ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
บทสัมภาษณ์

PRIDI Interview อนุชา จินตกานนท์ ประวัติศาสตร์บอกเล่าเรื่องเสรีไทยจากบุตรชายของ อนันต์ จินตกานนท์

11
สิงหาคม
2567
 

 

คำถาม :

สวัสดีท่านผู้ชมทุกท่านนะคะ พบกับดิฉันชญานิษฐ์ แสงสอาด ผู้ดำเนินรายการ PRIDI Interview อีกครั้งค่ะ หากจะกล่าวถึงวันสันติภาพไทย อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นวันประกาศเอกราชของไทย ในวันที่ 16 สิงหาคม 2567 นี้ และในวันนี้เราอยู่กับบุตรชายของคุณอนันต์ จินตกานนท์ ขอเชิญพบกับผศ.ดร.อนุชา จินตกานนท์ค่ะ

ในช่วงแรกขอสอบถามถึงความสำคัญของวันสันติภาพและในช่วงแรกอยากสอบถามว่าตอนไหนอาจารย์ อยู่ที่ไหน การรับรู้ และความทรงจำเสรีไทยเป็นอย่างไรบ้างคะ 

 

อนุชา จินตกานนท์ :

ผมเกิดที่กรุงวอชิงตัน เนื่องจากคุณพ่อไปรับราชการที่สถานทูตโดยครอบครัวอยู่ที่สหรัฐอเมริกา 11 ปี สมาชิกเสรีไทยที่สหรัฐอเมริกาที่เข้าไปเป็นทหารส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาทุน เนื่องจากคุณพ่อเป็นข้าราชการทูตเพราะฉะนั้นบ้านที่อาศัยจึงเป็นสถานที่ชุมนุมของเสรีไทยทั้งหมด โดยคุณแม่คุณชุบ จินตกานนท์ เป็นคนดูแล ผมได้มีการสัมผัสโดยตรงจากประสบการณ์ที่ประสบด้วยตัวเองและสิ่งที่คุณอาต่าง ๆ ได้เล่าให้ฟังซึ่งจะมีความแตกต่างจากการบันทึกในเอกสารตำราของไทย ข้อเท็จจริงเกิดจากการก่อตั้งขบวนการเสรีไทยภาคสหรัฐฯ เกิดจากการผลักดันนักศึกษาทุนของหลาย ๆ คน โดยการเห็นชอบและการสนับสนุนของข้าราชการสถานทูตไทย เช่น ทูตทหาร หม่อมหลวงขาบ กุญชร ณ อยุธยา คุณอนันต์ จินตกานนท์

ผมอยากฝากข้อคิดเห็นสำหรับนักประวัติศาสตร์ การบันทึกหลายอย่างที่ข้อเท็จจริงไม่สอดคล้องตามที่ผมได้ประสบและตามที่คุณอาต่าง ๆ เล่าให้ฟังเพราะตามสภาวะจะต้องให้ความสำคัญกับการพิจารณาเอกสารที่ไปค้นคว้าเขียนด้วยใคร อย่างไร เพราะต้องเข้าใจด้วยว่าภาวะเรื่องการบันทึกข้อเท็จจริงอาจจะมีเพี้ยนไปตามผู้ใหญ่ว่าด้วยภายใต้ภาวะต่าง ๆ นะครับ 

สิ่งที่ผมจะได้ทำเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นที่ผมจำได้ไงครับแล้วก็เรื่องราวต่าง ๆ เล่าให้ฟังนะครับ สถานการณ์อาจจะมีการแบ่งแยกอยู่บ้างเพราะช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ เพราะจะมีความอาจจะมีความแตกแยกระหว่างฝ่ายเปลี่ยนแปลงการปกครองกับฝ่ายราชวงศ์เดิมกับสถานการณ์ในสถานทูตฯ ก็เป็นแบบนั้น

 

คำถาม : 

ขบวนการเสรีไทยในสหรัฐอเมริกา เมื่อแรกก่อตั้งเป็นอย่างไรคะ

 

อนุชา จินตกานนท์ :

การก่อตั้งเสรีไทยในสหรัฐอเมริกาเกิดจากแรงผลักดันของนักศึกษาไทย มีความเห็ํนชอบจากข้าราชการบางส่วนในสถานทูตฯ โดยหม่อมหลวงขาบ กุญชร ณ อยุธยา ทูตทหาร และคุณอนันต์ จินตกานนท์ เสรีไทยฯ นักเรียนทุนผู้ชายจะทำหน้าที่เป็นฝ่ายทหาร ผู้หญิงฝ่ายที่เป็นเสรีไทยจะช่วยเรื่องการดำเนินการของการบริหารจัดการ การบันทึกการออกวิทยุการส่งข่าว และเสรีไทยฝ่ายพลเรือน ทั้งนี้ อยากจะเรียนให้ทราบว่ามีการทำงานใกล้เคียงกันมากนะครับ ระหว่างเสรีไทยภาคพลเรือนกับ องค์กร o.s.s. ซึ่งตอนหลังมากลายเป็น C.I.A นะครับ ทีนี้การทำงานอย่างใกล้ชิดของเสรีไทยภาคพลเรือน รวมทั้งฝ่ายทหารกับ o.s.s. กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ มันทำให้เกิดความใกล้ชิดกันมีการปรึกษาหรือการในการที่ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ เพราะว่าหลังสงครามโลกจบลง สหรัฐอเมริกาก็คือผู้ที่ทำงานอยู่ที่ o.s.s.

เพราะฉะนั้นก็เลยมีความใกล้ชิดกันมากกันมากกับกลุ่มเสรีไทย ณ ตอนนั้นกลุ่มเสรีไทยได้กลับมาเมืองไทยแล้วนะครับ ก็เป็นข้าราชการกันหลาย ๆ คน และก็ได้เป็นข้าราชการที่มีตำแหน่งสำคัญฉะนั้นความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศไทยค่อนข้างใกล้ชิดแล้วก็มีความพิเศษซึ่งผมคิดว่าเป็นการพิเศษมาก ๆ บางเรื่องจะขอเล่าเท่าที่พูดได้นะครับ คือผมได้บอกว่าในอเมริกานั้นผู้ผลักดันให้เกิดเสรีไทยจริง ๆ คือนักศึกษาที่มีความรักชาติอย่างรุนแรง สมาชิกเสรีไทยภาคสหรัฐฯ ต่างนับถือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) หัวหน้าของเสรีไทยในประเทศที่ช่วงหลังได้มีการติดต่อประสานงานกัน 

 

 

คำถาม :

กลุ่มคนไทยในอเมริกาเองหรือขบวนการเสรีไทยต่างนับถือหลวงประดิษฐ์มนูธรรมมากใช่ไหมคะ 

 

อนุชา จินตกานนท์ :

ถูกต้องครับ ชื่อเสียงของนายปรีดี พนมยงค์ มีชื่อเสียงที่ดี ตลอดเวลาที่ผมได้รับฟังนะครับ ทุกคนให้เกียรติและนับถือแก่หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ทั้งที่ท่านอยู่ห่างไกลกันมากแล้วถ้าต้องพยายามมีการเชื่อมต่อประสานงาน ก็ทำเท่าที่สามารถจะทำได้ ในขณะนั้นเราต้องเข้าใจนะครับว่าไม่เผยแพร่ปัจจุบันโทรศัพท์ประเทศไทยเราก็ยังไม่ค่อยได้มีใช่ไหมครับการติดต่อประสานงานก็ไม่ค่อยได้หนีก็อาจจะมีโทรเลขอะไรแบบนี้ครับพนักงานใจว่าสถานการณ์เขามีความแตกต่างกันพอสมควร

 

คำถาม :

ส่วนเกร็ดเรื่องบ้านของคุณอนันต์ จินตกานนท์ที่เป็นศูนย์กลางซึ่งกลุ่มเสรีไทยในสหรัฐอเมริกาได้มาเจอกันตอนนั้นได้พบบุคคลใดบ้างคะ

 

อนุชา จินตกานนท์ :

บ้าน(วอชิงตัน)นั้นคุณแม่เป็นผู้ดูแล จึงสนิทกับคุณอาต่าง ๆ ตอนนั้นผมยังเล็กมาก ฉะนั้นเวลาคุณพ่อคุณแม่ไม่อยู่ คุณอาจึงมีหน้าที่ดูแลแต่ภายหลังที่กลับมาเมืองไทยมีการไปมาหาสู่กับสมาชิกเสรีไทยฝ่ายพลเรือนที่เป็นผู้หญิง คุณหญิงจินตนา ยศสุนทร คุณกรองทอง ทางฝ่ายชายมีคุณสิทธิ เศวตศิลา คุณสละ ทัศศานนท์ และคุณพิสุทธิ์ สุทัศน์ ณ อยุธยา

 

 

คำถาม :

กระบวนการรับรู้เรื่องขบวนการเสรีไทยและวันสันติภาพในช่วงหลังที่ผ่านมาอาจจะมีบางมายาคติที่กล่าวถึงขบวนการเสรีไทย และการประกาศสันติภาพ คุณอนุชามีข้อมูลหรือข้อคิดเห็นอย่างไรบ้างคะ

 

อนุชา จินตกานนท์  :

เรื่องที่พิมพ์เกี่ยวกับขบวนการเสรีไทยตามตำราต่าง ๆ ที่ได้ประสบมาตามคำบอกเล่าไม่ถูกต้อง โดยจะพยายามเล่าในบางส่วนที่สามารถเล่าได้ คุณพ่อเคยบ่นให้ฟังให้ฟังว่าเมื่อจบสงครามทางอังกฤษพยายามให้จ่ายค่าปฎิกรรมสงครามในราคาที่สูง ไม่มีการแนะนำจากประเทศไทยว่าต้องทำอย่างไรให้ชัดเจน ก็เป็นธรรมดาเนื่องจากในเวลานั้นไม่ได้มีการสื่อสารแบบในปัจจุปัน ทางคุณพ่อได้คุยกับอเมริกาเรื่องจ่ายค่าปฎิกรรมสงครามตามที่อังกฤษเรียกร้องเพราะจะกระทบเรื่องเศรษฐกิจยาว ทำให้เกิดปัญหาสังคมไทยในสมัยก่อนไทยเป็นคนปลูกข้าว

แต่เวลานั้นคนจีนซื้อข้าวไปก่อนแต่จะทำให้มีความบาดหมางระหว่างผู้ซื้อกับผู้ผลิต คุณพ่อก็จะมาเล่าแบบนั้นและอธิบายให้ทางฝ่ายอเมริกัน สหรัฐอเมริกาเห็นว่า เหตุผลที่ขัดขวางค่าปฎิกรรมสงครามตามที่อังกฤษเรียกร้อง คุณพ่อได้เล่าว่าในช่วงที่ญี่ปุ่นจะบุกเอเชีย คุณพ่อได้นั่งเครื่องบินคู่กับท่านทูตเดนมารก์โดยภายหลังที่เดนมารก์ประกาศแพ้ต่อเยอรมัน พระมหากษัตริย์ยินยอมให้เยอรมันผ่านประเทศได้เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเลือดเนื้อต่อมาจึงได้เกิดขบวนการ Free Den ที่ใกล้เคียงกับ Free Thai คุณพ่อได้ไปพูดคุยกับ ดร.Raymond Stevens 

เนื่องจากไทยเข้ากับญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาจะทำอย่างไร ดร.Raymond Stevens ให้คำตอบว่า หารือกันแล้วทางสหรัฐฯ จะไม่ดำเนินการอะไร เนื่องจากไทยถูกกดดัน สหรัฐอเมริกาได้ให้คำมั่นสัญญว่าจะเข้าใจ สิ่งนี้ทางสหรัฐอเมริกาได้แจ้งก่อนการประกาศสงครามฯ และสามารถไปพูดคุยได้เนื่องจากเป็นเพื่อนกับประธานาธิบดีรูสเวลต์ที่มหาวิทยาลัย ชี้ให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์ส่วนตัว มีความสัมพันธ์กับระหว่างประเทศที่ปฏิบัติต่อกันและกัน

 

 

คำถาม :

ในเรื่องการรับรองเสรีไทยในสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างไรคะ

 

อนุชา จินตกานนท์ :

บทบาทของเสรีไทยได้เรียนรู้ความเป็นมิตรที่สำคัญ เนื่องจากไทยไม่ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม ไม่ได้ถูกกระทบมากทางเศรษฐกิจ ไม่ได้มีพันธมิตรใด ๆ เข้ามายึดครองอันเกิดจากความสัมพันธ์ที่ดีกับสหรัฐอเมริกา การดำเนินนโยบาย การหาพันธมิตร และมีความเข้าใจนโยบายต่างประเทศทำให้รอดพ้นสงครามและไม่ต้องถูกปรับค่าปฏิกรรมสงคราม การพูดเรื่องเสรีไทยที่บอกแค่ว่าทำอะไร ไม่สำคัญเท่าการถามว่าให้บทเรียนอะไรจากนั้นเพื่อให้อนุชนลูกหลาน

ข้อเท็จจริงของเสรีไทยมีการเพี้ยนไปพอสมควร นักประวัติศาสตร์จึงควรศึกษาเรื่องนี้ เพราะเอกสารฯ ที่ศึกษาก็ต้องดูว่าที่มาว่าเอาเอกสารนี้มาจากที่ไหน และในฐานะที่อยู่ในเหตุการณ์ที่ใกล้ชิด คิดว่าความเข้าใจในส่วนนี้ก็จำเป็นจะต้องศึกษาแล้วก็ทำความเข้าใจกับข้อเท็จจริงในในเรื่องนี้นะครับว่าเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างไร ที่กล่าวว่าเป็นประวัติศาสตร์นั้นเป็นข้อเท็จจริง แต่จริงขนาดไหนครับเพื่อให้ความยุติธรรมต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง

ส่วนเกร็ดเรื่องบ้านที่วอชิงตันนั้น เนื่องจากตอนนั้นเป็นเด็ก มีความสนิทสนมกับหลาย ๆ ท่านพบว่าสิ่งที่เรียนรู้จากขบวนการเสรีไทย พ่อ แม่ หรืออา ๆ คือความซื่อสัตย์

 

คำถาม :

สุดท้ายอยากให้ฝากถึงคนที่ยังไม่ได้ติดตาม เรื่องของขบวนการเสรีไทย หรือในมุมเรื่องการรับรู้ของคนรุ่นหลังต่อขบวนการเสรีไทยค่ะ

 

อนุชา จินตกานนท์ : 

เสรีไทยเป็นเรื่องที่สำคัญ อยากให้ที่บรรจุในแบบเรียน ต้องบรรจุข้อเท็จจริง เพราะถ้าไม่มีเสรีไทยก็ไม่มีสภาวะทุกวันนี้ ส่วนตัวได้พยายามที่จะเสนอแนะให้พูดถึงเสรีไทยคู่กับวันสันติภาพไทย และอยากให้นักวิชาการมีใจเป็นกลางเพื่อศึกษาข้อเท็จจริง

 

 

 

ผู้สัมภาษณ์ : ชญานิษฐ์ แสงสอาด

ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2567