ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

บทความ

บทความ เว็บไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI BANOMYONG INSTITUTE

แนวคิด-ปรัชญา
21
กุมภาพันธ์
2565
'เขมภัทร ทฤษฎิคุณ' จะมาพิจารณาในแง่ของความเป็นมา และผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจของคลองทั้งสอง และคลองสุเอซกับปัญหาต่างๆ รวมถึงการเข้ามาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ของอังกฤษ และ ผลประโยชน์ของคลองสุเอซในปัจจุบัน เป็นต้น
เกร็ดประวัติศาสตร์
19
กุมภาพันธ์
2565
ความเดิมตอนที่แล้ว : ศุขปรีดาเล่าเรื่อง : เส้นทางหลบหนี   เช้าตรู่ของวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) ขณะชาวนครหลวงเวียงจันทน์ตื่นนอนตอนเช้าก็พบว่าเกิดรัฐประหารยึดอำนาจรัฐแล้ว นำโดย ร้อยเอกกองแล โรรัง ผู้บังคับกองพันราบอากาศ พร้อมด้วย ร้อยโทเดือน สุนนะลาด รอง ผ.บ. พัน และร้อยตรีเทียบ ลิดทิเดด มีสารวัตรทหารส่วนหนึ่งเข้าร่วมทำการ และสมทบด้วยทหารอีกส่วนจากค่าย “จินายโม้” รวมกำลังพลประมาณ 800 คน  
ศิลปะ-วัฒนธรรม
18
กุมภาพันธ์
2565
ผมเพิ่งมีโอกาสได้รู้จักกับ คุณดุษฎี พนมยงค์ (ขอเรียกสั้นๆ ว่า “ครูดุษ”) ตัวจริงและเสียงจริงเมื่อราว ๔๐ ปีที่แล้ว ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ คุณดุษไปอยู่ที่นั่นเพื่อศึกษาศิลปะการร้องเพลงเพิ่มเติมต่อจากที่เรียนมาแล้วจากประเทศจีน     
เกร็ดประวัติศาสตร์
17
กุมภาพันธ์
2565
  วันนี้ 17 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2565 ครบรอบ 67 ปี แห่งการประหาร 3 จำเลยคดีสวรรคตรัชกาลที่ ๘ นายเฉลียว ปทุมรส .. จำเลยที่ 1 นายชิต  สิงหเสนี .. จำเลยที่ 2 นายบุศย์ ปัทมศริน .. จำเลยที่ 3
เกร็ดประวัติศาสตร์
17
กุมภาพันธ์
2565
ครั้นแล้ววันพุธที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๘ สถานการณ์ในเรือนจำมหันตโทษก็เริ่มเคร่งเครียด ไม่มีใครรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น นอกจาก ขุนนิยมบรรณสาร ผู้บัญชาการเรือนจำเท่านั้นที่กำความลับไว้ ทุกคนต่างพากันปฏิบัติไปตามคำสั่งโดยไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เมื่อ ๑๗.๐๐ น. ได้มีประกาศประชุมด่วน ห้ามมิให้พนักงานทุกคนออกไปจากเรือนจำอย่างเด็ดขาด ผู้ต้องขังทั้งหมดถูกจัดให้เข้าเรือนขังหมดก่อนปกติ คือก่อน ๑๗.๐๐ น. มหันตโทษอันกว้างใหญ่และเต็มไปด้วยเสียงมาตลอดทั้งวัน พลันก็เงียบลงอย่างฉับพลัน
เกร็ดประวัติศาสตร์
16
กุมภาพันธ์
2565
นโม พุทฺธาย  ดูกรท่านสาธุชนทั้งหลาย  วันนี้วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2479 เป็นศุภดิถีมงคลสมัย วันมาฆบูชาจาตุรงคสันนิบาต สมาชิกพุทธธรรมสมาคมได้มาชุมนุมพร้อมกันเพื่อบำเพ็ญกุศลตามคตินิยม
แนวคิด-ปรัชญา
15
กุมภาพันธ์
2565
  ปรีดีกับการขุดคลอง การริเริ่มแนวคิดเกี่ยวกับการขุดคลองคอดกระของปรีดี เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2478 ในรัฐบาลของ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (ตำแหน่งในขณะนั้น) หลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือ นายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รื้อฟื้นและเสนอแผนการในการขุดคลองบริเวณคอคอดกระเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1  อย่างไรก็ดี รัฐบาลในเวลานั้นขาดแคลนงบประมาณทำให้โครงการดังกล่าวไม่ได้ถูกริเริ่มขึ้นในเวลานั้น[1]
ชีวิต-ครอบครัว
14
กุมภาพันธ์
2565
แม้ไม่ปรากฏว่า ฯพณฯ รัฐบุรุษอาวุโสของไทยเล่นเครื่องดนตรีชนิดใดเป็น แม้ไม่ปรากฏว่ารัฐบุรุษอาวุโสผู้นี้ประพันธ์เพลงใดๆ ไว้หรือไม่ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า นายปรีดี พนมยงค์ ไม่มีดนตรีในหัวใจ ดุษฎี พนมยงค์ ธิดาของเขา เล่าว่า “ยามว่างจากการเรียน หรือการงาน  แม้จะเครียดอย่างไร คนใกล้ชิดมักได้ยินนายปรีดีผ่อนคลายความเครียด ด้วยการฮัมทำนองเพลงไพเราะอย่างอารมณ์ดี” ไม่เพียงเท่านั้น เพลงโปรดทั้งไทยและเทศของนายปรีดียังตีความเชื่อมโยงไปกับภารกิจทางการเมืองของเขาอีกด้วย
เกร็ดประวัติศาสตร์
12
กุมภาพันธ์
2565
ความขัดแย้งในหมู่ฝ่ายขวาเปิดโอกาสแก่แนวลาวรักชาติ โดยเฉพาะบรรดาสหายที่ถูกคุมขังในคุกโพนเค็งให้สามารถแหกคุกและหลบหนีออกมาได้ด้วยความสำเร็จอย่างงดงาม กรณี “คุกโพนเค็ง” และ “เส้นทางหลบหนี” ก็จักต้องจารจารึกไว้ในประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ปลดปล่อยชาติของฝ่ายแนวลาวรักชาติชั่วกาลนาน
Subscribe to บทความ