ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ชีวิต-ครอบครัว

จดหมายของปรีดี พนมยงค์ ถึงลูก ๆ เรื่องที่ 2 การเลือกตั้งเทศบาลในกรุงเทพฯ และชนบทกับเศรษฐกิจแบบศักดินาและชาวนา

20
กันยายน
2567

 

 

(วันที่ 4 ตุลาคม 2511

 

ปาล,แป๋ว,ดา ลูกรัก

ด้วยแม่ได้ให้พ่ออ่าน นสพ. ซึ่งมีผู้วิจัยเกี่ยวกับการเลือกตั้งเทศบาลในกรุงเทพฯ กับการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีในชนบท พ่อได้พิจารณาแล้วมีความเห็นหลายประการซึ่งเป็นความรู้ทั่วไปสําหรับลูกด้วย ฉะนั้นจึงได้ส่งความเห็นนี้มาทางลูกเพื่อให้ลูกทั้งสามพิจารณาอย่างละเอียดสุขุม และขอให้ลูกนําจดหมายฉบับนี้ไปอ่านให้แม่ฟังเพราะแม่แก่แล้วก็ไม่ต้องอ่านเองแต่ถ้าแม่ได้ฟังผู้อื่นอ่านก็เข้าใจได้

1. ผู้วิจัยที่อยู่ในประเทศและที่อยู่นอกประเทศต้องอาศัยความรู้ตามธรรมชาติเป็นพื้นเบื้องแรกและอาศัยวิทยาศาสตร์ธรรมชาติกับวิทยาศาสตร์สังคมประกอบด้วยประวัติศาสตร์และการเคลื่อนไหวของสังคมทั้งภายในและในโลกอย่างลึกซึ้งจึงจะช่วยให้วิจัยสังคมได้ถูกต้อง แม้ผู้ลี้ภัยในต่างประเทศถ้าได้อาศัยหลักดังกล่าวนั้นก็สามารถวิจัยสังคมของตนกับของโลกได้อย่างใกล้เคียงเช่น ม.ต้องตกค้างอยู่ที่ลอนดอนถึง 34 ปีและ อ. ต้องตกค้างอยู่ที่ลอนดอนถึง 46 ปี และล. ต้องอยู่ในยุโรปตะวันตก ในสวิสเซอร์แลนด์หลายปี แต่ว่าก็สามารถวิจัยสภาพของสังคมของท่านได้อย่างถูกต้องกว่าผู้ที่อยู่ในประเทศอีกหลายคน

ผู้วิจัยการเลือกตั้งในก.ท.ที่เห็นปรากฏการณ์เพียงด้านหนึ่งว่าแม้แต่คนยากจนในก.ท. ก็ไม่ไปออกเสียงลงคะแนน ให้แก่วรรณะหรือเหล่าอันดับวรรณะของคนแล้วก็สรุปโดยตั้งความหวังว่าจะได้คะแนนเสียงจากคนในชนบทที่สามารถตะล่อมคะแนนในเมืองได้นั้นก็น่าใช้สติและความเฉลียวดูปรากฎการณ์อีกด้านหนึ่งประกอบว่าคนยากจนใน ก.ท. เวลานี้ก็ประกอบด้วยคนที่เกิดใน ก.ท. หรือมีถิ่นที่อยู่ใน ก.ท.มาช้านาน แต่อีกส่วนหนึ่งก็เป็นคนยากจนที่มาจากชนบทสด ๆ ร้อน ๆ หรือไม่นานมานี้เองซึ่งเป็น

เหตุสําคัญอันหนึ่งที่ทําให้ ก.ท. มีพลเมืองเพียงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วประมาณ 2 ล้าน 4 แสนเศษ เมื่อปลาย พ.ศ. 2510 แล้วลองวิจัยว่าถ้าคนชนบทไม่หลั่งไหลเข้ามาอยู่ใน ก.พ. คือยังคงอยู่ในชนบทตามเดิมแล้วพวกยากจนเหล่านั้นจะเลี่ยงคนเป็นลงคะแนนให้พรรคชาวนากะนั้นหรือ? เหตุใดเล่าถ้าถือว่าคนชนบทมีจิตสํานึกสูงกว่าคนในเมืองแต่คนชนบทที่เพิ่มหลั่งไหลเข้ามาอยู่ใน ก.ท. ก็สูญสิ้นจิตสำนึกที่มีอยู่ไปรวดเร็วได้อย่างไร ? ฉะนั้นต้องพิจารณาตามหลักดังกล่าวข้างต้นให้ละเอียดถี่ถ้วนตามสภาพที่แท้จริงทางภววิสัยทั้งด้านเศรษฐกิจการเมืองวัฒนธรรมซึ่งหมายถึงความคิดและจิตสํานึกตามที่เป็นจริงของแต่ละวรรณะและเหล่าอันดับต่าง ๆ ของวรรณะ

2. เป็นความจริงที่ชาวนายากจนในชนบทเป็นคะแนนเสียงสําคัญของบรรดาพรรคชาวนา ดังนั้นเวลาในประเทศที่ชาวนายากจนเป็นจํานวนส่วนข้างมากที่สุดของบรรดาชาวนา เฉพาะในประเทศในนั้นพรรครชาวนาก็อาศัยเสียงข้างมากที่สุดนั้นตะล่อมเสียงของพรรคต่าง ๆ ที่หาเสียงอยู่ในเมืองได้และสามารถได้ชัยชนะในการประกอบเป็นรัฐบาลได้ ทั้งนี้ก็เป็นไปตามกฎธรรมดาเรานี่เองแม้แต่เด็กที่เล่นล้อมวงกันตามสวนสาธารณะ เด็กฝ่ายข้างมากก็สามารถล้อมเด็กฝ่ายข้างน้อยได้

แต่ถ้าบุคคลใช้ปัญญาประกอบด้วยสติใช้ความฉลาดประกอบด้วยความเฉลียวแม้แต่ยังไม่ต้องพลิกหนังสือสถิติ ก็จะสังเกตได้ง่ายเหลือเกินว่าชาวนายากจนไทยไม่เคยต้องอพยพไปหากินในประเทศอื่น แต่บางประเทศมีชาวนายากจนอย่างแร้นแค้นที่สุดเป็นจํานวนมากถึงกับอพยพเข้ามาหากินในประเทศไทยดั่งที่คนรุ่นเก่าของไทยพูดกันว่า อพยพมาเพียงมีเสื่อผืนหมอนใบเท่านั้นก็แสดงว่าในประเทศเหล่านั้นมีชาวนายากจนมากมายเพียงใด ส่วนในประเทศใกล้เคียงกับประเทศไทยอื่น ๆ ซึ่งเคยอยู่ใต้อํานาจฝรั่งและมีประเพณีเกี่ยวกับเจ้าที่ดินเหมือนกับประเทศอื่น แต่ไม่เหมือนกับประเทศไทยนั้นก็ได้มีชาวนายากจนละทิ้งถิ่นเดิมของตนเข้ามาอยู่ในประเทศไทยจํานวนไม่น้อย เพียงเท่านี้ก็น่าจะได้แต่สติถึงสภาพของความยากจนและจํานวนของชาวนายากจนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเหล่านั้น

ถ้าได้สติบ้างแล้วผู้วิจัยที่ก้าวหน้าก็ควรดูสถิติดังต่อไปนี้

ก. แม้สถิติพ.ศ. 2500 จะล้าสมัยแต่ให้ดูสถิติใหม่เอี่ยมที่สุดซึ่งกรมพัฒนาที่ดินได้สำรวจไว้โดยปรากฏจากคำสัมภาษณ์ของนายพจน์ สารสินเมื่อ 3 ธันวาคม 2509 ปรากฏว่าอัตราส่วนร้อยละของชาวนาที่เช่านาผู้อื่นทำคือ (1). ภาคอีสาน ร้อยละ 13. (2). ภาคใต้ ร้อยละ 15, (3). ภาคเหนือ ร้อยละ 24, (4). ภาคกลางร้อยละ 56 ถัวเฉลี่ยทั่วประเทศร้อยละ 27 ดังนี้ตามสติแห่งสามัญสํานึกก็เห็นได้แล้วว่าคะแนนเสียงชาวนายากจนที่เช่านาผู้อื่นทำร้อยละ 27 นั้นก็ยังเป็นส่วนน้อยซึ่งไม่สามารถตะล่อมคะแนนเสียงของพรรคอื่น ๆ ในเมืองได้

และถ้าจะพิจารณารายละเอียดให้รู้คําว่า "ภาค" ตามภววิสัยไม่ให้ตามนามธรรมก็จะเห็นว่าภาคนั้นประกอบด้วยท้องที่กว้างขวางอันเป็นท้องที่ทุรกันดารห่างไกลความเจริญก็มีและที่อยู่ใกล้คมนาคมและใกล้ในเมืองก็มี ฉะนั้นก็น่าคิดว่าชาวนาที่ต้องเช่านามาทําเป็นส่วนมากนั้นตามอัตราดังกล่าวแล้วก็มีอยู่เฉพาะบางท้องที่ของภาคหนึ่ง ๆ หาใช่ทั่วทั้งภาคไม่

และน่าได้สติว่าชาวนายากจน ร้อยละ 13 ของภาคอีสานจะตะล่อมเสียงทั้งภาคอีสานได้อย่างไร ร้อยละ 15 ของภาคใต้จะตะล่อมภาคใต้ได้อย่างไร ร้อยละ 24 ของภาคเหนือจะตะล่อมภาคเหนือได้อย่างไร ส่วนในภาคกลางที่ถัวเฉลี่ย

ทั้งภาคผู้ที่มีไร่นา ร้อยละ 56 นั้นก็ปรากฏว่าเป็นเรื่องของส่วนถัวเฉลี่ยเพราะมีในเขตที่ดินไม่สมบูรณ์ซึ่งบริเวณเดิมเรียกว่าทุ่งหลวงอันได้แก่บางส่วนของจังหวัดอยุธยา บางส่วนของปทุมธานี บางส่วนของสระบุรี บางส่วนของฉะเชิงเทรา บางส่วนของอําเภอมีนบุรีซึ่งบริษัทขุดคลองคูนาสยามเดิมเป็นเจ้าที่ดินใหญ่แล้วต่อมาก็มี ม.ร.ว.สุรพันธ์รับช่วง บริเวณนั้นมีผู้เข้ามาร้อยละ 76 แต่เมื่อถัวทั้งภาคกลางอีกมากลายหลายจังหวัดซึ่งมีผู้เข้ามาอัตราส่วนน้อยกว่านั้นก็ทําให้ส่วนตัวเฉลี่ยทั่วทั้งภาคเป็นร้อยละ 56 แม้กระนั้นก็ดีเองถามเด็ก ๆ ที่เล่นล้อมวงว่าคน 56 คนจะล้อมวงคน 44 คนได้หรือไม่เพราะแม้ 56 จะมากกว่า 44 ก็เป็นจํานวนมากที่ไล่เลี่ยเหลือเกิน

ข. ถ้าจะดูสถิติปี 2506 ถึงอัตราส่วนร้อยละของชาวนาทั้งที่มีที่ดินของตนเองและเป็นผู้เช่านาที่ต้องไปกู้ยืมเงินผู้อื่น แล้วก็ปรากฏว่า (1) เจ้าของนาเป็นหนี้ร้อยละ 33.8, (2) ผู้เช่ามาเป็นหนี้ร้อยละ 64.2, ทั้งนี้ก็แสดงว่าผู้ที่เป็นเจ้าของนาเองอีกจำนวนมากมาย ส่วนข้างมากมิได้มีหนี้สินที่พรรคชาวนาจะถือเป็นข้ออ้างใช้สูตรสําเร็จเรื่องลดดอกเบี้ย แต่ความกลับปรากฏเกี่ยวกับผู้เช่านาว่ามิใช่ผู้เช่านาทั้งหมดต้องไปกู้ยืมเงินคือ ส่วนที่กู้ยืมมีเพียงร้อยละ 64.2 ส่วนเจ้าของนาบางส่วนที่เป็นหนี้ร้อยละ 44 นั้นก็หมายความว่าเจ้าของนาที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้อื่น เช่น พี่น้องเป็นเจ้าของนาร่วมกันในนาแปลงเดียวกัน เจ้าของนาบางส่วนก็เป็นร้อยละ 44 ยังเหลืออีก 56 มิได้เป็นหนี้และตามกฎหมายไทยนั้นผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมเพื่อไม่ยอมให้ที่ดินแปลงที่ร่วมกันไปเป็นประกันหรือจํานองผู้อื่นแล้วเจ้าของนาที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมบางส่วนที่เป็นลูกหนี้มือเปล่าหาได้ผูกพันที่ดินไม่

