ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

บทความ

บทความ เว็บไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI BANOMYONG INSTITUTE

ชีวิต-ครอบครัว
20
มิถุนายน
2563
2 พฤษภาคม 2536 เป็นวันที่นายปรีดี พนมยงค์ ได้ละโลกอันสับสนวุ่นวายไปสู่ที่ที่มีความสงบครบ 10 ปี  ถึงแม้กาลเวลาจะล่วงเลยมานานแล้ว แต่เนื่องจากเราได้ร่วมชีวิตกันมาเป็นเวลากว่า 55 ปี จึงอดที่จะระลึกถึงความหลัง ซึ่งเป็นเรื่องส่วนตัวเฉพาะครอบครัว ไม่ได้ และเป็นชีวิตเสี้ยวหนึ่งของนายปรีดีที่ไม่ค่อยมีใครทราบ
แนวคิด-ปรัชญา
19
มิถุนายน
2563
ในวาระครบรอบ 60 ปี แห่งการอภิวัฒน์ประชาธิปไตย ไทย ผมใคร่จะถือโอกาสนี้เขียนถึง ฯพณฯ รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ผู้เป็นมันสมองของคณะราษฎรในการอภิวัฒน์ครั้งนั้น 
บทบาท-ผลงาน
18
มิถุนายน
2563
ในการเสวนาเรื่อง “ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ฉบับ 27 มิถุนายน 2475” เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2550 ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ปรีชา สุวรรณทัต ได้ร่วมอภิปราย ความตอนหนึ่งดังนี้ ความจริงการเสวนาในวันนี้มีสองมิตินะครับที่กําหนดเป็นหัวข้อ มิติทางประวัติศาสตร์และมิติทางรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย คือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2745 พี่สุพจน์ [ด่านตระกูล] ได้พูดถึงมิติทางด้านประวัติศาสตร์ไปในรายละเอียด ผมจะขอให้ข้อสังเกตบางประการทางด้านมิติรัฐธรรมนูญฉบับแรก 
บทสัมภาษณ์
17
มิถุนายน
2563
โคทม อารียา เป็นผู้แทนสหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน สัมภาษณ์นายปรีดี.
เกร็ดประวัติศาสตร์
16
มิถุนายน
2563
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เวลา 17.15 น. โปรดเกล้าฯ ให้พระยามโนปกรณ์, พระยาศรีวิสาร, พระยาปรีชาชลยุทธ, พระยาพหล, กับหลวงประดิษฐมนูธรรม มาเฝ้าฯ ที่วังสุโขทัย มีพระราชดํารัสว่า อยากจะสอบถามความบางข้อ และบอกความจริงใจ ตั้งแต่ได้รับราชสมบัติ ทรงนึกว่า ถูกเลือกทําไม บางทีเทวดาต้องการให้พระองค์ ทํา อะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง
แนวคิด-ปรัชญา
15
มิถุนายน
2563
ปรีดี พนมยงค์ ทำการอภิวัฒน์สยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ด้วยความปรารถนาจะให้ประเทศสยามในขณะนั้นได้มีประชาธิปไตยสมบูรณ์ คือประกอบไปด้วยประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ประชาธิปไตยการเมือง และทัศนะทางสังคมที่เป็นประชาธิปไตย
ศิลปะ-วัฒนธรรม
14
มิถุนายน
2563
สาเหตุของความแตกแยกภายในคณะราษฎร มีพื้นฐานสืบเนื่องมาจากความแตกต่างในอุดมการณ์ทางการเมืองของบุคคลชั้นหัวหน้าในคณะราษฎรเป็นสําคัญ  การรวมตัวกันของคณะราษฎรเป็นที่น่าสังเกตว่า ประกอบด้วยบุคคลซึ่งมีแนวความคิดต่างกันอยู่มาก แต่เท่าที่สามารถรวมกลุ่มกันได้ในระยะแรก เป็นเพราะบุคคลเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายร่วมกันอยู่ คือ ความต้องการยึดอํานาจจากชนชั้นปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพื่อสถาปนารัฐบาลชุดใหม่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
ชีวิต-ครอบครัว
13
มิถุนายน
2563
“ผมกับภรรยาสืบมาจากเชียดเดียวกัน” ท่านปรีดี พนมยงค์ กล่าวตอนหนึ่งในการสนทนากับนายฉัตรทิพย์ นาถสุภา เมื่อเดือนเมษายน 2525 ถึงความสัมพันธ์ทางสายเลือดระหว่างท่านกับท่านผู้หญิงพูนศุข ผู้เป็นศรีภริยา คําว่า “เชียด” นั้นเป็นคําโบราณที่ไม่ค่อยมีใครในปัจจุบันเรียกกัน หมายถึงพ่อของชวด (ทวด) ตามประวัติของท่านรัฐบุรุษอาวุโสนั้น เชียดของท่านมีบุตรอยู่หลายคน บุตรีคนหนึ่งชื่อปิ่นได้แต่งงานกับจีนก๊ก แซ่ตั้ง เป็นพ่อค้าเชื้อชาติจีน ทั้งสองมีบุตร หลายคนคนหนึ่งชื่อเกิด ได้แต่งงานกับนางคุ้ม มีบุตร 8 คน ชื่อ ฮวด ชุ้น แฟง ง้วย ใช้ ฮ้อ เสียง และบุญช่วย
เกร็ดประวัติศาสตร์
13
มิถุนายน
2563
ตอน ๖ ปรีดีอสัญกรรม พ.ศ.๒๕๒๖ ถึง งาน ๑๐๐ ปีชาตกาลท่านรัฐบุรุษอาวุโส บุคคลสำคัญองค์กร UNESCO   ณ บ้านอองโตนี ชานกรุงปารีส เวลา ๑๑ นาฬิกาเศษ ของวันจันทร์ที่ ๒ พ.ค.๒๕๒๖ นายปรีดีสิ้นใจอย่างสงบด้วยอาการหัวใจวายขณะกำลังเขียนหนังสืออยู่ที่โต๊ะทำงาน สรีระของท่านได้รับการประกอบพิธีฌาปนกิจศพอย่างสมเกียรติและเรียบง่ายตามเจตนารมณ์ของผู้วายชนม์เมื่อเที่ยงของวันจันทร์ที่ ๙ พ.ค.๒๕๒๖ ณ บริเวณสุสาน Père Lachaise สถานที่สำหรับ ฝังศพบุคคลสำคัญของประเทศ เช่น Chopin, Molière, Hugo, Delacroix ฯลฯ
แนวคิด-ปรัชญา
12
มิถุนายน
2563
เมื่อจะทำความเข้าใจขบวนการสิทธิสตรีในประเทศไทย อาจพบว่าชื่อของ ปรีดี พนมยงค์ ไม่เป็นที่คุ้นเคยสักเท่าไหร่ แต่ถ้าจะกล่าวถึงกำเนิดของสิทธิสตรีในการเลือกตั้งของสตรีไทยแล้ว คงไม่มีใครปฏิเสธว่า เริ่มต้นที่ร่างธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 และร่างธรรมนูญฉบับนี้เองที่ นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้รับผิดชอบในการร่าง
Subscribe to บทความ