บทความ
บทความ เว็บไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI BANOMYONG INSTITUTE
บทความ • บทบาท-ผลงาน
24
พฤษภาคม
2565
ย้อนกลับไปภายหลังการอภิวัฒน์ ขณะนั้น 'นายปรีดี พนมยงค์' รั้งตำแหน่งเจ้ากระทรวงมหาดไทย ได้มีการเสนอร่าง พรบ.ว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 และ พรบ.จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 เพื่อปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินของไทยใหม่ และได้มีการจัดตั้ง "เทศบาล" ขึ้นเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
บทความ • แนวคิด-ปรัชญา
23
พฤษภาคม
2565
พริษฐ์ วัชรสินธุ กล่าวถึง แง่มุมของการศึกษาที่มีคุณภาพซึ่งเป็นหนึ่งใน 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (เป้าหมายที่ 4) ที่กำหนดไว้โดยองค์การสหประชาชาติ ซึ่งหากย้อนกลับไปพิจารณาความคิดของนายปรีดี พนมยงค์ จะเห็นได้ว่า ความคิดเรื่องการยกระดับการศึกษาให้มีคุณภาพนี้ปรากฏอยู่ตั้งแต่ในหลัก 6 ประการของคณะราษฎร และการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
22
พฤษภาคม
2565
‘อนันต์ โลเกตุ’ เด็กหนุ่มวัย 18 ปี จากอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ลาอุปสมบทจากการบวชสามเณรวัดใกล้บ้าน เพื่อเข้าสมัครเรียนต่อในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อเปิดเทอมไม่นาน เขาก็ได้ประจักษ์การรัฐประหารด้วยตาของตัวเอง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 คือ การเป็นพยานรู้เห็นโดยตรงต่อการใช้กำลังอาวุธเปลี่ยนแปลงรัฐบาลสำเร็จ ครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่
บทความ • แนวคิด-ปรัชญา
21
พฤษภาคม
2565
“การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร” ในอีกไม่กี่ชั่วโมง นอกจากผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหลายท่านจะมีประวัติภูมิหลังที่น่าสนใจแล้ว ที่ผ่านมาหลายท่านก็ได้ยกนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองขึ้นมาพูดอย่างหลากหลายมิติ
บทความ • แนวคิด-ปรัชญา
20
พฤษภาคม
2565
ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ฝ่ายนโยบาย กล่าวถึง "เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน" นั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับหลายๆ เรื่อง โดยขึ้นอยู่กับว่าจะหยิบเป้าหมายดังกล่าวมาพิจารณาในแง่มุมใด และการพัฒนาที่ยั่งยืนจะไม่เกิดขึ้น หากปราศจากประชาธิปไตยสมบูรณ์
บทความ • แนวคิด-ปรัชญา
19
พฤษภาคม
2565
ผศ.ชล บุนนาค กล่าวถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างแผนการพัฒนาที่ยั่งยืนกับประชาธิปไตยสมบูรณ์ โดยหลักการประชาธิปไตยสมบูรณ์ของนายปรีดี พนมยงค์นั้น สอดคล้องกับ SDGs เป้าหมายที่ 16 ที่ว่าด้วยเรื่องการมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรมและสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผลรับผิดชอบและครอบคลุมในทุกระดับ
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
18
พฤษภาคม
2565
'ศิริ สันตะบุตร' ผู้ว่าราชการคนสุดท้ายที่มาจากการแต่งตั้ง ดำเนินชีวิตอยู่บนสายงานราชการด้วยการเป็นนักปกครองที่ซื่อสัตย์สุจริต ดังคำกล่าวของ คุณหญิงนันทกา สุประภาตะนันทน์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ณ ขณะนั้นว่า “ท่านเป็นคนอ่อนโยน…เป็นคนตรงเป็นไม้บรรทัด”
บทความ • ศิลปะ-วัฒนธรรม
17
พฤษภาคม
2565
ในวาระ 122 ปีชาตกาลของศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ยังคงมีเรื่องราวสืบเนื่องจากคุณูปการให้รำลึกถึงท่าน อาทิเช่น ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ย่านลาดพร้าว และถนนปรีดี พนมยงค์ ย่านสุขุมวิท ที่จะเล่าถึงในบทความชิ้นนี้[1]
บทความ • บทบาท-ผลงาน
16
พฤษภาคม
2565
ภายใต้รัฐบาลที่มีนายกรัฐมนตรีชื่อ พระยาพหลพลพยุหเสนา “นโยบายสันติภาพ” มีฐานะเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุเป้าหมาย “หลักเอกราช” อันเป็นหนึ่งในหลักหกประการของคณะราษฎร เหตุที่เรื่องนี้กลายมาเป็นเรื่องหลักของรัฐบาล เนื่องมาจาก ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ที่เสมือนคำมั่นสัญญากับประชาชนนั้น ผู้ก่อการได้เล็งเห็นถึงปัญหาของการสูญเสียเอกราชของประเทศ ที่ต้องเร่งกอบกู้โดยเร็ว
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
Subscribe to บทความ
15
พฤษภาคม
2565
ความเดิมตอนที่แล้ว : ศุขปรีดาเล่าเรื่อง : ประธานเเห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)
การได้มาซึ่งอำนาจปกครองประเทศ ในด้านหลักต้องถือว่าเป็นผลสำเร็จ แห่งชัยชนะของประชาชนที่จะได้นำพาประเทศชาติไปสู่ความก้าวหน้า ตามการดำเนินไปของสัจธรรมที่สังคมต้องเปลี่ยนแปลงและเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง หากแต่ว่าจะต้องเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการ