนกันจะรู้สึกว่าเราสบายใจที่ว่าวันหนึ่งเขาเติบโตมาไม่ว่าจะเป็นเพศอะไรก็ตามจะเป็นเพศตรงไม่ตรงยังไงก็ตาม จะต้องมีกฎหมายที่รองรับเขาในทุกมิติอยู่แล้ว
ผศ.ดร.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์
สิ่งหนึ่งที่ต้องการฝากทนายในการนำเสนอถึงที่ประชุมสภา คือเรื่องที่เกี่ยวกับกระทรวงศึกษาธิการ แท้จริงแล้วมีการผลักดันกันมานานพอสมควรเกี่ยวกับการบรรจุหลักสูตรสิทธิมนุษยชนศึกษาและสันติภาพศึกษา เพราะมีการผลักดันเรื่องนี้มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว แต่ในขณะเดียวกันทาง สพฐ. (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ได้รับนโยบายนี้เพื่อที่จะนำมาพัฒนาต่อ แต่มีอุปสรรคเข้ามาขัดขวางการดำเนินงาน เช่นในปี พ.ศ. 2565 ทาง กอ.รมน. (กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร) เข้าไปทำบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) กับทางกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขอเข้าไปมีบทบาทในการเข้ามาจัดการเรียนการสอน ซึ่งไม่ได้อยู่ในหลักการของสิทธิมนุษยชนศึกษาที่เป็นการพูดถึงสิทธิของทุกคนเสมอกันในแง่ของการเป็นมนุษย์เมื่อเกิดมาแล้วทุกคนจะต้องมีความเท่าเทียมกัน แค่คุณยังไม่ต้องเอาเครื่องแบบ, ชาติ และศาสนาใดมาสวมทับ
แต่ในเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ทุกคนย่อมมีสิทธิอย่างเสมอภาค ทางกระทรวงศึกษาธิการพยายามผลักดัน ตามที่ได้กล่าวไว้จะให้กลับไปทำงานของเขา แล้วให้การศึกษาสามารถทำหน้าที่ได้อย่างตรงไปตรงมา เพราะเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมเรื่องของการเมืองประชาธิปไตย สิทธิของทุกคนโดยไม่มีการจำแนกเพศ แต่เป็นสิ่งที่จะพูดตั้งแต่เกิดจนตาย โดยที่คิดว่าทุกคนจะต้องช่วยกันผลักดันในประเด็นนี้
รับชมถ่ายทอดสดฉบับเต็มได้ที่ : https://www.youtube.com/watch?v=UuTa8SIzB7Q&t=2599s
ที่มา : PRIDI Talks #24: 112 ปี ชาตกาล ท่านผู้หญิง พูนศุข พนมยงค์ “การต่อสู้ของผู้หญิงเพื่อสิทธิและสันติภาพ” เนื่องในวาระ 112 ปี ชาตกาล ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ วันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม 2567 เวลา 14.00 - 17.00 น. ณ สมาคมธรรมศาสตร์ฯ ซอยงามดูพลี.