ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
บทบาท-ผลงาน

นายปรีดี พนมยงค์กับกรณีคอมมิวนิสต์ รายงานการประชุมคณะกรรมาธิการสอบสวน ครั้งที่ 4

12
กันยายน
2567

Focus

  • การประชุมกรรมาธิการสอบสวนว่าหลวงประดิษฐมนูธรรม เปนคอมมิวนิสต์หรือไม่ รายงานการประชุมครั้งที่ 4 นี้ทางคณะกรรมาธิการฯ ลงมติเป็นเอกฉันท์ว่า หลวงประดิษฐ์มนูธรรมไม่มีมลทินเปนคอมมิวนิสต์ดังที่ถูกกล่าวหาจากเค้าโครงการเศรษฐกิจในสมัยรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา

 

กรรมาธิการสอบสวนว่าหลวงประดิษฐมนูธรรม
เปนคอมมิวนิสต์หรือไม่

รายงานการประชุมครั้งที่ ๔

 

 

เปิดประชุม ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช

๒๔๗๖ เวลา ๕.๐๐ น.

มีผู้มาประชุม คือ

หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ ประธานกรรมาธิการ
พระยาศรีสังกร    กรรมาธิการ
พระยานลราชสุวัจน์ กรรมาธิการ เลขาธิการ
เซอร์ รอเบอร์ต ฮอลแลนด์ ผู้เชี่ยวชาญ
นาย ร. กียอง ผู้เชี่ยวชาญ
และ หลวงประดิษฐมนูธรรม ซึ่งกรรมาธิการ เชิญมา

ที่ประชุมได้แก้รายงานการประชุมครั้งที่ ๒ ต่อไปอีก ดังนี้

๑. (หน้า ๓ , บันทัดที่ ๖)  คําว่า “อนึ่ง ประมวลกฎหมายอาญาของอิตาลีก็บังคับให้คนมีอาชีพ” แก้เปน "อนึ่ง กฎหมาย ของประเทศอื่น ๆ เช่น บัลแกเรีย และ ปารากวัย ก็มี บังคับให้คนทํางานบางอย่าง และตามอนุสัญญาว่าด้วยการ บังคับแรงงานของสันนิบาตชาติ ก็ยอมให้เกณฑ์แรงงานได้ ในบางกรณี ปีหนึ่งไม่เกิน ๖๐ วัน

๒.  (หน้า ๙, บันทัดที่ ๑๕) ฆ่าคําว่า “และไม่คิดจะมีบทกําหนด โทษผู้ที่ไม่ทํางาน”, ออกเสีย

ที่ประชุมได้แก้รายงานการประชุมครั้งที่ ๓ ดังต่อไปนี้

๑. (หน้า ๒, บันทัดที่ ๑) เปลี่ยนคําว่า "และ" เปน "เพื่อ

๒. (หน้า ๒, บันทัดที่ ๙) เติมคําว่า "กําหนดการ ค.ศ. ๑๙๒๐

ข้อ ๑๑ - Direction on obligatory work 1926 Item 117 ท้ายคำ "เหมือนกัน"

๓. (หน้า ๒, บันทัดที่ ๑๒) เปลี่ยนคำว่า “รับเอาหลักการของคอมมิวนิสต์อันนี้มาบรรจุไว้ด้วย ดั่งที่ผู้ไขความได้กล่าวไว้ในสมุดว่า ด้วยกําหนดการนาซีนั้นแล้ว และข้าพเจ้าเข้าใจว่ามุสโซลินีก็ได้รับเอา หลักอันนี้เหมือนกัน” เป็น “มีเหตุการณ์บังคับให้มีหลักการเช่นนี้” ซึ่งแต่เดิมเปนของคอมมิวนิสต์นั้นมาบรรจุไว้ด้วย แต่นับว่าในนโยบายฟัสซิสต์ ก็มีอยู่ด้วยเหมือนกัน

 

 

๔. (หน้า ๒, บันทัดที่ ๑๖) เต็มคําว่า “แต่อันที่จริง ตามคําชี้แจงของ หลวงประดิษฐ ฯ ในการประชุมครั้งที่แล้วมา ก็ปรากฏว่า ความเห็น ของหลวงประดิษฐฯ ตรงกันข้ามกับความเห็นของคอมมิวนิสต์ที่เดียวเพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า” ลงท้ายคํา “เพราะจะทําให้หลวงประดิษฐอึกอักในการตอบ”

๕. (หน้า ๒, บันทัดที่ ๑๘) เปลี่ยนคําว่า “เห็นว่า เอามาจาก กำหนดการมอสโคว์ หน้า ๑๘ ได้ว่า” เป็น “ข้าพเจ้าใคร่จะใช้ถ้อยคำในการกำหนดการมอสโคว์ หน้า ๑๘ นั้นเอง คือว่า”

๖. (หน้า ๒, บันทัดที่ ๒๖) เปลี่ยนคําว่า “ในการทํางาน” เป็น “ให้ทุกคนได้ทํางาน”

๗. (หน้า ๓, บันทัดที่ ๑๓) เปลี่ยนคําว่า “ที่เราควรกระทํานั้นคือ” เป็น “ที่เราจะกระทําได้นั้นคือ”

๘. (หน้า ๔, บันทัดที่ ๗) ฆ่าคําว่า “และมิได้หมายความถึงแผน การอย่างอื่น.”

๙. (หน้า ๔,บันทัดที่ ๙) เปลี่ยนคําว่า “ไม่มีความมุ่งหมายที่จะแยก พวกกระฎุมพีออกจากชนชั้นอื่น ๆ แล้วบังคับแต่พวกกระฎุมพีให้ทำงาน คือไม่มีความหมายที่จะบังคับให้ผู้ซึ่งไม่น่าจะเปนภัยต่อประเทศ” เป็น “มีความประสงค์ที่จะจำแนกพวกที่มีทางหาเลี้ยงชีพอยู่แล้ว จากพวกที่ไม่มี.” ความมุ่งหมายของหลวงประดิษฐฯ ก็คือ จะให้พวกที่อาจจะเป็นภัยต่อประเทศนั้น ทำงาน.

๑๐. (หน้า ๔, บันทัดที่ ๒๗) เปลี่ยนคําว่า “ก็ย่อมจะต้องถอนออก…” เป็น “ก็ควรจะถอนออก…”

 

 

๑๑. (หน้า ๖, บันทัดที่ ๘) เติมคําว่า “หรือว่าทําไมจะใคร่ให้ถอน ข้อ ๖ ออก” ลงท้ายคํา “...ในเรื่องบังคับให้คนมีอาชีพ”

๑๒. (หน้า ๖ , บันทัดที่ ๑๐) เติมคําว่า “ตามหลักวิชาการ” ลงท้าย คําว่า “เพราะเห็นว่า”

๑๓. (หน้า ๖, บันทัดที่ ๑๙) เติมคําว่า “อนึ่ง เรื่องการบังคับทํางานนั้นหนังสือที่พวกโซเวียตแต่ง ชื่อว่า Travail Libre ou Travail forcé (G. Fourcache)” ก็อ้างว่าไม่มีการบังคับกลับซัดทอดมาให้เปนคติของประเทศที่ถือลัทธิเศรษฐนิยม และทั้งสุภาษิต ว่า “ใครไม่ทํางาน ก็ไม่ได้กิน”

ซึ่งพบในกําหนดการของคอมมิวนิสต์นั้น ก็เนื่องมาจากคัมภีร์ไบเบิล (ไตรปิฎก) ของศาสนาคริสต์นั่นเองคือ คําสั่งสอนของนักบุญชื่อ ปอล ว่า “For also when we were with you, this we declared to you; that if any men will not work, neither let him eat”. และศาสตราจารย์จีด ก็อ้าง สุภาษิตนี้ขอยืมไปจากเซนต์ ปอล (Gide:Communist and Co-operative Colonies, p. 26 ลงท้ายคํา “ก็ให้รัฐบาลรับซื้อเอา”.

แล้วที่ประชุมได้พิจารณาร่างรายงานของคณะกรรมาธิการ ถึง ประธานสภาผู้แทนราษฎร.ได้แก้ร่างดังต่อไปนี้

๑. (หน้า ๖,ข้อ ๑๗ (๖) บันทัดที่ ๒) เปลี่ยนคําว่า “และ” เปน “เพื่อ”

๒. (หน้า ๖, ข้อ ๑๙ ) ข่าววรรคต้นออก.

๓. (หน้า ๗, บันทัดสุดท้าย) ฆ่าคําว่า “และ" ไม่ทํางาน”. และไม่คิดจะมีบทกําหนดโทษผู้ที่ไม่ทำงาน

ประธานกรรมาธิการ : คุณหลวงเปนสมาชิกหรือเกี่ยวพันกับคณะคอมมิวนิสต์ระหว่างประเทศอย่างไรหรือไม่ ?

หลวงประดิษฐ : ไม่ได้เปนสมาชิกหรือเกี่ยวพันกับคณะคอมมิวนิสต์ ระหว่าง

ประเทศอย่างไรเลย.

เซอร์ รอเบอร์ต : หลวงประดิษฐ์คิดจะถอนการอุดหนุน ซึ่งรัฐบาลอุดหนุน

คณะสงฆ์อยู่นั้นหรือไม่ ?

 

 

หลวงประดิษฐ : มิได้คิดเลย ตรงกันข้าม เมื่อครั้งรัฐบาลพระยามโนฯ คิดจะยกเลิกกฐินหลวงบางวัดเสียเพราะว่าเปนการเปลืองพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จึงจะให้เปนกฐินราษฎรเสีย ข้าพเจ้ายังได้คัดค้านและได้เสนอว่าให้เอาเงินกระทรวงธรรมการออกแทน.

เซอร์ รอเบอร์ต : หลวงประดิษฐเห็นด้วยในการที่คณะสงฆ์จะร่วมมือกับ รัฐบาลในการศึกษาหรือไม่ ?

หลวงประดิษฐ : อยากจะให้ร่วมมือ. ในข้อนี้คณะสงฆ์ในเมืองไทยไม่ค่อยอยากจะมาเกี่ยวข้องกับทางฝ่ายอาณาจักร์ ซึ่งต่างกับที่เป็นอยู่ในประเทศตวันตกแต่ข้าพเจ้าเองอยากจะให้คณะสงฆ์มาร่วมมือกับรัฐบาลในการศึกษาอบรม

นายกียอง : ปัญหาเหล่านี้อยู่นอกกําหนดการคอมมิวนิสต์

ประธานกรรมาธิการ : คําตอบของหลวงประดิษฐที่ตอบเซอร์รอเบอร์ตนี้ ข้าพเจ้าจะได้บันทึกไว้ในรายงานการประชุม แต่จะไม่เติมลงในรายงานของคณะกรรมาธิการเสนอสภา

ประธานกรรมาธิการขอให้คณะกรรมาธิการลงมติว่า ตามที่ได้สอบสวนมานี้ เห็นว่าหลวงประดิษฐปราศจากมลทินในการที่ได้มีคํากล่าวหาในสมัยรัฐบาลพระยามโนฯ ว่า เปนคอมมิวนิสต์นั้น หรือไม่?

คณะกรรมาธิการลงมติเป็นเอกฉันท์ว่า หลวงประดิษฐไม่มีมลทินเปนคอมมิวนิสต์ ดังที่กล่าวหานั้นเลย

ส่วนเอกสารและสําเนาที่จะส่งไปยังสภาเพื่อประกอบรายงานของคณะกรรมาธิการ นั้น ที่ประชุมตกลงให้ส่งกําหนดการต่าง ๆ กับบันทึกรวม และบันทึกอุปกรของผู้เชี่ยวชาญนั้นไป ส่วนรายงานการประชุมนั้น ตกลงว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะขอดูได้ที่สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมาธิการไม่ขัดข้อง

ประธานกรรมาธิการ : ขอขอบใจผู้เชี่ยวชาญทั้ง ๒ ที่ได้ช่วยเหลือเปน

ผู้เชี่ยวชาญทั้ง ๒ : ขอขอบคุณประธานกรรมาธิการ ที่ได้ดําเนินการประชุมมาเปน
อย่างดี ทั้งได้แปลข้อความที่ยาก ๆ จากไทยเปนอังกฤษจากอังกฤษเปนไทยให้สดวกด้วย

 

 

หลวงประดิษฐ : ขอขอบพระคุณกรรมาธิการและผู้เชี่ยวชาญที่ได้พิจารณา เรื่องที่ยากนี้ด้วยความยุตติธรรม

ปิดประชุมเวลา ๑๑.๔๕ น.
วรรณไวทยากร

 

หมายเหตุ :

  • คงอักขร การสะกดคำ การเว้นวรรค และเลขไทยตามต้นฉบับ

หลักฐานชั้นต้น

  • กรมเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, กรรมาธิการสอบสวนว่าหลวงประดิษฐมนูธรรมเปนคอมมิวนิสต์หรือไม่ รายงานประชุมครั้งที่ 4.