เมื่อวันอังคารที่ 12 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุมประภาศน์ อวยชัย อาคารอเนกประสงค์ 1 ชั้น 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จัดโดย วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย สถาบันปรีดี พนมยงค์ สำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส สำนักข่าวชายขอบ สำนักข่าว The Reporters และ The Isaan Record จัดเสวนาในหัวข้อ “เลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม ปฏิรูปอะไร? อย่างไร?”
โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนความเห็นในเรื่องนโยบายและการบริหารงานกองทุนประกันสังคมระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการประกันสังคมกับผู้ประกันตน ผู้แทนภาคประชาสังคม นักวิชาการ และเพื่อให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการประกันสังคมได้แสดงวิสัยทัศน์และนโยบายในการปฏิรูปหรือพัฒนาระบบประกันสังคมให้มีประสิทธิภาพในการจัดสวัสดิการให้แก่ผู้ประกันตนได้ดีขึ้นกว่าเดิม ดำเนินรายการ โดย คุณฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้ก่อตั้ง The Reporters
กล่าวเปิดการเสวนาโดย ผศ.วีรบูรณ์ วิสารทสกุล คณบดีวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หลังจากกล่าวทักทายผู้แทนองค์การร่วมจัดงานและผู้เข้าร่วมงานแล้ว ผศ.วีรบูรณ์ วิสารทสกุล เน้นถึงความสนใจในการร่วมแลกเปลี่ยนในเวทีเปิดที่จะเสนอความคิดเห็นเพื่อช่วยกันพัฒนาและปรับปรุงตัวระบบกองทุนประกันสังคม โดยกฎหมายในปี 2533 แต่โชคร้ายที่อยู่ภายใต้ช่วง คสช. มีแต่งตั้งกรรมการมาอยู่ 8 ปี และในปีนี้ จึงเป็นที่ประกาศระเบียบเลือกตั้งผู้แทนประกันสังคม ทั้งจากฝั่งแรงงานและนายจ้าง จึงเป็นโอกาสดีที่เราจะได้มีโอกาสใช้สิทธิ์ตัวเองจากหนึ่งสหภาพแรงงานหนี่งเสียงเป็นเลือกคล้ายๆ กับการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร ซึ่งถือว่าการเลือกตั้งรอบนี้ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของการเลือกตั้งในประเทศไทย แต่ว่าความคึกคักยังน้อยมาก เรามีช่วงเวลาน้อย และทางฝั่งชุดเดิมก็ไม่กระตุ้นให้มีเวทีแบบนี้มากขึ้น ใน 2 ปี 3 ปี ข้างหน้า อาจจะมีเวทีแบบนี้ทั่วประเทศ และอยากให้ทั้ง 7 ท่านที่ได้รับเลือกตั้ง ทำงานให้กับขบวนการแรงงานและผู้ประกันตน อยากให้มีเวทีรับฟังอย่างต่อเนื่องไม่ใช่เป็นผู้แทนแล้วหยุดออกจากการเสวนากับพวกเรา ซึ่งก็จะช่วยทำให้ตัวกองทุนประกันสังคมเป็นกองทุนของฝ่ายแรงงานหรือของฝ่ายผู้ประกันตนอย่างแท้จริง ขอให้ทางฝ่ายผู้สมัครได้รับความคิดเห็นจากพวกเราเพิ่มมากขึ้นเพื่อไปช่วยกันผลักดันให้ตัวระบบประกันสังคม และกองทุนประกันสังคมที่มีอยู่ 2 ล้านล้านบาท เป็นประโยชน์กับพวกเราอย่างแท้จริง
ลำดับต่อไปเป็นการนำเสนอข้อมูล “ความเป็นมาของคณะกรรมการประกันสังคม” โดย รศ.ดร. นภาพร อติวานิชยพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์
พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาจากการต่อสู้ร่วมกันของภาคประชาชน กลุ่มแรงงาน องค์การพัฒนาเอกชน นักศึกษา นักวิชาการ และ ศ.นิคม จันทรวิทุร ที่ผลักดันกฎหมายประกันสังคมมาโดยตลอด ในช่วงที่กฎหมายเข้าสภามีการลุ้นว่ากฎหมายผ่านหรือไม่ ถึงกับนั่งอดข้าวประท้วงกันหน้ารัฐสภาของผู้นำแรงงานและนักศึกษาหลายวัน จนสภาผู้แทนราษฎรลงมติผ่านร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2533
คณะกรรมการประกันสังคมทำหน้าที่บริหารสำนักงานประกันสังคมและกองทุนประกันสังคม มีเงินในกองทุนกว่า 2 ล้านล้านบาท เป็นองค์กรไตรภาคี ประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง นายจ้าง และผู้แทนฝ่ายรัฐ ที่ผ่านมาผู้แทนของลูกจ้างและนายจ้างเป็นการเลือกตั้งผ่านองค์กร เช่น สหภาพแรงงานและสมาคมนายจ้าง หนึ่งองค์กรหนึ่งเสียงไม่ว่าจะมีสมาชิกจำนวนมากน้อยแค่ไหน
ปัญหาตั้งแต่ พ.ศ. 2533 มีอะไรบ้าง เช่น ตัวแทนจากฝ่ายแรงงานไม่สามารถรักษาผลประโยชน์ของผู้ประกันตนได้ เช่น ผู้แทนลูกจ้างลงมติร่วมกับผู้แทนรัฐบาล โดยรัฐบาลนำเงินประกันสังคมไปใช้ต่อต้านยาเสพติด ไปซื้อเสื้อแจกวันแรงงานแห่งชาติ เป็นการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ ทำให้เกิดข้อเสนอในการปฏิรูประบบประกันสังคม เช่น การเปลี่ยนการเลือกตั้งตัวแทนนายจ้างและลูกจ้างเป็นกรรมการประกันสังคมโดยองค์การเป็นผู้เลือกโดยตรงของผู้ประกันตน การเสนอปฏิรูปสำนักงานประกันสังคมเป็นองค์การมหาชน การปฏิรูประบบบำนาญ รวมถึงข้อเสนอที่ให้ผู้รับบำนาญที่จะยินยอมจ่ายเงินเข้าประกันสังคมต่อไป สามารถใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลประกันสังคมต่อไปได้ สมควรได้รับการพิจารณา และในที่สุดเกิดการปรับเปลี่ยนระบบการเลือกผู้แทนผู้ประกันตนและนายจ้าง ให้ผู้ประกันตนทุกคนมีสิทธิเลือกตั้งอย่างเท่าเทียม
เวทีวันนี้ จึงมีความสำคัญต่อแรงงานผู้ประกันตนที่จะได้ฟังวิสัยทัศน์ของผู้อาสาสมัครเป็นทีมบริหารประกันสังคม
ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปและพัฒนาระบบประกันสังคมโดย อาจารย์โชคชัย สุทธาเวศ สถาบันปรีดี พนมยงค์
นำเสนอเป็นคนแรกประกอบการฉายสไลด์ เรื่อง “ข้อมูลพื้นฐานของความมั่นคงทางสังคม และความคาดหวังต่อคณะกรรมการประกันสังคมในการทำให้กองทุนประกันสังคมมั่นคงและยั่งยืน” 20 ข้อ โดยเน้นสาระสำคัญๆ ดังต่อไปนี้
การร่วมกันจัดงานของสถาบันปรีดี พนมยงค์ กับองค์การร่วมจัดการในครั้งนี้ เป็นการกระทำในเรื่องที่สำคัญมากต่อคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานและคนทำงานทุกคน รวมทั้งแรงงานข้ามชาติที่จะได้ประโยชน์
การเข้าร่วมของ อาจารย์อนุสรณ์ ธรรมใจ ในนามประธานสถาบันปรีดี พนมยงค์ ในการจัดทำระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งกรรมการประกันสังคมในครั้งนี้ ในฐานะอนุกรรมการยกร่างกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งที่เสร็จสิ้นไปประมาณ 2 ปีที่แล้ว แต่การเลือกตั้งเป็นไปอย่างล่าช้าเพิ่งจะสามารถจัดได้ในช่วงนี้ นับเป็นความล่าช้าในระบบงานราชการของการประกันสังคม
เราได้ก้าวมาสู่การเลือกตั้งกรรมการประกันสังคมในแบบการเลือกตั้งทั่วไป จึงขอพูดถึงสวัสดิการในความหมายที่เราผูกโยงกับประกันสังคม
- เราควรที่จะต้องกลับไปทำความเข้าใจอีกครั้งหนึ่งต่อสังคมไทย/สังคมสยามมาตั้งแต่โบราณ เราใช้คำว่าความร่มเย็นเป็นสุข ความผาสุก ความสุข การอยู่ดีกินดี แล้วล่าสุดในสังคมสมัยใหม่เราก็เลยใช้คำว่าคุณภาพชีวิตที่ดี มันก็เกิดขึ้นมาในช่วงประวัติศาสตร์ไทย จนถึงปัจจุบันนี้ รวบยอดของเรื่องพวกนี้ เราจัดให้มันอยู่ภายใต้คำว่า “รัฐสวัสดิการ” เพราะฉะนั้นมันก็เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันอยู่มาแต่อดีต แต่เรากำลังพยายามที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์ให้เกิดขึ้น
- ภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศยุโรป ซึ่งเริ่มจากประเทศอังกฤษเราได้รับรู้กันแล้วว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมนำไปสู่การก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก คนงานต้องอพยพมาจากชนบท ทำงานวันละ 10-15 ชั่วโมง ในหลายประเทศอุตสาหกรรมในประเทศยุโรป เริ่มจากประเทศอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานเด็ก ถูกใช้อย่างหนักในหลายประเทศ โดยเฉพาะยิ่งในอังกฤษซึ่งเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรม ทั้งแรงงานผู้ใหญ่และงานงานเด็กได้ถูกสั่งให้ทำงานรวมทั้งบังคับหรือที่เราเรียกภาษามาร์กซิสต์ว่ากดขี่ขูดรีดด้านแรงงาน มีมาอย่างมากในช่วงแรกของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
- มีการพยายามต่อสู้ของแรงงานส่วนหนึ่งและคนที่คิดเพื่อแรงงาน นักเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม ได้หาทางทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการทำงานอย่างต่อเนื่อง บุคคลสำคัญก็คือ โรเบิร์ต โอเวน ที่พยายามทำให้การทำงานของคนทั่วโลกลดจากวันละ 15 ชั่วโมงเหลือ 10 ชั่วโมง ในยุโรป แล้วในที่สุดก็ไปสำเร็จที่อเมริกาเหลือ 8 ชั่วโมงในปี 1836
- ความพยายามที่จะเคลื่อนไหวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตที่ดีแก่แรงงาน รวมถึงเรื่องที่สำคัญก็คือการให้หลักประกันในการทำงานที่มีการก่อตั้งสมาคมความมั่นคงทางสังคมนานาชาติขึ้น เริ่มกิจกรรมในปี 1927 ก็คือ ปี 2470 แต่ว่าก่อนหน้านั้นก็มีการก่อตั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศในปี ค.ศ. 1919 หรือ พ.ศ. 2462 สมัยรัชกาลที่ 6 เราก็เป็นประเทศสมาชิกก่อตั้ง และผลิตมาตรฐานแรงงานสากลออกมาเรื่อยๆ แต่ว่าก่อนหน้านั้นยังไม่ได้ทำเรื่องประกันสังคมหรือความมั่นคงทางสังคมโดยตรงมากนัก มันจึงเป็นกระแสการเคลื่อนไหวของการเสริมสร้างรัฐสวัสดิการในประเทศไทย
- เมื่อมีคณะราษฎรทางการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 ประกาศหลัก 6 ประการ โดยข้อ 3 คือ “จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก” อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ในฐานะมันสมองของคณะราษฎรจึงได้เสนอเค้าโครงการเศรษฐกิจและร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎร ในร่างพระราชบัญญัตินี้มีการพูดถึงการที่จะต้องช่วยเหลือทางการเงิน ดูแลเรื่องการทำงานให้กับบุคคลกลุ่มต่างๆ รวมทั้งในนั้นก็จะมีหญิงมีครรภ์ ค่าตอบแทน จนกระทั่งการเกษียณอายุ แต่เนื่องจากว่าเค้าโครงการเศรษฐกิจไม่ผ่านมติคณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการราษฎรในสมัยนั้น กฎหมายฉบับนี้ไม่เป็นจริง ค้างอยู่ แต่ว่าน่าจะเป็นจิตวิญญาณบางอย่างที่อาจารย์ปรีดีฝากไว้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในขณะที่ตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี เริ่มออกห่างจากจิตวิญญาณประชาธิปไตยพอสมควร แต่ก็ยังคงสนใจเรื่องความทุกข์ยากของแรงงาน จึงมีการออกกฎหมายประกันสังคม 2497 ได้สำเร็จ
แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง เพราะมีข้อกำหนดให้การประกาศใช้จริงจะต้องทำเป็นพระราชกฤษฎีกาซึ่งเล็กกว่าพระราชบัญญัติ เพราะถูกต่อต้านจากนายทุนบ้าง จากผู้ปกครองรุ่นเก่าบ้าง การต่อต้านว่าเป็นแนวคอมมิวนิสต์บ้าง ก็ทำให้ประกันสังคมไม่สามารถใช้ได้จนกระทั่งพ.ศ 2533 เมื่อมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย โดยอาจารย์นิคม จันทรวิทุร เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีขณะนั้น คือที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก มีคณะทำงานด้านแรงงาน ร่างกฎหมายประกันสังคม พร้อมกับการได้รับความร่วมมือจากขบวนการสหภาพแรงงาน นักวิชาการต่างๆ และที่สำคัญที่สุดก็คือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกพรรคการเมืองลงมติในสภาเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ให้กฎหมายฉบับนี้ผ่านสภาผู้แทนราษฎร แม้สมาชิกวุฒิสภาต่อต้านก็ไม่สำเร็จ เพราะสภาผู้ราษฎรยืนยัน สามารถออกใช้ได้เมื่อ 2533 แต่เราเริ่มเก็บเงินกองทุนประกันสังคมจริงๆ 2534
- กองทุนประกันสังคมมีสมาชิกและนายจ้างสมทบ รัฐบาลก็ให้บางส่วนด้วย ทำให้กองทุนประกันสังคม เป็นกองทุนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน
- ประเทศไทยยังมีกองทุนด้านสวัสดิการสังคมอื่นๆ มากมายมหาศาล ยกตัวอย่าง เป็นเพียงประมาณ เกือบ 20 กองทุน แต่ไม่ใช่เท่านี้ ยังมีอีก เพราะเรามีกฎหมายด้านสวัสดิการสังคมประมาณ 100 ฉบับ แต่เราก็ยังไม่สามารถที่จะสร้างรัฐสวัสดิการหรือคุณภาพชีวิตคนทำงานได้ดี เท่ากับการที่เราจะต้องเชื่อมโยงกองทุนอื่นๆ บูรณาการกองทุนอื่นๆ เข้ามาร่วมกันไป
- กองทุนที่พวกเราคุ้นเคยมากสำหรับผู้ใช้แรงงานนอกจากกองทุนประกันสังคมคือ กองทุนเงินทดแทน ซึ่งให้การรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยจากการทำงาน ยังมีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง และกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน เพราะฉะนั้นมีการทำงานร่วมกันของกระทรวงแรงงานกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว ก็เกิดกองทุนการออมแห่งชาติ ให้คนทั่วไปที่ไม่อยู่ในกองทุนทั้งหลายได้เป็นสมาชิก ยังมีกองทุนการกู้ยืมเพื่อการศึกษา กองทุนสารพัดทางด้านสวัสดิการชุมชน และในสถานประกอบการก็ยังมีการจัดบริการสวัสดิการผ่านการเรียกร้องเจรจาต่อรองมากมายที่เกิดขึ้นในภาคเอกชน ส่วนราชการเองก็กำลังมีการตื่นตัวในเรื่องของการจัดตั้งสหภาพแรงงานของข้าราชการเช่นเดียวกัน
- อย่างไรก็ตาม เรายังไม่มีเงินเพียงพอที่จะดูแลประชาชนไทยอยู่ดี เป็นไปได้ไหม ถ้าเราสามารถที่จะเอาเงินจากกองทุนทั้งหลาย 1-10% ตั้งเป็นกองทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน แต่จะต้องออกเป็นกฎหมาย ก็จะทำให้เรามีเงินมากมายมหาศาลขึ้น ในกรณีของประกันสังคมเรามีเงินอยู่ประมาณ 2.2 - 2.3 ล้านล้านบาท ถ้าให้ 10% ประจำปี ก็จะได้ถึงสองแสนกว่าล้านบาท แต่ถ้าเอาแค่ 1% ก็ 20,000 กว่าล้านบาท เพราะฉะนั้น ถ้าทุกกองทุนสนับสนุนคนละน้อย ก็จะช่วยแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตประชาชนได้มาก แล้วก็ถ้าทำมาก่อนหน้านี้ รัฐบาลเศรษฐาอาจจะไม่จำเป็นต้องไปออก พ.ร.บ. กู้เงินเพื่อเอาเงินมาแจกเงินคนละหมื่นบาท แต่ว่าเราจะต้องใช้คืน ก็ต้องทำให้การกู้เงินประสบความสำเร็จ
- ในฐานะที่การพัฒนาทั้งหลายให้มีความก้าวหน้าทันสมัย ประเทศไทย เราต้องยอมรับว่ามันจะสร้าง (การพัฒนา) ขึ้นมาได้ ต้องขออภัยที่อาจจะต้องพูดว่า การพัฒนาทางสติปัญญาหรือว่าภูมิปัญญาในสังคมเท่านั้นไม่พอ แต่มาจากการบูรณาการภูมิปัญญาจากต่างประเทศด้วย ไม่ว่าจะเรื่องประชาธิปไตย เราก็รับมาจากตะวันตก ความมั่นคงทางสังคมประกันสังคมก็เช่นเดียวกัน เราก็รับความคิดนี้มาจากสังคมตะวันตกที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมมากขึ้น เพราะฉะนั้นเราจึงจะต้องอยู่ร่วมกับองค์การต่างประเทศแล้วก็ใช้เขาให้เป็นประโยชน์ ทั้งในเรื่องของข้อมูล ความรู้ และการแลกเปลี่ยนต่างๆ
- มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางสังคมและประกันสังคมมีอยู่มากมาย 10 กว่าฉบับ ขอฝากผู้ที่ชนะการเลือกตั้งพิจารณาต่อไป โดยมาตรฐานขั้นต่ำที่เราใช้อยู่นี้ แบ่งออกเป็น 7 ประเภทของสวัสดิการ แต่มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ (อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 102) มันจะมีอยู่ 9 ประเภทสวัสดิการ
- เราจะต้องทุกทำให้กองทุนประกันสังคมรับใช้ปัจจุบัน เพราะเขาคิดมาตั้งแต่ 2495 กว่า 70 ปีแล้ว มันจึงจะต้องบูรณาการอย่างอื่น พื้นฐานง่ายๆ ถ้าเราคิดถึงที่เราเรียนมาตั้งแต่เด็กๆ ปัจจัย 4 เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค มันสามารถที่จะจัดการในในเชิงรัฐสวัสดิการได้ แต่พวกเราเผลอไปคุ้นเคยกันอยู่เฉพาะสวัสดิการโรงงานของผู้ประกันตน อยู่ในขอบเขตแคบๆ สิ่งแวดล้อม เราก็สามารถมองในเชิงสวัสดิการสังคม กายภาพเมืองทั้งหลายทั้งปวง และการคมนาคมด้วย
- เสนอให้ปรับเพดานขั้นสูงของการสมทบเงิน (จาก 15,000 บาท) เป็น 50,000 บาทได้ไหม และเราจำเป็นจะต้องปรับอัตราเงินสมทบที่มีอยู่แค่ 5% ให้ได้ในระดับสูงโดยเร็ว ไม่เช่นนั้น เราจะไม่มีเงินพอใช้ ผู้สูงอายุแบบผมและอีกหลายท่าน ถ้าเราไม่สมทบเงินอย่างเป็นระบบ
- ภายใน 25 ถึง 50 ปีข้างหน้า เราจะปรับเงินสมทบเพิ่มปีละ 0.5-1% ให้ได้เป็นร้อยละ 30 ได้ไหม คล้ายๆ ภาษีอัตราก้าวหน้า จึงเป็นส่วนที่เราจะต้องช่วยกันทำ
- ฝากพวกเราช่วยดูว่า เราจะส่งเสริมเงินกองทุนประกันสังคมให้มีการลงทุนเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพื่อสังคมอย่างไร เราจะต้องดูแลแรงงานข้ามชาติให้ดีขึ้นกว่าปัจจุบันอย่างไร มีหลายคนยังหลุด (จากระบบประกันสังคม)
- เราควรจะมีคณะกรรมการนโยบายที่เราเลือกตั้งทั่วไป แต่ว่ากรรมการบริหารกองทุนก็ควรจะมี เพื่อการคล่องตัวในการดูแลสำนักงานและเจ้าหน้าที่
- ผู้ประกันสังคมทั้งหมดจะต้องปรับการจัดเก็บ (เงินสมทบ) ในเชิงรายได้
- การเลือกตั้งกรรมการประกันสังคมคราวหน้า ไม่ควรต้องแจ้งขึ้นทะเบียนล่วงหน้าเพื่อเป็นลดความยุ่งยาก และสามารถลงคะแนนเลือกตั้ง ณ สถานประกอบการที่ตนเองทำงานได้เลย
- จะต้องทำให้กองทุนประกันสังคมและสหภาพแรงงาน ขบวนการแรงงานเข้มแข็งไปด้วยกัน ฝากคิดว่าทำอย่างไรให้ทั้งสองอย่างไปด้วยกันได้
- ควรมีคณะผู้ตรวจสอบกิจการประกันสังคมได้ไหม ที่จะมาจากการเลือกตั้งจากผู้ประกันตนโดยตรง
- ผู้สูงอายุซึ่งมักจะถูกทอดทิ้ง รับเงินบำนาญอย่างเดียว เราจะมีสมาคมสำหรับผู้เกษียณอายุได้ไหม เพื่อดูแลเขาเพราะสหภาพแรงงาน เมื่อ (สมาชิก) เกษียณแล้ว ก็มักจะหยุดการดูแลคนกลุ่มนี้
- สุดท้ายก็คือว่า เราจะทำอย่างไรให้มีผู้เข้ากองทุนประกันสังคมมากขึ้น คือข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ และประชาชนอื่นๆ ได้มีโอกาสเข้ามา
คุณสุจิน รุ่งสว่าง ตัวแทนผู้ประกันตนตามมาตรา 40
- ได้เห็นไทม์ไลน์ตั้งแต่ต้นว่า เกิดมาอย่างไรแล้ว ก็มาถึงปัจจุบันนี้ มาต่อกันอย่างไร และเรามีปัญหาอะไรบ้างที่ขยายมาสู่แรงงานนอกระบบให้ได้รับประโยชน์จากประกันสังคม
- มีปัญหาให้น้องๆ เข้ามาดูแล เพราะฉะนั้นกองทุนประกันสังคม เราต้องปรับ แล้วก็มองถึงความยั่งยืนด้วย
- ประกันสังคม ยังมีความแบ่งแยกกันอยู่ ยังไม่ได้เป็นประกันสังคมที่แนวคิดประกันสังคมคือเรื่องเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข เพราะอยู่ด้วยกันพี่น้องทั้งในระบบ-นอกระบบ ซึ่งมีอาชีพอิสระทั้งหลาย
- พ่อแม่เราเป็นอาชีพอิสระ เป็นฐานให้ลูกๆ หลานๆ เข้ามาถึงในระบบประกันสังคม เพราะฉะนั้นเราก็ต้องกลับไปมองถึงพ่อแม่พี่น้องปู่ย่าตายายที่อยู่นอกระบบด้วย ก็พอดีทำประกันสังคม เขาก็ขยายออกมาคุ้มครองพวกเราที่เป็นแรงงานนอกระบบที่มีอาชีพอิสระ
- ประกันสังคมมาตรา 40 ขยายออกมามี 3 ช่องทางด้วยกัน แบ่งพวกเราออกเป็นคนจนคนรวยและคนปานกลางเพราะมัน 3 ช่องทาง ช่องทางที่ 1 ที่ คนจนส่ง 70 บาท รัฐช่วย 30 ช่องที่ 2 เป็นคนปานกลาง 150 บาท แรงงานนอกระบบ 100 เงิน รัฐช่วย 50 บาท ส่วนคนรวยอยู่ช่องทางที่ 3 ส่ง 300 บาท รัฐช่วย 150 บาท คือมองแล้วคิดว่ามันควรมีแค่ 1 ช่องทางเท่านั้น และสิทธิประโยชน์เท่ากัน ผู้ที่จะเข้าไปเป็นตัวแทน มีแนวคิดอย่างไรกับระบบของประกันสังคมที่กำลังแบ่งพวกพี่น้องเราอยู่เป็นคนรวย/คนจน อะไรอย่างนี้ อยู่ในหลักการของประกันสังคมหรือเปล่า เราบอกว่าเราเฉลี่ยส่งเฉลี่ยจริงไหม เป็นตัวแทนก็อยากให้คิดถึงระบบประกันสังคมด้วย แนวคิดอย่างนี้คิดว่ามันไม่น่ามีในหมู่แรงงาน
- พวกเรานอกระบบไม่มีนายจ้าง เรากับรัฐ แล้วกฎหมายประกันสังคมบอกว่ารัฐสมทบได้ไม่เกินกึ่งหนึ่ง แต่ตอนนี้รัฐสมทบไม่ถึงกึ่งหนึ่ง เราก็อยากชวนพี่น้องที่สมัครให้มองว่ามันควรจะปรับกฎหมายให้เป็นครึ่งๆเลยไหม
- ตอนนี้ประกันสังคมมาตรา 40 คนที่มีรายได้น้อย พอเข้าไปอยู่ในระบบแล้ว ไม่สามารถที่จะส่งต่อได้ อยากให้เข้าไปปรับเรื่องนี้ให้มันสมดุล ก็เพื่อพี่น้องเราที่มีรายได้น้อย
- ตอนนี้รู้สึกว่าจะได้อะไรน้อยลงไปเรื่อยๆ น้องๆ ที่ส่งอาหารเป็นหลักก็เลยไม่กลายเป็นร่มใหญ่ที่มาครอบคลุมแรงงานนอกระบบทั้งหมด และไปออกกฎหมายลูกเอาไว้โดยคุ้มครองกลุ่มไหนอย่างไร มันไม่ได้มีเรื่องการคุ้มครอง
- เรื่องบริหารจัดการกองทุนประกันสังคม เราอยากเห็นกองทุนประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระซึ่งไม่มีนักการเมืองและราชการเข้ามาแบบมีอำนาจ
- คนชายแดนอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ต้องเดินทางมาที่จังหวัดเพื่อมาเลือกตั้งควรมีค่ารถ
- (ผู้ประกันตนมาตรา 40) 10 กว่าล้านคน ส่งเงินต่อเนื่องจริงๆ แค่ล้านกว่าคน เพราะฉะนั้นเข้ามาน้อยมาก
- คณะกรรมการกองทุนประกันสังคมไม่ควรมีอายุแค่ 2 ปี ไปดูงานจบแล้วกลับมายังทำอะไรไม่ได้เลย ยังไม่ได้มาพัฒนาอะไรเลย หมดเวลาแล้ว ก็คิดว่าควรจะเป็น 4 ปี
คุณวิภา มัจฉาชาติ ตัวแทนผู้ประกันตนตามมาตรา 39
- ครั้งนี้ถือว่าพวกเราได้มีโอกาสได้เลือกบอร์ดประกันสังคมเอง ซึ่งกว่าจะได้มา หลายๆ ท่านอาจจะทราบดีคือ ขบวนการแรงงานเพื่อสิทธิประชาชนเราติดตามมาตั้งแต่ปี 2564 ประเทศไทยมีครั้งแรก
- มาตรา 39 ก็ส่งเงินเอง ทำไมเราถึงไม่สามารถที่จะส่งได้ติดต่อกัน 36 เดือน เราเป็นแรงงานอิสระที่รับจ้าง ไม่ใช่อิสระเป็นผู้บริหารหรืออะไรอย่างนี้ ก็คือความมั่นคงในการทำงานน่ะมันไม่มั่นคงที่เราจะสามารถส่งต่อติดกันถึง 30 เดือน อาจจะขาดหรืออาจจะเกิน อาจจะเป็นคร่อมเดือน (แต่) เราถูกตัดสิทธิ์หมดเลย
- ผู้ที่จะไปใช้สิทธิ์ ก็ต้องลงทะเบียนก่อนซึ่งเราต้องยอมรับกันว่า การประชาสัมพันธ์ของประกันสังคม มันไม่ทำให้พวกเราจะไปลงทะเบียนได้หลายๆ คน จนต้องไปขอให้ขยายสิทธิ์ บางคนก็ไม่รู้เลยว่ามีการเลือกตั้งบอร์ด ต้องมีการลงทะเบียนก่อน นอกจากคนที่จะติดตามจริงๆ แบบใกล้ชิด
- พวกเรา 12 ล้านคน แต่มีผู้ไปลงทะเบียนแค่ 900,000 คน ซึ่งมันน้อยมากกับเงินงบประมาณที่มาใช้ในการนี้
- งบของประกันสังคมที่มี 2.3 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่ผู้ประกันตนในระบบมาตรา 33 จะเข้าใจมากกว่า จะรู้พูดกันโดยเฉพาะรู้เรื่องว่ามันมีงบการศึกษา หลายๆ ท่าน พวกพี่ๆ ที่อยู่สภาใหญ่ๆ น่าจะรู้ว่ามีงบโครงการอะไรต่างๆ ที่ในแต่ละสภามีงบที่จะไปศึกษาเรื่องประกันสังคมเรื่องอะไรอย่างนี้ แต่เราก็ไม่รู้ว่าศึกษาอย่างยาวนานอย่างไร
- เราก็อยากจะนำเสนองบตรงนี้ให้มันกระจาย ถามว่ามาตรา 40 มาตรา 39 ก็ไม่เคยได้พบตรงนี้ที่จะมาปรึกษาหรือเรียนรู้เรื่องประกันสังคมเลย ดังนั้นก็อยากจะให้กระจายงบตรงนี้
- เรื่องงบที่มันล้นเกินที่มันไม่จำเป็นไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ เช่น เรื่องการทำปฏิทิน ก็ใช้เยอะเหมือนกัน เคยไปเยี่ยมเยือนสภาต่างๆ เหมือนกัน ก็ไปกองเอาไว้ ซึ่งมันไม่มีประโยชน์ ดังนั้นเราเปลี่ยนจากงบตรงนี้มาทำเป็นเงินอุดหนุนเด็กดีไหม
- สำหรับเรื่องบำนาญของมาตรา 39 พอมันไม่เคยเป็นมาตรา 33 ส่งมาตรา 33 มา 10 กว่าปี พอถูกเลิกจ้างมาเป็นมาตรา 39 ไปส่งมาอีก 10 กว่าปี ในการคิดเงินบำนาญอย่างนี้ มันจะอยู่ที่ (ฐาน) 4,800 บาท ซึ่งเราก็ส่งมาอยู่ที่ส่ง 432 บาท พอคำนวณเรื่องบำนาญ ได้น้อยมาก แทบจะมันใช้ไม่ได้จริงในการดำรงชีวิต เพราะว่าเราเกษียณอายุ 55 แต่ชีวิตเราไม่ได้จบแค่ 55 ชีวิต เราต้องดำเนินการต่อซึ่งอยู่ในยุคประเทศนี้ รัฐสวัสดิการก็ไม่ได้ครอบคลุมกับคนทำงานหรือคน 99% เท่าไหร่ ดังนั้นในส่วนของเราที่เป็นมาตรา 39 หรือเป็นผู้จัดการตนอย่างนี้ ยังไม่มีอะไรที่จะมั่นคงหลังจากเกษียณเลย
- อยากจะฝากตรงนี้ ว่าช่วยไปดูแลทั้งมาตรา 33, 39, 40 ให้มันถ้วนหน้า เราอยากได้ประกันสังคมถ้วนหน้ามากกว่า ซึ่งมันจะช่วยให้ความมั่นคงของพี่น้องแรงงานและผู้ประกันตนด้วย
- หลายท่านลองไปลงพื้นที่ ถามดูว่าจริงๆแล้วอยากส่งประกันสังคมในยุคปัจจุบันไหม ไม่อยากส่งนะ เพราะมันไม่ตอบโจทย์ หรือมันไม่คุ้มค่าในการส่ง เพราะว่ามันมีความเปรียบเทียบกับประกันชีวิตอะไรอย่างนี้ อย่างในโรงงานบางคน ก็มันไม่อยู่ในระบบอยู่แล้ว โรงงานมันหักไปเอง ถ้าถามว่ามาส่งเองอย่างมาตรา 39, 40 มันไม่ได้
- สิ่งที่เราต้องการก็คือ ปฏิรูปในระบบประกันสังคม แก้ระเบียบการเลือกตั้งต่างๆ แล้วก็เรื่องงบต่างๆของประกันสังคมที่ให้เอามาใช้กับผู้ประกันตนอย่างแท้จริง ไม่ให้งบมันกระจุกอยู่ที่ใดที่หนึ่ง ให้กระจายมาให้ผู้ประกันตนทั้ง 3 มาตรา
- งบที่ล้นเกินไม่จำเป็นต่อในยุคสมัยนี้ก็ลดลงบ้าง
คุณสุธิลา ลืนคำ ตัวแทนผู้ประกันตนตามมาตรา 33
- คนที่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจโควิดวิกฤตเศรษฐกิจอะไรต่างๆ มันก็ถูกผลักให้ออกไปสู่นอกระบบ ไปสู่มาตรา 39 โดยส่วนตัวแล้วตัวเองก็เป็นผู้ประกันตนมาตั้งแต่ปี 2534 ตั้งแต่ค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 78 บาท
- เชื่อว่าทุกคนที่มานั่งอยู่ในนี้ ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการหรือโดยส่วนมากแล้ว เท่าที่ดูหน้าตาพี่น้องแล้ว ก็จะมาเป็นคนทำงานที่อยู่ในโรงงานที่หลายๆ ภาคอุตสาหกรรม เชื่อว่าสิ่งที่จะพูดต่อไปนี้ เรื่องของประกันสังคม อยู่ในหัวใจ ทุกคนก็ได้มีส่วนร่วมผลักดันเรียกร้องกันมา ถือว่าอยู่ในประวัติศาสตร์กันทุกคนเลยที่นั่งอยู่ ณ ที่นี้
- เราพยายามผลักดันว่า เรื่องของการเรียกร้องประกันสังคม ไม่ว่าจะเป็นมาตรา 33, 39, 40 หรือพี่น้องแรงงานต่างชาติ หรือคนทำงาน เราพยายามใช้คำว่าคนทำงานประกัน เราไม่อยากแบ่งแยกเหมือนอย่างที่ป้าสุจินบอก ทำไมตอนที่เราทำงาน เราส่งเงินเป็นมาตรา 33 เพราะตกงานเราไม่มีนายจ้างเราส่งให้กับนายจ้างอีกเป็นมาตรา 39 แล้วก็มาผลักดันเป็นแรงงานนอกระบบ นิยามเหล่านี้มันเป็นนิยามของคุณ นิยามของรัฐที่พยายามแบ่งแยกพวกเรา ทั้งที่เราเป็นคนทำงาน
- ฝากบอร์ดประกันสังคมหลายๆ ท่านที่ลงสมัคร ต้องคิดต้องทบทวนกัน ต้องมาอยู่ในหัวใจของพวกท่านเลยว่าประกันสังคมมันต้องครอบคลุมกับคนทำงาน แล้วก็ถ้วนหน้าเพราะสิ่งที่เราคุยกันมายาวนานเรื่องสิทธิประโยชน์ ถามว่าตอนนี้มาตรา 33 มันมี 7 กรณีสิทธิประโยชน์ ต้องมีการปรับปรุง หลายๆ อย่าง หลายๆ กรณี ไม่สอดคล้องกันเลยเหมือนอย่างเราไปทำฟันตอนนี้ได้ 900 บาท บางคนไม่ได้ไปทำต่อปีเพราะไปทำ 900 ไปทำอะไรได้ ขูดหินปูนไปอ้าปากให้หมอ แล้วก็มิหนำซ้ำ เราต้องเสียค่าธรรมเนียม 50 บาททุกครั้ง เราก็พยายามที่จะไปใช้ ถามว่าพอเราไปใช้ แล้วมันต้องมีส่วนต่าง เหมือนเราฟันผุอย่างนี้ พอเราไปทำ 900 บาท ก็ต้องมีส่วนต่าง ไปครอบรากฟัน มันใช้หลักหมื่นกับภาวะค่าครองชีพที่เราได้กับค่าจ้างขั้นต่ำ ตอนนี้มันไม่สอดคล้องกัน อันนี้ทุกคนก็รู้ว่ามันไม่เพียงพอ
- ควรที่จะต้องปรับปรุงในเรื่องของสิทธิประโยชน์เจ็ดกรณี
- ในเรื่องของการส่งเงินสมทบ เราก็พูดกันมายาวนาน ย้อนกลับมาที่มาตรา 39 มีกฎหมายบ้านเมืองไหน คนที่ตกงานมันไม่มีนายจ้าง แต่ตัวรัฐต้องไปส่งแทนนายจ้างเพื่อที่จะได้ใช้สิทธิ์ เราส่งแทนลูกจ้างต้องส่งแทนก็เขาตกงานเข้าไปอยู่มาตรา 39 กฎหมายมันตลก
- ทำไมมันจะต้องไปส่งแทนให้กับนายจ้าง แทนที่จะเอาส่วนที่เขาส่งไป 432 บาทไปส่งทดแทน คุณวิภาก็บอกอยู่ว่าตอนนี้เวลาเขาได้รับ แค่เดือนเท่าไหร่เอง ไม่ถึง 2,000 บาทด้วยซ้ำ แล้วมันจะไปพอกินอะไร แทนที่ 430 บาท ก็ต้องไปหยอดกระปุกให้เขาเป็นกรณีฉลาก อันนี้ตลกมากจริงๆ แล้วแบบตลกจนไม่รู้จะตลก แต่เราก็ยังยืนหยัดที่มันควรที่มายื่นมือช่วยตรงนี้มาตรา 39
- เรื่องของการบริการการคุ้มครอง เรามักจะได้ยินผู้ประกันตนหรือแม้แต่ตัวเองก็เหมือนกัน เวลาเราไปใช้บริการทางการแพทย์เข้ารับการรักษา ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลของรัฐหรือเอกชน เราจะเจอปัญหาบ่อยๆ เรื่องเหล่านี้มาตรฐานการรักษา บางโรงพยาบาลดีบางโรงพยาบาลไม่มีมาตรฐานการรักษา ทุกครั้งที่ผู้ประกันตน ถ้าใครปากเก่งปากแจ๋วหน่อยไปเรียกร้องทวงสิทธิของเราเรียกร้องการรักษาวินิจฉัยผิดก็ได้รับเงินเยียวยา แต่มันจะมีคนงานอีกสักกี่คนที่เขาจะกล้าลุกขึ้นมาพูดปาวๆนี่สิทธิของฉัน การรักษาการบริการ ฉันเป็นเจ้าของเงินนะ โรงพยาบาลจะต้องดูแลฉันอย่างดีอะไรอย่างดี แต่อันนี้ไม่เลย หลายๆท่านเชื่อว่ารับทราบกันอยู่ดี เรื่องของการบริการการรักษา ดิฉันอาจจะพูดตลอดเวลาเลยเวลาไปเรียกร้องประกันสังคมหรือไปที่สำนักงานประกันสังคมว่าอย่างน้อยๆเรามานี่ ต้อนรับเราดีๆหน่อย เราเป็นเจ้าของเงินนะเราเป็นเจ้าของเงินเรามีสิทธิ์ที่จะไปพักทวงสิทธิ์ของเรา
- การรับบริการการรักษา เราควรได้รับมาตรฐาน สิ่งเหล่านี้เราพูดกันมายาวนานมาก แต่ไม่เคยได้รับการแก้ไขไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิประโยชน์ของการคุ้มครอง 7 กรณี
- กองทุนประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน เพราะขณะที่นั่งรถมาก็เห็นอาจารย์โชคชัยพูดถึงเรื่องกองทุนเงินทดแทนอยู่เหมือนกัน ประเด็นนี้สิ่งต่างๆเหล่านี้ มันต้องพูดแล้วพูดย้ำอีก
- หวังว่าครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เราได้รับเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม ได้คนของเราเข้าไปจริงๆ ถึงแม้ว่าการไปลงทะเบียนในครั้งนี้ มีข้อจำกัดมาก
- ดิฉันนี่กว่าจะลงทะเบียนได้เจ้าหน้าที่ประกันสังคมจังหวัดปทุมธานีวุ่นวายกันเพราะว่าดิฉันเข้าไปลงทะเบียนในเว็บไซต์ไม่ได้ มีคนสวมสิทธิ์จนต้องเอาบัตรประชาชนไปที่สำนักงานประกันสังคม แล้วก็พยายามลงทะเบียนถึงจะลงได้ แล้วมันจะมีอีกสักกี่คนที่เขาจะมีความพยายามเข้าไปในเว็บไซต์ได้ ข้อจำกัดเหล่านี้เสียดายเงินงบประมาณ แต่ก็อย่างน้อยๆ มันก็เป็นการเริ่มหนึ่ง
- ครั้งนี้มันอาจจะได้ไม่ดี แต่อย่างน้อยๆ ประชาธิปไตยเกิดขึ้น และที่เราเรียกร้อง เราได้เอาตัวแทนของเราเข้าไป เรื่องของการมีส่วนร่วมของผู้ประกันตนอันนี้สำคัญมาก หรือรวมถึงบอร์ดประกันสังคมแล้ว ดิฉันคิดว่ามันก็คงจะไม่มีอีกแล้วที่มันจะมีการรัฐประหาร รัฐบาลรัฐประหารก็ไปแต่งสร้างคนของตัวเองเข้ามาโดยกดตัวแทนของลูกจ้างทุกภาคส่วนลงมา คาดหวังว่าชั่วชีวิตนี้ คงจะไม่ได้เจอแบบนี้อีกแล้ว นับหนึ่งครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมที่เป็นจากตัวแทนของพวกเรา และมีความหลากหลายคุณสมบัติ หลายๆ ท่านที่ไป (จะ) เป็นตัวแทน ก็มาจากคนงานจริงๆ อันนี้เราก็เห็นแล้ว ก็เห็นการต่อสู้อยู่ในประวัติศาสตร์กันมาตลอดระยะเวลา ก็คิดว่าครั้งนี้มันเป็นการนับหนึ่ง แล้วก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี
- มาพูดถึงภาพรวมของกองทุนประกันสังคมกับกองทุนเงินทดแทนก็เหมือนอย่างที่บอกว่า พวกเราลูกจ้างเราส่ง 5% อย่าคิดจากรายได้ของเรานายจ้าง 5% อันนี้ก็ถ้ามีโอกาสที่จะได้ปรับฐานตรงนี้ เราคิดว่าทำความเข้าใจการสื่อสารกับผู้ประกันตน ถ้าไม่มีการปรับเพิ่มตรงนี้ขึ้น เรามองว่าในเรื่องของบ้าน เรามันยังไม่มีรัฐสวัสดิการ ถ้าเกิดว่าพวกเราอายุ 55 ปีไปแล้ว อย่างน้อยๆ เรายังมีกองทุนชราภาพ อย่างน้อยๆ ตรงนี้เป็นหลักประกันชีวิตของเราอย่างหนึ่ง เพราะว่าคนอื่นไม่รู้ แต่ถ้าสำหรับดิฉันตอนนี้ ดิฉันก็รอคอยเงินก้อนนี้อยู่ เพราะเราถือว่าเราเป็นผู้ประกันตนมานาน ก็อยากจะเพิ่มในเรื่องของสิ่งที่มีประโยชน์ตรง
- ต้องฝากบอร์ดว่ารัฐเอง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลยุคไหนก็ยังเป็นหนี้กองทุนประกันสังคมของเราอยู่ เวียนหัวอยากได้โน่นได้นี่ ชี้เอาสั่งเอา แต่หน้าไม่อาย หน้าด้านมาก อันนี้ต้องเรียนกันตรงๆ ว่า นอกจาก (รัฐบาล) ส่งน้อยแล้ว ยังมาจับจองเป็นเจ้าของเงิน ที่ผ่านๆ มาเราจะไม่เอ่ยนามว่ารัฐมนตรีคนไหนเพราะอันนี้เรามีหลักฐานเชิงประจักษ์หรือถ้าใครอยากจะโต้ก็โต้ได้ว่ารัฐส่งแค่ 2.75 แล้วมันถูกต้องหรือ ในขณะที่เราเป็นคนงาน เราขายอยากเหงื่อแรงงานของเรา เราส่ง 5% นายจ้างก็ 5% รัฐควรที่จะส่งเท่าเรา หรือถ้าคิดว่าเรามันเป็นรัฐที่ดีกับประชาชน มันควรที่จะเพิ่มก็ได้ ไอ้เงินที่ติดหนี้ ก็เอามาไปซื้อไปทำอะไร ไปทำได้ซื้อได้ แต่เงินที่ติดหนี้เป็นเงินของพวกเรา คุณกลับไม่ใช้คืออันนี้ ฝากไว้เลยเป็นหัวใจหลักจริงๆ เลยที่ใครที่เข้าไปเป็นบอร์ดประกันสังคม อย่าให้ใครลากไปลากมา
- เราคาดหวังว่าผู้สมัครหลายๆ ท่านที่เราไว้วางใจที่เราจะเลือกคุณเพราะดิฉันเองก็มีโพยไว้แล้ว ขั้นต่ำไว้แล้ว เราเองก็จะต้องติดตาม แล้วก็เราคาดหวังตรงนี้จริงๆ
- ประกันสังคมมันต้องอิสระจริงๆ แล้วมันต้องถ้วนหน้า โดยเฉพาะคนทำงานกลุ่มไรเดอร์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มนวด คนเหล่านี้เขาเป็นคนทำงานเขามีกำลังจ่ายประกันสังคม คนทำงาน บริษัท แพลตฟอร์ม เพราะยุคสมัยมันเปลี่ยนแล้ว ประกันสังคมมันควรที่จะย้อนกลับมาคุ้มครองคนทำงาน โดยการมีส่วนร่วมของผู้ประกันตน
คุณอดิศร เกิดมงคล เครือข่ายเครือข่ายแรงงานข้ามชาติ
- วันนี้แรงงานข้ามชาติไม่สามารถเลือกตั้งกรรมการประกันสังคมได้ เนื่องจากว่ากระทรวงแรงงานกำหนดตัวคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ไม่รวมแรงงานต่างชาติ 4 สัญชาติ ไม่รวมกลุ่มบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยที่ไม่ได้ยังไม่มีสัญชาติไทยด้วย หลักๆ ก็ประมาณ 1.5 ล้านคน แล้วกรรมการประกันสังคมสักกี่คนจะสนใจเขา ตัวประกาศกระทรวงแรงงานจึงขัดกับหลักสากล
- แรงงานที่ทำงานในประเทศไทยจริงๆ ในตอนไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ มีตัวเลขของผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานข้ามชาติประมาณ 1.9 ล้านคน ประมาณนั้น ตัวเลขมันหายไปจากระบบ 7 แสนกว่าคน ทำไมคนกลุ่มนี้ถึงหลุดจากการเป็นผู้ประกันตน
- กลไกการทำงานของพนักงานประกันสังคมทำไมอยู่ๆ คนหายไป เราจะจัดการกันอย่างไร
- ประเด็นหนึ่งที่เป็นปัญหาโดยตรงคือ ถ้าเราไปดูเรื่องของการป่วยของคนในปัจจุบัน 5 อันดับแรกที่จะเป็นโรคที่เกิดขึ้น มันเป็นโรคที่ไม่ติดต่อ คือโรคที่เราสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลหรือไปกระตุ้นให้เกิดกลไกการส่งเสริมป้องกันโรคให้ชัดเจนมากขึ้น
- ควรคิดเรื่องของสิทธิประโยชน์เรื่องการรักษาพยาบาลโรค ไม่ใช่แค่เรื่องการรักษาอย่างเดียว
- การรักษาที่เจอก็คือ พอไปถึงโรงพยาบาล รอนานมาก ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ไปนั่งรอหมอประมาณ 3 ชั่วโมงกว่าจะได้รักษา
- แรงงานข้ามชาติในกรณีชราภาพ ถ้าเกิดต้องกลับบ้าน ไม่สามารถไปขอรับสิทธิได้เลย สำนักงานประกันสังคมบอกว่าถ้าจะใช้สิทธิ์นี้ให้ทำข้อตกลงระหว่างไทยกับประเทศนั้น ก่อนมันจึงจะทำได้ ซึ่งไม่มีประเทศไหนที่ทำข้อตกลงกับใครตอนนี้
- ปัญหาที่เราเจอ ก็คือว่าของประกันสังคมเมื่อจะคลอดบุตร ต้องออกไปก่อนแล้วก็ค่อยเบิกทีหลัง เกิดภาวะการกู้เงิน มันก็เกิดภาวะเงินดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นมาแทน
- เรื่องการเชื่อมโยงกับข้อมูลตัวเลข ฐานข้อมูลมันไม่ตรงกัน
- เรื่องของการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คือมันมีการคาดการณ์ว่าในปี 2583 ตัวเลขของกำลังแรงงานไทยจะลดลงอย่างน้อย 6 ล้านคน แต่ว่าตอนแรกล่าสุดบอกว่าไม่ใช่แล้วอีกประมาณ 10 ปี ตัวเลขมันจะหายไป 7 ล้านขึ้นไป ดังนั้น เราจะเอาเงินตรงไหนมาดูแลผู้สูงอายุ
- เรื่องของการปฏิรูปคือ ผมกำลังสงสัยว่าเงินสมทบปัจจุบัน อาจารย์บอกว่ามันควรปรับ 15,000-50,000 คือระบบการคิดแบบนี้ (เอา) ไหม จะต้องไม่เพียงแก้ไขแค่เรื่องของการออกแบบ แต่ต้องแก้กฎหมายด้วย
- รวมถึงเรื่องการลงทุนคือ การเอาตัวรายได้ทั้งหลายไปฝากกันลงทุน มันตอบโจทย์จริงหรือไม่ ในอนาคต เพราะฉะนั้นเรื่องการลงทุนอีกเรื่องหนึ่งต้องมานั่งๆ ดูเห็นว่าทำอย่างไรให้เราไม่หวังพึ่งให้การลงทุนอย่างเดียว
- เราจะต้องรับแรงงานต่างชาติมาเพิ่มมากขึ้น เพราะระบบการผลิตเปลี่ยน กลุ่มคนที่เป็นผู้ประกันตนที่เป็นต่างชาติ ก็จะกลายเป็นคนกลุ่มใหญ่ จะออกแบบประกันสังคมให้มันตอบโจทย์ควรเป็นอย่างไร แต่ว่าอยากให้คิดถึงกรอบของความหลากหลายด้วย
ช่วงที่สอง เวทีเสวนา “เลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม ปฏิรูปอะไร? อย่างไร?”
คุณชินโชต์ แสงสังข์ ทีมสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย (เบอร์ 3, 12, 13, 14, 15, 16, 17)
- ผมเป็นคนแรกในประเทศไทย เป็นประธานคณะทำงาน (ในคณะกรรมการประกันสังคม) ในการติดตามทวงหนี้รัฐบาล แต่ถูกปลดออกด้วยมาตรา 44 (ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557)
- ขอแถลงนโยบาย 3-4 ข้อหลักๆ ข้อแรกก็คือ วันนี้เงินบำนาญชราภาพ เราถูกกำหนดอยู่ว่า 20% ของเงินเดือนสูงสุดก็คือ 15,000 บาท จึงเสนอว่าอย่างน้อยสุดต้อง 30% ที่จริงผมอยากจะบอกสัก 50% 60% ก็ได้
- ฐานบำนาญของคนที่ใช้มาตรา 39 เห็นด้วยว่าต้องใช้ฐานเงินเดือนสุดท้าย
- ระบบประกันสังคมคือระบบเฉลี่ยทุกเฉลี่ยสุข ตอนที่แข็งแรงร่างกายกำยำ ส่วนใหญ่ไม่ป่วย แต่พอเราป่วยเราแก่เกษียณหลังอายุ 50 ปีเราคือรักษาพยาบาลเราส่งเงินเข้ากองทุนมายาวนาน สุดท้ายพอเรารับเงินบำนาญชราภาพ เราหมดสภาพจากการรักษาพยาบาล
- มนุษย์ในประเทศไทยมี 3 หัว หัวราชการ หัวประกันสังคม หัวประกันสุขภาพ ต้องเราต้องกลับไปใช้ระบบบัตรทอง แต่สภาพของโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขเห็นเตียงไปไว้หน้าห้องน้ำ หรือบุคคลเราไม่มีสิทธิ์เลือกโรงพยาบาลเลย ไม่มีสิทธิ์รักษาในระบบประกันสังคมเลย เมื่อเราอายุ 55 แล้ว ก็รับเงินบำนาญมันผิดกฎหมาย เนรคุณ คนแก่ยิ่ง (ควร) ได้รับการดูแลเพราะตอนคนหนุ่มสาวเขาไม่ได้ป่วยเขาไม่ป่วยร่างกายแข็งแรง คนแก่ทุกคนต้องป่วย
- เราเคยเรียกร้องกันมายาวนานตอนนี้เงียบไป ยังไม่เคยได้ยินองค์กรไหน คำว่าองค์กรอิสระต้นเรื่องๆ นี้คือ อาจารย์อัมมาร สยามมาลา เป็นคนคิดสูตรเรื่องเอาประกันสังคมออกนอกระบบ ทำไมถึงออกนอกระบบ วันนี้เราเป็นเจ้าของเงินเราจ่าย 5% รัฐบาลจ่าย 2.7% แต่โครงสร้างเขียนไว้ชัดเลย กระทรวง/เลขาประกันสังคมเป็นเลขาคณะกรรมการประกันสังคม และข้าราชการดูแลเงินเรา 2.3 ล้านล้านบาท ข้าราชการที่มาดูกองทุนที่จะเอาเงินไปลงทุน เป็นกองภายใน จะมีศักยภาพอะไร
- เรามีเงิน 2.2 ล้าน 2.3 ล้านนี้ ไม่ใช่เงินสมทบที่เก็บไปจาก 3 ฝ่ายทั้งหมด เงินกว่า 5 แสนล้านมาจากกำไรของการลงทุน ถ้าเป็นองค์กรอิสระมีการลงทุนอย่างมีศักยภาพ เราลงทุนที่มันไม่เสี่ยงไม่เจ๊ง เงินกองทุนจะมีศักยภาพมากกว่านี้
- อีก 18 ถึง 22 ปี กองทุนที่เรามีเยอะๆ หมด เพราะฉะนั้นข้อนี้เป็นอีกข้อหนึ่งที่ผมฝากไว้
ดร.ปิยรัชต์ สมาทา ทีมประกันสังคมเพื่อแรงงานไทย (เบอร์ 49, 50, 51, 52, 53, 54 และ 55)
- ทีมเรามีทั้งหมดอยู่ 9 สภาองค์การลูกจ้างที่หล่อหลอมรวมกันเพื่อจะอาสาในการที่จะมารับใช้ แล้วก็ดูแลผู้ประกันตน ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่พวกเราเองมีสิทธิ์ในการเลือกผู้ประกันตน ซึ่งพวกเรามีทั้งผู้อาวุโส ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และก็มีทั้งส่วนหลายๆ ส่วน นักวิชาการหล่อหลอมโดยการเป็นที่ปรึกษาด้วย
- ขออนุญาตยกเรื่อง 5 เรื่องด้วยกัน เรื่องแรก นโยบายที่พวกเราพยายามจะเร่งให้ความสำคัญคือ ธนาคาร พวกเราเชื่อว่าจริงๆ แล้ว กองทุนประกันสังคมมีเม็ดเงินใหญ่มหาศาลอย่างที่พวกเราทราบกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เราขาดไปก็คือการมีธนาคารที่เรามีอำนาจต่อรอง เราอาจจะไม่ต้องตั้งธนาคารเป็นของตัวเองก็ได้ แต่ทำอย่างไรกับแต่ละธนาคารเพื่อจะให้ผู้ประกันตนมีสิทธิ์ มีอำนาจ และมีพลังในการไปต่อรองเรื่องดอกเบี้ย ยกตัวอย่าง บริษัทยังสามารถไปต่อรองกันธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ดอกเบี้ยลดลงมากกว่าท้องตลาด 1% แค่ง่ายๆ คือสหภาพแรงงานยื่นให้บริษัทคุยกับธนาคาร ทำให้เห็นได้ว่าแค่อัตราดอกเบี้ย ก็สามารถที่จะมีอำนาจต่อรองได้ สำหรับให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงการเงิน หรือการที่จะกู้หนี้หรือทำสินเชื่อต่างๆ
- เรื่องที่ 2 โรงพยาบาล เรามองเห็นภาพคุณภาพการดูแลของโรงพยาบาลกับผู้ประกันตน มีความแตกต่างกันมากกับผู้ที่เอาไปใช้สิทธิ์ไปใช้สิทธิ์ตามทั่วๆ ไป เป็นสิ่งที่ทำให้มองเห็นว่า ในเมื่อเราเป็นผู้ประกันตน ในเมื่อเรามีโอกาส เราจะทำอย่างไรที่จะยกระดับให้โรงพยาบาลต่างๆ สามารถที่จะรองรับหรือดูแลผู้ประกันตนอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพได้อย่างที่แท้จริง เรามีอำนาจต่อรอง เรามีกองทุนใหญ่เพราะอะไร ผมพูดอย่างนี้ เพราะอะไร เราสามารถจะเลือกได้เลย เราสามารถต่อรองเปลี่ยนโรงพยาบาลเพื่อให้รู้ว่าเขาจะได้ใส่ใจผู้ประกันตนอย่างพวกเราอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ใช่เราเป็นประเภท 2 เพื่อจะดูแลและยกระดับว่าโรงพยาบาลต่างกันเขาไม่ต้องรักษาพยาบาลอย่างพวกเราเป็นผู้ประกันตนอย่างมีคุณภาพ
- เรื่องต่อมา เราจะต้องใช้เงินในอนาคตอย่างแน่นอน ทุกท่าน หลายๆ ท่านที่อยู่ที่นี่อาจจะไม่เกษียณ แต่ในอนาคตทุกคนต้องเกษียณ และต้องจะได้เงินบำนาญตลอดชีวิต นั่นก็หมายความว่าบำนาญต้องสอดรับกับสถานการณ์อัตราเงินเฟ้อและสภาวะเศรษฐกิจของแต่ละปีช่วงๆ ไป ฉะนั้นควรจะมีการปรับเปลี่ยนทุกระยะ 3 ปี 5 ปี เพื่อจะให้สอดรับในสิ่งที่จะเกิดขึ้นว่าอัตราเงินเฟ้อต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถที่จะสอดรับได้ว่า ค่าครองชีพต่างๆ ของผู้ประกันตน อย่างพวกเราที่เกษียณไปสามารถที่จะมีเม็ดเงินรองรับได้ ในการที่จะอยู่ดูแลตัวเอง ได้จุนเจือตัวเองได้ในอนาคตไปตลอดชีวิตได้
- เรื่องต่อมาก็คือการบริการและบริการดูแลผู้ประกันตน นั่นก็หมายความว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่เราจะต้องไปกระตุ้น ไปให้เขาเห็นความสำคัญว่าผู้ประกันตนอย่างพวกเรา 10 - 20 ล้านคน เรามีใช้บริการกับเขา เราก็ต้องดูแล แล้วก็ให้สิ่งที่เขารู้สึกว่าเขามีความพึงพอใจที่อยากจะบริการกับเรา หลายๆ คนไปแล้ว บรรยากาศไม่ดีเพราะอะไร เขาไม่ได้คิดว่า เราคือผู้ต้องไปใส่ใจในการที่จะได้รับการบริการที่ดี แต่สิ่งหนึ่งคือ เราต้องไปจูงใจให้เขารู้สึกว่าให้เขาบริการกับเราให้ดีมากขึ้น นั่นก็คือดูแลเจ้าหน้าที่จับคู่ประกันตนที่เขาดูแลแต่ละจังหวัด เพื่อเมื่อไปใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นทางออนไลน์หรือเป็นทางที่ไปหาแต่ละสำนักงาน ให้เขารู้สึกว่าเขามีความประทับใจในการที่ให้ผู้ประกันตนรู้สึกว่าประทับใจในการที่จะใช้บริการ
- อีกส่วนหนึ่งเรื่องการบริหารงาน ไม่ว่านโยบายจะดีขนาดไหนเรื่องการบริหารงบประมาณเป็นสิ่งสำคัญที่สุด 2.3 ล้านล้านบาทก็จริง แต่ตอนนี้ยุคสมัย เป็นวัยผู้สูงอายุ คือตายยากแต่ว่าคนที่เข้าในระบบประกันสังคมน้อยลง ทำให้เม็ดเงินในการที่เข้าเติมในระบบประกันสังคมน้อยลง ปีที่ผ่านมาหายไปประมาณหมื่นกว่าล้าน เป็นการบ่งบอกว่าเริ่มสถานการณ์จะไม่ค่อยสู้ดีสำหรับคนที่เข้ามาใหม่ และคนที่จะออกไปก็ออกไปก็กินได้ตลอด ทั้งรักษาพยาบาลทั้งจากบำนาญ ตรงนี้คือ สิ่งที่มันยังไม่สมบูรณ์กันในอนาคต เพราะเป็นสังคมสูงวัย ในอนาคตและเราจะทำอย่างไร นั่นคือการบริหารงานปัจจุบันนี้ เม็ดเงินที่เราไปลงทุนในประเทศประมาณ 70% ลงทุนต่างประเทศอีก 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ ทำไมลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำประมาณ 70% ลงทุนที่มีคนเสี่ยงสูงประมาณ 20 กว่า% แล้วการลงทุนแบบนี้ใช่ไหมว่าเป็นแบบอนุรักษนิยมมาก
- เรื่องสำคัญคือเรื่องการบริหาร เรื่องความโปร่งใสของการจัดการเม็ดเงินนี้ต่างหากที่เราจะเอาไปใช้จ่ายในการที่ดูแลสวัสดิการต่างๆ ได้เพิ่มสวัสดิการตัวนั้นตัวนี้ได้ตรงนี้ หัวใจสำคัญและมีความเสี่ยงสูงมาก จากความโปร่งใสในการบริหารจัดการ คือเราต้องไปใส่ใจมากที่สุด เพราะไม่เช่นนั้นการลงทุนไม่สมดุลกัน
- การจัดการมีการแข่งขันกันหรือเปล่าผู้จัดการกองทุนมีการแข่งขันกันไหมหรือเจ้าเดียวหลักการบริหารจัดการได้เลย อยากจะไปลงทุนทำอะไรก็ได้ การลงทุนบางอย่างไม่เหมาะในการที่ลงทุน บางอย่างในการที่จะลงทุนเพื่อจะให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นก็ไม่ลงทุนที่เม็ดเงินที่มากขึ้น ฉะนั้นเป็นสิ่งที่เราทีมงานก็ต้องไปใส่ใจในการดูแลเพื่อจะให้เม็ดเงินสามารถที่จะตอบรับจากผู้ประกันตนได้ อีกส่วนหนึ่ง เรานำเสนอไป เราก็อยากจะให้ผู้ประกันตนมีสิทธิ์เลือกได้ว่าเขาจะสร้างผลตอบแทนของเขาอย่างไรบ้าง นั่นก็คือว่าถ้าเงินกองทุนของเขานะครับ ไม่เช่นนั้น เขาก็สามารถเลือกสัดส่วนได้เหมือนกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ผมพูดอย่างนี้หมายความว่าเราสามารถไม่เป็นไร เราเซฟตัวเองอนุรักษนิยมก็ 80:20 แต่ถ้าใครคิดว่าไม่เป็นไร ผมยอมที่จะเสี่ยง ผมให้กองทุนเอาไปบริหารลงทุนหุ้นที่มากขึ้นเหมือนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่สมาชิกสามารถเลือกสัดส่วนการลงทุนได้ ก็มีโอกาสสูงมากที่เขาจะได้เม็ดเงินผลตอบแทนในอนาคตที่ดีขึ้น สำหรับตัวชีวิตเขาด้วย นี่คือทางเลือกและนโยบายที่ควรจะทำได้
- เพื่อนผู้ประกันตนทุกท่าน เรายินดีอาสาและมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะรับใช้เพื่อพี่น้องผู้ประกันตน เบอร์ 49, 50, 51, 52, 53, 54 และผมเบอร์ 55
รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี ทีมประกันสังคมก้าวหน้า (เบอร์ 27-33)
- เราคือตัวแทนของฝั่งประชาธิปไตย เราคือผู้คนจากปี 2563 คนที่ไม่เคยคุกเข่าค้อมหัวสังฆกรรมกับอำนาจเผด็จการ ประกันสังคมได้มาด้วยอำนาจทางการเมืองของฝั่งประชาธิปไตยเมื่อ 33 ปีก่อนเมื่อ 33 ปีก่อน แต่ในขณะเดียวกัน 3 ทศวรรษที่ผ่านมาประกันสังคมตกต่ำลงด้วยการรัฐประหารถึง 3 ครั้ง ตลอด 9 ปีที่ผ่านมานี้ นายประยุทธ์จันทร์โอชา แต่งตั้งบอร์ดประกันสังคมให้ทำการบริหารกองทุนนี้มาโดยตลอด สิ่งเหล่านี้ทำให้บอร์ดประกันสังคมไม่ยึดโยงกับผู้ประกันตน ดังนั้นเมื่อพฤษภาคม 2562 ฝั่งประชาธิปไตยเอาชนะการเลือกตั้งแต่แล้วครั้งนี้ถ้าเราต้องการปฏิรูปชีวิตของคนทำงานคนธรรมดาอย่างพวกเราเราต้องให้ฝั่งประชาธิปไตยของเราชนะอีกครั้งหนึ่ง
- ทีมประกันสังคมก้าวหน้าประกอบด้วยคนจากหลายกลุ่ม
- หลายท่านมองว่า เราเป็นนักอุดมคติตามชื่อที่ผมเอ่ยมา แม้กระทั่งตัวผมที่ทำการค้นคว้าวิจัยประกันสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ผมยืนยันว่าเราเป็นนักปฏิบัติอย่างแท้จริงที่เราต้องการเปลี่ยนบาทแรกถึงบาทสุดท้ายของประกันสังคมให้กลายเป็นสิทธิประโยชน์ที่คุ้มค่าและสมศักดิ์ศรีของพี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกท่าน
- วันนี้สิ่งที่เราต้องทำ 2 อย่างคือการปรับโครงสร้างการบริหารประกันสังคมให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และสามารถตอบได้ว่าเราจะเอาเงินมาจากไหน ในวันที่แม่ท้องแก่ต้องกู้นอกระบบ มันเป็นเงินค่าคลอดวันที่พ่อต้องทำโอทีมากมาย วันที่คนแก่ยังไม่สามารถที่จะเกษียณอายุได้เพราะเงินบำนาญอันน้อยนิด แต่พอประกันสังคมไปดูงานต่างประเทศซ้ำแล้วซ้ำเล่า
- ใช้งบประมาณที่ไม่ได้มีความจำเป็นทั้งๆ ที่มีงบประมาณด้านการวิจัยมากมายมหาศาลในช่วงที่ผ่านมามีการศึกษาวิจัยเพียงพอแล้ว แต่การใช้จ่ายหลายอย่างที่มันเกิดขึ้นมันทำให้ความรู้สึกว่า พวกเขาไม่ได้เจ็บปวดกับเราเลย
- งบประมาณหลายอย่างที่เรารู้ว่าใช้งบประมาณเพียงแค่หลักร้อยล้าน ก็สามารถประคองชีวิตของคนที่เจ็บปวดในช่วงโควิดที่ผ่านไปได้ แต่ว่าประกันสังคมยังหมดเป็นหมดเงินไปกับการพิมพ์ปฏิทิน 100 ล้านพันล้านที่หายไปสามารถเพิ่มการลาคลอดได้ สามารถทำให้เรารักษามะเร็งให้หายได้
- ผมคุยกับพันธมิตรภาพแพทย์ของเราบอกว่าในโลกนี้มีประมาณ 200 กว่าโรค แต่ประกันสังคมนักการรักษาอยู่ 20 โรค 20 โรคมะเร็ง วันนี้ประกันสังคม 30 กว่าปี สิทธิในการรักษาพยาบาลอะไรต่างๆ ตอนนี้เริ่มจะต่ำเตี้ยกว่า ร.พ.ส.ต.ไปเสียแล้ว
- ปัญหาใหญ่ตัวนี้มันเกิดขึ้นจากการที่ประกันสังคมไม่ยึดโยงกับคนธรรมดา ไปลงทุนขาดทุน ไปลงทุนในบริษัทที่ขาดธรรมาภิบาล ไปลงทุนกับบริษัทที่กดขี่ผู้ใช้แรงงาน ทำลายสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนรัฐบาลอำนาจนิยม นี่คือสิ่งที่เราจะต้องดำเนินการแก้ไขทันทีให้การลงทุนต่างๆ ยึดโยงกับงานที่เราเรียกว่า decent work ยึดโยงกับผลประโยชน์ของผู้ประกันตนมากกว่าการยึดโยงอยู่กับผลประโยชน์ของกลุ่มบางกลุ่ม โดยเฉพาะซึ่งจำเป็นต้องมีการตรวจสอบถึงใกล้ชิด
- เมื่อเราสามารถแก้ไขเรื่องส่วนนี้ได้แล้ว ทุกท่านครับสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา เราสามารถขยายสิทธิประโยชน์ได้ คนเกิดน้อยค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กมากมหาศาล รัฐมนตรีสาธารณสุขแม้จะเชื้อเชิญยังไงคนก็ยังไม่สามารถที่จะมีลูกได้ เราต้องการเพิ่มสิทธิ์ในการเบิกค่าคลอดบุตรจาก 15,000 บาทให้เป็น 20,000 บาท เงินชดเชยการเลี้ยงดูเด็กขยายถึง 12 ปี ขยายให้ไปถึงในวัยเรียน
- เช่นเดียวกับที่หลายท่านพูดมา ความเจ็บปวดด้านหนึ่งคือเรื่องเงินบำนาญเงินบำนาญที่เราไม่สามารถที่จะคาดหวังคาดหมายให้มันเกิดความมั่นคงได้ บางคนส่งมา 50 ปีถูกเลิกจ้างไปส่งมาตรา 39 ด้วยตัวเองแทนที่จะได้เงินบำนาญ 5,000-6,000 บาทเหลือได้เงินประมาณ 1,700 บาท นั่นคือความเจ็บปวดของผู้คนคนธรรมดา เราสามารถปรับปรุงการรักษาพยาบาลได้อย่างน้อยที่สุดของ ส.ป.ส.ช. รักษาหน้าฟัน 17,500 บาท นี่คือสิ่งที่คนใช้ 30 บาทใช้ได้ แต่ประกันสังคมต้องถอนอย่างเดียวไม่สามารถที่จะเก็บฟันตัวนี้ไว้ได้ นี่คือชีวิตของคนธรรมดา เราต้องการทำให้เห็นว่าเราจะสามารถผลักดันให้เกิดบัญชียาเดียวกันทั้งประเทศให้ได้
- อุดมคติของเราคือการรวมกองทุน แต่ว่าวันนี้สิ่งหนึ่งที่เราสามารถทำได้บัญชียาเดียวกันยังรักษาพวกหัวใจ บางตัวสามารถที่จะลดการตายของคนได้ประมาณ 30% แต่ยาตัวนี้ถูกคำนวณมาว่าไม่ถูกไม่เห็นคุณค่าของมนุษย์
- ในวันที่ 24 ในช่วงแรกของการลงทะเบียนนั้น มีผู้ลงทะเบียนจำนวนน้อยมาก แต่จำนวนอย่างแข็งขันเชื่อมโยงเห็นว่าเราต้องการเปลี่ยนประเทศนี้ เปลี่ยนประกันสังคมเป็นประชาธิปไตย ผู้คนลงทะเบียนก้าวกระโดดเพิ่มขึ้นมา 890,000 คน ครั้งนี้เป็นครั้งสำคัญ ผมอยากชวนทุกท่านเบอร์ 27 ถึง 33 ประกันสังคมก้าวหน้าพันธมิตรมากมายให้เป็นก้าวแรกให้เป็นชัยชนะของฝั่งประชาธิปไตยอีกครั้ง
คุณธนัสถา คำมาวงษ์ ทีมสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย (เบอร์ 83-89)
- ยกตัวอย่างหน้าที่คณะกรรมการประกันสังคม 2 ข้อ ที่มีอยู่ประมาณ 7 ข้อ ข้อแรกให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการประกันสังคมให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีและการตามกฤษฎีกาออกกฎกระทรวงต่างๆ บังเอิญผมได้รับโอกาสจากท่านสุชาติให้ลงตำแหน่งคณะที่ปรึกษากระทรวงแรงงาน เราทำมามากมายหลายเรื่อง
- ในครั้งนี้เองผมก็ได้รับโอกาสจากท่านรัฐมนตรีให้กระทรวงตำแหน่งเป็นคณะที่ปรึกษา (อีก) มันเป็นจังหวะมันเป็นโอกาสของผมที่จะนำเสนอนโยบายที่ค้างท่ออยู่ที่ท่านสุชาติและทีมงานได้ผลักดันไว้ให้สำเร็จลุล่วงในช่วงนี้
- ข้อแรก เดิมทีเงินสงเคราะห์บุตรอยู่ที่ 600 บาท ในช่วงรัฐมนตรีสุชาติจาก 600 บาทเป็น 800 บาทแต่ครั้งนี้ 3,000 บาท มาจากไหนครับ มีการสำรวจข้อมูลแล้วว่าคนไทยปัจจุบันนี้ 60 ล้านคนเขาบอกว่าอีก 30 ปีข้างหน้าคนไทยจะเหลืออยู่ที่ประมาณ 30 ล้านคนเท่านั้น เองจากสถิติการเกิดที่เกิดขึ้นน้อยมาก เราจะต้องให้เงิน 3,000 บาท 12 ปีได้อย่างแน่นอน
- ชราภาพได้แน่นอนเป็น 10,000 บาท ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท
- เราจะผลักดันให้รัฐจ่าย 5% เท่ากับลูกจ้างและนายจ้างอันนี้เงินก้อนนี้อีก 30,000 กว่าล้านนี้จะเข้ามา นอกจากเป็น 42,000 ล้าน
- เงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยดอกเบี้ยต่ำ อย่างที่บอก ท่านสุชาติทำมาแล้วในยุคที่ผ่านมาเอาเงินจากประกันสังคมไปฝากไว้ที่ธนาคารออมสินแล้วให้ทำให้พวกเราร่วมกันรีไฟแนนซ์บ้าง 3 วันหมดครับ หมดเกลี้ยงเลยรีไฟแนนซ์บ้าน เพื่อจะให้ดอกเบี้ยต่ำไม่เกิน 1% ถ้าพวกเราซื้อบ้านนี่ ดอกเบี้ยจะ 1.51 แล้ว แต่ธนาคารถ้าเราเอาเงินจ่ายเงินไปฝากไว้ที่ธนาคารออมสินแล้วซื้อบ้านในราคาดอกเบี้ยที่เกิน 1% นี้จะทำให้เราผ่อนบ้านหมดเร็ว แล้วก็มีเงินเพิ่มอีกกระป๋อง อันนี้คือสิ่งที่จะต้องสานงานต่อท่านสุชาติให้พวกเราได้ผลประโยชน์มากที่สุด
- เราส่งประกันสังคมมา 180 เดือนหรือไม่ครบ 180 เดือนถ้าเกษียณอายุ 55 มันจะต้องบอกว่าถ้าคุณส่งไม่ครบคุณจะได้เป็นบำนาญและอันนี้ให้เลือกได้นะครับบางคนเขาส่งมาแล้วนี่ บางคนเขาต้องการใช้เงินนี่ ก็เอาเงินก้อนไปบริหารทำธุรกิจเล็กๆ น้อยๆ หลังเกษียณช่วยไม่เหงา ไม่ใช่ว่าบังคับให้เราเลือกบำนาญบังคับให้เราเลือกไม่ได้นะครับอันนี้ แน่นอนว่าเราจะไปขับเคลื่อน
- สุดท้าย เรื่องธนาคารแรงงาน ผมเองก็เริ่มมาแต่งตั้งเป็นคณะทำงานต่อเพื่อจะเอาเงินประกันสังคมมีการศึกษามาแล้วว่าเราทำได้เพื่อจะให้พี่น้องเราเอาเงินทั้งเอาเงินประกันสังคมมาลงทุนตรงนี้เอาเก็บตรงนี้ไปฝากตรงนี้ รักษาตรงนี้เพื่ออะไร ถ้าเอามาให้เรากู้ชราภาพเป็นตัวค้ำประกันก็ได้ อันนี้ให้ธนาคารแรงงานเราเกิดขึ้น ก็อย่างที่บอกครับว่า 45 นโยบายนี้ เราทำได้แน่นอนเนื่องจากว่า เราทำมาแล้ว ก็ยังจะฝากพี่น้องอยู่ในธุรกิจยานยนต์ 800,000 คน และธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง
- พวกเราที่เห็นว่ามันเป็นไปได้และตรงใจ ช่วยกรุณาเลือกเบอร์ 83 ถึง 89
คุณกฤษฎา ด้วงหิรัญ ทีมแรงงานเพื่อสังคม (เบอร์ 90, 100, 102, 103, 104 และ 109)
- เราช่วยเหลือใช้แรงงานผู้ประกันตนมาแล้ว ด้วยนโยบายสาม ข. ขอคืน ของกู้ ขอเลือก นำเงินของผู้ประกันตน ขึ้นมาช่วงโควิด วันที่ 20 กรกฎาคม 2563 อย่าเพิ่งไปปาหน้าเขาว่าถ้าเขาเอาเงินไปใช้ มันใช้ผลประโยชน์ทุกคนมีความรู้มีความคิดมากควรให้เขียนความคิดของผู้อื่นว่าเขาจะสามารถนำไปลงทุนไปต่อยอดเปิดร้านขายฟังก์ชันเล็กๆ ตามชนบทนี่มีรายได้เข้าทุกวันทุกวันทุกเดือนบางทีอาจจะเยอะกว่าเงินชราภาพที่เขาจะได้ในอนาคตด้วย อันนี้คือเรื่องของขอคืนขอกู้ อย่างทำงานอยู่ยังมีอยู่ ยังไม่ได้มีสิทธิ์ที่จะขอคืนได้ก็ให้เขานำไปเป็นตัวค้ำประกันได้ไหม เพื่อที่จะเพิ่มระดับสภาวะการเงินทุกคนติดเครดิตบูโรเยอะมาก แล้วทำยังไงล่ะที่เขาจะเอามาช่วยขอไปค้ำประกัน แล้วก็ผู้ลงเงินออกมาจะสัดส่วนเท่าไรก็ได้ดอกเบี้ย 0% ดอกเบี้ย 1% หรือต่ำกว่าปกติเพื่อเขาต่อยอดได้ทุกวันนี้จะทำยังไงทุกคนก็ต้องหนีออกนะตกงาน
- นโยบายเรื่องเอาเงินของผู้ประกันตนมาขอคืน ขอกู้ ขอเลือกทุกคนต้องเลือกได้ ทุกคนมีความคิดและอย่าเอากรอบของกลุ่ม พ.ร.บ. ต่างๆ มาครอบงำเพื่อให้ทุกคนขาดสิทธิเสรีภาพในการดูแลตัวเองจากเงินพิเศษ
- แต่ขอชราภาพมันก็ควรที่จะต้องสามารถใช้ได้ ต้องมีระเบียบที่เพื่ออำนวยต่อผู้ประกันตน เพราะเราเป็นคนที่จ่ายเงินไปก่อนในทุกๆ เดือนจ่ายก่อนและเป็นผู้ชนะ เป็นผู้ใช้บริการที่ดีมาก แล้วมันทำได้ ถ้าว่างงาน ถ้าเกิดการต่อสู้ในคดี
- พัฒนาและปรับปรุงเจ้าหน้าที่ประกันสังคมให้ทำงานที่เร่งรัดสอดคล้องกับความเดือดร้อนของผู้ประกันตน และเรื่องของการแก้ไขระเบียบประกันสังคม
คุณศิริศักดิ์ บัวชุม ทีมเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) (เบอร์ 2, 5, 7, 9, 43, 45 และ 60)
- เครือข่ายประกันสังคมคนทำงานมีแนวคิดมีแนวทางตั้งแต่เราเริ่มการขับเคลื่อนรณรงค์ในเรื่องของประกันสังคม ก็คือต้องการที่จะปฏิรูปประกันสังคมให้เป็นประกันสังคมที่ถ้วนหน้า ประกันสังคมที่อิสระ ประกันสังคมที่โปร่งใส ประกันสังคมที่ลดความเหลื่อมล้ำยืดหยุ่น แล้วก็เป็นธรรม
- ผู้สมัครมาจากหลากหลายตัวแทนในระบบและนอกระบบ มาจากพี่น้องที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย มาจากพี่น้องที่เป็นพนักงานสถาบันอุดมศึกษาของภาครัฐ ทั้งเอกชนและรัฐบาล รวมถึงได้รับการสนับสนุนจากพี่น้องที่เป็นพนักงานราชการ ที่เข้าประกันสังคม
- แนวนโยบายของพวกเราที่ร่วมกันคิดร่วมกันทำ ไม่ใช่เฉพาะมาจากแนวคิดของผู้สมัครเท่านั้น เรามาจากการระดมความคิดของพี่น้องหลากหลายสาขาอาชีพ
- นโยบายแรกคือ การสนับสนุนให้มีการจัดตั้งธนาคารแรงงาน ซึ่งอันนี้มีความเป็นไปได้ เนื่องจากผ่านกระบวนการศึกษามายาวนาน
- เรื่องที่ 2 การสนับสนุนการจัดตั้งโรงพยาบาลประกันสังคม มีการศึกษาแล้วดังนั้นความเป็นไปได้ 2 เรื่องนี้ธนาคารแรงงานและโรงพยาบาลประกันสังคมเป็นไปได้แน่นอน
- เรื่องที่ 3 เรื่องของความเสี่ยงในเรื่องของความมั่นคงของกองทุน อีกไม่กี่ปีข้างหน้า กองทุนเราจะหมดไปไหม เมื่อทีมเครือข่ายประกันสังคมคนทำงานเข้าไปเป็นคณะกรรมการก็จะเข้าไปร่วมพิจารณาในเรื่องของระเบียบข้อบังคับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน สัดส่วนเรื่องการลงทุนความมั่นคงความเสี่ยงเพื่อความยั่งยืนของกองทุนที่จะมาหล่อเลี้ยงพี่น้องผู้ประกันตน
- นโยบายในเรื่องของการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบการเข้าถึงสิทธิ์ในเรื่องของการรักษาพยาบาลให้รวดเร็วให้สะดวกให้ปลอดภัย เนื่องจากสาเหตุเพราะว่า การที่พี่น้องผู้ประกันตนทั่วประเทศเข้าไปรักษาพยาบาลในสถานประกอบการหรือแม้กระทั่งในโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญาของผู้ประกันตน ในเรื่องความสะดวก และความสะอาด ประเด็นนี้เราเจอประเด็นปัญหาคือ ทุกคนสามารถแจ้งได้ตลอดคือ เจอปัญหาตลอดเลย จึงปรับปรุงพัฒนารูปแบบในเรื่องของการเข้าถึงการรักษาพยาบาลให้สะดวกรวดเร็วและก็ปลอดภัยรวมถึงการแก้ปัญหาเรื่องทุพพลภาพ
- เรื่องของการแก้ไขระเบียบบำนาญชราภาพ อันนี้อาจจะเหมือนทุกๆ ท่าน ก็คือเราจะเอาเงินเดือนสุดท้ายของการทำงานมาเป็นฐานในการคำนวณ ก็ให้เหมาะสมกับเรื่องของสภาวะเศรษฐกิจ
- ประเด็นสำคัญสุดของพี่น้องเครือข่ายรายงานนอกระบบและเครือข่ายที่อยู่ในแรงงานในระบบ เครือข่ายประกันสังคมคนทำงานเรามีความเป็นเอกภาพคือ เรามีสัมพันธภาพอันเดียวกันเราไม่มีสี ไม่มีพรรค เราไม่มีพวก เราทำงานร่วมกันทั้งเครือข่ายภาครัฐทั้งเครือข่ายแรงงาน แล้วจะเห็นหลายๆ ประเด็นนโยบายที่เราประสบความสำเร็จ แล้วเรามีการถอดบทเรียนเรื่องการกำหนดนโยบาย เราจะลงถนนอย่างเดียวนโยบายได้ไหม คำถามได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่มีการถอดบทเรียนแล้วเห็นว่าเห็นว่า เมื่อมีการพูดคุยมีเวทีพูดคุยมีการเจรจามีการต่อรองได้ 1 ได้ 2 ได้ 3 อันนี้ค่อยเป็น Step เป็นกระบวนการไป ยกตัวอย่างนโยบายที่ประสบความสำเร็จแล้วที่เครือข่ายประกันสังคมคนทำงานเราทำ ก็ในเรื่องของการแล้วทำงานร่วมกับพี่น้องเครือข่าย 1 กองพันสร้างสุข 2 เครือข่ายทันตกรรมในโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ 3 เครือข่ายที่เป็นนักวิชาการนักเศรษฐศาสตร์มีการคำนวณบอกว่าคุณหาตัวเลขจากเดิม 600 เครือข่ายร่วมด้วยช่วยกันขับเคลื่อนเจรจาต่อรองจึงได้ 900 บาทดังนั้น จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงกองทุนประกันสังคมเบอร์ 2 เบอร์ 5 เบอร์ 7 เบอร์ 9 เบอร์ 43 เบอร์ 45 และกระผมครับศิริศักดิ์บัวชุมเบอร์ 60
คุณอรอนงค์ นิธิภาคย์ ทีมสมานฉันท์แรงงานไทย (เบอร์ 19, 22, 23, 31, 60, 64)
- ปรับเปลี่ยนการลงทุนจากการลงทุนทางอ้อมไปสู่การลงทุนทางตรงในผู้ประกันตนให้มากขึ้น และเป็นการลงทุนในทรัพย์สินที่จับต้องได้เป็นทรัพย์สินที่แท้จริง สถานะกองทุนเรามีเงินอยู่ 2.3 ล้านบาท ปัจจุบันเราลงทุนทางอ้อมทั้งหมด ในการซื้อพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ และหุ้นเอกชน เราได้อัตราผลตอบแทนอยู่แค่ 2.36% ต่อปี ดังนั้นเพื่อที่เราจะได้มีจุดขาย เพื่อแก้ปัญหาทั้งกองทุนประกันสังคม
- กองทุนประกันสังคม ดูกระแสเงินสดปัจจุบัน เราเก็บเงินจากนายจ้างลูกจ้างรัฐบาลได้ปีละ 148,000 ล้านบาท แต่เรามีรายจ่าย 165,000 ล้านบาท เท่ากับว่าเราติดลบในแต่ละปีอยู่ประมาณ 16,000 ล้าน ประมาณ 16,000 ล้าน ส่วนลูกจ้างเราก็มีปัญหาในชีวิต 3 ประการ 1 รายได้ไม่พอ สวัสดิการน้อย 2 เจ็บป่วย 3 เป็นหนี้
- ปัจจุบันพี่งเงินนอกระบบมากที่สุดอยู่ที่กลุ่มลูกจ้าง เป็นตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
- ธนาคารแรงงานหรือธนาคารผู้ประกันตนที่เราพัฒนามาจากท่านอาจารย์ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ จะเป็นจุดขายนะคะซึ่งจะนำไปสู่ขาติดและขาตั้งของกองทุนประกันสังคม เราจะใช้หลักการ คือการใช้หนี้พัฒนาคน
- เราจะจัดตั้งกองทุนพัฒนาชุมชนลูกจ้าง จัดตั้งกองทุนขึ้นมาเพื่อปลดหนี้นอกระบบช่วยดอกเบี้ย 10% ไปล้างดอกเบี้ยมหาโหดดอก 20% ต่อเดือน พอเราทำจังหวะนี้เสร็จ 2 ก็คือการจัดตั้งธนาคารผู้ประกันตนขึ้นมา ต่อไปเราจะไม่เป็นคนขอกู้ ต่อไปเราจะเป็นเจ้าของ ดอกเบี้ยจะเป็นเท่าไหร่ขึ้นอยู่ในมือเราเท่านั้น 3 เราจะใช้ธนาคารเพื่อสร้างฐานเศรษฐกิจให้กับแรงงาน
- สิ่งต่างๆ ที่เราพูดมานี้ เราสามารถลงมือทำได้เลย ก็คือว่าถ้าเราได้เข้าไปเป็นฝ่ายประกันสังคม เราจะขอให้กองทุนประกันสังคมย้ายเงินฝากไปยังธนาคารที่ทำสัญญากับเราว่าจะปล่อยกู้ให้แก่ผู้ประกันตนเท่านั้น เราจะเอาเงินไปฝากไว้ 2-3 หมื่นล้าน ให้ผู้ประกันตนกู้ 2-3 เท่าของเงินเดือน ไม่เกิน 4-50,000 บาท แล้วเราจะขอให้ผู้กู้บังคับออม 10% จากวงเงินกู้เก็บไว้ครบ 3 ปี จะมีเงินฝากประจำได้ดอกเบี้ยเก็บไว้ ส่วนอัตราดอกเบี้ยเราขอคิด 10% ค่ะ 10% จัดสรรอย่างไร คือ 3% ให้กองทุนประกันสังคม เมื่อกี้บอกแล้วประกันสังคมได้ 2.36 ใช่ไหม อันนี้เราให้ 3 เลย ให้กำไรธนาคารที่มาช่วยดำเนินการ 3% ค่าดำเนินการของธนาคาร อีก 1% ไปจัดตั้งสำนักงานพัฒนาชีวิตผู้ประกันตน เราจะจ้างนักศึกษาจบใหม่ 1-20,000 คน ให้เป็นเจ้าหน้าที่ในการช่วยปล่อยสินเชื่อกระจายการปล่อยสินเชื่อเป็นทั่วประเทศ เราจะเปิดซันเดย์ Banking ให้นักศึกษาลงทำงานกับพวกเราที่น้องแรงงานที่สำคัญนั้น น้องจะไปแนะนำเรื่องแผนการเงิน รวมถึงการติดตามหนี้จากผู้ประกันตน ส่วนอีก 0.2-00.5% เราจะให้นายจ้างที่เข้าร่วมในโครงการนี้ ท่านนายจ้างท่านใดยินดีที่จะหักเงินของลูกจ้างที่กู้ธนาคารนี้ไปส่งคืน แล้วก็มอบให้นายจ้างอีกประมาณ 1.5 - 1.8% เราจะให้รัฐบาล ถ้ารัฐบาลเข้ามามีส่วนร่วมในการเอื้ออำนวยสถานที่หรือค้ำประกันให้กับผู้ประกันตนค่ะการดำเนินการแบบนี้
- มีคนถามว่าเราเอาเงินไปปล่อยให้คนงานๆ ก็ถูกดูถูกแล้วมันจะมีปัญญาผ่อนหรือเปล่า ความเป็นจริง เราขับเคลื่อนเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 46 จนรัฐธรรมนูญฉบับอาจารย์บวรศักดิ์บัญญัติอยู่ในมาตรา 289 ให้มีการจัดตั้งธนาคารแรงงาน ในปี 64 รัฐบาลไปจัดตั้งสถาบันการเงิน 2 แห่ง คือทิสโก้และนาโนไฟแนนซ์ ทิสโก้ปล่อยกู้ในระดับจังหวัด นาโนปล่อยกู้ได้ทั่วประเทศ เป็นสถาบันการเงินที่คนงานกู้ง่ายมากเพราะไม่ต้องมีหลักทรัพย์ คนงานเราจะกู้แล้ว 5.4 ล้าน เอาแค่ 3 เจ้าแรกที่เป็นเจ้าของตลาดได้กำไรไปแล้วปี 12,500 ล้านบาท ประกันสังคมขาดทุนเงินสดใช่ไหม เราแค่ทำแค่นี้ เราได้แล้ว 12,500 ล้านบาท มาช่วยลดการขาดทุนที่สำคัญนโยบายก่อน เราจะเสนอทีมสมาชิกเราลงทำงานโครงการธนาคารแรงงานทดลอง เราทำจริงชื่อว่าหมู่บ้านมั่นคงลงทุนในทรัพย์สินที่จับต้องได้ ธนาคารแรงงานของเรากำไรมากกว่าที่ประกันสังคมไปลงทุนในหุ้น อันที่ 2 ก็คือการลงทุนทางตรงในทรัพย์สินที่จับต้องได้โดยเฉพาะที่ดินกันที่ดินที่มีศักยภาพในการเป็นตลาดปัจจุบันนี้
- เศรษฐกิจไทยเดิมอยู่บนเศรษฐกิจตลาด เศรษฐกิจตลาดกับตลาดนักเป็นปัจจัยการผลิตชนิดที่ 5 การที่ขาดความสำเร็จในการลงทุนอยู่ที่ตลาดใช้มีตลาดกดดัน ก็กำไร ชีวิตของคนงานเราอย่างที่เมื่อเช้าบอกเราถูกเราเกษียณอายุเรากลายเป็นผู้พิการมาตรา 40 แสวงหาตลาดอันยากเย็น เวลาจะได้ตลาดค่าเช่าก็แสนแพง ถ้าประกันสังคมลงทุนในพื้นที่ศักยภาพที่เป็นตลาดได้ ลงทุนที่ดินมีแต่เสมอตัวกับกำไรที่ผ่านมามีแต่กำไรทั้งนั้น แล้วเป็นการลงทุนที่มีความมั่นคงประกันสังคมทำตรงนี้
- มาตรา 40 และคนที่ถูกปลดออกจากงานทั้งหมดจะมีพื้นที่ มีทางไปต่อ มีอนาคตที่จะเดินต่อไป ประกันสังคมได้ค่าเช่าเล็กๆ น้อยๆ จะป้องกันตนไม่เป็นไร แต่ที่ดินที่มีการพัฒนาศักยภาพเป็นตลาด มูลค่ามันจะเพิ่มขึ้น คนงานลงทุนทำธุรกิจเล็กๆ น้อยๆ ค่าเช่าต่ำในโอกาสกำไร พอมีกำไรปุ๊บก็มีรายได้ที่ส่งกองทุนประกันสังคมต่อไป ประกันสังคมก็จะหยิบยื่นอายุความยั่งยืนขึ้นไปได้อีก
- เรื่องโรงพยาบาลประกันสังคม เห็นด้วยกันทุกท่าน แล้วก็เรื่องของการให้ทุนนักศึกษาแพทย์เรียนเพื่อมาเป็นแพทย์เฉพาะทางรักษาโรคจากการทำงาน รวมถึงเราจัดสิ่งที่เราจะทำก็คือ ว่าเงินเหมาจ่ายที่ประกันสังคมจ่ายไป 1,880 บาทให้โรงพยาบาลจัดไปเลย เราจะขอดึงเงินที่เรียกว่าค่าบริการผู้ป่วยนอกออกมา ตั้งเป็นวงเงินให้ผู้ประกันตนคนละ 5,000 บาท เจ็บป่วยเมื่อไหร่เข้ารักษาโรงพยาบาลไหนก็ได้ ในคลินิกวันไหนก็ได้ เพื่ออย่างน้อยพวกกันได้เข้าถึงมือหมอเร็วที่สุด คนมีตังค์ในกระเป๋าก็จ้างคนไปหาหมอ ถ้าเราไปรอแต่โรงพยาบาลที่มีสิทธิ์ อย่างที่เมื่อเช้าพูดหรือเคสที่เกิดอุบัติเหตุที่ประจวบคีรีขันธ์ ถ้าพี่คนขับรถคนนั้นเขาสามารถเข้ารักษาคลินิกใกล้ๆ เรื่องร้ายแรงก็จะไม่เกิดขึ้น
- สุดท้าย ขอเน้นย้ำการลงทุนทางตรงกับผู้ประกันตนและเป็นการลงทุนที่แท้จริงที่จับต้องได้ จะนำมาสู่ความยั่งยืนของกองทุนประกันสังคม ความยั่งยืนมั่นคงของชีวิตผู้ประกันตน
- เลือกเบอร์ 64, 60, 22, 23, 31, 19 เพื่อทีมสมานฉันท์ปฏิรูปประกันสังคมไปสู่สังคมสวัสดิการ
คุณปัณฐวิชญ์ มุ่งสมัครศรีกุล ทีมพลังแรงงานสหกรณ์ (เบอร์ 116, 120, 121, 120, 126, และ 225)
- ผมเห็นแสงอุโมงค์ทิพย์แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์แล้ว ผมปัณฐวิทย์ มุ่งสวัสดิ์ศรีกุล หมายเลข 119 พร้อมทีมงานหมายเลข 116, 120, 121, 120, 225 และ 126 เป็นการรวมพลัง
- ผมอยู่ในวงการสหกรณ์ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ดูแลพี่น้องสมาชิก 12 ล้านคน มีสหกรณ์ทั้งหมด กว่า 7,000 แห่ง เป็นสหกรณ์ในสถานประกอบการอีก 400 แห่ง พวกเราอยู่ในตรงนั้นอีก 3 แสนกว่าคน แล้วก็น้องๆ ผมเคยเป็นอดีตสาธารณสุข เป็นบอร์ดของกระทรวงสาธารณสุขอยู่เกือบ 20 ปี กับพนักงานกระทรวงสาธารณสุขอีกเกือบ 200,000 คน
- ในขบวนการสหกรณ์นั้นมีอะไรหลายอย่างที่ดีๆ ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน เราจะเอาบทเรียนจากตรงนั้นมาช่วยกันในการพัฒนาประกันสังคม ก้าวมั่นอย่างมั่นคง ก้าวมั่นไปเพื่อให้เป็นที่พึ่งของคน 24 ล้านคน พูดให้มันมีเสียงดัง แอมแต่ละที นักการเมืองต้องเข้ามาหาเรา ไม่ต้องไปสายการเมือง แต่เราพูดขึ้นนักการเมืองต้องมาอาศัยพวกเรา
- ในประกันสังคมอันนี้คือ 2.3 ล้านล้านบาท สหกรณ์มี 3.5 ล้านล้านแล้วทำไมไม่ช่วยกัน เรือล่มในหนองทองจะหายไปไหน
- นโยบายที่ทุกท่านเสนอมามีแต่นโยบายที่ดีๆ ทั้งนั้น เรามาช่วยกันทำให้ได้ ดูเอาครับดูคนออก บอกคนได้ใช้คนเป็นเลือก เป็นคนที่จะทำงานเพื่อประกันสังคม เราเสนอนโยบายไปอยู่เพื่อหลักประกันที่มั่นคงในการดำรงชีพของผู้ประกันตน
- หลายท่านบอกมาแล้ว ลดเรื่องของค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ ในเรื่องของเอาเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มัน High return ทั้งนั้น แต่เราจะเลือกลงทุน ผมก็ไม่อยากให้มันประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนกองทุน กฟผ.มีช่วงหนึ่งหายไป พวกผมเองกระทบกระเทือนเยอะในช่วงนั้น เพราะฉะนั้นเราต้องระวังในเรื่องนี้ แล้วก็เสริมรายได้เข้ามา วิธีการที่จะเพิ่มขึ้นมาอันนี้ก็คือ ลดค่าใช้จ่ายประจำที่เกิดขึ้น
- หลายท่านพูดมาแล้วเรื่องที่ 2 เรามากลับข้างกันได้ไหม 3 ขาที่มันสะเทือน ท่านอาจารย์ประเวศใช้คำว่าสามเหลี่ยมให้เขยื้อนภูเขา แต่เราจะใช้ 3 ขาในส่วนของตรงนี้ ก็คือพวกเราพูด ลดบทบาทอำนาจรัฐที่ควบคุมกำกับ มาเป็นการส่งเสริมให้มีอิสระ และปกครองตนเอง ตัวนี้ผมให้ความสำคัญนะครับเมื่อไหร่ที่คนของประกันสังคมเข้าไปอยู่ในจุดนั้น ชนชั้นใดเขียนกฎหมายก็เพื่อชนชั้นนั้นใช่ไหมครับ นี่คือสิ่งสำคัญที่สุดเพราะฉะนั้น เรามีนักกฎหมายที่จะช่วยอยู่ตรงนี้ขออนุญาตเอ่ยถึงเจ้านายผมท่านอาจารย์ปรเมศวร์ อินทรชุมนุม ท่านก็บอกว่าพร้อมที่จะช่วยพร้อมที่จะดูแลในเรื่องของกฎหมายประกันสังคมที่จะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องผู้ใช้แรงงาน
- เรื่องที่ 4 ในเรื่องของการลด ก็คือลดการครอบงำอำนาจทางการเมือง การเงินเป็นเรื่องที่ผมกลัว พวกการเมืองเข้ามาปุ๊บพอมาครอบงำเสร็จมันจะเกิด Conflict of Interest คือผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะฉะนั้นเราต้องมีอิสระ แล้วก็ปกป้องตนเองให้ได้
- ในส่วนของ 5 เพิ่ม หลายท่านพูดไปเกือบทั้งหมด เป็นเรื่องดีๆ ทั้งนั้นเพื่อคนประกันสังคม ไม่ว่าจะเป็นกรณีการว่างงาน ก็รับประโยชน์จากเงินทดแทนสัก 50% แล้วก็จากฐานเงินเดือนสัก 6 เดือนเพื่อที่จะให้มีแรงไปต่อได้ ในช่วงที่เกิดการว่างงานเพื่อรักษารอยต่อ มีลูกมีเต้าที่จะต้องดูแล เพราะฉะนั้นตรงนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ เพิ่มสิทธิรักษาได้ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ เพิ่มค่ารักษาพยาบาลกรณีการเจ็บป่วย และสงเคราะห์บุตร เพิ่มเงินเป็น 3,000 บาท ถึงอายุ 10 ปี ในเรื่องของกรณีการคลอดบุตร การดูแลรักษาบุตร อย่างน้อย 20,000 บาท 120 วัน มันจะโยงไปถึงเรื่องของการเขียนกฎหมาย เรื่องของกรณีชราภาพก็เพิ่ม เป็น 10,000 บาทต่อเดือน เพื่อให้อยู่ได้สังคมไทยที่กำลังจะเป็นสังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์แบบแล้ว
- เรื่องต่อไป มีสินเชื่อเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
- เรื่องที่ 5 มีกองทุนเพื่อการศึกษาเพื่อบุตรธิดาของเรา
- เรื่องที่ 6 มีธนาคารสำหรับผู้ประกันตนเหมือนๆ กัน แต่เราสามารถที่จะทำได้เพราะเรามีประสบการณ์ ซื่อตรงมั่นคงปลอดภัย ยั่งยืนเพื่อหลักประกันที่มั่นคงในการสร้างและดำรงชีวิตของคนแรงงานเลือกทีมพลังแรงงานสหกรณ์เบอร์ 116, 119, 120, 121, 122, 125 และ 126 แล้วท่านจะไม่ผิดหวังเราจะผงาดในสังคมไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังแรงงานสหกรณ์
ศ. ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา ผู้สมัครอิสระ (เบอร์ 48)
- หมายเลข 48 เป็นผู้สมัครอิสระ แต่จริงๆ แล้ว ก็ไม่ได้หัวเดียวกระเทียมลีบ ไม่ใช่ว่าแบบไม่มีคนคบจริงๆ แล้วก็เป็นผู้สมัครที่คุยกันกับผู้สมัครอิสระท่านอื่น ก็คือท่านอาจารย์วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ท่านก็เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเหมือนกัน เป็นผู้สมัครหมายเลข 79 และคุณกีรติ โกสีย์เจริญ. ทำงานอยู่ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นผู้สมัครอิสระหมายเลข 113
- พวกเรามีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน พวกเราอยากจะผนึกกำลังเอาประสบการณ์การทำงานประสบการณ์ทางวิชาการที่แต่ละคนมีมาเสนอตัวเป็นกรรมการประกันสังคมเพื่อที่จะส่งเสริมให้เกิดการบริหารกองทุนประกันสังคมที่มีประสิทธิภาพ แล้วก็ยั่งยืน แล้วก็เพื่อเป็นการพิทักษ์สิทธิ์ของผู้ประกันตน
- ผมอยากจะใช้เวลาไม่ยาวมากนัก คงไม่ได้พูดเรื่องนโยบายผมอยากมาแสดงวิสัยทัศน์ ถ้ามีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ รวมถึงทีมด้วยได้เป็นกรรมการประกันสังคมขึ้นมา พวกเราอยากให้ความสำคัญอยู่ 3 เรื่อง ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ที่ตรงกันของพวกเรา 3 คน ก็คือเรื่องแรกคือ ความมั่นคงของกองทุนประกันสังคม อันนี้มาอันดับแรก อันดับที่ 2 ก็คือ การคุ้มครองสิทธิ์ของผู้ประกันตน แล้วก็การส่งเสริมประกันสังคมที่สะดวกและโปร่งใส ให้ผู้ประกันตนมากยิ่งขึ้น
- ประกันแรก ความมั่นคงของกองทุนประกันสังคม ปกติเวลาผมทำงาน ผมจะเอาคนเป็นศูนย์กลางตลอดเวลา ความมั่นคงของกองทุนประกันสังคม จริงๆ แล้วมันเป็นสิ่งที่การันตีสิทธิประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นสิทธิประโยชน์ระยะสั้นหรือว่าสิทธิประโยชน์ระยะยาวของผู้ประกันตนทุกรุ่น ทุกคนให้อยู่ยั่งยืนยาวนาน อยากเห็นกองทุนประกันสังคมที่ผู้ประกันตนทุกคนเนี่ยสามารถพึ่งพาได้อย่างอบอุ่นใจ ไม่ใช่ว่าเป็นกองทุนประกันสังคมที่อีก 10 ปี 20 ปีก็เจ๊ง เราไม่ได้อยากเห็นกองทุนประกันสังคมแบบนั้น
- ผู้รู้เสวนาหลายท่านพูดไปแล้ว ว่าเรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ตั้งแต่ปีนี้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุของประชากรที่มีจำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุเยอะขึ้นเรื่อยๆ จริงๆ มันส่งผลกระทบทุกองคาพยพของเศรษฐกิจสังคมไทย
- การหลุดออกจากงานตกงาน เปลี่ยนจากมาตรา 33 เป็น 39 รูปแบบการทำงานของคนรุ่นใหม่ที่ตลาดแรงงานมันเปลี่ยนไป เช่น คนเราอาจจะไม่ได้ทำงานเป็นลูกจ้างในภาคการจ้างงานตลอดชีวิต เราอาจจะเปลี่ยนจากสอนหนังสือไปขายผัดไทยก็เป็นไปได้หรือว่าเราอาจจะออกจากที่อิสระทำงานนอกระบบมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในแง่ของ Speed เพราะฉะนั้นในเรื่องของสิทธิประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งหรือบำนาญ มันควรต้องใช้หลักว่ามันจะทำอย่างไรให้มันติดตัวเขา มาตรา 33 มาตรา 39 จะเชื่อมโยงกันอย่างไร
- อีกเครื่องหนึ่งที่สำคัญมาก เราอยากเห็นการลดความเหลื่อมล้ำของเรื่องการรักษาพยาบาล พวกเราเคยสงสัยมันไหม ว่าทำไมเราต้องจ่ายเงินสดสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาล ทั้งๆ ที่คนกลุ่มอื่นเขาได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล โดยใช้งบประมาณแผ่นดิน จริงๆ แล้ว ประโยชน์ในการรักษาในปัจจุบัน มันเป็น Package รวมกันรักษาพยาบาล เสียชีวิต ทุพพลภาพ และคลอดบุตร ผู้ประกันตนและรับจ่ายฝ่ายละ 1.5 นายจ้างจ่าย 1.5 ถ้ารัฐบาลยอมลดความเหลื่อมล้ำระหว่างระบบ โดยการจ่ายเงิน แทนที่จะเป็น 1.5 ก็จ่ายอย่างไรก็ได้ให้มีความสอดคล้องกับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งความจริงยังเหลือเงินในส่วนที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่าย ถ้าหากตัดส่วนตาย ทุพพลภาพ หรือคลอดบุตรออกไปแล้ว ส่วนนี้จะมาเสริมสิทธิประโยชน์อะไรก็ตามที่เราอยากได้อีก
- สุดท้าย ประกันสังคมควรที่จะต้องสะดวกและโปร่งใสมากขึ้น ดังที่ทุกท่านพูดมาแล้ว ทำอย่างไรให้ทุกคนที่เป็นผู้ประกันตนเห็นว่า ในกรรมการประกันสังคมใครพูดอะไรไว้ วาระรายงานการประชุมจะต้องเปิดให้ผู้ประกันตนได้เห็น ว่าในแต่ละครั้งมีการตัดสินใจอย่างไร ใครแสดงความคิดเห็นอย่างไร จะทำให้ประกันสังคมโปร่งใสขึ้น
- ฉะนั้นขอความกรุณาทุกท่านเลือกหมายเลข 48, 73 และ 113
การเสวนาในวันนี้สิ้นสุดลงที่ คุณสุนี ไชยรส รองประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กล่าวปิดทิ้งท้ายถึงการเลือกตั้งกรรมการประกันสังคมที่จะมีขึ้นในวันที่ 24 ธันวาคมนี้ดังนี้
การเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมครั้งนี้ ขลุกขลักบ้าง แต่ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะไม่มีการจัดการเลือกตั้งบอร์ดครั้งต่อไป กองทุนประกันสังคมเติบโตมาจากการต่อสู้ประชาชน ความคาดหวัง จึงแตกต่างจากบอร์ดที่มาจากการแต่งตั้ง การเริ่มต้นและความร่วมมือต้องมีมากกว่านั้น
มาจากการเลือกตั้ง ขอให้รับฟังผู้ประกันตนอย่างจริงจัง กล้าคิด กล้าทำ กล้าออกนอกกรอบหรือไม่ เราจำเป็นต้องติดตามตรวจสอบเพื่อทำให้กองทุนประกันสังคมนำไปสู่ความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด