ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ข่าวสารและบทความ

บทบาท-ผลงาน
10
มิถุนายน
2565
เมื่อมีอายุ 11 ปีในพุทธศักราช 2454 ข้าพเจ้าสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันและน่าแปลกใจอย่างยิ่งในวัฒนธรรมของชาวจีนโพ้นทะเลและในหมู่ลูกหลานของพวกเขา ซึ่งมีอยู่ราวร้อยละ 25 ของราษฎรทั้งหมดในประเทศสยาม กล่าวคือ ผู้ชายแทบทุกคนได้ตัดผมหางเปียของเขาออก ทั้งๆ ที่เป็นทรงผมที่พวกเขาไว้กันมานานหลายศตวรรษแล้ว พวกเขาอธิบายสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ให้ราษฎรชาวสยามฟังว่า ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบโบราณซึ่งบังคับให้พวกเขาไว้หางเปียอันน่าอับอายเช่นนี้ได้ถูกโค่นล้มแล้ว ด้วยการอภิวัฒน์ของฝ่ายสาธารณรัฐนำโดย ดร.ซุนยัดเซ็น ซึ่งในเวลานั้นได้เรียกร้องให้ชาวจีนทุกคนไว้ผมสั้นเช่นชาวยุโรป (ในสมัยนั้น)
เกร็ดประวัติศาสตร์
9
มิถุนายน
2565
ปรีดี พนมยงค์ไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปของประธานคณะกรรมการชันสูตรพระบรมศพสรุป นายปรีดี พนมยงค์ ตำหนิการให้ความเห็นของแพทย์ว่าทำเกินขอบเขตหน้าที่ของแพทย์ และไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปของคณะแพทย์ในส่วนที่ไม่ได้เป็นเอกฉันท์ โดยปรากฏคำให้การของ นายแพทย์นิตย์ เวชชวิศิษฏ์ ที่เบิกความในศาลอาญาเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 ไว้ตอนหนึ่งว่า
แนวคิด-ปรัชญา
8
มิถุนายน
2565
จุดเริ่มต้นแห่งจิตสำนึกในการอภิวัฒน์สยามของนายปรีดี พนมยงค์นั้น เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วัยเยาว์ที่ถือกำเนิดมาในครอบครัวที่มีอาชีพชาวนา ได้ประสบชะตากรรมความยากลำบาก ได้เห็นชาวบ้านคนอื่นๆ ถูกเอารัดเอาเปรียบจากการทำนา
6
มิถุนายน
2565
  ตามที่ปรากฏรายงานข่าวว่ารัฐทหารพม่าได้ มีมติอนุมัติให้ประหารชีวิตสองนักโทษทางการเมืองที่เป็นนักกิจกรรมทำงานประชาธิปไตย โดยอ้างว่าทั้งสองมีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย ซึ่งหากมีการประหารชีวิตเกิดขึ้นจริงแล้วจะเป็นการประหารชีวิตนักโทษทางการเมืองครั้งแรก นับตั้งแต่ปี 2519
เกร็ดประวัติศาสตร์
5
มิถุนายน
2565
ย้อนไปช่วงปลายทศวรรษ 2460 และต้นทศวรรษ 2470 ก่อนหน้าที่กลุ่มของ “คณะราษฎร” จะร่วมกันเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสังคมไทยเคยปรากฏกลุ่มของบุคคลหลายคณะที่ก่อตัวขึ้นเพื่อเคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจากการปกครองแบบระบอบศักดินา ณ บัดนี้ ผมจะพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ “คณะ” ต่างๆ เหล่านั้น
เกร็ดประวัติศาสตร์
4
มิถุนายน
2565
ความเดิมตอนที่แล้ว : ศุขปรีดาเล่าเรื่อง : หวอเหงียนย้าป จอมทัพคู่บารมีโฮจิมินห์ ถิ่นกำเนิดแห่งปฐมวัย
เกร็ดประวัติศาสตร์
3
มิถุนายน
2565
เนื้อหาในบทความนี้ ได้รวบรวมฎีกาต่างๆ ที่บอกถึงความทุกข์ยาก ถูกเอารัดเอาเปรียบของชาวนาและราษฎรไทยบนแผ่นดินสยาม เมื่อครั้งสยามประเทศยังปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทั้งในเรื่องความเป็นอยู่ และสภาพเศรษฐกิจในเวลานั้น เรื่องเหล่านี้เองเป็นสาเหตุใหญ่ซึ่งเป็นที่มาของการอภิวัฒน์สยาม 2475
แนวคิด-ปรัชญา
2
มิถุนายน
2565
หากเราใช้เกณฑ์การให้สิทธิการเลือกตั้งที่เท่าเทียมกันโดยไม่จำกัดด้วยแตกต่างของรายได้ เพศสภาพ ชนชั้น ผิวสี หรือชาติพันธุ์ (Universal suffrage) เป็นตัวบ่งชี้ความเป็นประชาธิปไตยของประเทศนั้นๆ แล้ว สยามก็นับว่าเป็นประเทศแรกๆ ของโลกที่รับรองสิทธินี้คล้องจองไปกับโลกสากลที่ให้ความสำคัญการยกระดับความเท่าเทียมหญิง-ชาย เพื่อสร้างโลกที่ควรจะเป็น ฉะนั้น หากเปรียบเทียบช่วงเวลาที่ไทยเรารับรองสิทธินี้ คือ 1 ปี หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 พลเมืองหญิงชายต่างได้ใช้สิทธินี้อย่างเต็มภาคภูมิ บางกรณีก้าวหน้าไปไกลกว่าประเทศมหาอำนาจบางประเทศที่เราเสียเปรียบดุลอำนาจ โปรดดูตารางข้างล่าง  
แนวคิด-ปรัชญา
1
มิถุนายน
2565
ในบทความนี้ มาเริ่มนับหนึ่งกันใหม่กับ PDPA101 มาทำความเข้าใจกันอย่างถูกต้องว่าอะไรใช่หรืออะไรไม่ใช่ อะไรทำได้หรืออะไรทำไม่ได้ อะไรเป็นข้อยกเว้นและอะไรบ้างที่ต้องตระหนัก มาเข้าใจถึงความหมายที่ถูกต้องของกฎหมาย PDPA ที่มาของกฎหมาย จุดมุ่งหมายของการมีกฎหมาย PDPA ใครบ้างที่เป็นผู้ถูกคุ้มครอง PDPA ใช้กับเรื่องใดบ้าง เป็นต้น
แนวคิด-ปรัชญา
31
พฤษภาคม
2565
ยุคเผด็จการของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับเหตุการณ์การประหารชีวิตของ ‘ครูครอง จันดาวงศ์’ และ ‘ครูทองพันธ์ สุทธิมาศ’ ที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์และกบฏแบ่งแยกดินแดน โดยอาศัยมาตรา 17 คำพิพากษาที่มิได้ผ่านกระบวนการยุติธรรมหรือตรวจสอบความจริง ทำให้วันปลิดชีวิตของครูครองและครูทองพันธ์มาถึงอย่างรวดเร็วภายหลังการถูกจับกุมไม่ถึง 1 เดือน