Focus
- ในวาระ 93 ปี การอภิวัฒน์สยาม ผู้บันทึกในฐานะสมาชิกคณะราษฎรได้บอกเล่ารายละเอียดของเหตุการณ์ก่อนการวันอภิวัฒน์ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งบันทึกฉบับนี้ถือเป็นอีกหนึ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญ

จรูญ สืบแสง
วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นวันที่การยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย “ทำไมถึงเป็นวันที่ ๒๔ มิถุนายน” เป็นเรื่องที่มีผู้ทราบน้อยมาก แม้แต่ในคณะผู้ก่อการยึดอำนาจในครั้งนั้น ทั้งที่ผู้ที่ได้ล่วงลับไปแล้วและที่ยังมีชีวิตอยู่ในเวลานี้อยู่ในเวลานี้ไม่ทราบเรื่องนี้ นอกจากผู้ที่ได้ทราบเรื่องนี้จากปากของข้าพเจ้าเอง รวมทั้งผู้ที่ได้รับฟังคำปราศัยจากข้าพเจ้า ในงานวันระลึกถึงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ซึ่งสหพันธ์เพื่อเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน ได้จัดให้มีขึ้น ณ โรงแรมอิมพิเรียล เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ (๒๕๒๔) ก็มีบุคคลในวงจำกัดอีกจำนวนหนึ่งซึ่งได้ทราบเรื่องนี้โดย ข้าพเจ้าได้เขียนคำไว้อาลัยในหนังสือสิ่งพิมพ์เป็นอนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงสินธุสงครามชัย

ภาพถ่ายนักเรียนไทยในฝรั่งเศสที่ Place du Trocadéro ซึ่งมีผู้ร่วมก่อตั้งคณะราษฎร 4 ท่าน เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1926
ผู้ที่ทราบเรื่องจริงๆเดิมมีอยู่เพียง ๔ คนเท่านั้นคุณหลวงประดิษฐ์มนูธรรม,คุณหลวงพิบูลสงคราม,คุณหลวงสินธุสงครามชัยและข้าพเจ้าซึ่งเป็นต้นเหตุของเรื่องคุณหลวงพิบูลและคุณหลวงสินธุฯ ได้ล่วงลับไปแล้ว ยังเหลือแต่คุณหลวงประดิษฐ์ฯกับข้าพเจ้าเท่านั้นที่จะบอกได้ว่าทำไมจึงเป็นวันที่ ๒๔ มิถุนายน
ในตอนเที่ยงของวันพุธที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๔๗๕ ข้าพเจ้าได้ร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับคุณหลวงประดิษฐ์,คุณหลวงพิบูลฯ และคุณหลวงสินธุฯ ที่ร้านอาหารที่เรียกกันว่าร้านข้าวสามสี สี่กั๊กเสาชิงช้าในเที่ยงวันนั้นเผอิญไม่มีคนพลุกพล่านในห้องที่เราเข้าไปรับประทานอาหารกันนั้นก็มีแต่พวกเรา ๔ คนเท่านั้นข้าพเจ้าได้โอกาศบอกกับท่านทั้งสามว่าข้าพเจ้าได้รับคำสั่งทางราชการให้ไปรับตำแหน่งแทนแทนคุณหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจที่สถานีทดลองการเกษตรควนเนียงทางภาคใต้ และในบ่ายวันนั้น (๒๒ มิถุนายน) ข้าพเจ้าจะต้องเดินทางโดยรถด่วนสายใต้ไปตามคำสั่ง ข้าพเจ้าจึงขอทราบว่าเมื่อไหร่เราจึงจะลงมือทำการกัน คุณหลวงพิบูลฯบอกข้าพเจ้าว่ายังกำหนดวันไม่ได้ว่าจะลงมือกันเมื่อไร