ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

บทความ

บทความ เว็บไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI BANOMYONG INSTITUTE

เกร็ดประวัติศาสตร์
17
กุมภาพันธ์
2564
17 กุมภาพันธ์ ในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) นายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนี และ นายบุศย์ ปัทมศริน 3 จำเลยผู้บริสุทธิ์ถูกประหารชีวิตในกรณีสวรรคต
บทบาท-ผลงาน
16
กุมภาพันธ์
2564
นายปรีดี พนมยงค์ ได้กล่าวสุนทรพจน์ในงาน 'กึ่งศตวรรษประชาธิปไตย' เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2525 มีใจความถึงเหตุแห่งความผิดพลาดของการอภิวัฒน์ประชาธิปไตย 24 มิถุนายน
เกร็ดประวัติศาสตร์
14
กุมภาพันธ์
2564
เนื่องในวาระเทศกาลวันแห่งความรักของเดือนกุมภาพันธ์ ถ้าจะทดลองเอ่ยถึงลักษณะการเดินทางไปทัศนาจรด้วยกันของนายปรีดีและท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์อันเข้าเค้า ‘ฮันนีมูน’แล้ว ก็คงน่าสนใจไม่เบา ประกอบกับมีเกร็ดข้อมูลที่สามารถจะแจกแจงได้พอสมควร
ชีวิต-ครอบครัว
13
กุมภาพันธ์
2564
แม้เวลาผ่านไปเนิ่นนาน แต่ดูเหมือนว่าความทรงจำของท่านผู้หญิงยังคงชัดเจน โดยเฉพาะเมื่อรำลึกถึงสิ่งต่าง ๆ ที่นายปรีดีทำเพื่อแผ่นดิน และ มวลราษฎรไทย และตัวท่านผู้หญิงก็ได้ต่อสู้เคียงข้างนายปรีดีมาโดยตลอดจากการถูกใส่ร้ายต่างๆ นานา ต่อสู้แม้ว่านายปรีดีจะล่วงลับไปแล้ว จนกระทั่งคิดว่ามีผู้เข้าใจนายปรีดีมากขึ้นจึงได้ยุติ
แนวคิด-ปรัชญา
12
กุมภาพันธ์
2564
เมื่อวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2516 นายปรีดี พนมยงค์ ได้แสดงปาฐกถาว่าด้วยเรื่อง 'อนาคตของประเทศไทยควรดำเนินไปในรูปแบบใด' โดยได้เน้นย้ำถึงเหตุผลว่าเพราะอะไรถึงต้องนำประชาธิปไตยที่สมบูรณ์กลับมา?
แนวคิด-ปรัชญา
11
กุมภาพันธ์
2564
ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล ได้ให้ข้อเสนอในเรื่องการลบล้างผลพวงของการรัฐประหาร โดยให้มีการจัดทำ "คำประกาศว่าด้วยคุณค่าอันเป็นรากฐานของระบอบเสรีประชาธิปไตย" และ คาดหวังว่าจะเป็นการวางรากฐานที่สำคัญสำหรับอนาคตที่จะยับยั้งมิให้เกิดการรัฐประหารขึ้นได้อีกต่อไป
เกร็ดประวัติศาสตร์
10
กุมภาพันธ์
2564
อาจกล่าวได้ว่า กบฏเสนาธิการหรือกบฏนายพลนี้ เป็นผลผลิตของการต่อต้านรัฐประหารภายในกองทัพบกเอง ซึ่งสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ได้มองว่าเป็นการเคลื่อนไหวครั้งนี้ได้เกิดขึ้นจากปัจจัย 2 ประการ
เกร็ดประวัติศาสตร์
9
กุมภาพันธ์
2564
รัฐประหาร 2490 เป็นเครื่องเตือนให้รู้ว่า ตราบใดที่การแข่งขันทางการเมืองยังมิได้ขยายฐานแห่งอำนาจไปสู่ประชาชน การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยการใช้กำลังย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ
เกร็ดประวัติศาสตร์
8
กุมภาพันธ์
2564
รัฐประหาร 2490 นั้นมิได้มีความสำคัญเฉพาะในทางการเมือง ซึ่งการรัฐประหารในครั้งนี้ไม่ได้ฉุดรั้งการพัฒนาของประชาธิปไตยไทยแต่เพียงอย่างเดียว แต่การรัฐประหาร 2490 นั้นได้ผลักดันแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยให้เป็น “ทุนนิยมโดยรัฐ” แบบเข้มข้น โดยเอื้อประโยชน์ให้ส่วนตัวและให้ความคุ้มครองแก่พ่อค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสงครามเย็นเริ่มต้น การเข้ามามีบทบาทของพญาอินทรี ทำให้เกิดความสัมพันธ์สามฝ่ายระหว่าง ขุนศึก พ่อค้า และพญาอินทรี
แนวคิด-ปรัชญา
7
กุมภาพันธ์
2564
นายปรีดี พนมยงค์ ได้ถ่ายทอดเรื่องราวในคืนหลังจากเหตุการณ์รัฐประหาร 2490 ไม่ว่าจะเป็นหนทางหลบหนี, มิตรสหายที่ได้ทำการช่วยเหลือ หรือ แม้กระทั่งเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่ตัวท่านเองได้ประสบพบเจอ
Subscribe to บทความ