ดังนั้น เราจึงเห็นว่าคะแนนเสียงชาวนายากจนในชนบทซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากแต่พรรคชาวนานั้นก็จะให้คะแนนเสียงได้เฉพาะในบางท้องที่และบางเขตเท่านั้น ผู้วิจัยจะต้องไม่เพ้อฝันเทกระเป๋าละเมอเพ้อฝันมุ่งหวังแต่จะเอาคะแนนชาวนายากจนซึ่งตัวเลขสถิติบ่งชัดอยู่แล้วนั้นมาสรุปง่าย ๆ ว่าเป็นวิธีหาเสียงที่จะตะล่อมพรรคอื่น ๆในเมืองให้ได้สําเร็จ คือจําต้องพิจารณาใช้วิธีหาคะแนนเสียงทั้งในเมืองและในย่านชุมนุมชนด้วย

3. บางคนที่มีอุปาทานเกาะแน่นอย่างถอนไม่ขึ้นโดยมิได้อาศัยการตั้งความคิดดังกล่าวในข้อ 1 ก็อาจเพ้อฝันว่าแม้ในทุกวันนี้ตัวเลขชาวนาที่เช่านาและชาวนาที่กู้ยืมจะมีอัตราเป็นส่วนข้างน้อยอยู่ก็ดีแต่ต่อไปก็จะต้องมีจํานวนเพิ่มมากขึ้น ความหวังเช่นนี้อาจเป็นได้ถ้าตั้งทรรศนะที่สืบมาจากระบบเศรษฐกิจศักดินาและพิจารณาอย่างเมตาฟิซิคหรืออติไขถาจารย์ แต่ถ้าพิจารณาโดยอาศัยวิทยาศาสตร์สังคมและที่ ม. กับ ต.ได้กล่าวไว้อย่างชัดแจ้งก็จะได้สติอย่างหนึ่งดังที่ได้คัดสําเนา ค.ศ. 1847 ต่อท้ายนี้และที่จะกล่าวในข้อ 4 ต่อไป

แต่ ณ ที่นี้ขอเตือนให้ระลึกว่าสังคมใดที่ยังอยู่ในระบบเศรษฐกิจศักดินานั้นเจ้าที่ดินศักดินามีอำนาจเป็นเจ้าถิ่นผูกขาดเศรษฐกิจในท้องถิ่น แต่เมื่อสังคมที่ระบบทุนสมัยใหม่ได้เข้าไปแทนที่นั้นระบบทุนสมัยใหม่ทุนสมัยใหม่ก็ได้เดินไปสู่การโค่นรากเศรษฐกิจศักดินาทีเดียวและพัฒนาระบบทุนสมัยใหม่ขึ้นแทนที่ ผู้ที่มีความคิดทางพันทางคือวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ก็ไม่ใช่ ศักดินาก็ไม่เชิงก็อาจมองดูในแง่การช่วยเหลือของรัฐเมื่อเห็นว่างบประมาณของรัฐซึ่งเป็นส่วนของสังคมได้ สินแก่ชาวนาได้ไม่มากก็ทึกทักว่าเศรษฐกิจศักดินาของไทยยังอยู่อย่างเดิมไม่เปลี่ยนแปลงมาก

แม้ตรงนั้นถ้าดูให้รอบคอบถึงทางด้านสหกรณ์เครดิทกับสหกรณ์เช่าซื้อที่ดินก็จะเห็นตัวเลขว่าภายหลังพ.ศ. 2475 จํานวนสหกรณ์ได้เพิ่มขึ้นมากมายทุกปีจนถึง พ.ศ. 2505 มีจํานวนสหกรณ์ 1 หมื่นเศษและมีจํานวนสมาชิก 3 แสนคนเศษสมาชิกในที่นี้หมายถึงหัวหน้าครอบครัวเกษตร เมื่อเทียบอัตราส่วนของหัวหน้าครอบครัวเกษตรแล้ว หัวหน้าครอบครัวที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ก็มีอัตราร้อยละ 8-9 แม้จะยังน้อยอยู่แต่จํานวนสหกรณ์จะต้องเพิ่มขึ้นมิใช่น้อยลง ผู้ใดตั้งความหวังว่าจํานวนสหกรณ์จะลดน้อยลงนั้นก็เป็นฝืนกงล้อประวัติศาสตร์อย่างไม่มีเหตุผล นอกจากนี้ก็ยังมีข่าวปรากฏถึงการที่กรมพัฒนาที่ดินตกลงที่จะซื้อที่ดินของม.ร.ว.สุร(ต้นฉบับมีการขีดฆ่า-กองบรรณาธิการ)เจ้าที่ดินใหญ่เพื่อขายผ่อนส่งให้แก่ชาวนา นี่ก็เป็นวิธีต่อสู้ของรัฐบาลเจ้าสมบัติในทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง

อนึ่ง ผู้ที่มีความคิดเศรษฐกิจแบบศักดินาเพื่อบนกับความคิดที่อ้างว่าสมัยใหม่แต่มิใช่ทางวิทยาศาสตร์นั้นไม่มีทางที่จะเข้าใจได้ในเรื่องบทบาทของธนาคารซึ่งเป็นขุมคลังแห่งระบบทุนตามที่ม.อ.ล.ส. ได้กล่าวไว้และเป็นความจริงที่ปรากฏขึ้นในสังคมไทยปัจจุบันซึ่งมีธนาคารหรือขุนหลังสมัยใหม่เกิดขึ้นมากมายและมีสาขาแทบทุกหัวระแหง ขุมคลังสมัยใหม่เหล่านี้คือ สู้ทั้งนายทุนศักดินาและพลังที่ก้าวหน้า ให้ถามผู้ที่เคยทํางานธนาคารก็จะตอบได้ว่าขุนคลังซึ่งเป็นธนาคารเอกชนได้มีวิธีการให้เกษตรกรกู้เงินโดยดอกเบี้ยต่ำกว่านายทุนศักดินาเดิม เพราะได้อ่านรายงานของบางธนาคารในธนาคารกรุงเทพก็ได้เปิดแผนกให้ชาวนาร่วมกันกู้เงินโดยดอกเบี้ยต่ํากว่าที่ชาวนาจากนายทุนศักดินาแห่งท้องที่

ทั้งนี้ก็แสดงว่าขุมคลังอันเป็นนายทุน สมัยใหม่ก็ทําไปเพื่อประโยชน์แห่งทุนที่เขากําลังพัฒนา เราจะปฏิเสธเสียทีเดียวว่าเขาจะทําไปไม่ได้ผลก็เป็นการพิจารณาอย่างอัตวิสัยไม่รอบคอบ จริงอยู่สิ่งทั้งหลายดังกล่าวมานี้พวกเจ้าสมบัติสมัยใหม่ก็ต้องขยายระบบของพวกเขาขึ้นแต่เขาจะทําได้ ช้าเร็วเพียงใดก็ต้องคอยสังเกตต่อไป แต่การที่จะนึก ๆ เอาตามสูตรอันใดก็ไม่รู้ว่าเศรษฐกิจชาวนาไทยยังคงเป็นอย่างเศรษฐกิจศักดินานั้นก็เป็นการไม่ถูกต้องตามรูปธรรมที่ประจักษ์ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วการที่พรรคการเมืองจะหาเสียงที่จะต้องคิดทุก ๆ วิถีทางทั้งในสภาพที่เศรษฐกิจจัดหนายังคงเหลืออยู่และเศรษฐกิจจะเปลี่ยนไปตามระบบทุนสมัยใหม่จะหาเสียงแค่ไหนก็ต้องดูตามสภาพท้องที่กาลสมัย และเมื่อยันไม่สํารวจให้ละเอียดถี่ถ้วนแล้วก็จะดําเนินอย่างแบบนักการพนันแข่งม้าตัวเดียวในเมื่อมามีแข่งขันหลายม้าก็หมายความว่าเมื่อม้่าตัวที่แทงมาถึงที่แข่งเป็นที่ 2 รองลงไป เงินเดิมพันก็เสียเปล่า ดังนั้นผู้ที่จะดําเนินการเลือกตั้งในเมืองไทยจะต้องคิดทุก ๆ ด้าน ด้านใดอันเป็นพื้นที่ของชาวนายากจนก็ใช้วิธีนั้น ถ้าพื้นที่ใดเป็นของชาวนาที่ไม่ยากจนหรือเป็นการหาคะแนนเสียงในเมืองซึ่งมีพลเมืองเพิ่มมากขึ้นทุกวันก็ต้องใช้วิธีให้เหมาะสม

4. ความรู้ทั่วไปฉบับที่ 1 และที่ 2 เรื่องคนชนบทต้องลดน้อยลงเมื่อเทียบอัตราคนกับคนในเมือง ขอให้นํามาอ่านพิจารณาประกอบความเห็นนี้อีกครั้งหนึ่ง

ในฉบับที่ 1 และที่ 2 พอได้อ้างถึงวิชาประชากรศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์และได้อ้างถึง คําสอนของ ม.กับ อ.ที่กล่าวไว้จึงหวังว่าลูกคงได้นํามาพิจารณาว่าแม้ท่านจะได้กล่าวไว้เมื่อ 127 ปีมาแล้ว แต่สิ่งที่ประจักษ์ตำตาเราทั้งหลายรวมทั้งลูกด้วยนั้นเป็นจริงของท่านหรือไม่ เพื่อความสะดวกพ่อได้ตัดความที่ท่านกล่าวไว้ดังที่ได้แนบมาด้วย คําแปลนั้นแปลจากภาษาอังกฤษแล้วเทียบกับภาษาฝรั่งเศส และพ่อได้ดูฉบับฝรั่งเศสของแป๋วแล้วพบว่าแป๋วได้ขีดหมึกแดงไว้ในบางตอนของเรื่องนี้จึงสันนิษฐานว่าแป๋วได้อ่านอย่างเอาใจใส่และคงเข้าใจคําสอนของท่านตรงตามที่ท่านสอนและตรงตามที่พ่อเข้าใจ

อนึ่ง พ่อได้ตรวจดูว่าประชากรศาสตร์ที่กล่าวถึงเรื่องอัตราส่วนของคนในชนบทจะลดน้อยลงกว่าคนในเมืองนั้นได้พิมพ์ ขึ้นภายหลังแถลงการณ์ของ ม. กับ อ.หลายปี ฉะนั้นพ่อถือว่า ม. กับ อ.เป็นผู้ค้นพบก่อนใคร ๆ ให้อ่านของท่านให้ละเอียดและเก็บใจความให้แม่รู้หรืออ่านเท่าที่คัดมาให้แม่ฟังแม่ก็ใช้ปัญญาตามสามัญสำนึกว่าเรื่องที่ประจักษ์เป็นจริงในยุคนี้อย่างไร

 

หมายเหตุ

  • คงอักขร ตัวย่อ และวิธีการสะกดตามต้นฉบับของนายปรีดี พนมยงค์
  • เอกสารส่วนบุคคลประเภทจดหมายนายปรีดี พนมยงค์ถึงบุคคลต่าง ๆ 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง