ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

บทความ

บทความ เว็บไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI BANOMYONG INSTITUTE

เกร็ดประวัติศาสตร์
30
มกราคม
2565
ความเดิมตอนที่แล้ว: ตอนที่ 5 ศุขปรีดาเล่าเรื่อง: รัฐบาลแห่งความปรองดองแห่งชาติครั้งที่หนึ่ง “รัฐบาลผสมแห่งชาติ” เจ้ามหาอุปราชเพ็ดชะลาดผู้นำขบวนการกู้ชาติลาวครั้งแรกในปี ค.ศ. 1945 (2488) ที่ถูกเจ้ามหาชีวิตถอดออกจากตำแหน่งเมื่อฝรั่งเศสกลับมายึดลาว ท่านจำต้องลี้ภัยในเมืองไทยร่วม 10 ปี จึงได้รับนิรโทษกรรมกลับคืนสู่อิสริยยศเดิม และได้เดินทางกลับลาวในวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1957 (2500)
บทบาท-ผลงาน
29
มกราคม
2565
แม้จะได้รับการโจมตีว่าเป็น “รัฐบาลขี้ขลาด” เพราะไม่ตัดสินใจทำสงครามในกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสช่วงปี พ.ศ. 2489 แต่ นายปรีดี พนมยงค์ ก็ยังยืนยันหนักแน่นว่า เขาจะต้องดำเนินนโยบายเพื่อมิให้ราษฎรประสบความเดือดร้อนในการเข้าสู่สภาวะสมรภูมิอีกต่อไป
บทบาท-ผลงาน
28
มกราคม
2565
-๑- ภายหลังที่รัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามกับบริเตนใหญ่และสหรัฐอเมริกาดั่งกล่าวแล้ว รัฐบาลก็ดำเนินต่อไปอีกในการผูกมัดประเทศไทยเข้ากับญี่ปุ่นและอักษะมากขึ้น
แนวคิด-ปรัชญา
27
มกราคม
2565
'นายปรีดี พนมยงค์' ได้เขียนบันทึกถึงท่าทีของประเทศมหาอำนาจสัมพันธมิตรอันเนื่องมาจากการกระทำของรัฐบาลไทย ภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม
บทบาท-ผลงาน
26
มกราคม
2565
10 ปี ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 และรัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามกับสหรัฐฯ และบริเตนใหญ่ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นจุดที่รัฐบาลไทยหันเข้าหาญี่ปุ่นเต็มตัว และต่อต้านสัมพันธมิตร เข้าสู่สงครามเป็นทางการ [1] คำถามสำคัญคือ ทำไมวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 จึงเป็นโมฆสงครามตามทัศนะของปรีดี พนมยงค์ ในบทความนี้จะค่อยๆ คลี่ให้เห็นคำตอบต่อไป  
แนวคิด-ปรัชญา
24
มกราคม
2565
“เค้าโครงการเศรษฐกิจ” ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในช่วงต้นว่าเป็นการนำแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์โซเวียตมาใช้ในประเทศไทย  แต่ทว่าเมื่อพิจารณารายละเอียดของเนื้อหาในเค้าโครงการเศรษฐกิจหลายๆ หัวข้อประกอบกับคำชี้แจงแล้วจะเห็นได้ว่า เค้าโครงการเศรษฐกิจนั้น มิได้เป็นคอมมิวนิสต์ แต่ประกอบไปด้วยแนวคิดทางเศรษฐกิจจากหลายๆ สำนัก ในทางกลับกัน แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติของ 'จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์' ที่ถูกนำมาใช้ในเวลาต่อมาในประเทศไทยนั้น กลับไม่ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะเดียวกัน โดยเฉพาะเมื่อย้อนกลับไปพิจารณาในบริบทของการเกิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่ง ‘รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ’
เกร็ดประวัติศาสตร์
23
มกราคม
2565
ความเดิมตอนที่แล้ว: ศุขปรีดาเล่าเรื่อง: ฐานที่มั่น, เขตปลดปล่อย . ผลแห่งข้อตกลง “เจนีวา” ที่ลงนามกันเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 (2497) โดยเฉพาะที่เป็นปัญหาเกี่ยวข้องกับลาวนั้นได้ข้อตกลงร่วมกันคือ 1. ฝ่ายลาวต่อต้านต้องนำกำลังที่มีอยู่ทั้งหมดไปรวมไว้ที่แขวงหัวพันและแขวงพงสาลี ตามเวลากำหนดภายใน 90 วัน 2. ฝ่ายลาวต่อต้านนำกำลัง 2 กองพัน จำนวนพลกองพันละ 750 นาย เข้ารวมกับกองกำลังเวียงจันทน์เพื่อเป็นกองทัพแห่งชาติ และจะได้รับยศทหารตามความเป็นจริง
บทบาท-ผลงาน
22
มกราคม
2565
ช่วงวันที่ 10-11 สิงหาคม พ.ศ. 2478 ปรากฏข่าวคราวหนึ่งแพร่กระจายสู่ความรับรู้ของผู้พำนักอยู่ในรัฐปีนัง (Penang) เขตดินแดนมลายู จนสร้างความตื่นเต้นและตื่นตัวเป็นอันมาก นั่นคือกรณีที่ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือ นายปรีดี พนมยงค์ ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จะออกเดินทางจากเมืองไทยมาแวะเยือนถิ่นปีนัง โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวของกลุ่มเจ้านายเดิมสมัยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ต้องลี้ภัยทางการเมือง 
แนวคิด-ปรัชญา
21
มกราคม
2565
‘ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์’ เป็นปูชนียบุคคลที่หาได้ยาก ความสำคัญของท่านไม่ได้จำกัดอยู่ตรงที่ว่าท่านเป็นภรรยาของรัฐบุรุษอาวุโสคนแรกและคนเดียวของประเทศไทยเท่านั้น แต่ท่านยังมีความสำคัญโดยตัวท่านเอง เพราะท่านเป็นแบบอย่างแห่งทางจริยธรรมที่เราควรจะดำเนินตามเป็นอย่างยิ่ง ท่านเป็นผู้ที่ประกอบไปด้วยคุณธรรมมากมายหลายประการ สมกับได้ชื่อว่าเป็น “ธรรมจารี” หรือผู้ประพฤติธรรม อาทิเช่น ความซื่อสัตย์สุจริต ความสันโดษ ความเสียสละ ความกล้าหาญ ความกตัญญู และความเมตตากรุณา  
Subscribe to บทความ