ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
แนวคิด-ปรัชญา

มุมมองทางรัฐศาสตร์และข้อสังเกตในการออกแบบรัฐธรรมนูญใหม่

14
ธันวาคม
2567

 

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

ในตลอด 5-6 ปี ที่ผ่านมาของการทำงานเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เราจะได้เจอคุณนิกรตลอด ซึ่งพรรคของคุณนิกรก็อยู่ฝ่ายรัฐบาล วันนี้ก็อยู่ฝ่ายรัฐบาล เพียงแต่ว่าระหว่างที่คนใหญ่ ๆ ในรัฐบาล นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี พูดเรื่องนี้น้อยมาก ก็จะมีคุณนิกรที่ยืนยันว่าเราต้องแก้รัฐธรรมนูญ 2560 ต้องไปสู่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน อาจจะเห็นต่างกันบ้างบางช่วงเวลา วิธีการ ขั้นตอน กระบวนการอะไร เถียงกันไปแต่ว่าเราก็ยืนอยู่จุดนี้ด้วยกัน ก็อยากชวนคุณนิกร รบกวนช่วยพูดทั้ง ทำไมเราจำเป็นต้องไปสู่รัฐธรรมนูญประชาชน และเราจะไปอย่างไรดี ประชามติสองครั้งจะ สสร. ที่คุณนิกรกำลังเสนอ ขอเชิญครับ

 

นิกร จำนง :

ผมกำลังเริ่มรู้สึกว่าตัวเองมี Passion หรือบ้า รัฐธรรมนูญ

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

บ้าเองเหรอครับ

 

 

นิกร จำนง :

Passion มันเป็นคำ แปลว่า หลงใหล ใฝ่หา ผมทำการเมืองผมมีสองเรื่องอีกเรื่องนึง ผม Achieve แล้ว Road safety ตอนนี้ผมเป็นแชมป์เปี้ยนของประเทศนี้ เพราะว่าอยู่กับ WHO ตั้งคณะกรรมการขึ้นในรัฐสภาเป็นประเทศที่สามในโลกต่อจากประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย แล้วจะทำเรื่องนี้ต่อไปเพราะว่า อีกเรื่องหนึ่งที่คาใจอยู่มากคือเรื่องรัฐธรรมนูญ

ผมเรียนมาทางรัฐศาสตร์ โชคดีที่เรียนรัฐศาสตร์จริง ๆ ถ้าผมเป็นนักนิติศาสตร์ป่านนี้ผมอาจจะติดกับมาตรา ติดกับหลักการทางนิติศาสตร์จนขยับไม่ได้ ผมเป็นนักรัฐศาสตร์ทีนี้ เรามองไปซิว่าบางที เราอาจจะต้องคิดเหมือนกันว่า การที่ทำไมเราถึง 20 ฉบับ มัน Amazing หรือเปล่ามันเพราะอะไร เราต้องวิเคราะห์เหมือนกันใช้หลักซุนวู รู้เขารู้เราว่าทำไมต้อง 20 ฉบับ

อาจารย์ลองไปทบทวนดูว่า ปัญหาของเราคือเราไปใช้คล้าย ๆ ว่า เป็น Hybrid มันเป็นตรงที่ว่าประเทศเราปกครองเป็น Tradition มาก ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เราเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาก แล้วเราใช้ระบบการเมืองแบบ Parliamentarian แบบ Parliamentary System แบบอังกฤษ เราเลียนแบบอังกฤษ ในอดีตเราคบกับอังกฤษ แทนที่เราจะใช้รัฐธรรมนูญแบบ Traditional Constitution เราดันไม่ใช่ เราดันไปใช้ระบบแบบอเมริกันก็คือ ใช้ระบบแบบลายลักษณ์อักษรแบบอเมริกัน ที่ประเด็นปัญหาผมนี่ไปคือไปเรียนที่อเมริกานานพอสมควร เราเข้าใจรายละเอียดตรงนี้ เราต้องเข้าใจสังคมนั้นไม่มีประวัติศาสตร์เลย คล้าย ๆ เป็นคนอพยพไปอยู่ไปรุกที่ของอินเดียแดงเขาไปยึดครอง แล้วอินเดียแดงหายหมด เพราะอินเดียนแดงมีความรู้สึกว่าเขาเป็น “Sun of the land” ไม่ใช่เป็นเจ้าของ แต่คนขาวบอกว่าแผ่นดินเขายึดครองแล้วก็หมด เพราะเป็นหลักคิดคนละหลัก

ดังนั้นเพราะเขายืนตามนั้นเวลามีปัญหาของเราเองเวลาTradition เราไปเหลื่อมกับเวลาเราเขียนรัฐธรรมนูญ มันก็ถูกฉีกหมดเลย เพราะว่ามันเหลื่อมจนมันตึงเต็มที่ ขาดก็เอาใหม่ ขาดก็เอาใหม่ 20 ครั้งแล้วตรงนี้เราต้องมองเหมือนกันว่าปัญหาของเราในลักษณะระบบรัฐธรรมนูญของเรามันผิดเหมือนกัน หมายความว่าเราผิดรูปผิดร่าง เราเป็นสังคมอย่างหนึ่ง Tradition หรือว่าลักษณะของเราประเทศของเรามันมีหลักการไปหลายเรื่องมาก เพราะฉะนั้น พอไปผิดเหลี่ยมนิดเดียวก็ถูกยึดอำนาจ เพราะว่าถูกยึดอำนาจประชาชนก็ไม่ลุกขึ้นสู้มันเป็นอย่างนี้มาตลอด

ทำไมผมถึงติดใจเกี่ยวกับเรื่องรัฐธรรมนูญ ผมมากับท่านบรรหาร ศิลปอาชา รัฐธรรมนูญปี 2540 ฉบับประชาชน เราข้ามมาถึงฉบับประชาชนว่ามันคืออะไร คือผมไม่ทันรัฐธรรมนูญปี 2517 ฉบับประชาชนเองเราเห็นว่า มันมีธงเขียวตอนนั้นใช่ไหมครับ การเมืองมันตอนนั้นแย่มาก แล้วก็ท่านบรรหารเอง เป็นบุคคลที่ไม่มีใครคิด เป็นคนขวาไปทำรัฐธรรมนูญ พอประกาศไปเสร็จ ประเด็นที่สำเร็จตอนนั้นก็คือ ผมพูดเสมอว่าตอนนั้นไม่มีสักมาตราหนึ่งที่อยู่ในสมองของท่านบรรหาร แกเพียงอยากจะเอาตามที่ทีมของท่านอาจารย์ประเวศ วะสี คิดไว้ ตามที่ทำไว้แล้ว ก็คือตามที่ประชาชนเขากำหนดเท่านั้น 

แต่ปัญหาของรัฐธรรมนูญ 2540 ก็คือว่า คำสุดท้ายก็คือว่า เราได้แค่นี้ แล้วเราค่อยไปแก้ เราอยู่มา 10 ปี แล้วเรายังไม่แก้ มันก็กลายเป็นอย่างนั้น ช่วงนั้นผมเป็นฝ่ายค้านพอดี คือเราอภิปรายว่าทำให้รัฐธรรมนูญปี 2540 ทำให้ฝ่ายการเมืองเข้มแข็ง เข้มแข็งจนกระทั่งเราอภิปรายไม่ได้ เราเป็นฝ่ายค้านก็เลยถูกยึดอำนาจ เพราะว่าถ้าเราอภิปรายในวันนั้น ถ้าเสียงพอ คือเราไปเขียนไว้เสียงสูงมากในการอภิปราย ต้องโทษตัวเองด้วยที่อภิปรายไม่ได้ ต่อมาทหารก็ยึดอำนาจ (การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549-กองบรรณาธิการ) รัฐธรรมนูญปี 2540 ถูกฉีก หลังจากนั้นเองพยายามเป็นอย่างยิ่งในการกลับไปยังที่เดิมก็คือรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน ผมยึดอยู่แค่นี้ ผมไม่มีสักมาตราหนึ่งเหมือนกัน พอมาจากประชาชนตรงนั้นมาถึงตรงนี้ ช่วงนั้นเรื่องที่ยากสุด ผมจะพูดถึงขนาดนี้ว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร เรื่องที่ยากสุดคือทำให้รัฐบาลประกาศเป็นนโยบาย เราจะสังเกตว่าภายหลังจากนั้นไม่มีรัฐบาลไหนประกาศจะทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนเลยใช่ไหม

 

 

แต่ขณะนี้สถานการณ์ของเรารัฐบาลนี้กับรัฐบาลที่แล้ว เราประกาศเป็นนโยบายของรัฐบาลแล้ว เหมือนสมัยท่านบรรหารประกาศเป็น Commitment ที่เราได้ประกาศแล้วจะมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนสมัยท่านเศรษฐา ทวีสิน สมัยนี้แม้ว่าจะทำไม่ทัน แต่นโยบายนี้จะทำให้เร็วที่สุด เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนก็ประกาศแล้ว เพราะฉะนั้น Commitment ของรัฐบาลแต่ละคณะ ซึ่งมันมีแล้วเราจับไว้ให้มั่นถือไว้ให้แน่น เพราะว่าเราสมมติเราทำไม่ได้จะมีปัญหาก็ตาม แม้ว่าไม่ต้องถูกไล่หรอกแต่ว่าคล้าย ๆ ว่า มันเหมือนทำไม่ได้ ขณะนี้รัฐบาลเราลองสังเกตดู ผมก็พยาม ผมอยากจะมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ผมนั่งนับทุกวัน เวลามีสถานการณ์เปลี่ยนไป ผมนับทุกวันว่า ถ้าขาดตรงนี้มันจะไป ผมนับเป็นวัน ๆ

ขณะนี้นะครับมันยังมีโอกาสอยู่แต่เหลือแค่ สสร. แล้ว ไม่ต้องไปหวังเรื่องรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เรื่องสองครั้งไม่ต้องไปคิดเราพูดตรงนี้ ผมจะอธิบายว่าทำไมเราไม่ต้องไปคิด เพราะเราคิดมาหลายครั้งแล้ว การที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญชี้เป็นเพราะว่าที่ประเด็นเราเสนอไป มาตรา 256 ผมเป็นคนเสนอกัน ผมเป็นเลขาอยู่แล้วถูกทุบล่วงลงมาเพราะ ฉบับนั้นเราก็เสนอ มาตรา 256 เหมือนกัน มี สสร. เหมือนกันแล้วถูกทุบร่วงมาแล้ว และคำวินิจฉัยนั้นมันมาจากร่างที่ผมพวกผมเสนอเข้าไป ทำไมผมจะไม่รู้มันว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น

ดังนั้น พอมาถึงตอนนี้ เดี๋ยวเรามาคุยกันต่อว่า ทำไม 2 ครั้งไม่ได้ แต่ถ้า 3 ครั้ง ถ้าสมมติว่าผมถูก 3 ครั้ง ตอนนี้ เราไปพลาดตรงที่ว่า เรามีความขัดแย้งเรื่องทำ 2 ครั้ง แล้วไปแก้จริง ๆ ต้องโทษคุณยิ่งชีพด้วย คุณยิ่งชีพไปขู่

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

ขู่ว่าจะไม่ผ่าน

 

นิกร จำนง :

ขู่ว่าถ้าเป็นแบบนี้ ถ้าไม่เปลี่ยนคำถาม ทำท่าเหมือนจะรณรงค์ไม่ให้คนมาใช้สิทธิ

 

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

ไม่เคย

 

นิกร จำนง :

ตอนนั้น ใส่เสื้ออะไรอยู่

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

บอกว่า Restpect My Vote

 

นิกร จำนง :

ผมจำเสื้อตัวนี้ได้

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

ผมบอกว่ามันมีโอกาสที่จะไม่ผ่าน แต่ผมไม่เคยบอกว่าจะรณรงค์ Vote No

 

นิกร จำนง :

เราอยู่กับการเมืองเราฟังออก

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

แต่ว่าเรายังไม่รณรงค์

 

 

นิกร จำนง :

นั่นเลยเป็นเหตุที่เราเสนอไปว่า เพราะเรากลัว คำขู่ตรงนี้ ผมเลยไปเสนอในฐานะกรรมการเสนอรัฐบาลว่าแก้ประชามติเสียก่อน แล้วที่แก้ แก้เป็นชั้นครึ่ง ใช่ไหมครับ แก้เป็นชั้นครึ่ง คือ ไม่เอาสองชั้นจะถูกเสียบอย่างหมูเด้ง พอมาตรงนี้ประเด็นปัญหาก็คือว่า เวลาที่เหลืออยู่ตอนนั้นพลาดตอนนี้ที่มีความขัดแย้งหักมุมเสียไปปีหนึ่ง นับตั้งแต่บัดนี้ วันที่ 18 จะมีการโหวตในสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีทางที่สภาผู้แทนราษฎรจะผ่านให้ พอผ่านไม่ให้ ในขณะเดียวเราต้องรู้ว่าที่เราไปทำความเห็นประชาชนมาประชาชนเห็นว่าควรจะเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งไหม น่ากลัวไหม ถ้าเป็นผม ผมจะกลัว เพราะว่าบางที สว. อาจจะยึดตรงนี้ เพราะเขารู้สึกว่าเดิมที่เขาคิดว่าเขาอาจจะคิดผิดหรือถูกไม่รู้ตอนนี้ถูก เพราะประชาชนเสียงข้างมากเห็นแบบนี้แล้วมันเป็นหลักการณ์ไปแล้ว นึกออกไหม 

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

ยังไม่หมดครับ เชิญครับ

 

นิกร จำนง :

ทีนี้ผมถึงตั้งเวลา ทีนี้ประเด็นก็คือว่า พอเป็นแบบนี้แล้วสถานการณ์ต่อจากนี้ วันเวลามันจะถูกขยายไป 180 วัน บวกเราใช้กฎหมายเก่า กฎหมายเก่าบอกว่า 90 วันไม่เกิน 120 วัน มันจะบวกแล้วรวมทั้งที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่จริง กกต. ต้องไปออกหลัง แต่ตอนนี้ กกต. จะออกอนุบัญญัติไม่ได้ต้องให้กฎหมายออกก่อน ประมาณเดือนหนึ่งรวมแล้ว รวมไปรวมมาอีกปีหนึ่ง อีกปีหนึ่งก็ประมาณปลายปี 2568 หรือต้นปี ทำประชามติครั้งแรกผมถึงแถลงไว้วันนี้ โอกาสของรัฐบาลชุดนี้มีครั้งเดียวตอนที่ยื่น มาตรา 256 ในเดือนมกราคม ถ้าเกิดไม่ผ่าน พอไม่ผ่านมันยื่นซ้ำไม่ได้ พอในรัฐสภาฯ เดียวกันมันยื่นไม่ได้ มันต้องไปรอเดือนกรกฎาคม ของปี 2569