เพราะคุณประยูร ภมรมนตรี ได้ไปบอกพวกเราฝ่ายทหารเรือเป็นความเท็จว่าเราได้กำลังทางทหารบก เช่น ทหารปืนใหญ่ ทหารม้า ทหารราบ เป็นต้นไว้ได้มากแล้ว ซึ่งทางฝ่ายทหารเรือทราบต่อมาว่าไม่เป็นความจริง จึงยังไม่ยอมที่จะลงมือทำการจนกว่าจะได้กำลังพอ ทำให้ต้องรอกันต่อไปอีก เพราะฉะนั้นขอให้ข้าพเจ้าเดินทางไปรับตำแหน่งตามคำสั่งก่อนเถิด เมื่อใดเป็นที่แน่นอนว่าจะลงมือกันจึงจะส่งข่าวไปบอกให้ข้าพเจ้าทราบ
ข้าพเจ้าได้ฟังดังนั้นก็รู้สึกโกรธขึ้นทันที ข้าพเจ้าบอกกับท่านทั้งสามว่าข้าพเจ้าได้ตัดสินใจไว้ก่อนแล้วว่าจะไม่ไปรับตำแหน่งตามคำสั่ง แต่จะทำเป็นว่าจับรถด่วนไปตามกำหนดในบ่ายวันนั้น และจะไปลอบลงที่สถานีบางซื่อ ส่วนครอบครัวของข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าจะซื้อตั๋วรถไฟให้ไปลงที่สถานีโคกโพธิ์เพื่อให้ไปอยู่กับบิดามารดาของข้าพเจ้าที่ปัตตานี โดยไม่บอกให้ภรรยาหรือใครๆทราบล่วงหน้า เผอิญพี่ชายคนโตของข้าพเจ้าจะเดินทางไปปัตตานีโดยรถด่วนในวันนั้นด้วย จึงเป็นโอกาศดีที่ข้าพเจ้าจะฝากฝังพี่ชายให้ช่วยดูแลครอบครัวข้าพเจ้าในระหว่างการเดินทาง ข้าพเจ้าบอกต่อไปว่าข้าพเจ้าได้นัดไว้แล้วกับคุณเสงี่ยม ซึ่งได้เข้ามาร่วมมืออยู่ในสายของคุณทวี บุณยเกตุและข้าพเจ้าให้ไปคอยรับข้าพเจ้าที่สถานีบางซื่อในบ่ายวันนั้น ข้าพเจ้าจะหลบตัวอยูในกรุงเทพฯและจะไปปรึกษาตกลงกับคุณบรรจงและคุณประเสริฐ ศรีจรูญว่า ภายในเดือนมิถุนายนนั้นถ้าพวกเรายังไม่ตกลงกันให้แน่นอนว่าจะลงมือกันเมื่อใด พวกข้าพเจ้าสามคนก็จะลงมือทำกันก่อน ท่านหนึ่งในสามท่านนั้นข้าพเจ้าจำไม่ได้ว่าเป็นผู้ใดถามข้าพเจ้าว่าทำไมจะลงมือทำก่อนและจะทำอย่างไร ข้าพเจ้าได้บอกเหตุผลที่จะต้องทำให้ฟังและจะทำโดยเข้าไปยึดตัวเจ้านายที่สำคัญพระองค์หนึ่งไว้เป็นประกัน พวกเราที่ยังรีรอกันอยู่นั้นจะทำอย่างไรกันต่อไปหรือไม่ข้าพเจ้าไม่คำนึงถึง ท่านทั้งสามได้ฟังดังนั้นก็นิ่งอึ้งกันไป
ในขณะนั้นข้าพเจ้ากำลังมีโทษะมาก ยังไม่ได้เอาใจใส่ทั้งสามท่านจะพูดว่าอย่างไรบ้างในที่สุดคุณหลวงประดิษฐ์ฯ ก็บอกข้าพเจ้าว่าในบ่ายวันนั้นให้ข้าพเจ้าขึ้นรถด่วนไปลงที่สถานีตลิ่งชันเพราะรถด่วนสายใต้ไม่หยุดที่บางซื่อเมื่อลงรถด่วนแล้วให้ลงเรือจ้างไปบ้านคุณหลวงสินธุฯในคลองบางกอกใหญ่และคอยฟังข่าวอยู่ที่นั่น ข้าพเจ้าได้ฟังคุณหลวงประดิษฐ์ฯ บอกเช่นนั้นแล้วก็รู้สึกคลายความโกรธลง ข้าพเจ้าอนุมานเอาว่าทั้งสามท่านคงจะปรึกษาตกลงกันที่จะรีบลงมือทำการกันเสียโดยเร็ว ถ้าขืนปล่อยให้ข้าพเจ้าทำไปก่อนอย่างบ้าบิ่นโดยไม่ได้คำนึงถึงผลได้ผลเสีย แผนการณ์ที่ได้คิดกันไว้มาเป็นเวลาหลายปีก็คงจะล้มเหลวไปหมด

คณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕
สายทหารเรือ
ในบ่ายวันนั้นข้าพเจ้าทำตามที่คุณหลวงประดิษฐ์ฯ แนะนำเมื่อไปถึงบ้านคุณหลวงสินธุฯเป็นเวลาประมาณบ่าย ๕ โมงเศษ ก็ได้พบคุณหลวงสินธุฯ (ซึ่งข้าพเจ้าเพิ่งได้พบและรู้จักเป็นครั้งแรกเมื่อเที่ยงวันนั้น) ทั้งหลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย), หลวงนิเทศกลกิจ (กลาง โรจนเสนา), เรือเอกชลิต กุลกำม์ธร และนายทหารเรือซึ่งข้าพเจ้านามไม่ได้อีกหลายนาย คุณหลวงสินธุฯ ไม่ได้แนะนำให้รู้จักกันเป็นแจ้งให้รู้จักกันว่าเป็นพวกเดียวกันข้าพเจ้าฟังเสียงที่นายทหารเรือเหล่านั้นพูดกันว่ากำลังทำคำสั่งปลอมในทางทหาร จึงแน่ใจว่าความตั้งใจอย่างบ้าบิ่นของข้าพเจ้าเป็นเหตุให้มีการวางแผนและเตรียมการที่จะยึดอำนาจการปกครองการขึ้นแล้วซึ่งคาดว่าคงจะเป็นภายใน ๒-๓ วันข้างหน้านี้
ในคืนวันที่ ๒๒ มิถุนายนนั้นข้าพเจ้ารับได้อย่างสนิทที่บ้านคุณหลวงสินธุฯ รุ่งขึ้นวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ ข้าพเจ้าก็คอยฟังข่าวต่อไปอีกในคืนนั้นในคืนวันนั้นเวลาประมาณ ๓ หรือ ๔ นาฬิกามีคนมาปลุกข้าพเจ้าให้ลุกขึ้น ข้าพเจ้าจำไม่ได้ว่าเป็นใครบอกให้ข้าพเจ้ารีบแต่งตัวลงเรือข้ามไปขึ้นฝั่งที่ปากคลองตลาดและไปคอยอยู่บริเวณหน้ากระทรวงเกษตรตราธิการ (กรมที่ดินในขณะนี้) จะมีคนมารับข้าพเจ้าในเวลา ๕ นาฬิกาซึ่งปรากฏว่าผู้มารับของผู้มารับข้าพเจ้าคือคุณประยูร ภมรมนตรี เขาพาไปที่ไปที่บ้านของเขา ที่สามเสนใน

ฉายเมื่อก่อนจะเข้าโรงเรียนผะสมสัตว์ เมืองแปงด์ ประเทศฝรั่งเศส
ที่มาภาพ : มิตรภักดี ของ ปรีดี “หลวงทัศไนยนิยมศึก” ทหารม้าหัวหอกอภิวัฒน์ 2475
ที่นั่นข้าพเจ้าได้พบกับคุณทวี บุณยเกตุ ที่นั่นข้าพเจ้าได้พบคุณทวี บุณยเกตุ, คุณยง พลบุล, คุณหลวงทัศนัยนิยมศึก และนายทหารม้าอีก ๓ นาย คือคุณไชย ประทีปเสน, คุณทวน วิชัยขัตคะและคุณน้อม เกตุนุต ทุกคน (ไม่รวมคุณประยูรฯ) ที่มาพร้อมกันนี้อยู่ในสายที่จะไปยึดเกราะ เราคอยเวลากันอยู่พักหนึ่ง แล้วก็ต่างแยกกันไปทำหน้าที่ที่กำหนดไว้ คุณทวีฯ, คุณยงฯ และข้าพเจ้าขึ้นรถยนต์โดยคุณทวี เป็นผู้ขับไปรับคุณหลวงพิบูลฯ และคุณหลวงอดุลยเดชจรัสที่บ้านในตรอกศาลเจ้าครุธ แล้วก็ตรงไปรวมกันใกล้ๆกองทหารม้า เจ้าคุณพหลพลพยุหเสนาและเจ้าคุณทรงสุรเดชก็รวมอยู่ด้วย เมื่อเอารถเกราะออกมาได้แล้ว พวกเราที่แยกกันไปทำหน้าที่ในสายต่างๆ ก็ไปรวมกันทั้งหมดที่ลานพระบรมรูปทรงม้าและพระที่นั่งอนันตสมาคม”
การยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินได้ประสบความสำเร็จและการปกครองแผ่นดินได้เปลี่ยนมาเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขก็ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เช้าวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมา

คณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕
สายพลเรือน
เมื่อตอนต้นเดือนสิงหาคมปีนี้ (๒๕๒๔) ข้าพเจ้าได้เดินทางไปยังเมืองซูริคเพื่อพักฟื้น และได้ถือโอกาสไปกรุงปารีสเพื่อคำนับเยี่ยมท่านรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์(คุณหลวงประดิษฐ์มนูธรรม) ในระหว่างสัปดาห์แรกของเดือนกันยายนข้าพเจ้าได้นำสำเนาเรื่อง “ทำไมจึงเป็นวันที่ 24 มิถุนายน” (ซึ่งปรากฏข้างต้น) ติดตัวไปให้ท่านปรีดี พนมยงค์ ดูด้วยว่าเรื่องที่ปรากฏในสำเนานั้นถูกต้องตามหลักความเป็นจริงหรือไม่ ท่านอ่านดูแล้วก็บอกข้าพเจ้าว่าถูกต้องดีแล้ว แต่ยังมีเรื่องที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของข้าพเจ้าซึ่งข้าพเจ้าไม่ทราบเวลานั้น (ก่อนวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕) และซึ่งท่านเห็นว่าข้าพเจ้าควรจะกล่าวเพิ่มเติมต่อไทยเรื่องของข้าพเจ้าไว้ด้วย
ก่อนที่จะกล่าวต่อไป ข้าพเจ้าใคร่ครวญเข้าใจกันด้วยว่าในฐานะที่ข้าพเจ้าได้เป็นสมาชิกคณะผู้คิดทำการอภิวัฒน์เหตุใดข้าพเจ้าจึงไม่ทราบเรื่องสำคัญๆที่ปรึกษาหารือในคณะกรรมการกลาง ซึ่งประกอบด้วยผู้ที่ร่วมประชุมก่อตั้งคณะราษฎรครั้งแรกในกรุงปารีส ตามระเบียบและวินัยของคณะราษฎรเพื่อความปลอดภัยในการดำเนินงานของคณะราษฎรคณะกรรมการแต่ละคนเป็นห่วงหน้าของแต่ละสาย ซึ่งมีสมาชิกที่ได้รับการเลือกเฟ้นกันให้ร่วมงานเป็นหัวหน้าและเป็นสมาชิกในหน่วยใหญ่น้อยที่ทำการจำแนกย่อยออกไปเฉพาะคณะกรรมการการเท่านั้นเป็นผู้ที่ร่วมรู้ทางของสมาชิกที่สำคัญและความเป็นไปในสายต่างๆและหัวหน้าสายผู้ริเริ่มทั้งหมดในแต่ละฝ่ายและรู้แผนงานสำคัญซึ่งปรึกษาหารือกันในคณะกรรมการกลางงานภายในในแต่ละหน่วยหรือสาขาของแต่ละสายนั้นไม่มีการก้าวก่ายกันเพราะสมาชิกภายในหน่วยหรือฝ่ายรู้เรื่องเฉพาะภายในหน่วยหรือสายของตนเท่านั้นไม่มีสมาชิกคนใดไปรู้เรื่องของหน่วยอื่นได้และไม่รู้ด้วยว่าใครเป็นหัวหน้าคณะราษฎรและใครเป็นหัวหน้าหน่วยของฝ่ายต่างๆแม้แต่ภายในสายที่มีสมาชิกน้อยคนหรือที่จะรู้ว่าใครเป็นหัวหน้าคณะของสายหรือรู้ว่าใครในหน่วยอื่นในสายเดียวกันบ้าง

นายทวี บุณยเกตุ
ข้าพเจ้าเป็นสมาชิกคณะราษฎรอยู่ในหน่วยที่แยกจากคุณทวี บุณยเกตุและคุณประยูร ภมรมนตรี ท่านทั้งสองนี้เป็นหัวหน้าสายของคณะกรรมการกลาง ในชั้นแรกข้าพเจ้ารู้เพียงคุณทวีฯกับคุณประยูรฯเท่านั้น ด้วยเหตุที่กล่าวมานี้ข้าพเจ้าจึงไม่ทราบเลยว่าเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๔๗๕ คณะอภิวัฒน์ได้มีการได้มีแผนการที่จะลงมือทำการอย่างไรบ้างเพียงแต่ทราบเป็นการเส็นกระสายว่าจะลงมือกันเมื่อนั้นเมื่อนี้ แต่แล้วก็เงียบหายไปโดยไม่ทราบเหตุผล

คณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕
สายทหารบก
ก่อนวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ประมาณ ๔-๕ เดือนเจ้าคุณพหลพลพยุหเสนา เจ้าคุณทรงสุรเดช เจ้าคุณฤทธิอัคเนย์ ได้เข้าร่วมคิดการอภิวัฒน์กับคณะราษฎรศูนย์กลางอำนาจศูนย์กลางคณะราษฎรได้มอบให้เจ้าคุณทรงเป็นผู้วางแผนอำนาจแผนการเจ้าคุณทรงวางไว้และได้นำมาพิจารณาหารือกันในคณะกรรมการกลางในครั้งนั้นได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้ใหญ่ฝ่ายทหารบกเกี่ยวกับแผนการความขัดแย้งนี้ข้าพเจ้าขอตัดข้อความจากหนังสือเรื่อง “ชีวิตทางการเมืองของ พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์” (รวบรวมจากการตอบคำถามสัมภาษณ์ของ พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์ ซึ่งลงพิมพ์ในนิตยสาร ไทสัปดาห์ในปี ๒๕๐๑ โดยนายเสทื้อน ศุภโสภณหน้า 12 ถึง 18 มีดังนี้

พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)
ภาพจากหนังสือ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์
ขณะนั้นเป็นเวลาประมาณปลายเดือนเมษายน ๒๔๗๕งานมหกรรมอันมโหฬาร สมโภชพระนครครบ 150 ปีและฉลองสะพานปฐมบรมราชานุสาวรีย์เพิ่งจะผ่านพ้นไปใหม่ๆ คณะปฏิวัติได้กำหนดการว่าจะทำการตอนนั้นเอง พระยาฤทธิฯ จึงได้คัดค้านอย่างรุนแรงเพราะเห็นว่าบรรดาผู้ที่เข้าร่วมงานนั้นเตรียมการยังไม่พรัก พร้อมและข้อสำคัญคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังประทับอยู่ในพระนครซึ่งประการหลัง พระยาฤทธิฯ เห็นว่ามีความสำคัญอยู่มาก เพราะการปฏิวัติจะต้องทำในขณะที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้อยู่ในพระนคร เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการปะทะด้วยการใช้กำลัง และเป็นที่ทราบดีกันอยู่แล้วว่าเมื่อถึงในฤดูร้อนพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะแปรพระราชฐานเสด็จไปประทับอยู่ ณพระราชวังไกลกังวลเสมอ
ฉะนั้นพระยาฤทธิฯ เห็นว่าควรรอไปก่อนเพื่อจะรอจังหวะอันดียามที่จะมาถึงโอกาสหน้า
แผนการของคณะปฏิวัติคราวนั้นโดยย่อ ดังนี้คือ คณะปฏิวัติจากอัญเชิญจะเสด็จจ้านายหรือจะพูดกันไปกันมาคือ “จับ” นั่นเองเอามาไว้เป็นตัวประกันทางนี้รวมไปถึงองค์ประมุขของชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการนี้คณะปฏิวัติจะใช้กำลังกรมหน่วยหนึ่งบุกเข้าไปในพระราชฐานและบังคับให้ทรงยินยอมมอบอำนาจให้คณะปฏิวัติและทรงลงพระปรมาภิไธยรัฐธรรมนูญให้ ถ้าทำแผนการนี้ การนองเลือดอาจจะจะเกิดขึ้น….
………ถ้าทำตามแผนการดังกล่าว ข้างต้นคือ ยกกำลังจู่โจมเข้าไปในพระราชฐานขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับอยู่ ก็ย่อมจะได้รับการต่อสู้จากทหารรักษาการณ์ในพระราชฐาน แล้วจะเกิดการนองเลือดซึ่งไม่เป็นที่พึ่งปรารถนาจะต้องบังเกิดขึ้นและการกระทำนี้ต้องเสียเวลาเป็นอย่างมาก ประกาศจากกรมกองต่างๆในพระนครต้องดำรงกำลังไปสมทบเพิ่มเติมเพื่อรักษาการอยู่ในพระราชฐานเพราะว่าเพราะจอมทัพกำลังจะตกอยู่ในที่อันตรายทั้งในขณะนั้นกองทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ (พัน ๒) ประจำอยู่ที่สะพานมัฆวานนั้นเอง
เมื่อเป็นดังนี้ การที่จะทำการได้รวดเร็วก็ไม่สามารถดำเนินการไปได้ ด้วยขัดจังหวะในที่สุดกำลังของคณะของผู้ก่อการซึ่งยังไม่พรักพร้อมก็ไม่อาจที่จะต้านทานได้งานก็ไม่สำเร็จก็อาจจะเกิดการวางผานจนแก่ชีวิตเป็นการใหญ่พระยาฤทธิฯได้ฝากข้อคิดทิ้งท้ายไว้ว่า “ถ้าทำ อย่าทำดีกว่าคิดว่าจะล้มเหลว เสียหายและน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง”
แต่บรรดาหัวหน้าปฏิวัติทั้งหมดที่มีอยู่ขนาดนั้นรวมทั้ง พระยาพหลฯ และพระยาทรงฯ ด้วยไม่เห็นด้วยกับความคิดของ พระยาฤทธิฯ และยืนยันว่าจะต้องทำให้ได้เมื่อเป็นเช่นนี้พระยาฤทธิฯ จึงประกาศว่าจะไม่เห็นด้วยโดยเด็ดขาด “ถ้าไม่ตกลงกันตามนี้ก็เลิกกัน” และในการที่พระยาฤทธิฯ ได้ให้คำมั่นอันเป็นหลักประกันต่อคณะปฏิวัติ “ด้วยเกียรติจะไม่นำเรื่องที่เราปรึกษากันในระหว่างเพื่อนนี้ไปพูดกับคนอื่นเป็นอันขาดแต่มีอยู่อย่างหนึ่งที่ไม่สามารถรับรองได้” นี่คือคำขาดที่พระยาฤทธิยืนยันต่อบรรดาบุคคลชั้นหัวหน้าปฏิวัติในขณะนั้นนั้นคือ ถ้าท่านเริ่มทำการในขณะที่พระเจ้าอยู่หัวอยู่ก็อาจจะต้องมีการต่อสู้ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นนายทหารรักษาพระองค์ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่”
บรรยากาศของที่ประชุมคณะปฏิวัติตึงเครียดมาทันทีแต่แล้วก็กลับเข้าสู่สภาวะปกติได้โดยมีบุคคลหนึ่งเข้าไปประชุมด้วยภายหลังเพื่อนเขาผู้นั้นคือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม นั่นเอง หลวงประดิษฐ์ได้มีความคิดเห็นตรงกับพระยาฤทธิฯ และสนับสนุนด้วยเป็นอย่างยิ่ง เรื่องจึงลงเอยกันได้แผนการของเจ้าคุณทรงซึ่งทำให้มีเรื่องขัดแย้งกันขึ้นด้วยก็เป็นอันจบไป

อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือตรี หลวงสังวรยุทธกิจ (สังวร สุวรรณชีพ)
ต่อมาได้มีอีกแผนการหนึ่งเรียกว่าแผนตลิ่งชัน คือ หลวงประดิษฐ์ ฯ (ท่านปรีดี) เป็นผู้ดำริขึ้น ข้าพเจ้าขอคัดข้อความจากตอนหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้จากบทความที่ท่านมีได้เขียนไว้เพื่อเป็นการระลึกถึง คุณหลวงสังวรยุทธกิจ (สังวร สุวรรณชีพ) ในหนังสือซึ่งพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลร.ต. หลวงสังวรยุทธกิจมีดังนี้
“..........เมื่อผู้ใหญ่ฝ่ายทหารบกเกิดความขัดแย้งกันเช่นนี้ข้าพเจ้า(ท่านปรีดี)จึงปรึกษาเพื่อนพลเรือนบางคนและหัวหน้าฝ่ายทหารเรือ (คุณหลวงสินธุสงครามชัย)ให้พิจารณาแผนการจับเสนาบดีทางขณะที่โดยสารรถไฟไปประชุมที่วังไกลกังวลหัวหินทุกๆ ปลายสัปดาห์ในระหว่างที่ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับที่นั่น สมัยนั้นการคมนาคมจากกรุงเทพฯไปหัวหินมีแต่ทางรถไฟที่จะสะดวก สำหรับเสนาบดีรถไฟทุกขบวนต้องหยุดที่ชุมทางตลิ่งชันซึ่ง ติดต่อกับคลองที่แยกออกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาจากบางกอกน้อย ดังนั้นถ้าได้ทหารเรือเพียงหมวดเดียวคอยดักรถไฟให้มาหยุดแล้วเชิญเสนาบดีทั้งคณะไปกลับไว้บนเรือรบก็จะสำเร็จได้ง่ายและเพื่อความแน่ใจว่ารถไฟจะไม่ด่วนรีบหลุดออกจากสถานีตลิ่งชัน ข้าพเจ้าได้ปรึกษาหารือเพื่อนก่อการสายรถไฟอาทิ หลวงเดชาติวงศ์วรารัตน์ (มล.กรี เดชาติวงศ์) มล.อุดม สนิทวงศ์ ในฐานะที่ มล.อุดมเป็นนายช่างกล ก็ขึ้นรถจากดีเซลของขบวนรถไฟเสนาบดีไปด้วย เมื่อถึงสถานีตลิ่งชันก็ก็ลงตามปกติ แล้วเคลื่อนต่อไปเปิดโอกาสให้ทหารเรือทำการปรับปรุงเสนาบดีทั้งคณะเชิญลงเรือกลไฟไปกักไว้บนเรือรบเพื่อเจรจากับพระมหากษัตริย์ต่อไป.”
แผนการนี้ทางฝ่ายทหารเรือเห็นตามด้วย แต่ยังไม่ทันจะลงมือตามแผนต้องหยุดชะงักไป เพราะฝ่ายทหารเรือได้ทราบเรื่องที่คุณประยูร ภมรมนตรีบอกนั้นว่าเป็นความเท็จ ดังที่คุณหลวงพิบูลสงคราม (จอมพลป.พิบูลสงคราม) ได้บอกกับข้าพเจ้าเมื่อตอนเที่ยงวันพุธที่ ๒๒ มิถุนายนในตอนเที่ยงของวันนั้นเองข้าพเจ้าได้ทำให้หัวหน้าฝ่ายพลเรือน ทหารบกและทหารเรือ ต้องไปพิจารณาวางแผนและดำเนินการยึดอำนาจเสียโดยเร็ว และข้าพเจ้าได้บอกไว้แล้วว่าภายในเดือนมิถุนายนนั้นพวกเรายังไม่พร้อมที่จะลงมือยึดอำนาจ ข้าพเจ้ากับคุณบรรจงคุณประเสริฐ ศรีจรูญ ก็จะทำการลงมือไปก่อน ความตั้งใจของข้าพเจ้ากล่าวจึงเป็นการเร่งรัดไปในตัวให้คณะราษฎรต้องทำการอภิวัฒน์ให้สำเร็จภายในเดือนมิถุนายนและประจวบกับทางฝ่ายหัวหน้าทหารบกยอมตกลงที่จะวางแผนทำการในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าประทับที่หัวหิน และเจ้าคุณฤทธิฯ ก็ได้กลับมาร่วมมือกับคณะราษฎรอีกแผนการอภิวัฒน์ในวันที่ ๒๔ มิถุนายนซึ่งคณะผู้ก่อการอภิวัฒน์ได้ปฏิบัติการเป็นผลสำเร็จได้เป็นไปตามแผนที่เจ้าคุณทรงได้ร่างไว้โดยเลือกที่จะจับกุมตัวบุคคลที่มีอำนาจ……..
จรูญ สืบแสง
6 พฤศจิกายน 2524
หมายเหตุ:
- บทความชิ้นนี้กองบรรณาธิการ สถาบันปรีดี พนมยงค์คงใช้ชื่อเดิม “ทำไมจึงเป็นวันที่ 24 มิถุนายน 2475” โดยตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2525
- อักขระและวิธีสะกดคงไว้ตามต้นฉบับ
อ้างอิง :
- จรูญ สืบแสง , ทําไมจึงเป็นวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ใน ที่รฤกเนื่องในงาน “กึ่งศตวรรษประชาธิปไตย” วันที่ 24-27 มิถุนายน 2525 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (กรุงเทพฯ :โครงการกึ่งศตวรรษประชาธิปไตย, 2525) หน้า 28-37.