ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
แนวคิด-ปรัชญา

มนุษยธรรมกับการพัฒนา และเป้าหมาย เพื่อสันติภาพที่ยั่งยืน

14
พฤษภาคม
2568

Focus

  • ในการสร้างสันติภาพ สันติภาพจะไม่เกิดขึ้นจากปลายกระบอกปืน ซึ่งปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาจากความแตกต่างและรากเหง้าของปัญหา รัฐบาลจึงควรสร้างความเป็นประชาธิปไตยในพื้นที่โดยยึดหลักมนุษยธรรมเพื่อสันติภาพที่ยั่งยืน

 

 

 

อัครพงษ์ ค่ำคูณ

เราเริ่ม อย่างนี้เพราะว่า เวลาเราพูดถึงความรุนแรงไม่ใช่แค่สงครามที่เกิดขึ้นตามที่ต่าง ๆ อย่างที่เราเห็น ส่งผลกับสิ่งที่เราเรียกว่า  ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม (Cultural violence) เพราะว่า เรานั้นสร้างความรุนแรงมาโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะการใช้วาจา ใช้คำพูด ในการส่งเสริมแนวคิดบางแนวคิด ไปทำให้คนซึ่งเห็นต่างจากเรา ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดก็ตามที ท่านถือว่าเป็นผู้สร้างความรุนแรง ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา เพราะไม่ใช่คนที่ไปร่วมแก้ปัญหา เพราะฉะนั้นไปที่ คุณกัณวีร์ เลยนะครับ

 

 

คุณกัณวีร์ ฟังตั้งแต่เมื่อเช้าตั้งแต่ท่านดร.อนุสรณ์ อินโทร เราเห็นภาพของ คนซึ่งวุ่นวายมากเลย ผมรู้สึกเห็นแล้วอยากจะไปนิพพาน ไม่อยากจะอยู่ในสังคมนี้แล้ว

คุณกัณวีร์เห็นภาพอะไร สิ่งที่อยู่รอบประเทศที่เกิดขึ้น หรือแม้แต่ในสภา คุณกัณวีร์เพิ่งจะผ่านเรื่องของการอภิปรายถกเถียงกันดุเดือดมากเลย สะท้อนสิ่งที่นักการเมืองหรือผู้สร้างสันติภาพให้เกิดขึ้น พูดง่าย ๆ คือให้คนอยู่ดีกินดีมีความสุข ในฐานะที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่าจะมีทางออกที่จะลดความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยใช้แนวคิดสันติภาพของอาจารย์ปรีดี กับสถานการณ์ปัจจุบัน จะสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นกับรัฐบาลอย่างไร

 

กัณวีร์ สืบแสง

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณสถาบันปรีดี พนมยงค์ และครอบครัว พนมยงค์ ให้โอกาสทุกครั้ง และขอขอบคุณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือต้องเริ่มว่า พูดตรง ๆ สันติภาพเป็นสิ่งที่มีชีวิตคนเป็นร้อยล้านชีวิตเป็นเดิมพัน สันติภาพคือสิ่งที่คนอีกร้อยล้านคน ประสบมีปัญหา ณ ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ลี้ภัย เป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนเปราะบาง ที่ถูกผลกระทบของคำว่า “ความรุนแรง”

อ.ดร.ฟูอาดี้ ได้กล่าวถึง ความรุนแรงทางตรง (Direct Violence) ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม (Cultural Violence) ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง (Structural Violence)  สิ่งต่างๆเหล่านี้ คำความหมาย นิยามของคำว่าสันติภาพ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นไอ้คำว่า สันติภาพ เกิดขึ้นมาทีหลัง คนเริ่มตระหนักรู้ว่าความรุนแรงเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้สิ่งที่เราไม่สามารถยอมอยู่กับอีกต่อไปจึงเริ่มมีความรู้สึกว่า คำว่าสันติภาพ คำว่าสันติจำเป็นต้องเกิดขึ้นในโลกใบนี้

ผมเชื่อมั่นว่ายังมีคนอีกหลายร้อยล้านคนบนโลกใบนี้อาจจะเป็นพันล้านคนที่รู้สึกว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่สันติภาพที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตของเขา จะเป็นสิ่งที่เขาสามารถยอมรับได้ ตอนนี้ผมขอแชร์ประสบการณ์ ในการเดินทางผมในฐานะนักมนุษยธรรมเวลาออกนอกประเทศ เวลาเดินทางไปในแต่ละประเทศ ครั้งแรก ๆ ผมไม่เข้าใจคำว่าสันติภาพ มองสันติภาพเป็นเรื่องที่ไกลตัวมาก ๆ ผมมองแค่นักมนุษยธรรม มองแค่ความเชื่อมโยงระหว่าง การที่จะทำให้คนที่เราไปให้ความให้ความช่วยเหลือ เรียกว่า บุคคลในความห่วงใยของผมในฐานะที่ทำงานเกี่ยวกับ ผู้ลี้ภัย ผู้พลัดถิ่น ภายในประเทศ บุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ คนมาขอลี้ภัย เดินทางกลับประเทศโดยสมัครใจ มองเพียงว่าจะทำ อย่างไรให้คนต่าง ๆ เหล่านี้สามารถยืนด้วยขาตัวเองได้

ก็คือเป็น ความเชื่อมโยง (Nexus) ของคำว่า ด้านมนุษยธรรม (Humanitarian) และ ด้านพัฒนา (Development) สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่สั่งสมในตัวผมเดินทางมาตลอดเวลาตั้งแต่แรก ปี 2009-2013

 

 

จนกระทั่งผมไปอยู่ที่ ซูดานเหนือ  ได้เรียนรู้อีกเรื่องหนึ่ง คือ ไม่พอการที่มีความเชื่อมโยง ด้านมนุษยธรรม (Humanitarian) และ ด้านพัฒนา (Development) คือความเชื่อมโยงระหว่างมนุษยธรรมและการพัฒนาไม่เพียงพอ

ปัจจุบันในเวทีระหว่างประเทศ ในเวทีสากลจะมี Humanitarian Development Peace  การเชื่อมโยงเกี่ยวกับ การสร้างสันติภาพขึ้นมาด้วยตัวเองไม่ว่าเราพยายามจะผลักดัน ไม่ว่าเราจะพยายามช่วยเหลือ ในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในพื้นที่สงคราม ในพื้นที่ที่ยังจะต้องการความสงบสุข ถ้าเราไม่มีสันติภาพจะไม่เกิดการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนตลอดไปเพราะฉะนั้น  ตรงนี้ความเชื่อมโยง (Nexus) หรือสะพานเชื่อมโยงระหว่างสามส่วน (มนุษยธรรม, พัฒนา, สันติภาพ) ตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญ

สันติภาพไม่เกิดขึ้น ไม่ว่าคุณจะช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคุณจะใส่เรื่องการพัฒนาต่าง ๆ เกิดขึ้นมาก็ตาม จะไม่ทำให้การแก้ไขปัญหาตรงนั้นยั่งยืนและคนยังต้องเรียกร้องถึงคำว่าสันติภาพและความสงบสุข ในชีวิตส่วนตัวสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่สั่งสมขึ้นมาว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำโครงการเรื่องของกำหนดการ ในเรื่องของความเชื่อมโยงต่าง ๆ สามส่วนตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมาปรับใช้ให้ได้

พอมาพูดในเรื่องเกี่ยวกับความคิดและทฤษฎีของท่านปรีดี เราเห็นครับจะมี 2 ช่วงช่วงแรก คือช่วงที่ เรื่องเกี่ยวกับสันติภาพกับรัฐธรรมนูญ เราเห็นชัดเจนว่าถ้าในประเทศนี้ ถ้าเราจะมีสันติภาพที่เกิดขึ้นจะต้องมีรัฐธรรมนูญ ต้องมีกฎหมายสูงสุดของประเทศในการที่ต้องปกครอง ต้องทุกคนต้องยอมรับต้องเคารพ เพราะว่ากฎหมายทุกคนทราบดี กฎหมายคือ การที่พวกเรายอมเสียสิทธิขั้นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ บางส่วนเพื่อรักษาความสงบสุขในสังคมของเราเพราะฉะนั้นรัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุด อันนี้ความความคิดทฤษฎีแรกของของท่านปรีดี

ตอนหลังมาตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ความคิดของท่านปรีดีทฤษฎีต่าง ๆ ท่านเริ่มขยับขึ้นมาเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ตอนนี้เริ่มไปอีก สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ท่านปรีดีเริ่มเปลี่ยนความคิดขึ้นไปว่าจะต้องยกระดับมาตรฐานสากลให้ได้

เวลานั้นจนถึงปัจจุบันนี้ ผมเชื่อมั่น ทฤษฎีอีกทฤษฎีรองรับได้ก็คือ Nexus ความเชื่อมโยง เราจำเป็นที่ต้องเกี่ยวกับเรื่องมนุษยธรรม เกี่ยวกับการพัฒนา เกี่ยวกับเรื่องการสร้างสันติภาพ เพราะสังคมไทยการเมืองปัจจุบันนี้ เห็นแยก แตกแยก ความแตกต่างทางด้านความคิดไม่ว่าจะเป็น ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม (Cultural Violence) ที่ อ.ดร.ฟูอาดี้ได้พูดมา เรื่องความคิดที่แตกต่างแบ่งเขาและแบ่งเรา ทั้งเกี่ยวกับเรื่องความรุนแรงโดยตรงทำให้เกิด ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง (Structural Violence)  เรามีการสร้างระบบ สร้างโครงสร้างต่าง ๆ เพื่อรองรับความรุนแรง ซึ่งไม่สามารถที่จะเอาคำว่า สันติภาพเข้ามาแก้ไขได้

แต่จะทำอย่างไรที่จะเอาเรื่องสันติภาพ ที่จะแก้ไขทั้งตัวโครงสร้าง ทั้งที่เกี่ยวกับดครงสร้างทางความคิด เพราะผมคิดว่าโครงสร้างความทางความคิดแข็งแรงมากกว่า ความรุนแรงทางตรง (Direct Violence)  ความรุนแรงอย่างหนึ่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ของเรา ปาตานี ผมยังยืนยันทัวร์ก็จะมาลงผมเหมือนเดิม แต่อย่างผมก็ต้องยืนยันคำนี้ ในพื้นที่การตั้งสมการผิดพลาด ตั้งแต่อดีตอันนี้ ผมมองแค่ 21 ปีที่ผ่านมา สมการที่มองแค่ว่า จำนวนสถานการณ์ความรุนแรงลดน้อยถอยลงเหลือศูนย์ คือ สันติภาพ

ผมว่าการตั้งสมการตรงนั้นผิดพลาด ผิดพลาดตั้งแต่ปี 2547 เรามองแค่จำนวนความรุนแรงเท่านั้น เราไม่ยอมเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างที่มองเกี่ยวกับ Ideology (อุดมการณ์) ไม่มองเรื่องวัฒนธรรม ไม่มองเรื่องเกี่ยวกับรากเหง้าของปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเราต้องไปแก้ไข ในเรื่องของความรุนแรงทางตรงที่ อ.ดร.ฟูอาดี้ได้ว่าไว้ คือจำนวนสถานการณ์เท่านั้นลดน้อยถอยลงบ้างไหม ลดน้อยถอยลง แต่แก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนได้ไหมไม่ได้ เพราะว่าสามขา Humanitarian Development Peace ไม่สามารถเกิดขึ้นไม่มีจุดบรรจบ ไม่มีความเชื่อมโยง

สถานการณ์ในเมียนมา อ.ดร.ฟูอาดี้ก็ได้บอกเรียบร้อยแล้ว เราต้องการแก้ไขแบบเชิงบวก (Positive) เพราะฉะนั้นจะทำอย่างไรในประเทศไทย ปัจจุบันความร่วมมือความร่วมมือในกรอบพหุภาคี ของประเทศไทย ประเทศจีน ประเทศเมียนมาที่เกิดขึ้นใช้ได้หรือไม่ เราต้องถามตัวเราเอง ถามปัจจุบันนี้ ทำไมต้องเข้าไปมองเรื่องของสันติภาพที่เกิดขึ้นในเมียนมา สันติภาพไม่เกิดขึ้นในเมียนมาประเทศไทยเราเองก็จะมีปัญหา

เมื่อเช้านี้ผมเพิ่งเขียนบทความบทความหนึ่ง ในเรื่องเกี่ยวกับการจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ที่จะเกิดขึ้นที่ทวาย หรือพะโค ในประเทศเมียนมาที่ใกล้กับประเทศไทย ตอนนี้สถานการณ์เริ่มแพร่ขยายมาเรื่องสงครามการเมืองระหว่างประเทศ รัสเซียเข้ามาในประเทศเมียนมา ประเทศจีนเข้ามาในประเทศเมียนมาประเทศไทยจะไปสอดรับตรงนั้นหรือไม่อย่างไร ถ้าเกิดปัญหาสันติภาพที่เกิดขึ้นในเมียนมาร์ที่เกิดขึ้น ผมเชื่อมั่นประเทศไทยเราเองจะได้รับผลกระทบลงมากที่สุด จริง ๆ เป็นการตอบสนองกลับไปครับที่ว่า

ในสภาผู้แทนราษฎรพวกเรามีสันติภาพหรือไม่ สันติภาพในสภาผู้แทนราษฎรจะตอบอย่างไรครับ ท่านสุธรรม บนเวทีนี้ผมกับท่านสุธรรมมีสันติภาพอย่างแน่นอนเพราะมีการพูดคุยตลอดเวลาแต่เราต้องเข้าใจว่าในสภาผู้แทนราษฎร พวกเราต้องมีฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้านทำหน้าที่ตรวจสอบไปเรื่อย ๆ เรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการของรัฐบาล แต่ว่าปัญหาเกิดขึ้นที่  Cultural Violence Ideology  เกี่ยวกับทางด้านความคิดยังมีความคิดที่แตกต่าง เพราะฉะนั้นการสื่อสารของพวกเราจำเป็นต้องสื่อสารทั้งในสภาและนอกสภา สิ่งนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ แต่ว่า ณ ปัจจุบันนี้แก้ไขปัญหาไม่ได้แน่นอนผมก็ขอจบตรงนี้ไว้

 

 

อัครพงษ์ ค่ำคูณ

ขอบคุณครับ คุณกัณวีร์ ในฐานะที่ฟังทั้งวิทยากรทั้ง 4 ท่านนะครับอยากจะขอให้ลองเสนอแนะรัฐบาลื หนึ่งในนั้นก็นั่งอยู่ตรงนี้ รัฐบาลและท่านส.ว. แล้วกันในฐานะที่ท่านทำงานภาครัฐและดำเนินนโยบาย ในฐานะที่เป็นส.ส. รัฐบาลควรจะดำเนินโยบายอย่างไรในการสร้างประชาธิปไตยที่มีสันติภาพ

 

 

กัณวีร์ สืบแสง

รัฐบาลพร้อมนะ ประชาธิปไตยที่มีสันติภาพ ที่จริงแล้วตอนนี้หัวสมองยังติดอยู่กับรูปที่ อ.ดร.ฟูอาดี้โชว์ สปาร์ตา เอเธนส์ คือผมเห็นว่าทางเอเธนส์ เห็นชัดเจนแล้วว่าคือ ถือโลห์ มีตรา ลูกจักรต่าง ๆ สปาร์ตาก็จะเป็นคนที่มีรูปแบบอย่างเดียวกันเลยนั่นคือความคิดในตอนแรก ในการที่เรามีรัฐชาติเกิดขึ้นมาประเทศไทย เราเองผมมองว่าการสร้างรัฐชาติในอดีตหนึ่งเดียว ในการสร้างรัฐชาติของเราได้ของรัฐนี้

แต่ในความเป็นจริงจนปัจจุบัน ความคิดที่น่าจะเป็นสัจนิยมวิทยาความเป็นจริงสำหรับผม ไม่ใช่ Realis คือ สัจนิยมวิทยาน่าจะเป็นความหลากหลายต่างหากที่จะสร้างเอกภาพ ตอนนี้ในประเทศเราต้องยอมรับว่ามีความหลากหลายจริง ๆ อาจารย์บอกอาจารย์เป็นคนเป็นลาวใช่ไหม เป็นคนล้านนา ตอนนี้เป็นคนล้านช้างด้านฝั่งขวาของลุ่มแม่น้ำโขง ก็คือคนที่เป็นคนลาว ที่เข้ามาอยู่ในฝั่งนี้หลายคนเจอในประเด็นชาวอีสาน ชาวอีสานเป็นการแบ่งแยกกันปกครองว่าพวกเขาเป็นคนอีสานแต่จริง ๆ พวกเขาเป็นคนล้านช้าง ด้านขวาลุ่มแม่น้ำโขงจะมีเชื้อชาติจีนเข้ามาด้วย

ตัวผมเองหลายกลุ่มเหลือเกินมีทั้งแน่นอน ผมก็อยู่มอญ คุณย่าเป็นทั้งกะเหรี่ยง พ่อหลาย ๆ เดี๋ยวจะบอกว่าเดี๋ยวก็มีทัวร์มาลงอีกว่าไม่ใช่คนไทย ผมพม่าแน่นอนส.ส.พม่าหรืออะไรต่าง ๆ  อาจจะเป็นชาวมาลายูต่างหาก มองเห็นว่าความหลากหลายที่สร้างเอกภาพให้กับประเทศของเราที่จะต้องเปลี่ยนแปลงจากชาตินิยมขึ้นมาได้จริง ๆ ความรักชาติอย่างที่ อ.ดร.ฟูอาดี้บอกอย่างนี้ต่างหากที่สำคัญ เห็นที่ท่านอังคณาได้พูดไว้เกี่ยวข้องกับชนชาติพันธุ์ สิ่งที่บอกว่ามีสภาชนเผ่ามีการบอกว่าคนพื้นเมือง (Indigenous peoples) เป็นสิ่งที่ต่อต้าน เรามีเผ่าเดียวสมัยก่อนสภาผมได้ยินว่า ของเรามีแค่เผ่าไทยเป็นสิ่งที่น่าตกใจและเป็นสิ่งที่น่ากังวลจริง ๆ

ผมต่อสู้เต็มที่กับพี่น้องพรรคร่วมฝ่ายค้านเป็นไปไม่ได้ที่สร้างความเป็นหนึ่งเดียวที่สร้างเอกภาพได้ หากเรายอมรับต่างหาก เรื่องเกี่ยวกับความหลากหลายเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าจะพูดไปที่อาจารย์ถามในเรื่องเกี่ยวกับประชาธิปไตยที่จะมีสันติภาพเกิดขึ้นจะเกิดขึ้นได้อย่างไร แน่นอนผมชัดเจน เรื่องสันติภาพ “สันติภาพจะไม่เกิดขึ้นจากปลายกระบอกปืน” ก็คือสันติภาพจะไม่เกิดขึ้นจากความรุนแรง

ความรุนแรงก็คือ ความแตกแยก ความแตกต่างทางด้านความคิด ความแตกต่างทางด้านความหลากหลายของ พวกเรา พอเรามีความแตกต่างหลากหลายและเราสามารถยอมรับซึ่งกันและกันได้ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ต่างหากที่เราจะมานั่งคุยกันว่าในความแตกต่างของพวกเราจะมีจุดเชื่อมกันได้อย่างไร โยงกับไปในจังหวัดชายแดนภาคใต้ชัดเจนครับ รากเหง้าของปัญหา ความคิดเห็นที่แตกต่างสิทธิเสรีภาพการแสดงออก สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เราจะสร้างอย่างไรให้เกิดประชาธิปไตยในพื้นที่

เมื่อในขณะที่กฎหมาย กฎหมายพิเศษต่าง ๆ กดทับในเรื่องที่มีความแตกต่าง ทำไมเราไม่ยอมรับความแตกต่าง เอกลักษณ์ต่าง ๆ ประชาธิปไตยจะเกิดได้อย่างไรเวลาคนเราเปล่งเสียง พี่น้องในพื้นที่เปล่งเสียงออกมาว่า เราเป็นคนมีอัตลักษณ์ แต่กลับกลายเป็นโดนเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายพิเศษ พื้นที่ในการแสดงออก พื้นที่ในการพูดคุยอยู่ตรงไหน ถ้าเรามีช้างเผือก 365 เชือกจะเป็นที่ดีที่เราสามารถทำไมถึงไม่ส่ง 1-2 ลงไปในพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำไมไม่ยอมรับในเรื่องว่าถ้าเราจะมีความแตกต่างทางด้านความคิด เรื่องเกี่ยวกับอนุลักษณ์นิยมทางด้านการทหาร ความมั่นคงเป็นสิ่งที่จะแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้วทำไมช้างอีกเชือกที่จะบอกว่าเราต้องการพื้นที่ในการแสดงออกของพวกเรา อย่างไรก็ตามช้างสองเชือกอาจจะมาคุยกันได้ว่า จุดตรงกลางอยู่ตรงไหน ปัญหาอยู่ตรงไหน สิ่งไหนที่อยากจะเสนอให้กับท่านสุธรรมในเรื่องเกี่ยวกับการสร้างสันติภาพในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ที่เกี่ยวกับการสร้างประชาธิปไตย อาจจะไม่เต็มใบ ณ ปัจจุบันนี้

เพราะผมเชื่อมั่น อย่างไรก็ตามแม้ว่าเราจะพยายามสร้างประชาธิปไตยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เราไม่สามารถทำได้ ผมอาจจะเป็นคนมองโลกในแง่ร้ายแต่ว่าผมมองโลกในความเป็นจริง เพราะตอนนี้ ณ ปัจจุบันนี้ ทุกคนยังโดยปิดกั้นกันอยู่เราทำอะไรเราอยู่

ในกรรมาธิการผมอาจจะเป็นเด็กดื้อ ผมอยู่ในกรรมาธิการวิสามัญฯ กับท่านสุธรรมในหลายครั้ง ผมก็ไม่ได้เข้า แต่ไม่การแสดงออกในเชิงปฏิเสธ การแสดงออกเชิงอหิงสาบอกว่า สิ่งต่าง ๆ ที่เรากำลังพูดคุยในกรรมาธิการตรงนี้ เมื่อไหร่เราจะสามารถผลักดันได้จริง ๆ  สร้างสันติภาพในพื้นที่ การดึงกลับมา พี่น้องประชาชนเชื่อมั่น เพราะ เชื่อคือต้นเหตุในการสร้างประชาธิปไตยสิ่งที่ผมพยายามจะมองเห็น ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีสองเรื่องตามที่อาจารย์อัครพงษ์ได้พูดไว้ประชาธิปไตยในการสร้างสันติภาพ อันนี้คือส่วนหนึ่งในเรื่องของจังหวัดชายแดนภาคใต้

 เรื่องเกี่ยวกับบริเวณชายแดน ผมเป็นคนชอบเดินทางในพื้นที่บริเวณชายแดนบริเวณชายแดนด้านตะวันตกมีพี่น้องที่เป็นชาติพันธุ์ กลุ่มต่าง ๆ กลุ่มกระเหรี่ยงขาว กลุ่มกระเหรี่ยงแดง กลุ่มมอญ พี่น้องเหล่านี้ที่มานั่งคุยกับผมตลอดเวลา เพราะผมชอบขับรถบริเวณชายแดน ผมชอบเห็นว่าเสียงของเขาหายไป ตัวตนของเขาก็หายไปตามเสียงที่ค่อยจะจางหายไปเรื่อย ๆ กลายเป็นว่ามีกลุ่มก้อนทางด้านการเมือง และโดยเฉพาะ กลุ่มก้อนที่อยู่ในส่วนกลางเท่านั้นที่เป็นสิ่งที่พยายามจะยึดมั่นในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจไว้ เสียงต่าง ๆ จะออกมาเฉพาะส่วนกลางเท่านั้นคนบริเวณชายแดนอยู่ตรงไหน คนที่ยังไม่มีสถานะทางบุคคลไม่ว่าจะเป็น เรื่องเกี่ยวกับสัญชาติ บุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ทั่วประเทศไทย

ถึงแม้ว่าคณะรัฐมนตรีของเราได้มีมติออกมาแล้วเรียบร้อยว่าจะมีการให้สัญชาติคน 408,030 คน ต้องถามท่านอังคณาโดยผมก็ยังไม่เชื่อมั่นว่า เราจะทำเรื่องเกี่ยวกับการให้สัญชาติได้ครบเสียงพวกเขาเหล่านั้นตกหล่นหายไปตามกระแสลมในบริเวณชายแดน ผมว่าไม่ถึงขนาดนั้นเพราะว่าผมอาจจะเป็นแค่เสียงสะท้อนจากส่วนกลางเท่านั้นว่าเรามีความพยายามในการที่จะให้สัญชาติ อันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับประชาธิปไตยกับสันติภาพ สันติภาพจะออกมาทุกคนที่ไม่มีเสียง เราจะทำอย่างไรที่จะดึงเขามากลับเข้ามาให้มีเสียงแล้วมีอยู่ส่วนกลางได้อย่างไร

ผมก็มองอย่างที่จะลำบากพอสมควรว่าในระบอบประชาธิปไตยของประเทศ ณ ปัจจุบันนี้ หากเราจะเอาเรื่องสันติภาพเข้ามาเกี่ยวข้องจะสามารถทำได้เลยหรือเปล่าผมมองว่าประชาธิปไตยของประเทศไทยอย่างน้อย ณ ปัจจุบันนี้ ผมกำลังยึดอยู่ คือการเอาหลักการณ์ มนุษยธรรมมานำการเมืองให้ได้

หลักการมนุษยธรรมตามที่ท่านปรีดีได้บอกไว้ตั้งแต่ก่อนที่จะมีสงครามโลกครั้งที่ 2 ชัดเจนในเรื่องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ คือใกล้เคียงกันมาก หลักมนุษยธรรม มี 4 หลัก หลักแรก หลักมนุษยชาติ ( Humanity) เอามนุษย์โลกเป็นส่วนกลางในการตัดสินใจ เอาประชาชนที่เป็นบุคคลในความห่วงใยของเราเอามาเป็นตัวกลางในการที่จะตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายใด ๆ ก็ตามที่จะเกิดขึ้น หากเราสามารถทำได้อันแรกเราต้องยึดมั่นตรงนั้น หลักความเป็นกลาง (Neutrality) เราคงจะต้องเป็นกลางในการตัดสินใจในระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย เราจำเป็นต้องเป็นกลางให้ได้หลักที่สาม หลักการไม่เอนเอียง (Impartiality) การตัดสินใจของทุกอย่างในเรื่องเกี่ยวกับการเมืองระบอบประชาธิปไตย เราไม่เอนเอียงไปฝั่งใดฝั่งหนึ่ง เราต้องไม่เอาแหล่งทุนมาเป็นสิ่งที่ต้องตัดสินใจว่าเราต้องไปฝั่งโน้น ถึงแม้ว่าเราจะมีผลประโยชน์ทางด้านพลังงาน เราก็ไม่เอาในเรื่องของพลังงาน เราจำเป็นต้องกลับไปที่หลักแรก หลักที่เอาประชาชนเป็นศูนย์กลางให้ได้ หลักสุดท้ายเป็นหลักสำคัญเกี่ยวกับมนุษยธรรม คือ หลักอิสระ (Independent)  เราต้องมีอิสระภาพในการทำงาน 4 หลักหากเราสามารถทำได้แล้ว ผมว่าอย่างน้อยประชาธิปไตยในประเทศไทยของเราจะสามารถเดินหน้าต่อไปถึงเรื่องหลักสันติภาพที่จะเกิดขึ้น แต่หลักสันติภาพตรงนี้อาจจะเป็นที่มองเป็นนามธรรมเยอะ แต่สำหรับตัวผมเองในฐานะคนที่ทำงานในสภาวะสงคราม ผมอาจจะไม่ถึง Just War

ผมอาจจะไม่ถึงหลักสงครามโดยชอบธรรม ผมอาจไม่ถึงขนาดนั้นผมอาจจะคิดเกินในสิ่งต่าง ๆ ที่ผมอยู่ในสภาวะสงครามทุกคนน่าจะเคยได้ยินเพลง Imagine คือผมมองไกลไปขนาดนั้นว่า คนที่อยู่ในภาวะสงคราม เราไม่อยากให้เกิดขึ้น เราไม่อยากเห็นแม้ ไม่อยากได้ยินแม้กระทั่งกระสุนลูกเดียวที่ออกจากปลายกระบอกปืน เพราะพวกเราทำงานเราใช้ชีวิตของพวกเรา เรายึดมั่นในหลักการ 4 ข้อที่จะบอกไปเบื้องต้น หลักการของมนุษยธรรมในการทำงานหนึ่งชีวิตมีค่า เราไม่ควรจะสูญเสีย อันนั้นคือสิ่งที่ผมยึดหลักกรอบกระบวนทัศน์ของผมในการมองโลกว่าเราไม่ต้องการเห็นความสูญเสีย เราไม่ต้องการเห็นสงคามเกิดขึ้นในโลกใบนี้ ผมอาจจะจินตนาการ แต่สิ่งนั้นเป็นสิ่งสุดท้ายที่ผมต้องการที่จะไปถึง ในความเป็นจริง โลกใบนี้ยังมีการต่อสู้อย่างมากมาย Just War ต่างหากการเอารัดเอาเปรียบ ผมต้องการเห็นสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ของพวกเราที่นั่งอยู่ที่นี่ แล้วคนที่ฟังทางบ้านโดนริดรอนไปโดยกรอบอำนาจบางอย่าง เราจำเป็นต้องทะลุกรอบอำนาจไปให้ได้ เพื่อจะไปในจุดสุดท้ายของผมคือ ชุมชนจินตกรรม  (Imagined community) สิ่งต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ผมคิดอยู่ตลอดเวลา

 

อัครพงษ์ ค่ำคูณ

ขอบคุณครับ คุณกัณวีร์

 

 

รับชมถ่ายทอดสดฉบับเต็มได้ที่ : https://www.youtube.com/live/Q1HZDjbcsVA?si=JsQXXgQY5dbhwIWg

 

หมายเหตุ :

  • คงรูปแบบการสะกดและการเว้นวรรคไว้ตามต้นฉบับ

 

ที่มา : PRIDI Talks #PRIDI Talks #30 “ประชาธิปไตยที่ไร้สันติภาพ : เมื่อความรุนแรงไม่ได้อยู่แค่ในสงคราม”วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม 2568 ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เวลา 13.00-16.00 น.