ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25 เก่าไปใหม่มา : สว. ชุดใหม่ อนาคตประชาธิปไตย อนาคตประเทศไทย

14
พฤษภาคม
2567

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ‘สถาบันปรีดี พนมยงค์’ ได้ร่วมกับ ‘มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’ จัดงานเสวนาทางวิชาการ วันปรีดี พนมยงค์ 2567 :  PRIDI Talks #25 เก่าไปใหม่มา : สว. ชุดใหม่ อนาคตประชาธิปไตย อนาคตประเทศไทย ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยได้รับเกียรติจากผู้ร่วมการเสวนา ได้แก่ จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี, ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ อดีตคณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน, สิริพรรณ นกสวน สวัสดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการบริหารโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) เป็นผู้ดำเนินรายการ

 

สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25

 

ช่วงเปิดเวทีเสวนาได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวให้การต้อนรับแขกผู้มีเกียรติทุกท่านและกล่าวเปิดงาน โดย รศ. เกศินี กล่าวถึงที่มาของวันปรีดี พนมยงค์ ซึ่งถูกจัดขึ้นในทุกๆ ปี และความสำคัญของวงเสวนาวิชาการในหัวข้อ เก่าไปใหม่มา : สว. ชุดใหม่ อนาคตประชาธิปไตย อนาคตประเทศไทย ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีที่สังคมและสาธารณชนได้รับฟังมุมมองของผู้ร่วมเสวนาก่อนการเลือก สว. ที่กำลังจะเกิดขึ้น

 

สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25

 

ในช่วงกล่าวนำ รองศาสตราจารย์ ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานกรรมการบริหารสถาบันปรีดี พนมยงค์ ได้กล่าวถึงที่มาและอำนาจหน้าที่ของวุฒิสมาชิกตามรัฐธรรมนูญปี 2560 ว่ามีจุดมุ่งหมายเพื่อสืบทอดอำนาจและแนวคิดแบบอภิชนาธิปไตย ซึ่งเป็นการปกครองโดยคนกลุ่มน้อยที่เชื่อว่าตนเหนือกว่าประชาชนทั่วไป ขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตย

 

สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25

 

กระบวนการได้มาซึ่งวุฒิสมาชิกมีความซับซ้อนเกินไป อาจนำไปสู่การกระทำที่ผิดกฎหมาย ทำให้ระบบขาดความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ วุฒิสภายังมีอำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการองค์กรอิสระ ซึ่งมีอำนาจเหนือรัฐสภาและเสียงประชาชน และการมีวุฒิสภาก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายจำนวนมากซึ่งอาจนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศได้

รศ. ดร.อนุสรณ์ จึงเสนอให้ใช้ระบบสภาเดียวที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นระบบที่หลายประเทศประชาธิปไตยใช้อยู่ และจำเป็นต้องผลักดันให้ผู้มีแนวคิดประชาธิปไตยเข้าไปเป็นวุฒิสมาชิก เพื่อเปิดช่องทางในการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2560 ให้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตยมากขึ้น

สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25

 

ในช่วงท้าย รศ. ดร.อนุสรณ์ระบุว่า การผลักดันให้เกิดรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน และล้มล้างผลพวงจากการรัฐประหารในอดีต คือภารกิจสำคัญของขบวนการประชาธิปไตยและหน้าที่ของประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ

 

สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25

 

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ กล่าวเปิดประเด็นและแจ้งว่าระหว่างการเสวนาได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกวุฒิสภาได้ในวันนี้เป็นช่วงเวลาที่พอเหมาะพอดีและชี้ให้เห็นว่าการเสวนาความสำคัญ ที่มา และแง่มุมต่างๆ ในการปฏิบัติงานของสว. ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาและตั้งคำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้ฉุกคิดเกี่ยวกับสว. ไว้ว่า เราควรจะต้องมีสว. หรือไม่ต้องมีสว. หรือจะมี(สภาที่สอง-สว.-กองบรรณาธิการ)แต่มีที่มาแบบอื่น หรือมีสว. แต่มีอำนาจน้อยกว่านี้ โดยในงานเสวนาฯ ครั้งนี้ไม่เพียงแต่จะกล่าวถึงสว. ชุดเดิมแต่ยังมองไปถึงความคาดหวังและอำนาจของการมีสว. ชุดใหม่อีกด้วย

 

สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25

 

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ เสนอในมิติประวัติศาสตร์ด้วยการกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของการมีสภาสูง การอธิบายถึงพฤฒสภา และกล่าวถึงระบบวุฒิสภาหรือสว. ในปัจจุบัน ธเนศชี้ว่าการอภิวัฒน์สยามและการมีระบอบรัฐธรรมนูญคือการเปลี่ยนแปลงสำคัญต่อระบบการเมืองและสว. โดยในยุคต้นการอภิวัฒน์มีการประนีประนอมระหว่างชนชั้นนำกับคณะราษฎรซึ่งมีผลต่อการออกแบบสถาบันการเมืองรวมถึงสว. ธเนศยังวิเคราะห์ถึงจุดพลิกผันทางการเมืองคือ การรัฐประหาร พ.ศ. 2490 และครั้งถัดมาจนเป็นมรดกที่สืบทอดมายังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 ที่ทำลายระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย

 

สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25

 

สิริพรรณ นกสวน สวัสดี  ชี้ให้เห็นวุฒิสภาในมุมมองเปรียบเทียบโดยอธิบายจากกรณีวุฒิสภาของอเมริกาที่จะมีศักดิ์ศรีสูง มีวาระ 6 ปี และมีอำนาจหน้าที่ของประเทศบางอย่างอยู่ในมือ และกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงหน้าที่และหลักการของวุฒิสภาในยุคปัจจุบันว่า วุฒิสภาได้กลายเป็นเครื่องมือของอำนาจรัฐและกลับกลายเป็นองค์กรที่ค้ำจุนอำนาจองค์กรที่เป็นปฏิปักษ์กับอำนาจประชาธิปไตยแทนที่จะเป็นพี่เลี้ยงในการค้ำจุนระบอบประชาธิปไตยโดยวิเคราะห์ถึงต้นทางที่มาที่ทำให้เกิดวุฒิสภาคือ รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2560 ว่ามีกำเนิดที่สับสนซับซ้อนจนทำให้เกิดความไม่ได้สัดส่วนของกลุ่มอาชีพส่งผลให้ไม่มีความเป็นธรรม และชี้ให้เห็นบทบาทของ กกต. ที่น่าพิจารณาและเปิดประเด็นเชิงวิจารณ์เรื่องการออกแบบระบบสว.ไทยไว้ว่ารัฐบาลมีอำนาจล้มสภาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ไม่มีอำนาจล้มวุฒิสภา

 

สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25

 

ประจักษ์ ก้องกีรติ ชี้ให้เห็นถึงรูปแบบและที่มาของสว. ไทยว่ามีความพิสดารและมีระบบที่สับสนแบบตั้งใจ คือเป็นระบบที่ไม่ใช่การแต่งตั้งหรือการเลือกตั้งแบบในรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 ที่มีการเปิดรับสมัครสว. คือใครอยากเป็นก็มาสมัครเป็นสว. ได้ แต่การกำเนิดขึ้นของสว. เมื่อ พ.ศ. 2561 จำนวน 250 คน นั้นเป็นการทดลองใช้ระบบใหม่อย่างเงียบที่สุด ประจักษ์ได้สรุปเรื่องการที่ประชาชนควรจะลงสมัครสว. ไว้ว่าเป็นการเข้าไปมีส่วนร่วมในเกมที่ไม่แฟร์ เพื่อเข้าไปแก้เกมที่มันไม่แฟร์ และตอนนี้ความหวังของบ้านเมืองไม่ได้อยู่ในมือของคนรุ่นใหม่แต่อยู่ในมือของคนสูงอายุ

 

สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25

 

จาตุรนท์ ฉายแสง เปิดประเด็นด้วยกฎหมายแม่บทสำคัญของประเทศโดยชี้ว่า รัฐธรรมนูญคือสิ่งที่มีไว้ทำให้อำนาจอธิปไตยไม่เป็นผล และองค์กรที่มีอำนาจก็ส่งเสริมสิ่งเหล่านั้น และกล่าวถึงอำนาจของสว. ว่ามีอำนาจมากและออกแบบมาเพื่อไม่ให้ขึ้นตรงกับประชาชน และวิเคราะห์เรื่องข้อห้ามต่อการเลือกสว. ครั้งล่าสุดโดยเฉพาะเรื่องเงื่อนไขที่ไม่ให้มีการแนะนำตัวในเว็บไซต์เพราะกฎหมายบอกว่าห้ามจูงใจให้คนมาเลือกเป็นการพรากสิทธิของตัวแทนกลุ่มอาชีพต่างๆ ที่จะเข้ามาเลือกสว. เพราะจะไม่ทราบประวัติ ผลงานตัวแทนของกลุ่มอาชีพกลุ่มต่างๆ ของประชาชน

 

สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25

 

พริษฐ์ วัชรสินธุ เสนอเกี่ยวกับสว. ไว้ 3 ส่วนคือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต อดีตคือย้อนมองไปถึงบทบาทของสว. 250 คนที่ผ่านมา ปัจจุบันคือกระบวนการคัดเลือกสว. ชุดใหม่ที่จะเกิดขึ้น และอนาคตในกรณีที่มีการแก้ไขหรือจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ว่า เราควรจะมีหรือไม่มีวุฒิสภา พริษฐ์ยังได้ประเมินผลงานของสว. ชุดนี้อย่างแหลมคมว่าประสบความสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์และการมีอยู่ตามเป้าหมายของบทเฉพาะกาลนี้คือ แช่แข็งประชาธิปไตยในประเทศไทย เป้าหมายในการรักษาระบบการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และเป้าหมายของการสืบทอดอำนาจของกลุ่มคนที่มีความเชื่อมโยงกับคณะรัฐประหารและเป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตย ท้ายที่สุดพริษฐ์ตั้งคำถามว่าปัจจุบันสว. ยังจำเป็นต้องมีอยู่หรือไม่ในระบบการเมืองไทยร่วมสมัย และกล่าวถึงข้อดีกับประโยชน์ของสภาเดี่ยวที่สำคัญ 2 ประการคือ ประหยัดงบประมาณ และพิจารณากฎหมายได้รวดเร็วกว่า

 

สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25

 

ในช่วงท้ายเป็นการมอบของที่ระลึกโดยคุณสุดา พนมยงค์ ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์มูลนิธิปรีดี พนมยงค์ แก่ผู้ร่วมการเสวนาทุกท่านและผู้ดำเนินรายการ

 

สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25
สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25
สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25
สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25
สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25
สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25
สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25

 

งานเสวนาครั้งนี้ได้รับความสนใจและมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก อาทิ ทายาทปรีดี - พูนศุข พนมยงค์, ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุณชรินทร์ หาญสืบสาย กรรมการกลางมูลนิธิปรีดี พนมยงค์, คุณสันติสุข โสภณศิริ กรรมการกลางมูลนิธิปรีดี พนมยงค์, พันตรีพุทธินาถ พหลพลพยุหเสนา ทายาทพระยาพหลพลพยุหเสนา และคุณกฤต ไกรจิตติ อดีตอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เป็นต้น

 

สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25
สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25
สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25
สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25
สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25
สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25
สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนา PRIDI Talks #25