ข่าวสารและบทความ
บทความ • แนวคิด-ปรัชญา
13
พฤศจิกายน
2565
ต้นทศวรรษ 2470 ได้ปรากฏการฟ้องร้องคดีขึ้นกรณีหนึ่ง โดยเป็นข้อพิพาทระหว่างผู้นับถือศาสนาอิสลามลัทธิเจ้าเซ็นหรือที่เรียกขานว่า “แขกเจ้าเซ็น” และบริเวณที่ดินของ “กระฎี” ท้ายที่สุด ทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยต่อสู้กันถึงชั้นศาลฎีกาต้องพิจารณาตัดสินชี้ขาด จนประกาศเป็นคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931 พ.ศ. 2473
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
12
พฤศจิกายน
2565
ความเดิมตอนที่แล้ว : ตอนที่ 14
ศุขปรีดาเล่าเรื่อง : หวอเหงียนย้าป จอมทัพคู่บารมีโฮจิมินห์ : สมรภูมิเวียดนามใต้
การตรากตรำทำงานอย่างหนักของ หวอเหงียนย้าป มาตั้งแต่วัยหนุ่มตลอดจนการรับหน้าที่บัญชาการในสงครามปลดปล่อยภาคใต้ ทำให้สุขภาพของท่านเริ่มทรุดโทรมถดถอยไปมาก โดยเฉพาะขณะที่ท่านมีอายุได้ 63 ปี คือในปี 1974 ขณะการรบปลดปล่อยขั้นแตกหักได้ก้าวเข้าสู่ชัยชนะในขั้นสุดท้ายแล้ว
บทความ • ชีวิต-ครอบครัว
11
พฤศจิกายน
2565
ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้พำนักอยู่ในกรุงปักกิ่งประเทศจีนในฐานะเป็น “แขกของรัฐบาล” โดยรัฐบาลจีนออกค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตให้ทุกประการ บ้านที่พักเป็นบ้านเลขที่ 25 ตรอกเสี่ยวหยางเหมา คนไทยร่วมอาศัยอยู่ด้วยหลายคน คือ ร.อ.วัชรชัย ชัยสิทธิเวช, นายสงวน ตุลารักษ์ อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปักกิ่ง, ร.ต.ต.สมจิตร สุวรรณวัฒนา, นางนงเยาว์ ประภาสถิตย์, ร.ต.อ.สมศักดิ์ พัวเวช, ส.ต.ต.ชม แสงเงิน และ ร.ต.อ.เฉียบ ชัยสงค์ (อัมพุนันท์) และนับเป็นการลี้ภัยการเมืองครั้งที่ 3 ของท่าน คงจำได้ว่า การลี้ภัยครั้งแรก คือ เมื่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดาปิดสภา ครั้งที่สอง เมื่
บทความ • บทบาท-ผลงาน
10
พฤศจิกายน
2565
คดีกบฏที่หนังสือพิมพ์เรียกกันว่า “กบฏ 10 พฤศจิกา” ซึ่งเปนเรื่องครึกโครมตั้งแต่วันจับกุมจนถึงวันนี้นั้น ภายหลังที่ผู้ต้องหาได้เปิดเผยความจริงบางประการของกระบวนการสอบสวนขึ้นที่ศาลแล้ว ประชาชนที่ไปฟังคำแถลง และได้อ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ที่พากันขนานนามกบฏชุดนี้ว่า กบฏสันติภาพบ้าง, กบฏปอลิโอบ้าง, กบฏแฟนซีบ้าง, กบฏสงเคราะห์ประชาชนบ้าง, กบฏเสรีภาพบ้าง, กบฏหนังสือพิมพ์บ้าง รวมทั้งกบฏอิสานสัมพันธ์ เมื่อตำรวจได้จับกุมนักศึกษา ม.ธ.ก. รุ่นเยาว์อีกชุดหนึ่งที่ร่วมกันจัดงานรื่นเริงนักศึกษาชาวอิสานและได้ออกหนังสืออิสานสัมพันธ์มาคุมขังไว้
บทความ • แนวคิด-ปรัชญา
9
พฤศจิกายน
2565
ลักษณะเฉพาะของรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 นั้น เมื่อประกอบรวมกันจึงฉายภาพให้เห็นถึงตำแหน่งแห่งที่ของเหตุการณ์ดังกล่าวในสายธารประวัติศาสตร์ไทย ที่ได้ส่งผ่านมายังฐานคิดของคนในยุคหลังจากเหตุการณ์นั้น อันมีผลต่อความเคลื่อนไหวทางการเมืองไทยสืบมาจนกระทั่งปัจจุบัน
บทความ • ชีวิต-ครอบครัว
8
พฤศจิกายน
2565
ความจริงเรื่องรัฐประหารล้มรัฐบาลนี้ เกิดเป็นรูปเป็นร่างหลังจากพรรคประชาธิปัตย์เปิดอภิปรายทั่วไป ไม่ไว้วางใจรัฐบาลธำรงนาวาสวัสดิ์มาตั้งแต่ปลายพฤษภาคม 2490
บทความ • บทบาท-ผลงาน
7
พฤศจิกายน
2565
ชีวิตของคนคนหนึ่ง ที่จะยืนยาวมาเกือบถึง 100 ปี ย่อมถือว่าเป็นบุญยิ่งนัก แต่การที่จะสามารถครองตนดำรงชีวิตอย่างมีค่า ตลอดอายุขัยย่อมยากยิ่งกว่า...
บทความ • บทบาท-ผลงาน
6
พฤศจิกายน
2565
แท้จริงแล้ว ความคิดที่จะสร้างหอประชุมมหาวิทยาลัยมิได้เพิ่งจะมาเริ่มในสมัย จอมพล ป. ดำรงตำแหน่งอธิการบดี แต่หากเคยมีความคิดที่จะจัดสร้างมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในยุคที่ นายปรีดี พนมยงค์ ดำรงตำแหน่งผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัย
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
5
พฤศจิกายน
2565
นับตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 1965 เป็นต้นมา การแทรกแซงของอเมริกาเป็นไปอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยการส่งทหารอเมริกันเข้ามาปฏิบัติการรบ และได้มีการแต่งตั้งให้พลเอก เวสต์ มัวร์แลนด์ เป็นผู้บัญชาการ สำหรับนายพลอเมริกันผู้นี้ก็ดูเหมือนไม่มีความสามารถอะไรเป็นพิเศษ นอกจากเรียกร้องให้ทางประธานาธิบดีส่งทหารเพิ่มเติมเข้ามาตลอดเวลา
บทความ • แนวคิด-ปรัชญา
4
พฤศจิกายน
2565
"จาก “ควบรวม” ถึง “ผูกขาด” ประเมินความเสี่ยงที่สังคมไทยต้องแบกรับ" โดยชวนให้พิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม คือ การผนวกรวมของสองกลุ่มทุนใหญ่เข้าด้วยกัน โดยผู้เขียนชี้ให้เห็นถึงสภาพการแข่งขันทางธุรกิจก่อนเกิดกรณีดังกล่าว ที่ฉายภาพการแข่งขันเสรีอย่างขับเคี่ยวโดยกลุ่มทุนต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามกลไกตลาด