เมื่อคิดถึงคำว่า
“หลักนิติรัฐ” “นิติธรรม” หรือ “สิทธิของผู้ต้องขัง”
คำเหล่านี้อาจฟังดูเหมือนศัพท์เฉพาะทางกฎหมายที่อยู่ไกลตัว และมักถูกพูดถึงเฉพาะในหมู่นักเรียนกฎหมาย หรือในตำราเรียน แต่ในความเป็นจริงแล้ว มโนทัศน์เหล่านี้คือรากฐานของสังคมที่เป็นธรรม และสะท้อนถึงคุณภาพของความเป็นพลเมืองในประเทศหนึ่ง ๆ
แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สังคมไทยเริ่มตั้งคำถามกับระบบยุติธรรมที่ดำรงอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงสิทธิของผู้ต้องขัง การใช้อำนาจรัฐที่ไม่โปร่งใส หรือความเหลื่อมล้ำหลายมาตรฐานในการปฏิบัติต่อประชาชน ซึ่งแสดงถึงความถดถอยและไม่ตั้งมั่นของการสถาปนา “นิติรัฐ” ในบริบทไทย ๆ
ความยุติธรรมจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป หากกลับกลายเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของผู้คนอย่างลึกซึ้ง
เมื่อพูดถึงกระบวนการยุติธรรมไทย เรามักนึกถึง ศาล อัยการ ตำรวจ หรือกระทรวงยุติธรรมเป็นหลัก แต่ยังมีอีกหนึ่งองค์กรที่ทำงานอยู่ในรอยต่อของระบบรัฐ ระบบกฎหมาย และระบบความคิด นั่นคือ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย หรือ TIJ (Thailand Institute of Justice) องค์กรต้องการสร้างบทสนทนาใหม่ให้กับสังคมไทยในเรื่อง "นิติรัฐ" และ "ความยุติธรรมที่ทุกคนเสมอหน้ากัน"
เพื่อเปิดมุมมองใหม่ต่อบทบาทของ TIJ และสำรวจว่าสถาบันนี้กำลังคิดและทำอะไรอยู่ ทีมงาน PRIDI Interview จึงชวน ดร.พิเศษ สอาดเย็น (ผู้อำนวยการ TIJ) มาร่วมสนทนาแบบเข้มข้นกับ คุณ กล้า สมุทวณิช กรรมการบริหารสถาบันปรีดี พนมยงค์ ผู้มีบทบาทในฐานะนักเขียน คอลัมนิสต์ และนักวิชาการด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ ช่วยเสริมให้บทสนทนาลื่นไหลและสร้างประเด็นให้แหลมคมยิ่งขึ้น

ดร.พิเศษ สอาดเย็น และ คุณกล้า สมุทวณิช
สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทยคืออะไร ?
“สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ตามกฎหมายเราเป็นหน่วยงานของรัฐชนิดหนึ่ง แต่เป็นชนิดที่เรียกว่าองค์การมหาชน ก็จะมีความแตกต่างจากกลไกภาครัฐที่เป็นราชการแท้ ๆ จุดสำคัญคือ รัฐบาลคาดหวังให้องค์การมหาชน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 50 - 60 แห่ง สามารถที่จะนำเสนอบริการสาธารณะที่มีคุณค่าและแตกต่างจากวิธีการทำงานแบบที่ส่วนราชการปฏิบัติ กล่าวให้เห็นภาพชัดก็คือ เราต้องไม่ทำงานเป็นงานประจำ แต่ควรจะเป็นการค้นหาความพร้อมและขีดความสามารถใหม่ ๆ เพื่อที่จะรับมือกับโจทย์ท้าทายที่ประเทศและสังคมต้องเผชิญอยู่ ซึ่งจะมีองค์การมหาชนที่ดูแลงานเกี่ยวกับเรื่องการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital transformation) การเตรียมความพร้อมให้รับมือกับปัญหายาก ๆ อย่างสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) กระบวนการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพ
ส่วน TIJ ผมอยากจะตั้งจุดไว้ว่าเป็นองค์กรที่วางตำแหน่งไว้ว่าเราจะทำหน้าที่เป็นองค์กรเล็ก ๆ ที่ช่วยสังคมมองหาคำตอบให้กับโจทย์ที่อาจจะไม่ใช่โจทย์ที่มาพร้อมกับยุคสมัย พร้อมกับเทคโนโลยีขนาดนั้น แต่เป็นโจทย์ดั้งเดิมที่ยังไม่เคยถูกหยิบยกขึ้นมาสนทนาจริงจัง ก็คือโจทย์เรื่องนิติรัฐ นิติธรรม ขออนุญาตเรียกว่า Rule of law สลับกันไปกับ 3 คำนี้ ถือเป็นกติกาพื้นฐานที่ทำให้เกิดหน้าที่ของรัฐที่ได้สมดุลและเกิดความเป็นธรรมที่ประชาชนก็มีความเชื่อมั่นศรัทธา มันเป็นอุดมคติแบบนั้นก็ว่าได้ ก็เป็นเป้าหมายของการทำงานของประเทศด้วย มันเป็นเป้าหมายของส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืน แล้วต้องยอมรับว่าตัวเองทำได้ไม่ได้มีความสำเร็จมากแล้ว จึงน่าจะเป็นขอบเขตงานที่ทำให้องค์กรอย่าง TIJ ของเรายังมีคุณค่าอยู่ อย่างน้อยก็เป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่จะชวนสังคมพูดคุย ขบคิด กันในเรื่อง Rule of law สร้างโมเมนตัมของการทำงานเพื่อให้ยังมีความพยายามที่จะทำให้เรื่องนี้มันมีความก้าวหน้าขึ้น ก็น่าจะเป็นจุดที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมและเป็นการลงทุนในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในความคิดที่หวังว่าจะช่วยสังคมได้เหมือนกันไม่มีหย่อนไปกว่าเรื่องท้าทายอื่น ๆ จริง ๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผมมองว่าอาจจะเป็นเรื่อง existential crisis คือวิกฤตความเป็นความตายของสังคมก็ได้ มันก็ซีเรียสขนาดนั้นเลย ถ้าจะมองแบบนั้นนะครับ”
ในฐานะองค์กรมหาชนของรัฐที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลหามุมมองใหม่ ๆ เกี่ยวกับนิติรัฐ นิติธรรม และความยุติธรรม จึงอยากรู้ว่า ความเป็นนิติรัฐ นิติธรรม หรือความยุติธรรมของไทยเรานี้เราก้าวหน้าขึ้นมาแค่ไหน ประเด็นไหนบ้างที่ยังขาดตกบกพร่อง
“ผมคิดว่าจะต้องประเมินเป็น 2 ระดับคือถ้ามองในระดับย่อย ๆ คิดว่ามันก็เริ่มจะมีพัฒนาการในแง่ของการทำงานของกลไกต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรม แน่นอนว่าระบบราชการไทยของไทยเราเองก็ไม่ได้หยุดนิ่งนะ มันมีความพยายามที่จะปรับปรุงในส่วนที่เขาทำได้ เพิ่มขีดความสามารถทำให้การทำงานมีแนวทางเป็นสากล ตอบโจทย์ประชาชนมากขึ้น คิดว่าอันนั้นมันเป็นความก้าวหน้าในแบบอัตราเร่งที่มองในมุมเล็ก ๆ แต่ว่าปัญหารากฐานคือ “ปัญหาโครงสร้าง” คิดว่าอาจจะมองได้ว่ายังไม่มีหลักยุติธรรมโดยแท้จริง ผมอาจจะมองง่าย ๆ ว่ามันไม่น่าจะมองได้ว่าหลักนิติธรรมมันมีทั้งแบบเวอร์ชั่นตะวันตกหรือแบบหลักนิติธรรมในเวอร์ชั่นแบบไทย ๆ คิดว่ามันก็มีหลักนิติธรรมอยู่แบบเดียวนั่นแหละ มันมีแค่ว่าเรามีหรือเราไม่มี แต่ผมคิดว่าในภาพใหญ่มองในเชิงนิติธรรมที่มันแสดงอาการปรากฏตัวให้เห็นในบริบทของการมีกติกาปกครองก็ดี การใช้อำนาจรัฐก็ดี ค่อนข้างที่จะตอบได้ว่าเรายังไม่มีหลักนิติธรรมที่เป็นแก่นแท้ที่ถูกต้องตามที่มันควรจะเป็น อาจจะมีนักวิชาการบางท่านมองว่านิติธรรมในบริบทของนิติกรรมสัญญาความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเองของเราก็มีความเป็นสากลมีความก้าวหน้าไปพอสมควร มันก็จะมีลักษณะของเป็นทวิลักษณะ คือในทาง private law (กฎหมายเอกชน) มันก็มีนิติธรรมของมันนะครับ ไม่เช่นนั้นประเทศไทยก็จะไม่สามารถเป็นหนึ่งในสมาชิกประชาคมโลกในเชิงการค้าการขายระหว่างประเทศ, การไกล่เกลี่ย, การใช้อนุญาโตตุลาการ เราก็มีมาตรฐานเป็นสากล บริษัทธุรกิจของเราก็เป็นบริษัทธุรกิจสากล”
วิธีแก้ปัญหามันทำได้ แต่พอเป็นเรื่องการเมือง, การใช้อำนาจรัฐฝั่งปกครอง ความยุติธรรมฝ่ายนี้เรียกได้ว่าถดถอย มีก้าวหน้าไปนิดหนึ่ง แล้วก็ถดถอยเยอะ ดูได้จาก 3 ปรากฏการณ์
ข้อแรกก็คือเรายังมีรัฐประหารซ้ำซากอยู่ คือรัฐถูกฆ่าตลอดทุกๆ 10 ปี มันเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะยืนหยัดว่าเรามีนิติรัฐนิติธรรมในเชิงการปกครอง ถ้าวิถีในการได้มาซึ่งอำนาจมันยังมีกระบวนการนอกครรลองอยู่ตลอดเวลา
โจทย์ท้าทายที่เราเจอคือความเชื่อมั่นที่คนมองมาที่ระบบที่จะต้องทำหน้าที่เป็นตัวค้ำจุนนิติธรรม นั่นคือกลไกของกระบวนการยุติธรรม ซึ่งก็ประสบปัญหา ถูกท้าทาย ความเสื่อมศรัทธาก็เป็นสิ่งที่เราพบเห็นกันทั่วไป
มันเป็นปรากฏการณ์ที่น่าจะช่วยให้เราต้องยอมรับว่าพูดกันตรง ๆ ว่า (นิติธรรม) มันยังคงไม่มีหรอก มันยังไม่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง มันต้องเร่งสร้างขึ้น

นิติธรรมคือสิ่งที่ต้องมี และ การมีแบบนิติธรรมไทย ๆ
ในภาวะที่กระบวนการยุติธรรมของรัฐยังถดถอยอยู่ เราควรมีองค์กรอย่าง TIJ เพื่อสร้างมุมมองใหม่จากระบบราชการหรือไม่ แล้วภารกิจที่ผ่านมาของ TIJ เราได้ทำอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่พอจะเล่าให้ฟังได้บ้าง ?
“ผมคิดว่าโจทย์เรื่องการทำให้หลักนิติธรรมมันเกิดขึ้นได้จริงอาจจะต้องตั้งต้นกันที่การเฟรมปัญหาว่ามันไม่ใช่โจทย์เล็ก ๆ ที่แม้แต่รัฐบาลก็ทำได้สำเร็จ ในภาพใหญ่ ๆ เลยมันต้องอาศัยสังคมในภาพ รวมประชาชนก็ต้องมีความตระหนักว่ามันเป็นหน้าที่ของคนทุกคนด้วยต้องช่วยกัน และในภาครัฐด้วยกันเองก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะฝั่งรัฐบาลด้วย นิติธรรมมันกินความไปถึงการใช้อำนาจรัฐทั้ง 3 อำนาจ ทางนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ การตรวจสอบในอิสระบทบาทของสื่อการมีส่วนร่วมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ บทบาทภาคเอกชนก็สำคัญ เพราะเอกชนสมัยนี้ก็มีอำนาจมากเหมือนกัน ในหลาย ๆ บริบท มีอำนาจมากขนาดกำหนดนโยบายได้ด้วยซ้ำ ในบางเรื่องเราก็ทราบกันอยู่ว่ามันมีอันตรายมีความเสี่ยงแบบนั้นอยู่เสมอ สิ่งที่ TIJ ทำเราจึงมองโจทย์ไว้ว่าเราต้องสร้าง critical mass ของคนที่เชื่อว่ายังพอทำอะไรได้ในศักยภาพที่ตนมี พยายามที่จะสร้าง agent of change เรียกว่า champion ก็ได้ เป็นเครือข่ายของคนที่มาจากหลากหลายวิชาชีพ หลากหลายภาคส่วน แต่ว่ามาผ่านกระบวนการความเข้าใจกับปัญหาร่วมกันกับพวกเราที่ TIJ ใช้เวลาประมาณซัก 7-8 เดือนอยู่ด้วยกันทุกสัปดาห์ แล้วก็ใช้วิธีส่งเทียบเชิญ คือเชิญโดยประเมินว่าคนเหล่านั้นน่าจะมีศักยภาพ เขาประสบความสำเร็จในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในขอบเขตงานที่เขารับผิดชอบอยู่ แต่เขาอาจจะยังไม่ทันได้ตระหนักว่าจริง ๆ แล้วเรื่องของหลักนิติธรรมหรือนิติรัฐ เขามีส่วนที่จะเป็นกำลังในการสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ TIJ เราก็พยายามที่จะชวนคนเหล่านี้เข้ามาอยู่ในเครือข่าย เราเชื่อในพลังของเครือข่ายแบบนั้นที่มองเป้าร่วมกันและก็พยายามที่จะหากลไกที่จะทำงานทำโครงการร่วมกันสร้างการรับรู้และขยายวงกว้าง คิดว่าส่วนนี้เราทำมาได้ 6-7 ปี เทียบกับอายุขององค์กรเรา 13 ปีก็ใช้เวลาเกือบครึ่งหนึ่งทำมาอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้ก็คิดว่าเราน่าจะเริ่มเห็นสัญญาญที่ดีหลายประการก็คือเครือข่ายเรามากขึ้น มีความหลากหลายระดับหนึ่ง และเชื่อว่าเราน่าจะสามารถโน้มน้าวให้เขาเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนแล้วก็สำคัญ และที่สำคัญเราพยายามที่จะทำให้เรื่องนิติธรรมมันไม่ได้อยู่แค่การถกเถียงกันในเรื่องนี้ยามจะบางจะหนาอะไรอย่างนี้
เราพยายามจะนำเสนอนิติธรรมที่อาจจะไม่ได้เป็นเครื่องวัดที่ดีที่สุด แต่ว่ามันสะท้อนออกมาเป็นรูปธรรมที่พอจับต้องได้ ในความหมายนี้ก็น่าจะถือว่าเป็นความก้าวหน้าเล็ก ๆ ที่ TIJ เราได้จับมือกับองค์กรที่ชื่อว่า The World Justice Project ซึ่งเขาเป็นองค์กรที่สำรวจผลเรื่องหลักการนิติธรรมต่อเนื่องมาหลายปีแล้ว เราก็ประกาศออกมาได้ 5 คะแนน มันมีความง่ายและก็ความน่าสนใจอยู่ที่วิธีการที่ไปสอบถามมุมมอง ทัศนะ ประสบการณ์ของประชาชน ต่อนักวิชาการที่ได้สัมผัสกับสถานการณ์การทำงานจริงในแต่ละสังคม เราก็ให้เขาประเมินว่า ประเมินในเชิงผลลัพธ์ ไม่ใช่เชิงกระบวนการ ว่าเขามองว่ามันน่าเชื่อถือหรือยัง มันดีหรือยัง แล้วก็ให้คะแนนไป เราใช้ตรงนี้เป็นเครื่องมือในการชวนคุย ชี้ให้เห็นว่าองค์ประกอบของหลักนิติธรรม 7-8 ด้าน ประเทศไทยเราอยู่ตรงไหนเทียบกับคะแนนของโลก เทียบกับคะแนนของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อจะทำให้มันเห็นและก็เห็นว่าคะแนนเราสอบไม่ผ่าน 0.09 เป็น 1 คะแนน เป็นอันดับที่ 81-82 ของ 140 กว่าประเทศ ยังเห็นว่ามันไม่ใช่เรื่องที่ควรจะนิ่งนอนใจแต่ก็ทำให้เห็นว่ายังไม่ต้องมีความเข้าใจและละเมียดละไมตรงกันเป๊ะ ๆ ว่า Rule of law จะต้องมีนิยามว่าอะไร แต่เห็นว่ามันวัดได้ทุกปี 0.49, 0.48 มาต่อเนื่องเป็นสภาพแวดล้อมที่เห็นได้ว่าเกือบจะติดชะงัก
เราติดกับดักประเทศรายได้ปานกลางมานานแล้วและก็ติดกับดักในการเป็นประเทศครึ่ง ๆ กลาง ๆ ในเรื่องอย่างที่ผมชวนอาจารย์มองว่าในทางเอกชนมันไปได้แต่ในทางมหาชนติดอยู่กับวิธีการทำการเมืองในแบบเดิม ๆ วิธีการใช้อำนาจอย่างที่ยังไม่ได้เห็นคนเท่ากัน มันฝังรากมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ส่วนหนึ่งนะครับ แล้วความพยายามที่ประเทศเราจะปรับเปลี่ยนผ่านมาสู่ความเป็นระบบยุติธรรมสมัยใหม่มันก็ตอบโจทย์ในห้วงเวลานั้น ก็คือทำให้เราดูภายนอกว่ามีสิ่งอื่นที่นานาอารยประเทศเขามี เรามีประมวลกฎหมาย เรามีระบบศาล มีกลไกที่มันเป็นเชิงทางการ เชิงรูปแบบครบถ้วน แปลว่าลึก ๆ แล้วเราก็ยังเชื่อว่าคนมีอำนาจคือคนที่ไว้ใจได้ คนมีอำนาจมาจากการสะสมปัญญาบารมีมาจึงเป็นคนดี เราเชื่อว่ารัฐรู้ดีที่สุดควรจะต้องปกครองไพร่ฟ้าอาณาประชาราษฎร์ เราไม่ได้มองเหมือนตะวันตกที่เขาเจอวิกฤตการณ์ที่เจอกษัตริย์ที่ไม่ได้อยู่ครรลองครองธรรมแล้วก็พาเดือดร้อนให้ประชาชนมาก ภาษีหนัก รีดนาทาเร้น ส่งคนเข้าคุกโดยไม่มีเหตุผล
เราไม่เจอ อาจจะเป็นโชคร้ายหรือโชคดีที่เราเจอแต่สถาบันพระมหากษัตริย์ที่ปฏิรูปประเทศ ทำให้เราเชื่อว่าอย่างนี้คือ Ideal ของประเทศ Ideal ของสังคมไทย แต่จริง ๆ แล้วมันฝันไว้ว่าอำนาจแบบนั้นที่มันมาพร้อมกับความเป็นปัจเจกมันไม่ใช่ระบบเราเลยไม่ค่อยมองสถานการณ์แก้ไขเชิงระบบ มันเลยกลายเป็นลักษณะของสังคมที่ยังเชื่อในความดีบางอย่างที่ประเมินก็ไม่ค่อยได้ เชื่อว่าคนเราอาจจะไม่ต้องเท่ากันหรอกนะ มันมีคนที่ก็ควรจะอยู่ใต้ปกครองต่อไปซึ่งอันนี้เป็นอันตรายต่อการที่เราจะก้าวข้ามกับดักมันเป็นคล้าย ๆ กับ Norm หรือบรรทัดฐานลึก ๆ ของสังคมไปเหมือนกัน ต้องขุดเอามาให้ได้ ไม่อย่างนั้นมันจะไม่รองรับวิธีการคิดแบบนิติรัฐนิติธรรมเพราะมันตั้งอยู่บนสมมติฐานที่คนละวิธีคิด”
แนวคิดที่ว่า 'หลักนิติธรรมและความยุติธรรมแบบไทย ๆ' ควรแตกต่างจากหลักสากลเพราะพื้นฐานประวัติศาสตร์ของเราไม่เหมือนตะวันตก จริงหรือไม่ ?
“ผมค่อนข้างจะอยากมองแบบตรงไปตรงมา จริง ๆ แล้วมันอาจจะมองลึก ๆ แล้วมันก็คือมีหรือไม่มี การมีนิติรัฐแบบไทย ๆ อาจจะเป็นวิธีการพูดให้เราสบายใจก็พอมีบ้างแต่จริง ๆ แล้วลึก ๆ ลงไปหน้าจอถามว่าแล้วสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้รับการคุ้มครองคนยังเสมอหน้ากันภายใต้กฎหมายจริงหรือเปล่า การปฏิบัติของคนเท่ากันจริงไหมเราต้องตอบว่าเราจะห่างไกลจากจุดนั้น
มันจึงน่าจะเป็นลักษณะถ้าถามความเห็นส่วนตัวคิดว่ามันก็คือมีไม่มี เรายึดสู้ยอมรับไปแล้วมันยังไม่มีแล้วพยายามสร้างมันขึ้นมาจะดีกว่าที่เราจะไปพยายามจะหาความชอบธรรมว่ามันมีอยู่แต่มันเป็นแบบไทย ๆ เพราะว่าความเป็นแบบไทย ๆ อาจจะทำให้เราติดกับไม่ได้คิดว่ามันมีวิกฤตแล้วก็จะแก้เราคิดว่ามันตอบโจทย์แล้ว แล้วผมคิดว่าไอ้การบอกว่าแบบไทย ๆ มันอาจจะเสี่ยงที่จะยึดโยงอยู่กับวิธีคิดความคิดของผู้ที่มีอำนาจในเวลานั้น มันไม่ได้แปลว่ามันจะเป็นประโยชน์ ความคิดของประชาชนหรือกลุ่มชนชั้นนำหรือผู้ที่มีอำนาจอยากที่จะมีบทสนทนาใดประชาชนมันจะเสี่ยงที่จะกลายเป็นถูกมองว่าก็เป็นแบบไทย ๆ แบบที่พวกผมคิดว่าดีแล้วคุณก็ยอมรับไปเถอะ คุณคิดว่ามันอาจจะมีความเสี่ยงแบบนั้นนะครับ ดีกว่าที่เราจะยอมรับเลยว่าไม่มี ประชาชนอาจจะเห็นด้วยมากด้วยซ้ำ ว่าเออมันก็ไม่มีจริง ๆ นั่นแหละ แต่อาจจะโน้นน้าวกลุ่มอีลีทมากหน่อย คิดว่ามันก็เป็นความพยายามที่เราต้องทำในมุมที่ TIJ เราก็ต้องใช้หลากหลายวิธีการ สร้าง Critical mass ของคนให้เห็นร่วมกันพยายามจะดึงเอา Benchmark (เกณฑ์มาตรฐาน) วิธีคิดแบบที่มันเป็นมาตรฐานสากล
ผมคิดว่าจุดหนึ่งที่จะมีประโยชน์ก็ทำให้เห็นว่ามันมีต้นทุน หรือมีราคาที่สังคมต้องแบกรับเพิ่มมากขึ้นกับการที่เราไม่มีนิติธรรม มันมีคอร์สนะ มันทำให้เราเสียความสามารถในการแข่งขัน ทำให้นานาประเทศเขาไม่ค่อยอยากจะมาทำธุรกิจกับเราในเชิงนิติธรรม แบบเอกชนเนี่ยมันก็ทำได้ระดับหนึ่งแต่ถ้าฝั่งมหาชนมันมันไม่ไหวจริง ๆ เมื่อวานก็เพิ่งมี discussion (ถกเถียง) กัน มัน Speed over กันได้ผลลัพธ์ผลร้าย มันทำให้ฝั่งเอกชนเขาก็เดือดร้อนกันด้วยแหละ มันอยู่ ๆ เหมือนโดน Isolate (จับแยก) เหมือนมีผนังกั้นแยกขาด ซึ่งมันไม่ขาดกันจริง ยิ่งปัญหามันสะสมมาเรื่อย ๆ ในฝั่งมหาชนมันข้ามมาฝั่งเอกชน
เอกชนเองก็จะเจอปัญหาในการที่จะทำธุรกิจ ต้นทุนในการทำธุรกิจจะสูงขึ้น เพราะว่าต้องใช้กลไกต่าง ๆ มากมายที่จะทำให้ได้มาซึ่งดีมานด์ธุรกิจ ทั้งที่ถ้าสภาพแวดล้อมนิติธรรมมันเข้มแข็ง ประชาชน เอกชน รัฐ รู้บทบาทหน้าที่ แล้วพยายามออกกติกาให้มันเอื้อต้นทุนในการทำธุรกิจมันจะถูก มันก็จะเหมือนกับศูนย์กลางธุรกิจของโลก นิวยอร์ก ฮ่องกง สิงคโปร์ เขาก็จะมีหลักนิติธรรมแบบที่มันเป็นสากล แบบที่มันเข้มแข็ง ของเราจึงไม่น่าจะเอาตัวรอดแล้วก็ไปรอดได้ ที่จะบอกว่าเรามี ขอมีแบบไทย ๆ ก็แล้วกัน ไม่ค่อยเชื่อแบบนั้นครับ”
จากที่ท่าน ผอ. อธิบายว่า ความอ่อนแอของหลักนิติธรรมในด้านการใช้อำนาจรัฐสามารถส่งผลกระทบย้อนกลับมาสู่ความยุติธรรมทางเอกชนด้วย จึงอยากถามว่า ในการสร้างเครือข่ายเพื่อเสริมความเข้มแข็งของนิติธรรมนี้ มีใครเข้ามาร่วมบ้าง ทั้งจากภาคประชาชนและหน่วยงานรัฐ? แล้วเราเข้าไปช่วยสนับสนุนการมีส่วนร่วมของพวกเขาอย่างไร?
“เกี่ยวกับเครือข่าย จะมาจากกว่า ๆ 40% ทางอินเทอร์เน็ต ผมคิดว่าความมุ่งหมายของเราก็คือ เราเชื่อในพลังที่สมดุลกัน ภาครัฐค่อนข้างจะมีอำนาจในเชิงกระด้างหรือพลังภาคเอกชนจริง ๆ ก็มีอยู่พอสมควรคิดว่าเราก็พยายามจะทำ 2 อย่างคือ ดูองค์กรเอกชนที่เขามีสถานะเป็นบริษัทมหาชน มันก็แสดงให้เห็นว่าเขาก็จะมีวิธีการทำงานมีความเชื่อมีกรอบกติกาที่ค่อนข้างจะเข้มข้นในการฝึกตรวจสอบจากผู้ถือหุ้นจากกลไกกับกองทุนดูแล แล้วมันก็จะมีมิติเรื่องการให้ความสัมพันธ์กับ Governance ธรรมาภิบาล บริษัทกลุ่มนี้ก็จะเข้ามาเป็นเป็น candidate (ผู้สมัคร) ที่ดี เอกชนที่เป็น Start Up ที่ทางพวกนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใช้ประโยชน์ที่มีในการสร้างสร้างความเปลี่ยนแปลง เช่าเอาพวก AI Open Data มาแปลงข้อมูลที่อยู่ในภาพลักษณ์ให้อยู่ในรูปแบบที่น่าสนใจ คอยติดตามผลการเลือกตั้ง เอาบัญชีทรัพย์สินของผู้อำนวยการเมืองมานำเสนอให้อยู่ในรูปแบบที่น่าสนใจให้ประชาชนติดตามได้ง่าย คิดว่าเราเห็นพลังที่จะสามารถนำพา Channel ไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ทั้งในลักษณะใสก่อนแล้วก็คล่องตัว แล้วก็แนวคิดเชิงนวัตกรรมจะมีบริษัทที่ทำเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทำเกี่ยวกับการศึกษาอีกส่วนหนึ่งเพื่อจะมาสร้างระบบนิเวศของความคิดให้มันมีความหลากหลายครับ เพื่อที่จะทดสอบแล้วก็พิสูจน์ครับว่า นิติรัฐนิติธรรมมันเป็นเรื่องของทุกคนจริง ๆ นะ มันไม่ได้จำกัดว่าคุณต้องเป็นนักกฎหมาย เราพยายามจะทำให้เป็นสิ่งที่ทุกคนเห็นภาพครับต้องการว่ามาจาก Sector (ส่วน) ใดก็มาเรียนรู้ร่วมกันได้ สามารถเห็นความสำคัญของปัญหาของกันและกันได้
เราที่ TIJ ก็ได้เรียนรู้จากบุคคลที่มีประสบการณ์หลากหลายและแตกต่างไปจากเรามากมาย มันก็ทำให้เราสามารถที่จะมองลึกภายใต้โจทย์หลักนิติธรรมไปแสดงผลใน Sector ไหนบ้าง เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม กระบวนยุติธรรมทางอาญา การจำกัดอำนาจรัฐ และการปฏิรูปตำรวจ เราก็จะมาช่วยกันคิดและแลกเปลี่ยนกัน เราเป็นคล้ายหน่วยงานเล็ก ๆ ที่พยายามจะแสดงออกให้ชัด แล้วก็ประสานความพยายาม สร้าง Forum สร้างการประสานกัน เพราะคนที่เชื่ออยากทำเรื่องเดียวกันอาจจะมีอยู่เป็นส่วนน้อย ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ยังกระจายอยู่ ต้องผ่านรุ่นที่ 6 จนถึงรุ่นที่ 7 จึงไม่ใช่เป็นการการจัดฝึกอบรมแบบศูนย์ราชการ ดังนั้นถ้ามีรุ่นปัจจุบันเราก็จะดึงรุ่นก่อนหน้านั้นมามีส่วนร่วมด้วย คนที่เป็นคนผ่านการเรียนรู้ไปแล้วก็กลับมาเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนประสบการณ์นักเรียนด้วย นักเรียนเรียนรู้ด้วยกันก็เป็นวิทยากรให้กับ session บาง session ที่เราก็ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญ จึงคัดคนที่ศักยภาพความรู้ความถนัดสกิลที่เขามี แล้วเราก็มาลองที่ความเห็น crisis เห็นวิกฤตร่วมกันว่าโจทย์เรื่องหลักนิติธรรมอยู่ เราก็พยายามจะทำไปด้วยกัน
ลดการกระทำผิดซ้ำ ด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่การตีตรา: TIJ กับข้อเสนอเรื่องผู้พ้นโทษ
TIJ มีโครงการช่วยสร้างโอกาสให้ผู้พ้นโทษกลับคืนสู่สังคมอย่างภาคภูมิใจ ท่าน ผอ. ช่วยขยายความหรือยกตัวอย่างให้เห็นภาพหน่อยได้ไหมครับ?
“ในแง่ของการทำงานโจทย์เรื่องนี้ เรื่องการทำให้คนที่เคยกระทำความผิดแล้วรับโทษอาญามาแล้ว แล้วก็ต้องกลับไปใช้ชีวิตในสังคมต่อไปได้ไม่ไปสะดุด จริง ๆ มองในแง่หนึ่งมันก็เป็นเป็นสิทธิเหมือนกัน เป็นสิทธิของเขาก็ควรได้รับโอกาสนั้น แล้วก็เป็นโอกาสสำคัญที่กระบวนการหรืออำนาจรัฐเข้าไปทำให้ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงโอกาสที่อาจจะแฝงมาอยู่แต่เดิม ที่ทำให้เขามาทำความผิดตั้งแต่แรกได้รับการดูแลแก้ไขให้มากขึ้น วิธีคิดของพวกเราคือ ต้องทำให้ต้นทุนที่มีอยู่ต่ำหรือความเหลื่อมล้ำที่อยู่ในชีวิตของคน ๆ หนึ่ง จนกระทั่งนำไปสู่การกระทำความผิดอาญา เมื่อผ่านระบบนี้แล้วควรจะต้องปิดช่องว่างให้มันแคบลงไปได้มากที่สุด เพราะเราเชื่อว่าแน่นอนคนจำนวนหนึ่งทำผิดโดยเขาก็ตัดสินใจเลือกแล้วว่าทำผิด ซึ่งต้องปล่อยไป เราอาจจะทำอะไรเขาไม่ได้เป็นเจตจำนงของเขา
แต่อีกคนส่วนใหญ่ผมเชื่อว่าในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำเยอะอย่างสังคมไทย เขาจำเป็นต้องก้าวเข้าไปเกี่ยวข้องกับการทำความผิดเพื่อเอาตัวรอดหรือให้มีเงินมาดูแลครอบครัว อาจจะมาจากความที่ไม่ถึงขนาดสิ้นไร้ไม้ตอกเสียทีเดียว แต่ว่าภูมิคุ้มกันต่ำก็จะมองว่าเป็นความเหลื่อมล้ำแบบหนึ่งก็ได้ คือการขาดโอกาสที่จะได้ทำให้ตัวเองเข้มแข็ง พอมาเจอแรงกดดันทางเศรษฐกิจอยากได้อยากเหมือนคนอื่น ด้วยวิธีการที่เร็วก็ทำความผิด เพราะฉะนั้นวิธีคิดของเราคือเราต้องหาให้ได้ว่ากระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ทำอยู่เรามีสมมติฐานว่ามันน่าจะทำไม่พอ การเอาคนมาอยู่ในเรือนจำอย่างเดียวฝึกอาชีพบ้างอะไรบ้างให้อยู่ในวินัยอาจจะไม่พอ เราเลยลองทดลองตัวอย่างว่า ถ้าอย่างนั้นเราเชิญคนที่พ้นโทษมาแล้วจำนวนหนึ่งมาเป็นเครือข่ายของเรา เราปฏิบัติต่อเขาว่าเป็นนักเรียน เราในหลักสูตรมองว่าเป็นคนประมาณ 50 คน อาชีพที่เราลองเอามาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อจะทดสอบสมมติฐานว่า เราอยากหาว่าวิธีการทำการแก้ไขฟื้นฟูหรือเพิ่มโอกาส เราพบว่าแน่นอนเรื่องอาชีพเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าพ้นโทษมาแล้วไม่มีงานทำไปต่อยากมาก เราก็เลือกอาชีพด้านอาหารเพราะเราคิดว่าเรื่องอาหารมีโอกาสที่จะเรียนรู้ได้โดยไม่ต้องใช้เวลามากมายนัก แต่ในเวลาเดียวกันก็สามารถที่จะสร้างความภาคภูมิใจได้ด้วย บางคนอาจจะมีความเป็นเชฟในสาขาขนม ซึ่งมีโอกาสที่จะพัฒนาความเชี่ยวชาญไปได้ แล้วก็เป็นพื้นที่ที่ทำให้อาชีพบริการไม่ได้ไปเก็บตัวอยู่หลังมุมมืดมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์อยู่ในสังคมปกติ และความที่เราเป็นธุรกิจบริการอาหารหลากหลายอาหารจานเดียว ก็จะมีเครือข่ายคนที่เป็นทีมสนับสนุน เราค้นพบว่าอาชีพสำคัญแต่ไม่พอ คนเหล่านี้เมื่อเราทำงานกับเขาระยะหนึ่งแล้วเขาไว้ใจเรา แล้วเขาเริ่มเปิดใจเล่าให้เราฟัง เล่าให้เราฟังว่าปัญหาในชีวิตเขามีอะไรบ้าง
เราจะพบว่าปัญหามีความหลากหลายมาก แต่ส่วนใหญ่พอสรุปได้เป็น 2-3 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งก็คือ ปัญหาหนี้สินที่มีมาแต่เดิมซึ่งก็สะท้อนว่ายังขาดทักษะในการบริการจัดการทรัพย์สินและหนี้สิน ภาระหน้าที่ ใช้จ่ายยังไงให้พอกับรายได้ยังไม่ค่อยมี แล้วพอเป็นปัญหาหนี้เป็นตัวการที่มีโอกาสที่จะดึงเข้าสู่วงจรที่ทำให้ยังขาดอยู่เรื่อย ๆ กระทำความผิดก็เพราะว่าปัญหาหนี้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็คือเป็นเรื่องด้านจิตใจทุกคนที่กระทำความผิดแล้วก็ออกจากระบบราชการมีปมอะไรบางอย่างในตัวเขาเองไม่ยอมรับตัวเอง ไม่ได้เชื่อว่าตัวเองมีคุณค่าจริง ๆ ต้องใช้เวลาเหมือนกันคือในความหมายนี้ ทุกคนกลับต้องการการเข้ารับการบำบัด เราก็ต้อง Provide Psychological (เอื้ออำนวยทางการบำบัดสุขภาพจิต) สนับสนุน ต้องสอนเรื่องหนี้ สอนเรื่องต้องมีเครื่องมือวินิจฉัย ดูว่าเขามีประเด็นปัญหาไหม ในแง่สุดตรงบางคนมีปัญหาในเชิงจิตเวชเลย ส่วนใหญ่จะอยู่ใน spectrum (เฉด) ที่มีความทุกข์ใจ ไม่ยอมรับในตัวเองไม่เชื่อในตัวเอง แล้วพอตัวเองไม่เชื่อแล้ว สังคมคนรอบข้างครอบครัวบางทีก็จะมีปฏิสัมพันธ์ที่ยังไม่ได้เอื้อต่อการก้าวไปสู่การเป็นผู้รอด
เราพยายามสร้างโมเดลผู้รอดอยู่ต่อเนื่องได้แต่ว่าตัววัดเราก็ต้องวัดมาตรฐานเดียวกันก็คืออัตราการกระทำผิดซ้ำ เราก็ต้องดูว่าใน 1 ปีมีพี่ ๆ ที่เข้าร่วมโครงการนี้กลับมากระทำผิดซ้ำมากน้อยเพียงใด ข้อดีก็คือถ้าเราได้ลองประเมินดูอัตรามีบ้างนะครับ ไม่ได้เป็นศูนย์แต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของคนที่ออกจากระบบได้จริงครับ แปลว่าเราน่าจะใกล้เคียงกับการค้นหาคำตอบว่าต้องทำอะไรบ้าง และเราก็หวังว่าองค์ความรู้ที่เราประมวลได้ เราจะสามารถทำให้หลักสูตรของเราเข้มแข็งขึ้น และหวังว่าจะขยายขนาดได้ในความหมายที่ว่าเมื่อมีองค์กรภาคเอกชนที่มีความพร้อมแต่ยังไม่รู้วิธี เราจะจับมือหรือเราจะถ่ายทอดเป็นการดำเนินงานที่มีมาตรฐาน องค์ความรู้ที่เราเก็บเกี่ยวได้จากการทำการทดลองทางสังคมแบบนี้ให้เขาได้ไปตั้งหลักได้เร็ว แล้วก็สามารถที่จะรับผู้พ้นโทษให้เข้าไปมีโอกาสที่จะได้รับผลประโยชน์แบบนี้มากขึ้น เป็นการเสริมจากระบบที่ราชทัณฑ์เขาทำอยู่ ถามว่าทำไมราชทัณฑ์ไม่ทำให้ดีขึ้นก็เป็นจุดเฉพาะของบ้านเราที่มีความไม่สมดุลกันของปริมาณคนที่เข้ามาสู่ระบบและพอไม่ได้สัดส่วนกัน คนเข้ามาอยู่ในระบบราชการเยอะเกินกว่าที่ควรจะมีได้ กระบวนการดูแลแก้ไขฟื้นฟูของข้างในก็ด้อยประสิทธิภาพไป ก็จะทำให้กระบวนการข้างในก็ยังเป็นข้อท้าทาย แต่พอประกอบกับทัศนคติของสังคมที่ยังไม่ค่อยเปิดโอกาสบ้างนักก็เลยทำให้กระบวนการนี้ยังไม่ได้ตอบโจทย์ เราจึงหวังว่านอกจากจะเป็นการทดลองทางสังคม สร้างองค์ความรู้แล้ว อนาคต TIJ เราอยากจะเข้าไปทำหน้าที่เป็นคนกลางเชื่อมระหว่างคนที่พ้นโทษกับว่าที่นายจ้าง ผมเชื่อว่ามีระยะห่างอยู่พอสมควรในเรื่องความรู้สึกว่า ปลอดภัยจริงไหม เชื่อใจได้หรือเปล่าที่จะรับคนที่พ้นโทษ ปี 1 ก็แสนกว่าคน แล้วก็มีปัญหาแรงงานอยู่ในระบบ แรงงานบางสาขาพึ่งพาแรงงานต่างด้าวอาจจะไม่ค่อยได้แต่คนไทยก็ขาดแคลนแต่ว่าที่นายจ้างถ้ายังรังเกียจหรือยังไม่มีวิธีที่จะบริหารความเสี่ยงกับผู้พ้นโทษก็เป็นที่น่าเสียดาย ทั้งที่จริง ๆ แล้วผู้พ้นโทษบางส่วนถ้าผ่านกระบวนการเติมเต็มวิชาชีพอีกหน่อยจะมีศักยภาพ จะต้องมีคนกลางมาคอยบริหารความเสี่ยง ทำให้ไม่เป็นโปรไฟล์ความเสี่ยงที่นายจ้างก็บริหารได้ มีคนคอยช่วยรองรับอะไรบางอย่างเป็นคล้าย ๆ ใบประกันให้เพื่อให้เกิดระบบนิเวศใหม่ที่ไม่ได้ปล่อยให้เขาไปสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกันเอง แล้วตระหนักดีว่ามันสร้างยาก
ข้อดีก็คือ TIJ เรามีตำแหน่งที่เราไว้ใจทุกคนอยู่แล้วที่เข้ามาร่วมโครงการเป็นผู้พ้นโทษ แต่เราก็ไม่ได้อยากคาดหวังท่าทีแบบนั้นกับนายจ้าง เพราะเขาทำธุรกิจใช่ไหมมันมีความเสี่ยง เราทำเพื่อจะเรียนรู้ก็เลยเปิดกว้างมากกว่าเพราะต้องพยายามทำให้มันเกิดความรู้อีกชุดหนึ่งที่จะต่อนายจ้างว่าจะทำยังไงเขาถึงจะมีวิธีการจัดการที่จะมีการลดความเสี่ยงเขาได้อย่างไร ซึ่งผมคิดว่าเป็นไปได้แต่ต้องทำคล้ายๆเป็น HR Agency มาผ่านกระบวนการการสัมภาษณ์เตรียมความพร้อมคนที่พ้นโทษทำให้เกิดเป็นคล้ายสมุดพกเป็นโปรไฟล์ทำให้เข้าที่เข้าทางมีการประเมินความเสี่ยงให้คำแนะนำกับนายจ้างว่านี่คือวิธีการที่ควรต้องพูดคุยกับบุคคลกลุ่มนี้มีข้อระวังตรงไหนบ้างเราก็สนับสนุนจนตลอดรอดฝั่ง ซึ่งทำให้เกิดการสร้างแรงจูงใจใหม่ ผมคิดว่าน่าจะเป็นทางที่จะขยายปัญหาเรื่องโอกาสในการไปรอดของยุคนี้”
TIJ พยายามลดการทำผิดซ้ำด้วยการให้โอกาสผู้พ้นโทษ ซึ่งเป็นแนวทางที่ช่วยสร้างสังคมปลอดภัยในระยะยาว แต่ในสังคมไทยก็ยังมีทัศนคติที่มองว่า 'คนผิดไม่ควรได้รับโอกาส' แบบนี้ TIJ เคยเจออุปสรรคหรือแรงต้านจากค่านิยมเดิมของสังคมไทยบ้างหรือไม่ ?
“ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะอะไรหลายๆอย่างในสังคมเราที่ทำให้เกิดทัศนคติแบบนั้นตัวทางแก้มผมคิดว่าอาจจะต้องพยายามสู้กับการเหมารวมหรือภาพจำด้วยการทำให้เกิดกรณีย่อยรายบุคคลเรื่องความสำเร็จการที่คนก้าวพลาดไปแล้วแล้วก็ต้องตั้งหลักในชีวิตได้โดยธรรมชาติแล้วไม่ได้เป็นข่าวที่นำเสนอได้ สิ่งที่จะเป็นข่าวคือคนที่กระทำผิด แล้วไปก่อความผิดและเกิดคดีฉกรรจ์ฆ่าข่มขืนสังคมได้รับข้อมูลฝั่งเดียวมานานมากพอสมควรเราก็ต้องพยายามสร้างสมดุลแต่แน่นอนวิธีการอีกอย่างหนึ่งคือทำให้คนได้สัมผัสความจริงมากขึ้นประสบการณ์ของผู้พ้นโทษมุมมองของผู้พ้นโทษผมคิดว่าเป็นสิ่งที่สังคมยังน่าจะได้ประโยชน์และเราก็อยากจะเป็นคนกลางในการจะมาช่วยทำให้เกิดการสื่อสารมากขึ้นการได้เห็นของจริงเราเคยทำเป็น Social experiment (การทดลองทางสังคม) ถามความเห็นประชาชนทั่วไปหรือว่า มองคนพ้นโทษเป็นอย่างไรก็จะมีภาพมายังคติแบบเดิมน่ากลัวไม่นานจากก่อนแต่พอเขามานั่งคุยกันในห้องตั้งคำถามพูดคุยกันพบว่าความคิดของคนทั่วไปก็เปลี่ยนคือเห็นความเป็นมนุษย์กันมากขึ้น ภาพว่าเป็นความน่ากลัวอาจจะยังมีอยู่แต่จะมีภาพของความเป็นมนุษย์มีทุกข์มีสุขเหมือนกันกับเราเข้ามา ผมคิดว่าต้องทำให้เห็นรอบด้านมากขึ้นก็จะช่วยทำให้การตัดสินมาช้า ไม่ได้แปลว่าคนที่ทำผิดแล้วไม่ต้องรับผิดผมเชื่อว่าคนละประเด็น งานต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ทำไปแล้วยังจำเป็นอยู่ แต่เราอาจจะต้องดูแลให้การแสดงความรับผิดชอบได้สัดส่วน กับการกระทำ เราก็ต้องคำนึงถึงเรื่องพื้นฐานมากๆ คือต่อให้เขาทำผิด เขาต้องรับผิดชอบก็จริง แต่การแสดงความรับผิดชอบไม่ควรจะไปไปลิดลอนสิทธิพื้นฐานในการที่เขาเป็นมนุษย์ 1 คนเหมือนกับทุกคนในสังคม
อันนั้นเป็นฐานสำคัญเพราะถ้าเราไปไปล่วงละเมิดส่วนนั้นแล้วเดี๋ยวจะขอให้เกิดผลเสียระยะยาวเมื่อกี้เราคุยกันถึงเรื่องว่าคนยิ่งไม่ค่อยมีความเชื่อในตัวเองไม่เคารพในตัวเองการถูกกระทำโดยไม่ได้ปฏิบัติแบบมนุษย์ทั้งในระบบโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจทั้งเมื่อออกมาสู่สังคมแล้วก็ยังถูกออกมาแบบนี้ผมคิดว่ามันจะยิ่งทำให้โอกาสที่คนๆหนึ่งก้าวข้ามอุปสรรคเป็นไปได้ยาก แล้วที่แล้วที่สำคัญก็คือสุดท้ายแล้วใครคือคนที่ได้รับผลกระทบ ผมคิดว่าไม่ได้แค่คนๆนั้น ถ้าเราเชื่อว่าทุกอย่างเป็นเชื่อมโยงกันทั้งหมดเราทุกคนในสังคมได้รับผลลัพธ์นั้นด้วยกันทั้งหมดในแง่ของต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต้องไปใช้ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ทำเท่าไหร่ก็ไม่ได้เพิ่มคนดี จึงต้องมองใหม่ว่าเราต้องมาลงทุนกันใหม่ร่วมกันว่านี้เป็นโจทย์ใหญ่ร่วมกันแล้ว
ความหวังถึงนิติธรรมในสังคมไทย
กลับไปที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องความเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ แล้วการที่เราจะมีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ จะช่วยให้เรื่อง “ความยุติธรรม ความเป็นนิติธรรม และนิติรัฐ” ได้มากขึ้นอย่างไร
“ผมเองอาจจะไม่ได้เป็นคนที่ศึกษาแนวคิดเรื่องประชาธิปไตยที่สมบูรณ์มาละเอียดก่อน ขออนุญาตให้ความเห็นบนฐานความเชื่ออย่างนี้ว่าเมื่อสักครู่นี้เราพูดกันถึงเรื่องนิติธรรมในภาคปกครองมันอ่อนแอ จริงๆแล้วสัมพันธ์กับประชาธิปไตย ประชาธิปไตยในความหมายที่เป็นอุดมคติที่เราอาจจะยังไปไม่ถึงแต่ว่าเป็นเป้าหมายปลายทางที่ตรึงเอาไว้ให้เรารู้ว่าเรากำลังอยู่ตรงไหน ในบางห้วงเวลาในสังคม เราอาจจะเข้าไปใกล้มากหน่อยบางห้วงเวลาก็ห่างหน่อย แต่ควรจะต้องมีเงื่อนไขอะไรบางอย่าง หนึ่งในเงื่อนไขของประชาธิปไตยที่มีคุณภาพก็คือความสามารถในการที่เสียงของประชาชนเป็นตัวแทนมีความเป็นตัวแทนของความคิดความต้องการของประชาชน แล้วความเป็นตัวแทนนี้ก็ควรที่จะมีคุณภาพเพียงพอที่จะมีอิทธิพลบางอย่างต่อคนที่กำลังใช้อำนาจรัฐอยู่ซึ่งก็มีความเชื่อมโยงกันแบบนี้ มันแปลว่าเอาเข้าจริงๆแล้วประชาธิปไตยที่ควรจะต้องทำหน้าที่ได้ดีเรียกร้องมากต้องการการมีส่วนร่วมการเอาธุระของประชาชนเยอะ มากกว่าแค่การไปหยอดบัตรเลือกตั้งตามวาระแล้วก็ปล่อยไปมันคือการติดตามต้องทำให้คนที่มีอำนาจรับผิดชอบ จึงต้องสร้างกลไกที่จะเอื้อแล้วผมคิดว่านิติรัฐนิติธรรมเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นตัวเสริมซึ่งกันและกัน ถ้าไม่มีประชาธิปไตยที่มีคุณภาพก็มีปัญหาแน่ๆ เพราะกติกาที่บังคับใช้กับทุกคนมีปัญหาเรื่องที่มาก็ทำให้นิติรัฐนิติธรรมบกพร่องไม่สมบูรณ์ ความเชื่อมั่นศรัทธาในกระบวนการในกติกาพื้นฐานถ้าไม่มีสำนึกในเรื่องว่าเป็นสิทธิของเราความเป็นธรรมเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าไม่มีสำนึกอยู่เลยประชาธิปไตยในแบบคนจะเอาธุระไปมีส่วนร่วมมีบทบาทก็ไม่เกิด สิ่งเหล่านี้จึงเสริมซึ่งกันและกันผมเชื่อว่าอย่างนั้น แล้วก็อาจจะเฉพาะในบริบทในช่วงเวลานี้อาจจะน่าเป็นห่วงนิดนึงว่าในบ้านเรามีความอ่อนแอทั้งคู่เลย ทั้ง 2 ฝั่งก็ยิ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญและมองควบคู่กันไปกติกาในการที่จะมีความเป็นตัวแทนที่มีคุณภาพจะต้องมาจากความเชื่อว่าอันนี้เป็นหลักประกันในสิทธิเสรีภาพด้านอาหารของเราด้วย จึงเป็นสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญอยู่
ผมคิดว่าสำนึกแบบนี้ต้องสร้างให้เกิดขึ้นในหมู่คนจำนวนมากให้ได้มากขึ้น การศึกษาเรื่องหน้าที่พลเมืองอาจจะกลับมามีความสำคัญมากขึ้น นอกเหนือจากการบังคับให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง คือการบังคับให้ไปลงเลือกตั้ง ในหลากหลายประเทศ เขาไม่ได้บังคับแต่เราบังคับแต่ผมคิดว่าการให้ความรู้ในความเป็นพลเมืองยังเป็นสิ่งที่เรายังต้องทำเพิ่มแล้วถ้าทำได้จะตอบโจทย์ทั้งเรื่องการเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ แล้วก็การเป็นนิติรัฐที่ทำให้เราเข้มแข็งด้วย”
ถ้าสมมุติว่าถ้าเอาคฑาวิเศษให้ท่านผอ. สามารถเสกอะไรก็ได้ให้มีความยุติธรรมมีหลักนิติธรรมนิติรัฐขึ้นในประเทศ ผออยากจะเสกอะไรขึ้นมาคือไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของก็ได้ เป็นนามธรรมก็ได้ ถ้าสามารถเราทำได้เลยอธิษฐานปุ๊บแล้วประเทศดีขึ้นมาทันทีแล้วจะดีขึ้นมาได้คิดว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไร
“ถ้าเป็นสิ่งนามธรรม ผมอยากทำให้เกิด “ภาระความรับผิด (accountability)” ซึ่งดูเหมือนเป็นอะไรที่ธรรมดา แต่จริง ๆ แล้วการที่คนที่มีอำนาจต้องรู้ว่าเราต้องต้องสัญญาอะไรมาแล้วคุณต้องทำให้มันเกิดผลลัพธ์อะไรไม่ใช่แค่เชิงกระบวนการแต่ต้องไปถึงความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ซึ่งจะทำให้เราเริ่มมีหลักอะไรบางอย่างในการที่จะหรือว่าการตัดสินใจก็ดีการใช้ดุลพินิจก็ดีการใช้อำนาจรัฐก็ดี สิ่งเหล่านี้ไปยึดโยงกับคนที่ควรจะเป็นหรือยังซึ่งจะนำมาสู่การใช้ประโยชน์จากข้อมูลฟังอื่นๆในการทำงานมากขึ้นมากกว่าการแค่ใช้อัตราหรือความเห็นส่วนตัว แต่ว่าสำนึกแบบนี้อาจจะยังไม่ค่อยมี เพราะฉะนั้น ถ้าอะไรที่เป็นทำได้เลยเสกปีนึงก็คือความรับผิดชอบในโหมดผู้นำข้าราชการแม้แต่พวกเราที่ TIJ ก็อยากให้มีความรับผิดชอบต่อกรอบงาน ก็จะทำให้ประชาชนจะเห็นความหวังและประชาชนเองก็ต้องการความรับผิดชอบในการทำหน้าที่พลเมืองที่ดีด้วย ก็จะเกิดเงื่อนไขสภาพแวดล้อมที่พักสังคมไปข้างหน้าได้พอสมควรอาจจะไม่ได้ถึงขนาดแก้ได้ทั้งหมดแต่ว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่มีพลัง”
อยากฝากอะไรกับผู้ชมรายการเลย PRIDI Interview
“สำหรับคนที่ชมรายการก็เชื่อว่าเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพมีความสนใจติดตามความเป็นไปในสังคมสนใจประเด็นที่เป็นเรื่องยากๆเรื่องที่เป็นเรื่องโครงสร้างก็อยากจะให้กำลังใจซึ่งกันและกันผมคิดว่าสังคมเรามีโจทย์ท้าทายอยู่เยอะก็จริงแต่เราก็ดีขึ้นกว่าเมื่อวานไม่มากก็น้อยผมเชื่อแบบนั้น จะมีความดีอยู่พอสมควรมีคนที่ยังเชื่อในเรื่องที่อนาคตของสังคมเป็นไปได้ที่เราจะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีร่วมกันเพียงแต่ว่าเราอาจจะต้องมันหากันมองหาคนที่คิดคล้าย ๆ กับเราเชื่อแบบเดียวกับเราและสนับสนุนไปซึ่งกันและกัน”
สุดท้าย ดร. พิเศษยังทิ้งท้ายไว้ด้วยด้วยการชวนให้เรามีความความหวังกับการสร้างหลักนิติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
“การที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ และสถาบันเพื่อการยุติธรรมได้มาพูดคุยกันแบบนี้ จึงเป็นหนึ่งในความเป็นไปได้ ก็อยากจะให้กำลังใจซึ่งกันและกันแล้วก็หวังว่าจะได้ช่วยกันเป็นส่วนหนึ่งของการทำให้สังคมทำให้ความยุติธรรมและนิติธรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริง”
“สังคมไทยอย่าเพิ่งสิ้นหวังนะครับ สู้ไปด้วยกัน” ดร. พิเศษทิ้งท้าย
