ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
แนวคิด-ปรัชญา

วิทยาศาสตร์หลังการอภิวัฒน์สยาม: บทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์วิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2479-2480

27
สิงหาคม
2567

Focus

  • ดร.ตั้ว ลพานุกรม เป็น 1 ใน 7 ผู้ร่วมก่อตั้งคณะราษฎรเพื่ออภิวัฒน์สยาม เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็น 1 ใน 70 คนของผู้แทนราษฎรชั่วคราวชุดแรก หลังจากนั้นตั้วเป็นที่จดจำในฐานะรัฐบุรุษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผู้นำทางวิทยาศาสตร์ในยุคบุกเบิกประชาธิปไตย ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเคมี เภสัชกรรม แร่ และเชื้อเพลิง รวมถึงงานด้านอุตสาหกรรม และกิจการส่งเสริมด้านถั่วเหลือง
  • บทความนี้นำเสนอบทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์วิทยาศาสตร์ ฉบับ พ.ศ. 2479-2480 ในยุคที่ ดร.ตั้วได้แสดงทัศนะความคิดวิทยาศาสตร์และสังคมไว้อย่างแหลมคมและร่วมสมัยในช่วงต้นของการอภิวัฒน์ที่คณะราษฎรได้รื้อสร้างความเป็นสมัยใหม่ในหลากแง่มุมให้แก่สยามผ่านทางนโยบายรัฐและการแปรอุดมคติออกมาเป็นรูปธรรม

 

 

ทุกวันนี้ชาวเราย่อมยอมรับกันแล้วว่าวิทยาศาสตร์ เป็นรากฐานแห่งความ

วัฒนาการของโลก ประเทศมหาอํานาจทุกประเทศล้วนแต่บํารุงการวิทยาศาสตร์ของ เขาให้รุ่งเรือง ถ้าเราหวังจะให้ประเทศของเราเจริญเท่าเทียมกับนานาอารยประเทศทั้งหลาย เราก็จะต้องเป็นประเทศที่ก้าวหน้าในทางวิทยาศาสตร์ด้วย แต่เรายังจะก้าว ขึ้นไม่เทียมบ่าไหล่กับเขาในบัดนี้ไม่ได้ก่อน เพราะเราเพิ่งจะสอนเดิน อย่างไรก็ดี เราก็มีหวังอยู่ว่าถ้าอาการที่ก้าวเดินของเรานั้นเป็นก้าวที่หนักแน่นมั่นคง มีหลักแน่นอน และไม่ย่อท้อที่จะก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้ง เราก็น่าจะก้าวไปกับเขาบ้าง แม้เวลานั้น จะยังเป็นอนาคตอันไกลก็ตาม

หนังสือพิมพ์ “วิทยาศาสตร์” เป็นแต่เพียงอุปกรณ์ส่วนหนึ่งอันจุดประสงค์หรือความมุ่งหมายของเรานั้นได้แถลงไว้แล้วในสมุดระเบียบการ…”

ตั้ว ลพานุกรม
บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์วิทยาศาสตร์ ฉบับปฐมฤกษ์

 


กรรมการสมาคมนักเรียนไทยที่ประชุมกัน ณ เมือง Chartrettes ประเทศฝรั่งเศส
[ภาพจากซ้ายไปขวา] จันทร์ บุนนาค หลวงสนิทรักษ์สัตว์ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม หลวงโกวิทอภัยวงศ์ และ ดร.ตั้ว ลพานุกรม

 


[ภาพคนแรกจากซ้าย] ตั้ว ลพานุกรม ในระหว่างการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาวิชาเคมี ชั้นเกียรตินิยมด้วยวิทยานิพนธ์หัวข้อ The Influence of Chemical Composition on the Structure of Crytals ณ กรุงเบิร์น พ.ศ. 2470
หมายเหตุ: ภายในภาพมีหลวงทัศนัยนิยมศึก และแนบ พหลโยธิน

 


ภาพของตั้ว ลพานุกรม ณ มหาวิทยาลัยกรุงเบิร์น (University of Berne) พ.ศ. 2469

 


ตั้ว ลพานุกรม ระหว่างอ่านหนังสือ

 


รายละเอียดและระเบียบการหนังสือพิมพ์วิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2479

 

บทบรรณาธิการหนังพิมพ์วิทยาศาสตร์ ฉบับปฐมฤกษ์

 


หนังสือพิมพ์วิทยาศาสตร์ ฉบับปฐมฤกษ์ พ.ศ. 2479

 

หนังสือพิมพ์วิทยาศาสตร์ฉะบับที่ท่านถืออยู่ในมือบัดนี้ในฉะบับแรกที่ได้เริ่มขึ้น จึงเห็นว่าน่าจะเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะแถลงความมุ่งหมายในการที่กรมวิทยาศาสตร์ได้ขัดออกหนังสือพิมพ์นี้ และจุดประสงค์ที่จะได้ดำเนินต่อไป

บางคนอาจเข้าใจว่า “วิทยาศาสตร์” เป็นหนังสือพิมพ์แถลงกิจการของกรมวิทยาศาสตร์ โดยฉะเพาะ ซึ่งความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ กิจการของกรมวิทยาศาสตร์ที่ได้ปฏิบัติไปตามปกตินั้น มีพิมพ์อยู่ต่างหาก เรียกว่ารายงานของกรมวิทยาศาสตร์ เป็นภาษาอังกฤษออกทุก ๆ รอบ ๒ ปี.

ในหนังสือรายงานของกรมวิทยาศาสตร์ที่ได้กล่าวแล้วนั้น มีสถิติแสลงว่าในรอบปีที่ผ่านไปนั้นมีของส่งมาให้ทำการวิเคราะห์เป็นจำนวนเท่าใด จากไหนบ้าง และมีการวิเคราะห์ที่ใดที่มีลักษณะพิเศษควรบันทึกไว้กับแสดงผลของการสืบสวนค้นคว้าโดยเจ้าหน้าที่ของกรมวิทยาศาสตร์เท่าที่มีอยู่.

หนังสือพิมพ์วิทยาศาสตร์หาได้ มีความมุ่งหมายที่จะเป็น แต่เพื่อส่งเสริมเเละเพาะความนิยมในวิชาวิทยาสตร์ให้แพร่หลายเองด้วยความต้องการของประชาชนผู้สนใจในวิชาวิทยาศาศาสตร์ที่กรมวิทยาศาสตร์จัดพิมพ์หนังสือขึ้น กับเนื่องจากการที่กรมวิทยาศาสตร์ คือเปลี่ยนสภาพจากความเป็นศาลาแยกธาตุ ซึ่งหมายถึงสถานที่ทำการวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ตามความประสงค์ของกระทรวงทะบวงกรม หรือเอกชนที่ส่งมาแต่เดิม แต่อย่างไรก็ดี ที่กล่าวเช่นนี้หาใต้หมายความว่ากรมวิทยาศาสตร์ภายในโครงการณ์ใหม่จะได้เลิกละกิจอันเคยปฏิบัติมาแต่เดิมไม่ งานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ได้มีมาอย่างไร ก็คงมีอยู่ หากได้ขยายกิจการอื่น ๆ ให้กว้างขวางออกไป เป็นต้น มีการสืบสวนค้นคว้าต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์แก่ความเจริญก้าวกน้าของประชาชาติ.

ทุกวันนี้ชาวเราย่อมยอมรับกันแล้วว่าวิทยาศาสตร์เป็นรากฐานแห่งความวัฒนาการของโลก ประเทศมหาอำนาจทุกประเทศล้วนเเต่บำรุงการวิทยาศาสตร์ของเขาให้รุ่งเรือง ถ้าเราหวังจะให้ประเทศของเราเจริญเท่าเทียมกับนานาอารยประเทศทั้งหลาย เราก็จะต้องก็ในประเทศที่ก้าวหน้าในทางวิทยาศาสตร์ด้วย เเต่เรายังจะก้าวขึ้นไม่เทียมบ่าไหล่กับเขาในบัดนี้ ไม่ได้ก่อน เพราะเราเพิ่งจะสอนเดิน อย่างไรก็ดีเราก็มีหวังอยู่ว่าถ้าอาการที่ก้าวเดินของเรานั้นเป็นก้าวที่หนักแน่นมั่นคง มีหลักแน่นอนและไม่ย่อท้อที่จะก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้ง เราก็น่าจะก้าวไปทันเขาบ้าง แม้เวลานั้นจะยังเป็นอนาคตอันไกลก็ตาม.

หนังสือพิมพ์ “วิทยาศาสตร์” เป็นแต่เพียงอุปกรณ์ส่วนหนึ่งที่จะช่วยอันจุดประสงค์หรือความมุ่งหมายของเรานั้นได้แถลงไว้แล้วในสมุดระเบียบการ แต่เห็นว่าการ...นำมากล่าวในที่นี้อีก คือ :..และเพาะความนิยมในวิชาวิทยาศาสตร์...ในหลักวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป…และความเห็นในกิจการอาชีพที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์…ผู้สนใจไต่ถามข้อความต่าง ๆ.(ต้นฉบับขาดหาย-กองบรรณาธิการ)

๕. รายงานผลของการค้นคว้าในวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีขึ้นในประเทศ.

๖. รายงานผลของการค้นคว้าที่น่ารู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีในต่างประเทศ.

ด้วยความมุ่งหมายดังนี้ ท่านจะเห็นได้ว่า “วิทยาศาสตร์” สมการเป็นหนังสือประจำบ้านที่จะขาดเสียมิได้สำหรับท่านที่ปรารถนาจะเดินตามความเจริญของโลกในฝ่ายวิทยาศาสตร์ เเละเพื่อที่จะให้ท่านผู้อ่านได้ประโยชน์นี้เต็มที่จากท่านผู้ชำนาญจริงๆ เราจึงได้เชิญไปยังท่านผู้ทรงคุณวิทยาเชื่ยวชาญมากท่าน ให้…อุปการะเขียนเรื่องด้วย ความเต็มใจของแต่ละท่านที่ยอมรับเป็นผู้อุปการะแก่…พิมพ์นี้ย่อมเป็นเครื่องสนับสนุน และประกันว่า “วิทยาศาสตร์” จะมีชีวิต…อย่างถาวรและมั่นคงจริง ๆ นอกจากนั้นยังแสดงให้ประจักษ์ว่าท่านผู้ทรง...ยอมรับอุปการะแก่หนังสือพิมพ์นี้ ต่างมีเจตนาอันดีที่จะเผยแพร่ความรู้ของท่านที่ได้ศึกษาและชำนาญมาแก่ประชาชนทั้งหลาย ให้มีที่มีความรู้กว้างขวางเพื่อยังความเจริญให้แก่ประชาชาติของเราเป็นส่วนรวม.(ต้นฉบับขาดหาย-กองบรรณาธิการ)

เมื่อท่านผู้อ่านได้พลิกดูเรื่องที่ปรากฏในฉะบับนี้ตลอดเล่ม จะเห็นว่ามีเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ.

เพราะเหตุใดเราจึงจัดพิมพ์ขึ้นเป็นสองภาษา ?

บางท่านจะค้านว่าไม่สมควรเลย เพราะยังมีผู้อ่าน…มากซึ่งไม่…เข้าใจภาษาอังกฤษได้ดี ข้อนั้นเป็นความจริง เราได้แถลงไว้แล้วในสมุด…ถึงความมุ่งหมายที่พิมพ์เรื่องเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็น่าที่เราจะปรับ…(ต้นฉบับขาดหาย-กองบรรณาธิการ) แท้แน่นอนแก่ท่านผู้อ่านเสียในชั้นต้นนี้อีกครั้งหนึ่ง คือ

เรื่องที่พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเทฆนิด เรื่องใช้ถ้อยคำภาษาไทยอธิบายให้ชัดเจนไม่ได้ และผู้อ่านที่ขาดความรู้เบื้องต้น หรือโดยฉะเพาะวิชานั้น ๆ แล้ว จะอ่านเข้าใจไม่ได้ หมายความว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสืบสวมค้นคว้า อันเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาที่มีความรู้ ในวิชาวิทยาศาสตร์แล้ว ซึ่งเราแน่ใจว่าแต่ละท่านที่มีความรู้เช่นนั้น จะเข้าใจได้เป็นอย่างดี.

นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้ว การพิมพ์เรื่องบางเรื่องที่เกี่ยวกับเทฆนิคเป็นอังกฤษ ยังเป็นประโยชน์มีเเก่ผู้อ่านซึ่งเป็นชาวต่างประเทศอีก เพราะเราจะได้จัด…ของเรานี้ไปยังสถานการศึกษา และสำนักวิทยาศาสตร์ต่างประเทศ เพื่อ…เปลี่ยน ถ้าหากจะใช้ภาษาไทยตลอด ชาวต่างชาติที่ปรารถนาจะทราบผลของการสืบสวนค้นคว้าตลอดจนความก้าวหน้าของเราในวิทยาการ ก็หาอาจจะมีมีโอกาสทราบได้ไม่.

อย่างไรก็ดี ท่านจะได้เห็นว่าเรื่องในภาษาไทยมีมากกว่าเรื่องที่เป็นภาษาอังกฤษ และถ้าสมควรเราก็จะได้ย่อข้อความเรื่องในภาษาอังกฤษเป็นไทยไว้ด้วยโดยฉะเพาะเรื่องอันเป็นผลของการค้นคว้าใหม่ (Original) เราจะมีเเผนกหนึ่งต่างหาก…เรื่องประเภทนี้จะต้องผ่านการพิจารณาของกรรมการพิเศษว่าสมควรหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อ…หนังสือพิมพ์ของเราแผนกนี้อยู่ในระดับสูง และเป็นเกียรติยศของผู้…นำเรื่องลงอย่างยิ่ง.

…ในหนังสือฉะบับปฐมฤกษ์ของเรานี้ ท่านอาจได้พบความบกพร่องต่าง ๆ...ทั้งนี้เป็นด้วยเจ้าหน้าที่จัดการหนังสือพิมพ์ของเรายังไม่เคยคุ้นกับ…ถ้อยคำสำนวนต่าง ๆ ก็คงไม่สละสลวย เพราะเจ้าหน้าหน้าที่ตลอดจนผู้อุปการะเขียนเรื่องของเราไม่มีความสันทัดในการประพันธ์เลย จึงขอให้ท่านผู้อ่านได้ถือเอาสาระแห่งเรื่องนั้น ๆ เป็นประมาณ.(ต้นฉบับขาดหาย-กองบรรณาธิการ)

อนึ่งเราน่าจะแถลงให้ทราบต่อไปว่า เท่าที่กรมวิทยาศาสตร์จัดให้ มีหนังสือพิมพ์ฉะบับนี้ขึ้นนั้น กรมฯหาได้ มีเจ้าหน้าที่ฉะเพาะเเผนกหนังสือพิมพ์เป็นพิเศษไม่ คงได้ขอความร่วมมือของข้าราชการประจำที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบเต็มที่อยู่แล้วช่วยจัดขึ้น เพราะฉะนั้นจึงขอตามเห็นใจจากท่านผู้อ่านในความบกพร่องทั้งหลาย อีกสถานหนึ่ง แต่กระนั้นก็ดี เเต่ละคนที่ได้รับภาระพิเศษในการจัดทำหนังสือนี้ ก็รับรองช่วยเหลืออย่างแข็งขันด้วยน้ำใจสมัครและปรารถนาดี จึงทำให้เป็นที่หวังว่ากิจการของหนังสือพิมพ์นี้จะค่อยดีขึ้นเป็นลำดับ.

อันการที่กิจการของหนังสือใด ๆ จะเจริญดียิ่งขึ้นนั้น หาใช่จะอยู่ที่ความเข้มแข็งของผู้ดำเนิน…และคุณภาพของเรื่องที่นำลงเท่านั้นไม่ แต่อยู่ที่ความสนับสนุนของประชาชนด้วย ในปัจจุบันนี้สังเกตว่าชาวเราพากันเอาใจใส่ในวิชาวิทยาศาสตร์อยู่ไม่น้อย เราจึงใคร่เชิญชวนให้ท่านเหล่านั้นเข้าเป็นสมาชิกรับหนังสือพิมพ์วิทยาศาสตร์เสีย การมีสมาชิกมากย่อมทำให้เกิดปริมาณ และปริมาณอันเกิดขึ้นย่อมจะยังผลให้ทวีคุณภาพตามไปด้วย กล่าวคือ ทั้งปริมาณและคุณภาพย่อมต้องอาศัยซึ่งกันและกัน.

ด้วยความปรารถนาในปริมาณอันสูง เราจึงได้กำหนดค่ารับเป็นสมาชิกด้วยราคาต่ำ เราทำได้โดยไม่มุ่งค้ากำไรอย่างใดเลย และถ้าหากความปรารถนาดีของเรานี้จะได้รับความสนับสนุนจากประชาชนทั่วไปแล้ว เราอาจเพิ่มการออกจากปีละ ๔ ฉะบับเป็น ๖ ฉะบับ พร้อมด้วยการทวีคุณภาพไปด้วยพร้อมกัน.

ในที่สุดแห่งบทปรารภนี้ ขอเสนอให้ให้ท่านทราบคำขวัญของกรมวรมวิทยาศาสตร์ว่า “กสิกรรม พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม จะก้าวหน้า เพราะรู้ค่าของวิทยาศาสตร์” และคำขวัญอันเป็นมงคลสุภาษิต ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เเห่งวัดเทพศิรินทร์ ได้กรุณาให้แก่หนังสือพิมพ์วิทยาศาสตร์นี้ว่า “สุวิชฺชา โลกวฑฺฒนา”วิทยาดีเป็นเหตุทำโลกให้เจริญ.

 

ท่านที่รักหนังสือและความรู้

ถ้าท่านยังไม่บอกรับหนังสือพิมพ์วิทยาศาสตร์เสียแต่ฉะบับต้น ท่านจะต้องเสียใจภายหลัง โดยมีหนังสือดีไม่ครบชุด เมื่อหมดจำนวนที่พิมพ์ลงแล้วในคราวหนึ่ง เราจะไม่จัดพิมพ์ขึ้นอีก.

ท่านอาจมีอายุมากเกินไปสำหรับการเป็นนักเรียนเพื่อเรียนวิทยาตาสตร์ในสถานการศึกษาต่างๆ แต่ท่านยังไม่สายจนเกินไปที่จะเรียนจากหนังสือพิมพ์วิทยาศาสตร์

“วิทยาศาสตร์” คือเพื่อนของท่านในคราวที่ต้องการ

 

“วิถีทางของประชาชาติจะไปทางไหน เราย่อมจะพิจารณาได้จากจิตใจของประชาชนในขณะนั้น ถ้าและจิตใจของประชาชนชาว สยามทั้งหลายในบัดนี้จะน้อมโน้มนิยมในความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เราก็มีเหตุผลที่จะมั่นใจได้ว่า นั่นเป็นนิมิตรดีที่ประชาชาติสยาม นับวันแต่จะก้าวหน้าประสพแต่ความวัฒนาถาวรสืบต่อไป”

ตั้ว ลพานุกรม
บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์วิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2480

 

 

รากฐานของการค้นคว้าทางอุตสาหกรรม

อิทธิพลของวิทยาศาสตร์ ในทุกวันนี้ มิได้อยู่ในขอบเขตต์อันจํากัด แต่ได้ แผ่ออกไปไพศาล การทํากิจการใด ๆ เช่นเกี่ยวกับการอุตสาหกรรมก็ดี การพาณิชยกรรมก็ดี ถ้าหากขาดความรู้ทางวิทยาศาสตร์เสียแล้ว ก็ยากที่จะคิดจะทําให้เป็นสําเร็จลุล่วงไปได้เป็นอย่างดี และแม้ในกิจการอย่างอื่นซึ่งเราเกือบไม่นึกว่าอิทธิพลของวิทยาศาสตร์จะแผ่ไปถึงก็ยังอยู่ในเขตต์อิทธิพลของวิทยาศาสตร์ เป็นต้นในเรื่องการทูตและการเมือง!

ในที่นี้จะกล่าวถึงความสําคัญของวิทยาศาสตร์ในแง่ของการอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมซึ่งมีเกี่ยวเนื่องกันอยู่กล่าวคือ พาณิชยกรรมที่ได้เจริญก้าวหน้าขึ้นมา เช่นในกาลปัจจุบันนี้ ก็ด้วยเป็นผลจากการอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมที่เจริญขึ้นมาก็ด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงไม่เป็นการเกินความจริงอย่างใดที่จะ กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมนี้แล้ว คือหัวใจแห่งความเจริญของโลกมนุษย์ ในสมัยนี้โดยแท้

วิเคราะห์ให้ละเอียดลงไปอีกชั้นหนึ่ง เราจะได้พบว่างานวิทยาศาสตร์ที่ทําความก้าวหน้าให้แก่การอุตสาหกรรมนั้น คืองานค้นคว้าในปัญหาต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้น เนื่องในการประกอบกิจอุตสาหกรรมสิ่งนั้น และถ้าหากปัญหาต่าง ๆ ได้ถูกแก้ไขลุล่วงไปแล้ว งานในแผนกค้นคว้านี้ต่อไปก็คือหาทางที่จะส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพ คุณภาพทวีขึ้นกับหาวิธีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดสิ่งอันจะนํามา ซึ่งความเสื่อมเสียในประสิทธิภาพและคุณภาพของผลแห่งอุตสาหกรรมนั้น ๆ

ในการประกอบอุตสาหกรรมใด ๆ ถ้าหากเคยทําได้แค่ไหน แล้วหยุดอยู่แต่เพียงแค่นั้น ไม่หาวิธีขยับขยายให้ก้าวหน้าต่อไปอีก ก็เปรียบเหมือนว่ากิจการนั้นล้าหลังลงไปทุกขณะ เพราะทุกวันนี้ทุกสิ่งทุกอย่าง กําลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ความสันโดษ หรือความพอใจในสิ่งที่มีอยู่แล้ว, ที่เป็นอยู่แล้ว หมายความถึงความอัปปางในทางอุตสาหกรรม และก็ด้วยเหตุฉะนี้ การอุตสาหกรรมต่าง ๆ จึงต้องอาศัยการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์เป็นหัวใจของงาน การค้นคว้าดังกล่าวนี้มุ่งไปในทางหา หรือทําให้เกิดของใหม่, ดัดแปลงวิธีการทําใหม่ให้ทุ่นแรง, ทุ่นค่าใช้จ่าย และได้ประสิทธิภาพอันดี หาวิธีที่จะให้วัตถุประดิษฐ์เหล่านั้น เกิดปริมาณสนอง (Demand) มากขึ้น กิจการในทางค้นคว้าเหล่านี้ต้องประกอบด้วยนักค้นคว้าวิทยาศาสตร์ และนายช่างวิศวกรรมดําเนินงานร่วมกัน

ในการอุตสาหกรรมแทบทุกสาขา เป็นอุตสาหกรรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิชาเฆมีเท่าที่เราจะเห็นได้ในประเทศเรามีอุตสาหกรรมทําซีเมนต์ อุตสาหกรรมทํากระดาษ อุตสาหกรรมทําน้ำตาล อุตสาหกรรมทําเบียร์ เป็นต้น สาขาของวิชาเฆมีที่ใช้ในการนี้คือ อุตสาหกรรมเฆมี (Industrial chemistry) แต่เราก็ต้องไม่เข้าใจผิดไปว่า

วิทยาศาสตร์ในสาขาอื่น ๆ สําคัญน้อยไปกว่าเพราะนักวิทยาศาสตร์ คือ หมายถึง นักเฆมี นักฟิสิคส์ และนักชีววิทยานั้น ย่อมทํางานร่วมไปด้วยกันเสมอ โดยฉะเพาะในด้านของวิชา สกายเฆมี (Physical chemistry) ชีวฟิสิคส์ (Biophysics) และ ชีวเฆมี (Biochemistry)

การศึกษาค้นคว้าในวิชาเฆมีก็ดี วิชาฟิสิคส์ก็ดี และชีววิทยาก็ดีต้องอาศัยความสังเกต (Observation ) การทดลอง (Experimentation) การเปรียบเทียบ (Com- parison ) แล้วใช้หลักวิชาเข้าประกอบเพื่อการวินิจฉัยในขั้นสุดท้าย

ปัญหาในเรื่องการค้นคว้าต่าง ๆ สําคัญอยู่ที่การมีเครื่องมือเครื่องใช้ครบถ้วน มิฉะนั้นการทดลองก็จะไม่ได้ผลเต็มที่ก็จะไม่ได้ผลเต็มที่ นักวิทยาศาสตร์จะทํางานจากกระดาษ ดินสอ และความเพ้อฝันของตนหาได้ไม่ แต่ละคนจะต้องลงมือทํา ทดลอง จับหาจุดผิด และจุดถูก ตลอดจนเหตุการณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งต้องเป็นผู้มีใจกว้างขวาง ไม่ยึดมั่นในความคิดเห็นของตนเป็นประมาณ จะต้องฟังความคิดความเห็น และผลของการทดลองของผู้อื่นด้วย ความเป็นนักวิทยาศาสตร์ ต้องการความจริงและเหตุผลเป็นใหญ่กว่าสิ่งอื่นทั้งสิ้น

อันความจริงที่ได้พบจากสถานทดลองของนักวิทยาศาสตร์ นี่แหละที่บรรดาล ให้เกิดการอุตสาหกรรมต่าง ๆ ขึ้นเป็นอันมาก อาจมีผู้มองไม่เห็นความจําเป็นของการค้นคว้าอยู่บ้าง เพราะประเทศเราเป็นประเทศกสิกรรมไม่ใช่ประเทศอุตสาหกรรม แต่ในขณะนี้ประเทศสยามก็กําลังมีนโยบายส่งเสริมการอุตสาหกรรมอยู่แล้ว เราจึงน่าสนใจ และรับรู้สภาพการณ์อันเกี่ยวกับการอุตสาหกรรมไว้บ้างตามสมควร

 

ข้าพเจ้าใคร่ที่จะชี้ให้ผู้อ่านเห็นความสําคัญของการส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศของเราว่าจําเป็นและสําคัญอย่างไร แม้ความมุ่งหมายของการเขียนเรื่องนี้จะ มีอยู่ในอันที่จะชี้แจงให้ผู้อ่านทราบว่า การอุตสาหกรรมจะเจริญขึ้นได้ด้วยการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ก็ตาม กล่าวคือ ผลที่เกิดขึ้นจากประเทศกสิกรรมเช่นสยามนี้ ถ้าทําน้อย เราก็มีพอกินพอใช้กันในประเทศถ้าทํามาก เราก็จําหน่ายไปต่างประเทศเพื่อใช้เป็นของบริโภคบ้างเป็นวัตถุดิบของโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ บ้าง

วัตถุสําเร็จเป็นอันมาก เราไม่ได้ทําขึ้นเองในประเทศ หากซื้อของเขามาใช้เป็นการแลกเปลี่ยนกัน แต่ว่าอารยธรรมของโลกทุกวันนี้ บังคับให้มนุษย์ไม่รู้จักสันโดษ แต่ละประเทศย่อมจะดิ้นรนขวนขวายหาทางเป็นอิสสระไม่ต้องอาศัยประเทศอื่นอยู่เสมอ เว้นไว้แต่ในกรณีที่จําเป็นจริง ๆ ดังนั้นตลาดที่เราจะส่งวัตถุดิบออกไป จําหน่ายก็นับวันจะเล็กลงทุกที ๆ ส่วนเราเองเมื่อวันอันคับแค้นเช่นนั้นมาถึง เราจะไม่ดิ้นรนหาทางเปลี่ยนวัตถุดิบเหล่านั้นเป็นวัตถุสําเร็จเพื่อใช้เสียเองบ้างหรือก็ถ้าอนาคตของโลกมีทีท่าว่าจะหมุนเวียนเปลี่ยนวิถีไปในทางนั้น ไฉนเราจะรอให้วัวหายเสียก่อนแล้วจึงจะล้อมคอกเล่า แม้สมเด็จพระบรมศาสดาของเราก็ยังทรงประทานพุทโธวาทไว้ให้เป็น เครื่องเตือนใจว่า ตนของตนย่อมเป็นที่พึ่งแห่งตนเอง ดังนี้

ในบัดนี้  แม้เราจะตระหนักในความสําคัญของการส่งเสริมอุตสาหกรรม และการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์เพื่อการอุตสาหกรรมก็ดี แต่ถ้าหากเราจะมีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้น เราก็ยังหาอาจที่จะดําเนินการค้นคว้าใด ๆ ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นไม่ อะไรหรือคืออุปสัคร์ที่ไม่ให้เราสามารถกระทําเช่นนั้นได้ คําตอบคงเป็นเช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้าได้เคยกล่าวมาแล้ว คือการขาดคน จํานวนคนที่จะบรรจุให้ พอแก่งาน นั้นสําคัญยิ่งนัก นี่คือเหตุหนึ่งที่กรมวิทยาศาสตร์จัดตั้งสถานศึกษาเฆมีปฏิบัติขึ้น ซึ่งอาจเป็นเสมือนบันไดขั้นแรก ที่จะนําไปสู่ความเจริญของประชาชาติในด้านของการอุตสากรรมต่อไป

 

วิทยาศาสตร์กับอุตสากรรมและกสิกรรม

ถ้าท่านยอมลงมติเห็นด้วยว่า กสิกรรมมีความสําคัญแก่ประเทศ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาชนคนไทยดังนี้ ท่านก็ย่อมจะเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์มีความสําคัญ และเกี่ยวข้องแก่ท่านแต่ละคนด้วยเพราะกสิกรรมนั้นก็คือวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่ง.

คงจะมีผู้ค้านว่ากสิกรรมไม่เห็นจะมีส่วนเป็นวิทยาศาสตร์ที่ไหน ตามา ตามี ยายสี ยายสา แกหาได้เคยเข้าโรงเรียนและเรียนวิทยาศาสตร์ ไม่ แกก็สามารถทํานาทําไร่และทําสวนของแกเลี้ยงลูกเลี้ยงหลานมาได้จนโตใหญ่ และสมัยปู่ย่าตายายของแกก็ไม่เคยมีใครพูดกันถึงเรื่องวิทยาศาสตร์ เหตุไฉนจึงจะมาอ้างอิงเอาว่ากสิกรรมเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ?

ทั้งนี้จะอธิบายให้เห็นเป็นสังเขป เช่นชาวนาเคยทํานาปลูกเข้ามาหลายปี ที่แรกเข้าก็งามรวงดก ได้เข้าเป็นอันมาก แต่ต่อ ๆ มาผลที่ได้กลับตกลงอย่างน่าใจหาย ทั้ง ๆ ที่ดินฟ้าอากาศก็ไม่เปลี่ยนแปลง ดังนี้ แกจะโทษโน่นโทษนี้ โดยหารู้ไม่ว่า ที่นาของแกนั้นหมดอาหาร ดินจืด ควรจะเอาอะไรไปบํารุงจึงจะดีเหมือนเก่า หรือมีธาตุอะไรในดินขาดไป ควรแก้ไขอย่างไร ถ้ายังขืนทํานาต่อไปโดยไม่หาทางแก้ไขก็คงจะถึงคราวที่ได้ผลไม่พอกินเป็นแน่ วิทยาศาสตร์จะเข้าช่วยแกได้ในเรื่องเช่นนี้ เป็นต้น โดยการสํารวจดิน และตรวจว่าเป็นอย่างไร ควรเอาอะไรใส่ หรือจะทําอย่างไร พืชของแกจึงจะสมบูรณ์ดีเหมือนเก่า

ไม่แต่ในเมืองไทยเท่านั้น แม้ที่เมืองนอกเราก็จะได้เห็นตัวอย่างคล้าย ๆ กัน เช่นชาวไร่อ้อยในรัฐหนึ่งของอเมริกา เคยทําอ้อยได้ปีหนึ่งทั้งหลาย ๆ ล้านหาบ แต่ต่อมาจํานวนอ้อยที่ปลูกได้ ลดน้อยลงเป็นอันมากได้เพียงไม่กี่แสนหาบเท่านั้น เขาพบว่าอ้อยเกิดเป็นโรค และเป็นโรคที่ติดต่อกันได้โดยมีแมลงตัวเล็ก ๆ เป็นพาหะชาวไร่เหล่านั้นจนปัญญาต้องหันเข้าหารัฐบาล ๆ ก็โยนเรื่องไปให้นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้แก้ไข ในที่สุดก็พบวิธี คือใช้อ้อยพันธุ์ที่ทนโรคได้มาปลูก แต่กว่าจะได้ก็ต้องผะสมแล้วผะสมอีก เมื่อมีอ้อยพันธุ์ดีทนโรคได้และให้น้ําอ้อยมาก การทําไร่อ้อยก็เจริญอย่างเก่าหรือยิ่งกว่าเสียอีก นี่คือผลของวิทยาศาสตร์! สมัยนี้คําว่าวิทยาศาสตร์ได้แพร่หลายจนมีผู้รู้จักมากขึ้น แต่ก็รู้ฉะเพาะคําวิทยาศาสตร์เท่านั้น หาได้รู้ละเอียดถึงว่าวิทยาศาสตร์ คืออะไรมีความสําคัญอย่างไร และเกี่ยวข้องกับตนเองอย่างไรไม่ จะเห็นได้ว่าคําวิทยาศาสตร์ ถูกพูดไปอย่างไม่มีความหมายเลย เช่น “อ้อยควั่นวิทยาศาสตร์” “เข้าต้มวิทยาศาสตร์” เป็นต้น

อันคําว่าวิทยาศาสตร์นั้น ถ้าจะแปลออกก็จะได้ความว่า “วิชาที่มีกฎเกณฑ์” วิชาใดที่มีกฎเกณฑ์เป็นหลักฐาน วิชานั้นย่อมเป็นวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น เราแบ่งวิทยาศาสตร์ออกเป็นส่วนใหญ่สองส่วนดังนี้คือ วิทยาศาสตร์แท้ (Pure science) ซึ่งหมายความถึงหลักวิชาโดยตรง มีฟิสิกส์ เฆมี และชีววิทยา กับวิทยาศาสตร์ ประยุก (Applied Science) ได้แก่ กสิกรรม วิศวกรรม อุตสาหกรรม เภสัชกรรม แพทยศาสตร์ เป็นต้น หมายความว่าเป็นวิชาอันเกิดจากหลักวิชาอีกต่อหนึ่ง

เมื่อเป็นเช่นนี้ เราย่อมจะพึงเห็นได้ว่าสยามมีความต้องการ และจําเป็นที่จะต้องรีบบํารุงการวิทยาศาสตร์เพียงใด ผู้มองเห็นการณ์ไกลจะไม่รอช้าในอันที่จะส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ให้ก้าวหน้าเพราะวิทยาศาสตร์นี่แล้ว คือยานอันจะนําประชาชาติให้วิ่งไปในอารยวิถี

ประชาชาติทั้งหลายที่จะมีอิทธิพลเป็นที่เกรงขามแก่ประชาชาติอื่น ต้องเป็นประชาชาติที่เจริญในทางวิทยาศาสตร์ ในเวลาปกติเรามักจะไม่ได้ทราบว่าวิทยา ศาสตร์สําคัญเพียงใด และก้าวหน้าไปเพียงใด เพราะนักวิทยาศาสตร์ต่างพากันหลบหน้าอยู่ตามห้องทดลองของตน ค้นคว้าสิ่งที่คนนึกว่าจะเป็นผลแก่ความก้าวหน้าของ แต่แท้ที่จริงตลอดเวลาเหล่านี้เขาได้สร้างความสําเร็จให้แก่สิ่งต่าง ๆ อย่างใหญ่หลวง บรรดาโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหลายล้วนแต่เกิดมาจากผลในหลอดแก้ว เล็ก ๆ หรือเครื่องมือเล็ก ๆ ก่อนทั้งนั้น

ประชาชาติที่เจริญแล้วทุกแห่งได้ลงทุนในการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์เป็นจํานวนมาก ๆ เพราะดังได้กล่าวแล้วว่าการค้นคว้าต่าง ๆ นั้น คือสิ่งที่ให้กําเนิดแก่ การอุตสาหกรรม การค้นคว้านั้น ไม่จําเป็นที่จะต้องประสพผลที่ต้องการเสมอไป บางที่ต้องการสิ่งหนึ่ง แต่กลับไปได้อีกสิ่งหนึ่ง หรือบางทีก็ไม่ได้เลย แต่ในทาง วิทยาศาสตร์เราถือว่าผลที่ได้หรือไม่ได้นั้น ย่อมเป็นส่วนหนึ่งของการก้าวหน้าเสมอ ยิ่งไปกว่านั้น บางทีสิ่งที่ผิดนั่นเองกลับเป็นประโยชย์อันยิ่งใหญ่เสียอีก

ถ้างานอุตสาหกรรมของประเทศเจริญ ผลของการกสิกรรมย่อมจะเป็นวัตถุดิบ สําหรับโรงงานอุตสาหกรรมได้ เป็นอย่างดี และผลอันเกิดจากอุตสาหกรรมนั้น จะทําให้เราลดการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศได้ไม่น้อย เดี๋ยวนี้เกือบจะไม่ว่าอะไร เราต้องใช้ของจากต่างประเทศ ทําให้เงินไหลออกปีละมาก ๆ ถ้าหากเรามีการ อุตสาหกรรมเจริญขึ้น การเงินของประเทศก็ย่อมจะเขยิบขึ้นสู่ฐานะอันมั่นคงยิ่งขึ้น และด้วยเหตุผลเช่นนี้ เราจะสามารถลงทุนในการสร้างรั้วป้องกันอิสสรภาพของเราให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นได้

ในการเก็บภาษีต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากรฉบับใหม่ที่ประกาศใช้เมื่อปลายปีที่แล้วนั้น จะเห็นว่าสินค้าถูกเก็บภาษีตามประเภทโดยอัตราต่าง ๆ กัน สําหรับสินค้าบางอย่าง จะรู้ว่าอยู่ในประเภทใดนั้น จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้วิทยาศาสตร์ช่วย มิฉะนั้นจะแยกประเภทและเก็บภาษีไม่ได้โดยเด็ดขาดก็ถ้าหากวิทยาศาสตร์ไม่ช่วยในการนี้แล้ว ภาษีศุลกากรของเราก็จะขาดไปมากทีเดียว.

ทางการของกรมสรรพสามิตต์ก็ต้องอาศัยวิทยาศาสตร์ไม่น้อย เช่นในการตรวจ วิเคราะห์มูลฝิ่นและสุรา ตลอดจนการทํามอร์ฟีนออกจากมูลฝนเป็นต้น

สตางค์ที่โรงกระษาปณ์ของเราทําอยู่เวลานี้ ถ้าทางวิทยาศาสตร์ไม่ช่วยควบคุม อยู่ด้วยแล้ว ส่วนผะสมของโลหะจะไม่มีมาตรฐานอันแน่นอนคงที่เลย.

น้ำประปาที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ต้องทําตามแบบวิทยาศาสตร์มาตลอด และยิ่งกว่านั้น กรมวิทยาศาสตร์ยังได้ทําการควบคุมด้วยการวิเคราะห์อยู่เสมอ แม้น้ำในต่างจังหวัดที่ส่งมาให้กรมวิทยาศาสตร์ตรวจเช่นเดียวกัน.

ดินที่จะทําการปลูกพืชผลต่าง ๆ นั้น กรมวิทยาศาสตร์ที่มีส่วนร่วมมือในการ สํารวจ และมีหน้าที่ทําการวิเคราะห์ว่าเป็นอย่างไร มีอะไรเท่าใด และเหมาะสมแก่ การปลูกพืชชนิดใดด้วย.

ในการพิจารณาอรรถคดี บางรายจะต้องอาศัยหลักฐานการยืนยันจากทางวิทยา ศาสตร์ เป็นต้นว่าการตรวจรอยโลหิต รอยน้ําอสุจิ อาวุธ  มีมีด ไม้ ปืน เอกสาร

ถ้าหากวิทยาศาสตร์ไม่มีส่วนประกอบเป็นหลักฐาน การพิพากษาก ต้องดําเนินไปตามคําพะยาน ซึ่งอาจปรวนแปรไปได้ ผิดกับพะยานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งย่อมเป็นจริงตามที่ปรากฏ ทั้งนี้กรมวิทยาศาสตร์ได้ปฏิบัติงานร่วมมือกับศาล และ ทางการตรวจเสมอมา.

ในเรื่องอาหาร ควรนับว่าวิทยาศาสตร์มีส่วนช่วยเป็นอันมาก เพราะการจะรู้ว่าอาหารมีคุณค่าดีเพียงไรนั้น เราจะรู้โดยทางอื่นไม่ได้ นอกจากจะใช้ทางวิทยา ศาสตร์ อาหารเป็นสิ่งสําคัญของประชาชนพลเมือง อาหารจะบํารุงพลเมืองของประ ชาชาติให้แข็งแรงแกร่งกล้า ทหารที่จะออกสนามรบจะต้องเป็น ทหารที่มีกําลังสม บูรณ์ มีอาหารที่ถูกอนามัย ถึงกําลังใจของทหารจะมั่นคงเพียงไร อาวุธยุทธภัณฑ์ จะสมสมัยเพียงไร ถ้าสะเบียงอาหารไม่ดี ก็จะมีแต่ทางแพ้ เพราะฉะนั้นวิทยา ศาสตร์ ในเรื่องอาหารจึงสําคัญมาก วิทยาศาสตร์ จะบอกว่าความต้องการของร่างกาย ควรใช้อาหารอย่างใด เท่าใด ไม่ให้มากไปหรือน้อยไป และอาหารใดควรหรือไม่ ควรแก่การรับประทานเพียงใด.

ต่อจากอาหารก็ถึงยา ซึ่งมีความสําคัญไม่น้อย ยาเป็นสิ่งจําเป็นของมนุษย์เกือบเท่าอาหาร และในบางโอกาสเราจะแยกอาหารกับยาออกจากกันไม่ได้ วิทยาศาสตร์กับการประดิษฐ์และทํายานั้นเป็นสาขาหนึ่งเรียกว่าเภสัชกรรม เวลานี้งานในส่วนนี้ของเรายังลําหลังอยู่มาก เรายังไม่มีการค้นคว้าหาสรรพคุณของสมุนไพรต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศเรามากพอ  เรายังไม่สามารถทําโอสถใช้เองได้เพียงพอ ในระหว่างเวลาปกติ เราอาจหาซื้อได้จากต่างประเทศก็จริงอยู่ แต่ถ้าเป็นเวลาฉุกเฉินเช่น เกิดสงครามขึ้น เราอาจถูกตัดสินค้าต่างประเทศ ยาก็ไม่มีจะใช้รักษาทหารที่ป่วยเจ็บ เพราะฉะนั้นวิทยาศาสตร์สาขานี้จึงควรได้รับการบํารุง รัฐบาลก็ได้มองเห็นความจริง เช่นนี้จึงสนับสนุน ต่อไปกรมวิทยาศาสตร์จะได้ขยายให้มีกิจการในแผนกนี้เป็น ส่วนหนึ่งด้วย.

เมื่อได้ชี้แจงมาดังนี้แล้ว ท่านจะเห็นว่าสยามต้องบํารุงวิทยาศาสตร์ให้ยิ่งกว่าที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้ เพราะในเวลานี้เมื่อเปรียบกับประเทศอื่น เรายังอยู่ล้าหลังเขามาก เงินทุก ๆ สตางค์ ที่สยามจะลงทุนไปในการบํารุงวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ทุนที่จะศูนย์ไปเปล่าทุก ๆ สตางค์ ที่ลงทุนไปนั้นจะได้ผลเป็นกําไรกลับคืนเสมอโดยประโยชน์ทั้ง ทางตรงและทางอ้อม.

เราไม่ควรจะลืมตัวว่า เดี๋ยวนี้แม้เราจะไม่บํารุงวิทยาศาสตร์ให้เข้มแข็ง เราก็ไม่เดือดร้อนอย่างใด ถ้าหากภายหลังเกิดความจําเป็นขึ้นฉะเพาะหน้า จะมาเสียใจที่ ไม่ได้ตระเตรียมไว้ก่อน ทุกคนซึมซาบในความหมายของภาษิต “วัวหายล้อมคอก” ที่อยู่แล้ว ก็เหตุใดจะรอให้วัวหายเมื่อก่อนแล้ว จึงจะล้อมคอกอีกเล่า ?

สยามใหม่ ภายใต้การปกครองตามระบอบรัฐธรรมนูญ เป็นสยามที่ต้องการ ความบํารุงในทางวิทยาศาสตร์ เพราะวิทยาศาสตร์ คือรากฐานแห่งความมั่นคงถาวรของประชาชาติ ทั้งในทางกสิกรรม พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และกําลังป้องกัน พระราชอาณาจักร ! 

 

 

 

ภาคผนวก

คำไว้อาลัยแก่คุณตั้ว ลพานุกรมของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม

 

 

 

หมายเหตุ:

  • ภาพประกอบจากหนังสืออนุสรณ์งานศพของตั้ว ลพานุกรม

 

บรรณานุกรม

  • หนังสือพิมพ์วิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2479-2480