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

กรกฎาคม 2568

 

นิกร จำนง :

ไม่ใช่ใช่รัฐธรรมนูญทำประชามติครั้งแรก ปลายปี 2568 หรือต้นปี 2569 คราวนี้ข้ามหายไปปีหนึ่ง ปีหน้านับไปเลยจะหายไปปีหนึ่ง

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

ครับ

 

 

นิกร จำนง :

สามครั้ง พอไปทำตรงนั้น เวลาพอที่จะมีปัญหาคือว่าก็เลยไปลงตรงโอกาสก็คือ ไปยื่นมกราคม มาตรา 256 พอไปยื่นมกราคมต้องผ่านวุฒิสภาฯ ให้ได้ ถ้าเกิดผ่านไม่ได้ มัน Return ไม่ได้ในสภาผู้แทนราษฎร ชุดนั้น ต้องไปปี 2569 ตอนกรกฎาคมตอนสภาเปิดจะยื่นใหม่ได้ มาตรา 256 พอยื่นใหม่ มาตรา 256 มันเลยเวลาของสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 4 สมัยที่ 2 ก็คือครั้งที่ 10 เมษายน ปี 2570 แต่ว่าเวลายังมีต่อไปถึงวันที่ 13 เดือนพฤษภาคม ถ้าทำได้มากสุดก็คือว่าเอาเป็นว่า สสร. จะทำไม่ได้ ผมถึงกังวลมากว่า มาตรา 256 มกราคมต้องผ่าน พอต้องผ่านต้องทำอย่างไร ผมเสนอเมื่อกี้ เมื่อเช้าในวันรัฐธรรมนูญว่าให้รัฐบาลทำเป็นร่าง มาตรา 256 ก่อนของตัวเองจะ Wrap คำพูดของรัฐบาลที่สัญญากับประชาชนว่าจะทำรัฐธรรมนูญให้ได้มาเป็นในนามรัฐบาล อย่าให้พรรคแต่ละพรรคยื่น

เพราะว่าพรรคที่ยื่นได้มี 2 พรรค ก็คือ พรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาชน พรรคภูมิใจไทยยื่นไม่ได้ เพราะเสียงไม่ถึงร้อยถูกไหม เพราะว่ามันเป็นพรรคร่วมรัฐบาลมายื่นเป็นเท่ากับว่าทุกพรรคเป็นรัฐธรรมนูญเป็น มาตรา 256 ของ ครม. หรือของพรรคร่วมรัฐบาลเท่านั้น เพื่อจะได้ร่วมกันจะได้มีคนไปคุยกับวุฒิสภาฯ แล้ววุฒิสภาฯ ต้องคุยกับเขาดังนั้น โอกาสเดียวเราที่มีนะอาจารย์ คือครั้งเดียวเท่านั้น

ผมถึงไปเสนอเมื่อเช้าว่า เสนอตรงนี้ไปแล้วว่า ผมจะมาเล่าให้ฟังหลังจากที่ฟังคุณพริษฐ์ วัชรสินธุ ร่างที่ค้างอยู่ ขณะนี้ มาตรา 256 ในสภาผมกลัวจะมีปัญหา เหตุผลเพราะว่าในร่างนี้ ที่เสนอเข้าสภาที่สภาจะรับไป ผมใช้คำว่าไปซ่อนรัฐธรรมนูญไว้ในวงเล็บ 8 ในวงเล็บ 8 ท่านไปดูก็คือว่า จะบอกว่าการจัดทำประชามติให้ทำได้ในกรณีทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ปัญหาคือจะผ่านหรือเปล่าแต่ว่าทางสภาฯ ดักไว้ไม่ได้

ผมเชื่อว่าจะบรรจุ แต่พอบรรจุแล้วไม่มีโอกาสจะผ่าน เพราะว่าไปแก้ในหมวดพระมหากษัตริย์ในวงเล็บ 8 ก็คือว่าการไปแก้ไขหมวดพระมหากษัตริย์เอาออก แก้ศาลรัฐธรรมนูญเอาออก แก้ในหมวดหนึ่งเอาออกทั้งหมดมันจะมีแรงต้านแล้วที่สำคัญนี่ เสียงที่ผ่านในวาระหนึ่ง เป็นเสียงวุฒิสภาฯ ไม่เอาเลย แล้วเอาเสียง สส. 2 ใน 3 เป็น 3 ส่วน ทีนี้เราจะไปขอเสียงเขาแล้วเราไปหักดาบเขา เขาจะให้ไหม ดังนั้นผมเห็นว่าถ้าร่างนี้บรรจุยังไม่ผ่าน ถ้าร่าง มาตรา 256 มี 15/1 คือ มี สสร. ยื่นไม่ถูกบรรจุ ผมเลยสรุปว่าไม่ว่าจะอย่างไรก็ 3 ครั้ง แต่ถ้าเข้า 2 ครั้งได้แต่ก็ไม่ผ่าน แต่ 2 ครั้งอันนั้นไม่มี สสร. ผมไม่นับแต่ร่างของพรรคประชาชนที่อยู่ในสภาตอนนี้มี 256 ผมไม่นับเพราะว่า ไม่มี สสร. ไม่มีประชาชนอยู่ในนั้น

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

ขอบคุณคุณนิกร ที่ช่วยลงรายละเอียดเยอะมาก คุณนิกรนั่งนับทุกวัน ถ้าบางเรื่อง มันเทคนิคมากแล้วมันไม่ทัน ผมจะพยายามสรุปให้ ไม่ใช่ว่าจะทุกประเด็น คุณนิกรนับว่า ตอนนี้ไม่ทันที่จะมีรัฐธรรมนูญใหม่ภายใต้รัฐบาลนี้ อย่างดีที่สุดคือมี สสร. ถ้ามี สสร. ได้ก็ยังจะสอดคล้องกับคำสัญญาของรัฐบาล ที่มีการประกาศว่าจะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ส่วนฉบับใหม่จริง ๆ จะเสร็จไหม ไม่เสร็จ ผมขอถามคุณนิกร ผมยังงดนิดหน่อย คุณนิกรเสนอว่า มกราคมให้รัฐบาลเสนอร่างแก้ มาตรา 256  แปลว่า วิธีการแก้รัฐธรรมนูญแก้ มาตรา 256 แปลว่าให้มี สสร. ขึ้นมา แก้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้ เพื่อใส่กระบวนการตั้ง สสร.เข้าไป

 

นิกร จำนง :

มาตรา 15/1

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

อาจจะเป็น มาตรา 256 ทับ 1 ทับ 2 ทับ 3 อะไรก็แล้วแต่ คุณนิกรครับ ถ้ามกราคมรัฐบาลทำเช่นนี้ แล้วสมมุติ สว. โหวตแล้วผ่านนะครับ แล้วทำไมถึงยังเป็นประชามติ 3 ครั้ง ผมนึกว่าอย่างเหลือประชามติ 2 ครั้ง

 

นิกร จำนง :

มกราคม 2569 ทำประชามติเสียก่อนครั้งแรกก่อนยื่นมาตรา 256

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

มกราคมทำประชามติเลย

 

นิกร จำนง :

ถ้ายื่นมาตรา 256 ถ้ามี 15/1 หรือมี สสร. สภาผู้แทนราษฎร จะไม่รับ

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

โอเคเข้าใจแล้ว คือคุณนิกรเสนอว่าทำประชามติเสียก่อน

 

 

นิกร จำนง :

คำว่าเสียก่อนที่อาจารย์บอก มันแรงคือถ้าหากว่า แม้ว่าสภาผู้แทนราษฎรรับวุฒิสภาฯ เขาจะอ้างว่า ผมเคยโดนแล้ว วุฒิสภาฯ เขาจะอ้างว่า เขาโหวตให้ไม่ได้

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

ครับ

 

นิกร จำนง :

เพราะมันจะไปแย้งขัด แย้งกับ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะเขาไม่สามารถที่จะโหวตให้ได้

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

ครับ

นิกร จำนง :

ถ้าโหวตเขาจะผิดมาตรา 157 เรียบร้อยเขาไม่โหวตให้หรอก

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

โอเคคือคุณนิกรเสนอว่า ทำประชามติเลยภายใต้ พรบ.ประชามติฯ ฉบับปัจจุบันนี้

 

นิกร จำนง :

ปัจจุบันก็คือว่า มกราคม 2569 ทำประชามติครั้งที่ 1

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

โอเค

 

นิกร จำนง :

ถ้าคำผ่าน หลังมกราคมถ้าประชามตินั้นเป็นวันลงมติ ประมาณเดือนมกราคม

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

มกราคมเดือนนี้เลยอีกเดือนเดียว

 

นิกร จำนง :

มกราคม 2569

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

มกราคม 2569

 

นิกร จำนง :

ผมหมายถึงหายไปปีหนึ่ง มกราคม 2569 พอหลังจากนั้นก็ยื่น มาตรา 256 พอยื่นมาตรา 256 ต้องผ่าน พอผ่านแล้ว ก็ Run พอมี สสร. ในรัฐบาลชุดนี้

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

รับทราบ ขอบคุณครับ ขอบคุณครับ คุณนิกรใช้คำว่า ปีหน้าไม่ได้ทำอะไร รอ พรบ.ประชามติ ที่ตอนนี้ สว. คัดค้าน คือ สาเหตุที่เราต้องรอนะครับทุกท่าน เพราะว่ากฎหมายบอกว่า เมื่อ สส. กับ สว. เห็นต่างกัน ให้รออีก 180 วัน ถึงจะกลับมาคุยกันใหม่ มันเลยต้องรอเฉย ๆ 6 เดือนรอเฉย ๆ คุณนิกรไม่เห็นด้วยเหรอว่าเราทำประชามติภายใต้ พรบ. ประชามติฯ ปัจจุบัน ไม่ต้องรอ พรบ.ประชามติฯ ใหม่

 

นิกร จำนง :

เขาไม่โหวตให้

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

เข้าใจแล้ว คือ จริง ๆ โดยกฎหมาย ทำได้เพียงแต่ว่า

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

ผมทวนให้พี่น้องก่อน เรื่อง Double majority Simple majority ที่เถียง ๆ กัน ทำให้ไม่ไปถึงไหนเลย วันนี้ตอน สส. เคาะไปแล้ว Simple majority สว. ตอนแรกเคาะไปแล้ว Simple majority จนวันสุดท้ายแล้วท่านประธานในที่ประชุม สว. ขอกลับ

 

นิกร จำนง :

วันเดียว

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

ขอเป็น Double majority เพราะมีเหตุผลใหม่แต่ไม่ได้อธิบายว่าเหตุผลอะไร แล้ว ก็กลับเลย คุณนิกรเล่าหน่อย

 

นิกร จำนง :

หินก้อนใหญ่ที่แหกโค้ง ยิ่งพิจารณาที่ผมอยู่มาตลอด จริง ๆ แล้ว คุณพริษฐ์ เป็นพยานได้ ผมเตือนตั้งแต่ชั้นกรรมาธิการของ สส. แล้วว่าระวังเป็นปัญหาที่วุฒิสภาฯ ผมบอกมีเสียง 1 ใน 4 อาจารย์ก็ทราบอยู่ที่ว่า เสนอให้มีเกณฑ์ขั้นต่ำ ถ้าเกณฑ์ขั้นต่ำก็จะมีปัญหา เพราะไม่กลัวกัน แต่ผมนี้กังวล เพราะผมกลัวหินทุกก้อนที่ทำให้แหกโค้ง เพราะไปตรงนั้น เราไปทวน ท่านไปทวนดี ๆ มีการเสนอเรื่องจริยธรรมเข้ามาจากร่างของพรรคประชาชนตอนนั้นเป็นพรรคก้าวไกล แล้วก็เป็นของพรรคเพื่อไทยด้วย

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

เพื่อไทยเสนอจริยธรรม ใช่ ๆ แล้วถอน

 

นิกร จำนง :

รวมทั้งตอนนี้ด้วย พอตรงนั้นมา มาม้วนตรงนั้น นั้นคือหินก้อนใหญ่ เพราะว่าการเสนอจริยธรรม หรือว่ามีการแก้ไขตรงนั้น มันต้องทำประชามติ ถ้าทำประชามติง่ายก็แสดงว่า ปลดศาลรัฐธรรมนูญได้มีการแก้ไขนั่นได้ มันก็เหวี่ยง เหวี่ยง ณ ขณะนั้นสองสามวัน เพราะมันเป็นเหตุที่ทำให้มันไหล ผมว่าหินก้อนนี้ต่อจากนี้ หินทุกก้อนเราต้องระมัดระวังอย่างมาก อย่าให้มันกระทบ

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

อันนี้วิเคราะห์หรือข้อเท็จจริงครับ

 

นิกร จำนง :

ผมพอวิเคราะห์ได้ และเชื่อว่าจะเป็นเช่นนั้น

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

ผมทวนให้ว่าถ้าท่านไม่ทันจริง ๆ ระหว่างที่ พรบ.ประชามติ มันเหมือนจะผ่านอยู่แล้ว อยู่ดี ๆ วันนึงพรรคเพื่อไทย ท่านก็เสนอแก้เรื่อง มาตราฐานจริยธรรมยกเลิกเรื่องใบดำ ใบดำที่ใช้กับคุณเศรษฐา ผมนี่ก็ช็อกตาตั้งอยู่เหมือนกันว่า เสนอทำไม แล้วที่ได้เสนอเข้าไปด้วยใช่ไหม แล้วก็ทางนี้ได้เสนอตาม ผมไม่แม่นตรงนี้ว่าใครเสนอก่อนหลัง แต่ก็เป็นกระแสขึ้นมามาจากภูมิใจไทย รวมไทยสร้างประชาธิปัตย์ ก็ดาหน้ากันมาบอกไม่เห็นด้วย คุณนิกรก็เลยบอกว่า เขาเลย Turn ตรงนี้เป็น Double majority เลย

 

นิกร จำนง :

มา Turn จังหวะนี้ เพราะว่า 6-7 มาตราตรงนี้ที่เสนอเป็นรายมาตราต้องใช้ประชามติหมด เพราะทีนี้ถ้าประชามติอย่างง่าย ก็แสดงว่าปลดศาลรัฐธรรมนูญทิ้งเลย ก็คือ ไหลได้เรื่อย ๆ

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

คือไม่อยากให้เรื่องจริยธรรมมันผ่าน มันก็เลยก็ทำให้ประชามติมันยากก็เลยเอา Double majority ยันไว้

 

นิกร จำนง :

มันมีมุมจากตรงนี้ ที่มาอธิบายกันในนั้น มันเป็น Critical Point สร้างปัญหา แต่เดี๋ยวผมทักนิดนึง ตอนนี้พรรคประชาชนเอาจริยธรรมกลับมาใส่เข้าไปอีก ถอดมาแล้ว และก็ใส่เข้าไปอีก

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

แต่เดี๋ยวให้พูดแน่นอน สามสี่เรื่องนี่เต็มเลย เพื่อไทยถอนแล้วร่างจริยธรรมตอนนั้น พอ สว. U-Turn มาคราวนี้ไปไหนไม่ได้แล้ว

 

นิกร จำนง :

นิดเดียวต้องขอชมคุณพริษฐ์ วัชรสินธุ เพราะว่าเขาก็สู้มาเอาจริงเอาจังมาก แล้วเขาทำทุกอย่างที่เขาทำได้ ผมดูอยู่ตลอด แต่ที่ผมกังวลก็คือว่ามี Side efect มีผลกระทบที่ผมเป็นกังวล คือ ตอนนี้คล้าย ๆ ว่า ผมย้อนไปว่าตอนนี้เรามีโอกาสเดียวคือเดือนกุมภาพันธ์ หรือมีนาคม ที่เราจะยื่น 256 หลังจากทำประชามติแล้วครั้งแรกคือถ้าไม่ทำ ก่อนผมโดนมาแล้ว คราวที่แล้ว 2563 ก็คือว่า เขาไปบอกแบบนี้เลยยื่น มาตรา 157 กับสมาชิกรัฐสภาที่ไปโหวตพวกผมได้ 200 กว่า ใช่ไหมไม่ถึงครึ่งของสองสภาฯ ก็ล่วงไปนำไปสู่ วันที่ 17 มีนาคม ที่เป็นคำวินิจฉัยออกมาที่เป็นคำวินิจฉัยยังอยู่ ทีนี้คำถามก็คือว่า แม้ว่าจะทำประชามติมาแล้ว

ถ้าหากว่าไม่คุยกันก่อน คือ ถ้าไม่ทำประชามติเขาไม่โหวตให้ เพราะมันจะขัดหรือแย้งคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นแน่ แล้วคอยดูว่าจริงหรือเปล่า ระหว่างทางไปตรงนั้น ผมสรุปว่า ไปไม่ถึงแต่ระหว่างนั้น มันเริ่มตั้งแต่วันที่ 18 ที่จะถึงนี้  17 วุฒิสภาฯ ไม่มีอะไร พรบ. ประชามติฯ 18 วุฒิสภาฯ จะถูก Attack คอยดูว่าการเมืองจะเป็นแบบนั้นหรือเปล่า

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ :

18 วุฒิสภาฯ จะถูก Attack เพราะมีการกลับไปโหวต พรบ. ประชามติฯ อีกครั้งหนึ่ง

 

 

นิกร จำนง :

สส. จะไม่เห็นด้วย เพราะไม่เห็นด้วยที่ผมบอกว่า อย่าไปขัดหรือแย้งกันเลย ค่อย ๆ คุยที่เป็นชั้นครึ่งที่ผมเสนอ ผมกลัวจะมีปัญหาระหว่างสองสภา และคราวนี้การที่ สส. จะไม่ยอมรับ จะมีคนบอกว่าเราไม่รับแล้วก็ยกมือไม่มี มันจะมีการพูด แล้วในสภาผมอยู่มาไม่รู้กี่ปีแล้ว มันจะเป็นจังหวะในการหาเสียงด้วย ถูกไหม มันจะมีรอยร้าวขึ้นไปอีก แผลขยายไปอีก ทีนี้ร่างของท่านพริษฐ์ หลายฉบับมากคือ 17 ฉบับ รวมทั้งเรื่องจริยธรรมด้วยพอเข้า อาจจะเหมือนกับว่าไม่ผ่านก็ไม่ผ่าน แต่ว่าเรื่องนี้มันจะมีการสู้รบกันขึ้นไปอีกในสภาผู้แทนราษฎร แล้วรอยร้าวจะแยกไปเรื่อย ๆ แล้วพอไปถึงวันสุดท้ายเดือนมกราคม ปี 2569 ที่จะยื่นมาตรา 256 มันจะไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีเหลือแล้วทีนี้มันก็เหลือได้เกิดขึ้นจริงเป็นความรู้สึก ไม่ใช่เหตุผล

การเมืองเป็นเรื่องอารมณ์ด้วยนะบางที ผมเป็นห่วงนะว่าเรื่องเหล่านี้ เพราะเราต้องลดความคมของทุกเรื่องถึงเรียกร้องวันนี้ให้พรรคการเมืองทุกพรรคถอนตัวออกมา พรรคการเมืองทุกพรรคต้องเสนอตัวเพื่อหาเสียงก็ว่ากันไปเถอะ แต่ผมได้เสนอไว้เป็นร่างของรัฐบาล ที่ว่าเอา Commitment ของรัฐบาลมาไม่ต้องไปคิดเรื่องหาเสียงกันเอาตรงรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนนี้ั นั้นมันสุ่มเสี่ยงมากถ้าไม่ได้มันคือไม่ได้ เราก็แค่ เวลาหาเสียงมันมีเยอะแยะแต่ว่าเวลาที่โอกาสจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่มันไม่มีแล้ว มันเหลือนิดเดียวแล้วเพราะงั้นมันคือใช้มันให้คุ้ม

ทีนี้เรื่องรัฐธรรมนูญ ผมเรียนนิดเดียวว่าเรื่องเป็นแค่รายมาตรา อย่างนี้ครับนี่คือรายงานพวกผมศึกษามา 2 ปี ว่าในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทุกหมวด หมวดไหนมีปัญหาอะไรบ้าง มีอยู่ครบแล้ว เรื่องของท่านสิทธิประชาชนไม่มี มีสิทธิฟ้องร้องไม่ได้หน้าที่ของรัฐ รวมทั้งเรื่องกระจายอำนาจไม่มีสักข้อเดียวนี้เรากำลังมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ที่ประชาชนเป็นผู้ร่าง เราไปคิดแทนไม่ได้ ไม่งั้นเราคิดแทนเสียหมดทั้ง 17 มาตรา แล้วเราเป็นใครเราจะเอา สสร. มาทำไมถ้าเราจะแก้เสียเอง ผมถึงบอกว่า ท่านบรรหารไม่มีสักมาตรา

เพราะฉะนั้นรายละเอียดตรงนี้เราส่งให้กับอาจารย์อาจารย์โคทม อารียา แล้วก็ผมเห็นด้วยในการแก้ไข 2 ส่วนคือ ส่วนของสิทธิประชาชนแก้ไข เลยระหว่างทางก็คือว่าแก้ไขรายมาตรา เพราะประชาชนรอไม่ได้ อันที่ 2 เรื่องการกระจายอำนาจ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ จะมีการเลือกตั้งท้องถิ่นอำนาจเต็มไม่มี เพราะว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่มีการกระจายอำนาจจริง ทีนี้หรือจะแก้เพื่อประชาชนเรายอม ตรงนี้ทำให้ประชาชนเห็นว่ารัฐธรรมนูญมีความสำคัญกับเขาเวลาลงประชามิติ เขาจะได้ออกกันมา เพราะว่าวันทำประชามติ ถ้าได้น้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ผมเชื่อว่าวุฒิสภาฯ จะไม่ผ่านเอาเพราะถือว่าหลักการของเขาประชาชนจะออกมาเกินครึ่งเพราะถือว่า ได้มากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์

รัฐบาลถือว่าต้องดูแล เรื่องการทำประชามติเป็นอย่างยิ่งเลยให้ได้มากที่สุดด้วยซ้ำแล้วก็ ผมพูดไว้แค่นั้น ชมคุณพริษฐ์อีกครั้งนึงนะครับว่าเอาจริงเอาจังมากแต่ต้องระวังว่าผลข้างเคียง เพราะว่าเราเปิดสงครามให้เกิดระหว่าง 2 สภา ขึ้นมาโดยรวมแล้วมันนำไปสู่จุดแตกหัก เพราะถ้านำไปสู่จุดตรงนั้นเราไปร้องขอความสมานสามัคคีเพื่อผ่านรัฐธรรมนูญ เราจะเอาจากไหน ผมระวังตรงนี้มากครับอาจารย์ขอบคุณครับ

 

 

รับชมถ่ายทอดสดฉบับเต็มได้ที่ : https://www.youtube.com/watch?v=4djNQykK3IM

 

ที่มา : PRIDI Talks #28 x PBIC ยุตินิติรัฐประหาร รื้อรัฐธรรมนูญเผด็จการ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน วันอังคาร 10 ธันวาคม 2567 เวลา 13.30-16.30 น. ห้องประชุม PBIC 205 วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์