ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
บทบาท-ผลงาน

คำเปิดเผยของลอร์ดหลุยส์ เมานท์แบทเตน เกี่ยวกับนายปรีดี พนมยงค์

17
สิงหาคม
2564

 

Times 18/12/1946

A VISITOR FROM SIAM

Campaign of Luang Pradit
Lord Mountbatten's Disclosures

Lord Mountbatten of Burma, lately Supreme Allied Commander, South-East Asia, who was entertained at luncheon by the City Livery Club yesterday at Sion College, described in his speech the great part played by Luang Pradit, Senior Statesman of Siam, in the overthrow of the Japanese army of occupation there. He elaborated in detail the account published in The Times on December 22, almost a year ago, and announced that Pradit, ‘one of the romantic figures of the war in South-East Asia, is due to arrive in England by the Queen Elizabeth to-morrow morning.

Pridi Panomyong, Senior Statesman of Siam (Lord Mountbatten said), is better known to the world as Luang Pradit, and to many of us in S.E.A.C. by the code name of 'Ruth'. He is paying a short good will visit to this country as the guest of the Government, and I hope we shall use the occasion to give him a very warm welcome, For Pradit is one of the most romantic figures of the war in South-East Asia. During the war, of course, his name could only be mentioned in whispers and the whole story was 'top secret’ - even now the British public may be largely unaware of his exploits.

When the Japanese overran Siam pradit was a member of the Government, but refused to put his signature to the declaration of war on us, Pibul ............. knew he was one of the most powerful and popular personalities in the country, and hopes to make a figurehead of him by promoting him to the Council of Regency. He accepted. Little did Pibul or the Japanese realize that from the moment Pradit took on the job he began to organize and direct the Siamese resistance movement.

Vanished Missions

We knew from various sources that Pibul was not having it all his own way in Siam, but contact was very difficult, and it was hard to find out what was really going on. Two missions from Pradit got lost on the hazardous journey to China and were never seen again. At last a rendezvous was made. It coincided almost to the day with my own appointment as Supreme Commander. From that time on we were in constant touch. It was a unique relationship, because a Supreme Allied Commander was exchanging vital military plans with the head of a State technically at war with us.

A force of Free Siamese, trained in this country and operating with detachments of British V Force and Force 136 as well as with American O.S.S. Detachments, were parachuted in to help him. Some were caught by Pibul's men and imprisoned. In order to allay Japanese suspicious they remained norminally in prison, but had secret meetings with Pradit and established wireless contact with my Command.

In January, 1945, he sent a body of his key resistance leaders under the command of the present Foreign Minister of Siam for consultations with me in Kandy. We got them out and back again by seaplane, or by flying-boats. During our talks we laid concrete plans for future action in conjunction with the main forces of my theatre. I had constantly under review the need for Pradit himself to be flown out in an emergency. By the end of the war he had organized sabotage and guerrilla forces comprising some 60,000 fighting men and numerous passive supporters, who were in positions at all the key strategic points in Siam and poised to strike.

'Never Failed Us'

I realized the difficulty he had to hold these forces in leash, but I had also to keep in mind the tremendous danger of a premature move which would bring down crushing Japanese counter action and disturb my strategic plans for the theatre as a whole. The strain imposed on Pradit and the risks he ran for over three years were very formidable, but his own discipline and that which he inspired in his followers won out. He never failed us.

There are, I know, many who were prisoners of war in Siam who have good reason to be grateful for Pradit's good will to us. So let us honour a man who has rendered high service to the allied cause and to his own country, and who from my personal knowledge of him is a firm advocate of Anglo-Siamese friendship. The chain of local resistance to Japanese oppression in the occupied lands of South-East Asia had very few gaps in it, and one of the strongest links was forged by Pradit in Siam. (Loud and prolonged cheers.)
 

แปลเป็นภาษาไทย
ไทมส์ ๑๘/๑๒/๑๙๔๖

อาคันตุกะผู้หนึ่งจากสยาม

การรณรงค์ของหลวงประดิษฐ์ฯ
คำเปิดเผยของลอร์ดเมานท์แบทเตน

ลอร์ด เมานท์แบทเตนแห่งพม่า ผู้ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์ ได้รับการต้อนรับเลี้ยงอาหารกลางวันโดย ซิตี้ ไลเวอรี่ คลับ ณ ไซออน คอลเลจ เมื่อวานนี้ ได้บรรยายไว้ในสุนทรกถาของท่าน ถึงบทบาทอันยิ่งใหญ่ของหลวงประดิษฐ์ฯ รัฐบุรุษอาวุโสแห่งสยาม ในการกำจัดกองทัพญี่ปุ่นซึ่งยึดครองประเทศนั้น ท่านลอร์ดได้สาธยายเกี่ยวกับรายละเอียดซึ่งหนังสือพิมพ์ ไทมส์ ได้เคยลงพิมพ์ในฉบับประจำวันที่ 22 ธันวาคมคือประมาณหนึ่งปีมาแล้ว และได้ประกาศแถลงว่า ประดิษฐ์ บุคคลผู้มีบทบาทที่น่าตื่นเต้นคนหนึ่งแห่งสงครามในเอเชียอาคเนย์นั้น กำหนดจะมาถึงประเทศอังกฤษโดยเรือเดินสมุทรควีน เอลิซาเบธ พรุ่งนี้เช้า

ลอร์ด เมานท์แบทเตน กล่าวว่า ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสแห่งสยามได้เป็นที่รู้จักของโลกในนาม “หลวงประดิษฐ์” มากกว่า และพวกเราหลายคนแห่งกองบัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์รู้จักเขาตามชื่อรหัสว่า “รู้ธ” เขามาเยี่ยมประเทศนี้ (อังกฤษ) ด้วยสันถวไมตรีในระยะสั้นๆ ในฐานะแขกของรัฐบาล (อังกฤษ) และข้าพเจ้าหวังว่าเราจะใช้โอกาสนี้ให้การรับรองเขาอย่างอบอุ่น เพราะเหตุที่ประดิษฐ์เป็นบุรุษผู้มีบทบาทอันน่าตื่นเต้นคนหนึ่งแห่งสงครามในเอเชียอาคเนย์ ในระหว่างกาละสงครามนั้น เป็นการแน่นอนทีเดียวว่าชื่อของเขาจะมีการระบุถึงได้ก็แต่โดยการกระซิบกระซาบกันเท่านั้น และเรื่องราวทั้งปวงเกี่ยวกับเขาก็ถูกถือว่าเป็น “ความลับสุดยอด” ทั้งนี้แม้ว่าในปัจจุบันมหาชนบริติชส่วนใหญ่อาจจะไม่ค่อยทราบเท่าไรนักถึงพฤติกรรมอันอาจหาญที่เขาได้กระทำสำเร็จมาแล้ว

ในตอนที่ญี่ปุ่นรุกรานยึดครองสยาม ประดิษฐ์เป็นคนหนึ่งในรัฐบาล แต่เขาได้ปฏิเสธที่จะลงนามในการประกาศสงครามต่อเรา พิบูล...รู้ว่าเขา (ประดิษฐ์) เป็นคนหนึ่งที่ทรงอำนาจอย่างยิ่งและได้รับความนิยมอย่างยิ่งในประเทศและก็หวังที่จะทำให้เขาเป็นตัวหุ่นโดยยกเขาขึ้นไปสู่คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เขายอมรับ พิบูลหรือญี่ปุ่นมิได้ตระหนักแม้แต่น้อยว่าขณะที่ประดิษฐ์ยอมรับตำแหน่งหน้าที่นั้นเขาก็ได้เริ่มต้นดำเนินการจัดตั้งและอำนวยการขบวนการต่อต้านของชาวสยามขึ้น

 

คณะผู้แทนหายสาบสูญไป

เราได้รับรู้จากแหล่งต่างๆ ว่าพิบูลมิได้ประสบผลทุกๆ อย่างตามวิถีทางของเขาในประเทศสยาม แต่การติดต่อ (กับขบวนการต่อต้านภายในสยาม) นั้นก็ลำบากมาก และทั้งก็เป็นการยากที่จะล่วงรู้ได้ด้วยว่าอะไรได้ดำเนินไปโดยแท้จริงอย่างไร คณะผู้แทนของประดิษฐ์สองคณะได้หายไปในระหว่างการเดินทางซึ่งเต็มไปด้วยภยันตรายเพื่อไปยังประเทศจีน และแล้วก็ไม่ได้พบเห็นอีกเลย แต่ในที่สุดจุดนัดพบอันหนึ่งก็ได้สถาปนาขึ้นเป็นผลสำเร็จ เหตุการณ์ทั้งนี้ได้เกิดขึ้นในช่วงวาระเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตร นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เราก็ได้ติดต่อกันเป็นประจำ การติดต่อทั้งนี้นับได้ว่าเป็นความสัมพันธ์อันพิเศษยิ่งอย่างหนึ่ง เพราะผู้บัญชาการทหารสูงสุดของสัมพันธมิตรได้แลกเปลี่ยนแผนการทหารที่สำคัญๆ กับประมุขแห่งรัฐซึ่งโดยทางเทคนิคแล้วถือว่าอยู่ในสถานะสงครามกับเรา

กองกำลังเสรีไทยที่ได้รับการฝึกฝนในประเทศนี้ (อังกฤษและจักรภพ) และได้ปฏิบัติการร่วมกันกับกองกำลังบริติชที่ 3 และกองกำลังที่ 136 รวมทั้งกองกำลังอเมริกัน โอ.เอส.เอส. นั้น ได้ถูกส่งไปโดยวิธีกระโดดร่มชูชีพเพื่อช่วยเขา (ประดิษฐ์) บางคนถูกจับโดยคนของพิบูลแล้วก็ถูกขังไว้เพื่อมิให้ญี่ปุ่นระแวงสงสัย พวกที่ถูกจับขังไว้นั้นก็อยู่ในที่คุมขังแต่เพียงในนามเท่านั้น เพราะพวกเขาก็พบปะกับประดิษฐ์ได้อย่างลับๆ และได้ตั้งสถานีวิทยุติดต่อกับกองบัญชาการของข้าพเจ้า

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1945 เขาได้ส่งหัวหน้าคณะสำคัญแห่งขบวนการต่อต้านภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีต่างประเทศสยามคนปัจจุบัน (ดิเรก ชัยนาม) เพื่อปรึกษาหารือกับข้าพเจ้าที่เมืองแคนดี เราให้เขาออกมาและส่งเขากลับโดยเครื่องบินทะเล หรือโดยเรือบิน (ชนิดที่ต่อเป็นลำเรือ ไม่ใช้ทุ่น) ในระหว่างการสนทนาเราก็ได้วางแผนการที่เป็นรูปธรรมสำหรับการปฏิบัติการภายหน้าเพื่อให้เชื่อมสนิทกับพลังหลักสำคัญแห่งยุทธภูมิของข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าเองได้เคยใคร่ครวญอย่างไม่ละวางตลอดมาถึงความจำเป็นที่จะให้ประดิษฐ์บินออกมาในกรณีที่เกิดฉุกเฉิน ตราบจนถึงตอนปลายสงครามเขาได้จัดตั้งกองกำลังเพื่อการบ่อนทำลายและจัดตั้งกำลังพลพรรคประมาณ 6 หมื่นคน กับทั้งผู้สนับสนุนแบบสู้อย่างสงบไม่หวั่นไหวอีกมากมาย ซึ่งล้วน แต่อยู่ในตำแหน่งแห่งที่อันเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญๆ ในสยาม และก็พร้อมอยู่เสมอที่จะลงมือโจมตี

 

ไม่เคยทำให้เราผิดหวัง

ข้าพเจ้าเข้าใจดีทีเดียวถึงความยากลำบากที่เขาต้องควบคุมพลังเหล่านี้ให้ตั้งสงบเงียบอยู่ได้ แต่ข้าพเจ้าเองก็ต้องระลึกอยู่เสมอเช่นเดียวกันถึงภยันตรายอันใหญ่หลวงแห่งการเคลื่อนไหวโดยที่ยังไม่ถึงเวลา ซึ่งจะเป็นผลให้ถูกญี่ปุ่นตอบโต้ทำลาย และจะทำให้แผนยุทธศาสตร์แห่งยุทธภูมิทั้งปวงของข้าพเจ้าเกิดผลกระทบปั่นป่วนวุ่นวาย ความเครียดที่บังคับให้ประดิษฐ์ต้องแบกรับไว้ และภยันตรายที่เขาต้องเผชิญตลอดเวลา 3 ปีนับว่าเป็นสิ่งซึ่งน่าพรั่นพรึงอย่างยิ่ง แต่ก็อาศัยที่ความมีวินัยของเขาเองพร้อมกับที่เขาได้ชักจูงให้บรรดาผู้ซึ่งเชื่อถือเลื่อมใสในเขาปฏิบัติตามที่เขาประสงค์นั่นเองที่ทำให้ได้ประสบชัยชนะในที่สุด เขาไม่เคยทำให้เราผิดหวังเลย

ข้าพเจ้ารู้ว่ามีบุคคลมากหลายที่เคยตกเป็นเชลยศึกในสยาม ได้มีความสำนึกอันถูกต้องในแง่ที่มีความกตัญญูรู้คุณต่อความปรารถนาดีของประดิษฐ์ซึ่งมีต่อเรา ดังนั้น จึงขอให้เราให้เกียรติแก่บุคคลผู้นี้ที่ได้ให้บริการอย่างสูงต่ออุดมการณ์ของสัมพันธมิตรและต่อประเทศของเขาเอง และโดยความรู้เห็นเป็นส่วนตัวของข้าพเจ้า เขาก็เป็นบุคคลที่ได้ส่งเสริมมิตรภาพระหว่างอังกฤษกับสยามเป็นอย่างหนักแน่นมากด้วย สายระยางแห่งการต่อต้านในท้องถิ่นต่อการกดขี่ของญี่ปุ่นในดินแดนเอเชียอาคเนย์ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่นนั้นถึงจะมีช่องว่างอยู่บ้าง ก็มีอยู่อย่างเล็กน้อยเหลือเกิน และสายระยางที่เข้มแข็งที่สุดอันหนึ่งก็ได้แก่สายระยางซึ่งได้บากบั่นสร้างสรรค์ขึ้นโดยประดิษฐ์ในสยามนี่เอง

(เสียงแห่งความชื่นชมยินดีได้โห่ร้องก้องขึ้นเป็นเวลายาวนาน)

 

นายปรีดี พนมยงค์ และ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ได้รับเชิญจาก Lord Mountbatten ให้ไปพำนัก ณ คฤหาสน์ Broadlands ประเทศอังกฤษ (มิถุนายน 2513)
นายปรีดี พนมยงค์ และ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ได้รับเชิญจาก Lord Mountbatten
ให้ไปพำนัก ณ คฤหาสน์ Broadlands ประเทศอังกฤษ (มิถุนายน 2513)
 
ที่มา: สันติสุข โสภณศิริ (บรรณาธิการ). คำเปิดเผยของลอร์ดหลุยส์ เมานท์แบทเตน เกี่ยวกับนายปรีดี พนมยงค์, ใน, เอกราชได้มาด้วยการต่อสู้, (กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2543), น. 105-111