ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

บทความ

บทความ เว็บไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI BANOMYONG INSTITUTE

บทบาท-ผลงาน
13
เมษายน
2565
'เขมภัทร ทฤษฎิคุณ' นำเสนอเรื่องราวเกร็ดประวัติศาสตร์ที่มาของ "วันขึ้นปีใหม่" ในอดีต ไม่ว่าจะเป็น 1 เมษายน 13 เมษายน จนถึงกาลปรับเปลี่ยนในปัจจุบันเป็น วันที่ 1 มกราคม โดยประเด็นสำคัญที่ผู้เขียนนำเสนอนั้น วันที่ 1 เมษายน นอกจากจะเป็นวันปีใหม่แล้ว ยังถูกกำหนดให้เป็น "วันเริ่มต้นปีงบประมาณ" อีกด้วย
บทบาท-ผลงาน
12
เมษายน
2565
1 ปี ภายหลังการอภิวัฒน์สยาม แม้จะไม่มีการลั่นกระสุนสักนัดแต่ก็ใช่ว่าการเมืองภายในจะราบรื่น ความขัดแย้งของรัฐบาลใหม่ที่เกิดจากการประนีประนอมกันนั้นค่อยก่อตัวจากคลื่นใต้น้ำจนปะทุเด่นชัดจากนโยบายการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจระหว่างนโยบายของฝ่าย ‘พระยามโนปกรณ์นิติธาดา’ และ “เค้าโครงการเศรษฐกิจ” หรือที่เรียกกันว่า “สมุดปกเหลือง” ของ ‘หลวงประดิษฐ์มนูธรรม’[1] ที่ได้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีเจตนารมณ์ที่จะทำให้สยามเป็นเอกราชทางด้านเศรษฐกิจ และแก้ไขปัญหาความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจใ
บทบาท-ผลงาน
11
เมษายน
2565
เมื่อได้ เลิกภาษีอันไม่เป็นธรรม และ จัดเก็บภาษีขึ้นใหม่ ตาม “ประมวลรัษฎากร” นั้น รายได้จากภาษีทางตรงของรัฐขาดไปประมาณ 11 ล้านบาท ไม่ใช่น้อยเลย แต่รัฐมนตรีคลัง ‘ดร.ปรีดี พนมยงค์’ ลูกกสิกรชาวกรุงเก่า ผู้มีสายเลือดจากบุพการีต่างสายกัน ไม่หวั่นวิตกเลย
เกร็ดประวัติศาสตร์
10
เมษายน
2565
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 ‘เสน่ห์ จามริก’ มีอายุครบ 90 ปี ในวาระนี้ลูกศิษย์ลูกหาได้ร่วมกันจัดงาน “ดอกหญ้าไหว: สู่ชีวิตและสังคมเสรี  บทเสวนาแห่งสามัญชน” ขึ้นที่ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ โดยมีลูกศิษย์ของเสน่ห์คนหนึ่งกล่าวรำลึกว่า เขาเป็นนักศึกษาแผนกรัฐศาสตร์ศึกษาที่เสน่ห์ดูแล ครั้งหนึ่งเล่นบาสเกตบอลแขนหัก ไม่อาจใช้มือขวาเขียนตอบข้อสอบได้ เสน่ห์ได้จัดการให้เขาสามารถสอบได้ ด้วยการให้อัดเสียงแล้วให้เจ้าหน้าที่ถอดเป็นคำตอบให้
บทบาท-ผลงาน
8
เมษายน
2565
บทความชิ้นนี้มีหมุดหมายเพื่อนำเสนอพัฒนาการแนวคิดความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ และการปรับปรุงระบบภาษีอากรเพื่อราษฎรของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม[1] ก่อนการร่างพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรพุทธศักราช 2481 ผ่านหลักฐานทางประวัติศาสตร์สำคัญได้แก่ นิติสาส์น ฉบับปฐมฤกษ์ บันทึกการประชุมคณะกรรมการราษฎร และเค้าโครงการเศรษฐกิจ 
เกร็ดประวัติศาสตร์
7
เมษายน
2565
ตั้งแต่เริ่มระบอบประชาธิปไตยมา แม้ในสภาผู้แทนราษฎรจะได้มีการร่ำร้องให้รัฐบาลลดหย่อนภาษีอากร และรัฐบาลได้ลดหย่อนลงจนถึงที่อยู่แล้วก็ตาม ภาษีอากรทั้งหมดที่เก็บอยู่นั้น เมื่อพิจารณาโดยทั่วๆ ไปแล้ว ยังเห็นว่า ยังไม่เป็นธรรมแก่ราษฎรอยู่ ราษฎรเป็นแต่เพียงรู้สึกหายใจคล่องและพ้นจากการผูกมัดรัดแน่น ในด้านรัฐบาล รายได้จากการภาษีอากรทั้งหมด ก็ไม่พอแก่การที่จะบำรุงสร้างความเจริญก้าวหน้าให้ประเทศชาติ และในส่วนรวม ภาษีอากรเหล่านั้น ไม่เป็นคุณต่อการผลิตและการจำแนกทรัพย์ในระหว่างชั้นของราษฎร และยังมีภาษีอากรที่คนจนหรือคนมั่งมีต้องเสียเท่ากันอยู่ เช่น รัชชูปการ เป็นอาทิ
เกร็ดประวัติศาสตร์
6
เมษายน
2565
ในสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบกับสภาวะเงินเฟ้อ ทำให้อำนาจซื้อของประชาชนลดลง เนื่องจากราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น เงินจำนวนเท่าเดิมแต่สามารถซื้อสินค้าและบริการได้ลดลง
แนวคิด-ปรัชญา
5
เมษายน
2565
"สถาบันปรีดี พนมยงค์" ที่ครูอุทิศที่ดินให้นั้น ได้ดำเนินกิจกรรมสร้างสรรค์อันเป็นประโยชน์ต่อสังคมและราษฎรไทยเป็นรูปธรรมมาอย่างต่อเนื่อง แม้การเปลี่ยนแปลงใดๆ จะเกิดขึ้นตามความเป็นอนิจจังของสังคมและเหตุปัจจัยต่างๆ แต่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ยังคงทำกิจกรรมตามปณิธานของผู้ก่อตั้งอย่างไม่เปลี่ยนแปลงและไม่มีวันสิ้นสุด
ศิลปะ-วัฒนธรรม
4
เมษายน
2565
4 เมษายน 2484 รอบปฐมทัศน์ "พระเจ้าช้างเผือก" ภาพยนตร์ที่ประพันธ์และอำนวยการสร้างโดย นายปรีดี พนมยงค์ ถูกสร้างขึ้นเพื่อประกาศอุดมการณ์ทางการเมืองว่าด้วยสงคราม และ สันติภาพของท่านผู้สร้าง ในนามของประชาชาติไทย
เกร็ดประวัติศาสตร์
3
เมษายน
2565
ความเดิมตอนที่แล้ว : ศุขปรีดาเล่าเรื่อง : สงครามซีไอเอ นับตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา “ฝ่ายแนวลาวรักชาติ” เสนอให้มีการประชุมกับ “ฝ่ายเวียงจันทน์” ซึ่งส่วนใหญ่ก็ยังเป็นพวกปะติกานฝ่ายขวา สำหรับฝ่ายเป็นกลางอย่างแท้จริงที่สนับสนุน เจ้าสุวันนะพูมา นั้นก็มีความเห็นชอบแนวนโยบายของฝ่ายแนวลาวรักชาติ และเข้าร่วมด้วย อาทิเช่น พันเอกเดือน สุนนะลาด เป็นต้น ซึ่งในเวลาต่อมาก็เข้าเป็นฝ่ายแนวลาวรักชาติเต็มตัว
Subscribe to บทความ