เกร็ดประวัติศาสตร์
เกร็ดประวัติศาสตร์
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
1
เมษายน
2565
1 เมษายน 2476 วันขึ้นปีใหม่ไทย แต่ ณ ห้วงเวลานั้น ได้เกิดการรัฐประหารครั้งแรกภายใต้ระบอบประชาธิปไตย นำโดยนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย คือ 'พระยามโนปกรณ์นิติธาดา' ซึ่งเป็นการรัฐประหารรัฐบาลตัวเอง ที่เรียกกันว่า "รัฐประหารโดยพระราชกฤษฎีกา"
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
31
มีนาคม
2565
'สุภา ศิริมานนท์' เล่าถึง เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความเลื่อมใส 'กุหลาบ สายประดิษฐ์' ตั้งแต่ที่ตนเองอายุเพิ่งจะ 10 กว่าขวบ จนเมื่อผ่านกาลเวลาและได้มีโอกาสก้าวเข้ามาสู่วงการนักหนังสือพิมพ์ สุภาในฐานะของลูกศิษย์ ยกย่องกุหลาบด้วยความเคารพและเชิดชู ในฐานะของ "ครู" ผู้สอนสั่งความเป็นนักหนังสือพิมพ์
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
29
มีนาคม
2565
ผู้เขียนได้รวบรวมเรื่องราวของ 'พระยาพหลพลพยุหเสนา' ตั้งแต่กำเนิด - เครือญาติ, ที่มาของนามสกุลพระราชทาน, เรื่องนิมิตรประหลาดเมื่อครั้งเดินทางไปราชการที่ประเทศญี่ปุ่น, การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ในฐานะหัวหน้าคณะราษฎร, การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งระบอบประชาธิปไตย และ เชษฐบุรุษ เป็นต้น
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
27
มีนาคม
2565
ผู้เขียนได้เล่าถึงช่วงเวลาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่รัฐบาลคณะราษฎรได้ตระหนักถึงคุณประโยชน์และเพื่อพัฒนากิจการโทรศัพท์จึงได้ปรับเปลี่ยนทั้งระบบการใช้งานและสั่งซื้ออุปกรณ์ต่างๆ จากประเทศอังกฤษเพื่อเพิ่มจำนวนเลขหมายโทรศัพท์ให้มากขึ้นกว่าเดิม และการใช้งานให้ได้ดีกว่าเคย
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
26
มีนาคม
2565
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ปิดฉากลง หน่วยงานที่ก่อตัวขึ้นทั้งหลายจึงถูกยุบไป จนเมื่อเกิดสงครามเย็นระหว่างอเมริกากับโซเวียตที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ฟากฝั่งอเมริกาจึงได้จัดตั้ง "ซีไอเอ" ขึ้นมาอีกครั้ง โดยสมาชิกส่วนหนึ่งนั้นมาจากอดีตโอเอสเอส แต่วัตุประสงค์การจัดตั้งคราวนี้เปลี่ยนแปลงจากเดิมไปสิ้นเชิง โดยในครั้งนี้ได้มุ่งเน้นต่อต้าน “คอมมิวนิสต์” ให้ถึงที่สุด
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
22
มีนาคม
2565
ศ.ดร.วิเชียร วัฒนคุณ' เล่าถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่เดินทางไปที่ “ยูเนสโก” ณ กรุงปารีส ในการเป็นคณะผู้แทนไทยเพื่อดำเนินการจัดการแถลงชี้แจงต่อคณะกรรมการกลั่นกรองฯ เพื่อทบทวนมติและขอให้เพิ่มชื่อ 'นายปรีดี พนมยงค์' ในบัญชีรายการที่ได้รับการคัดเลือกเสนอชื่อให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก
.
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
20
มีนาคม
2565
"รัฐบุรุษ" หรือ THE STATESMAN WEEKLY มีลักษณะเป็น “แม็กกาซีนการเมืองรายสัปดาห์ ฉบับสมบูรณ์แบบในเมืองไทย” บรรณาธิการ เจ้าของ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา คือ เทพวิฑูร นุชเกษม จำหน่ายราคาฉบับละ 2 บาท และฉบับรำลึกท่านปรีดีนั้น วางแผงเป็นหนังสือพิมพ์ปีที่ 1 ฉบับที่ 5 ประจำวันอังคารที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2493
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
19
มีนาคม
2565
เมื่อฝ่ายขวาเริ่มอยู่ในตำแหน่งที่กำลังจะเสียเปรียบมากขึ้นทุกที ทุกที ทางฟากฝั่งอย่างอเมริกาจึงต้องใช้แผนเด็ดขาด คือ การสังหารบุคคลผู้ซึ่งมีความสำคัญและทรงอิทธิพลต่อคนในชาติ นั่นก็คือ "เจ้าสุพานุง" หรือ "ท่านสุพานุวง"
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
6
มีนาคม
2565
ฝ่ายแนวลาวรักชาติได้ขยายกองกำลังเติบใหญ่ขึ้นในพื้นที่ พวกฝ่ายตรงข้ามภายใต้การสนับสนุนอุ้มชูของจักรวรรดินิยมอเมริกาเสนอให้มีการประชุมที่เจนีวาในกลางปี ค.ศ. 1961 เพื่อหยุดยิงและนำไปสู่ความปรองดองแห่งชาติ แต่ข้อเสนอเปิดประชุมดังกล่าวก็ยังมีวาระซ่อนเร้นแอบแฝงอยู่
บทความ • เกร็ดประวัติศาสตร์
Subscribe to เกร็ดประวัติศาสตร์
5
มีนาคม
2565
ภาพจำของ 'นายปรีดี พนมยงค์' ในสังคมมักจะนึกถึงบทบาทนำในคณะราษฎรและเสรีไทย แต่ในมุมส่วนตัวของบรรดาลูกศิษย์และคนใกล้ชิด นายปรีดีคือครูผู้ใจดี เป็นผู้ใหญ่ที่เปิดกว้างต่อคนรุ่นใหม่ แม้ไม่เคยสนทนาโดยตรงแต่ทั้งภาพจำทางสังคมและการเล่าสู่กันฟัง มีหลายคนที่ชื่นชมนายปรีดี เช่น 'บุญมี เมธางกูร'