ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
แนวคิด-ปรัชญา

PRIDI Sanjorn เรื่องเล่าประวัติศาสตร์และปฏิบัติการเสรีไทยในลำปาง

13
พฤศจิกายน
2567

 

 

ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล :

สวัสดีท่านรองอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์ลำปางและการคลัง รองอธิการบดีฝ่ายบริหารลำปางนะครับ คณาจารย์ คุณครูจาก รร. ต่าง ๆ ที่ได้มาร่วม และนักเรียน นักศึกษาที่ได้เข้าร่วม รวมทั้งท่านผู้มีเกียรติทุกท่านนะครับ วันนี้สถาบันปรีดี พนมยงค์ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ก็จัดให้มีการเสวนาเล็ก ๆ เพื่อที่จะเป็นการรื้อฟื้นความทรงจำของเสรีไทยอันมีค่าอย่างยิ่งสำหรับพวกเราในประเทศนี้ไม่เฉพาะแต่ที่ลำปางเท่านั้นแต่จะโฟกัสลงมาที่ลำปางให้ชัดเจนขึ้นครับ

วันนี้มีวิทยากรที่ให้เกียรติมาร่วมกับเราในวันนี้ทั้งหมด 3 ท่าน ผมขออนุญาตแนะนำคร่าว ๆ เมื่อครู่นี้พิธีกรได้แนะนำไปบ้างแล้ว

วิทยากรท่านแรก คุณวีระ สตาร์ ท่านเป็นผู้รื้อฟื้น และจัดตั้งโครงการบูรณะคุ้มวิชัยราชาซึ่งเป็นแหล่งที่พักสำคัญและก็มีที่เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สำคัญหลายเรื่องที่คุ้มวิชัยราชาที่ จ.แพร่ คุณวีระก็ทำหน้าที่นี้มาตั้งแต่ปี 2535 นะครับ อันนี้ก็เกือบ 30 ปีแล้วนะครับ แล้วก็เป็นผู้ที่รู้เรื่องเกี่ยวข้องกับเรื่องของคุ้มนี้และภารกิจของเสรีไทยที่แพร่เป็นอย่างดี วันนี้เองก็มาและเป็นตัวแทนคุณภุชงค์ กันทาธรรมด้วยนะครับ ก็เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่คุณภุชงค์ก็มีปัญหาเรื่องสุขภาพนะก็เลยไม่สามารถมาร่วมกับพวกเราได้

วิทยากรท่านที่ 2 คุณวันใหม่ นิยมคุณวันใหม่ก็เป็นนักวิชาการในโครงการบวรธนบุรีและก็อยู่ที่สถาบันอาศรมศิลป์ครับ เป็นแอดมินเพจ Wartime Asia แล้วก็เป็นผู้สนใจเสรีไทยมาตลอด และที่สำคัญคือ เคยร่วมรายการแฟนพันธุ์แท้ สงครามมหาเอเชียบูรพาด้วยใช่ไหมครับ ก็คงมีข้อมูลมาฝากพวกเราไม่น้อยทีเดียว

วิทยากรท่านที่ 3 ครับ คุณอาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ คุณอาชญาสิทธิ์เป็นผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์ไทยนะครับแล้วก็เป็นนักวิชาการ เขียนงานประจำสถาบันปรีดี พนมยงค์ มาโดยตลอดนะครับ

ทั้ง 3 ท่าน เป็นจุดตั้งต้นในการรื้อฟื้นความทรงจำนะครับ ผมขอให้ข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งผมคิดว่าวันนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมาก เพราะว่าแพร่เขาทำกันมานาน ลำปางยังไม่ค่อยเริ่มเลยนะครับ วันนี้น่าจะเป็นจุดเริ่มในทางข้อมูลเป็นเรื่องแรกก่อนต่อไปก็น่าจะมีกิจกรรมอื่น ๆ อีกครับ ผมขออนุญาตในประเด็นปฏิบัติการเสรีไทยในวันนี้ก็ 78 ปี 11 เดือน นะครับถ้าเดือนธันวาเดือนหน้าก็จะ 79 ปีพอดี เพราะฉะนั้นก็เป็นปีที่ครบ 80 ปีก็น่าจะมีการจัดกิจกรรมเรื่องนี้อีกครั้งนึงครับ ผมคิดว่าลำปางก็น่าจะมีส่วนร่วมด้วยเราเองก็เป็นทีมที่เป็นพื้นที่ปฏิบัติเสรีไทยร่วมกับแพร่อยู่ไม่น้อยทีเดียว

ก่อนที่จะเข้าสู่ประเด็นครับทางสถาบันปรีดีอยากให้ผมพูดเกริ่นนำเล็กน้อยนะครับเกี่ยวข้องกับเรื่องภาพรวมเสรีไทยนะครับ ผมขออนุญาตเริ่มต้นแบบนี้ดีกว่านะครับเพื่อเราจะได้เห็นภาพชัด ๆ น้อง ๆ จะได้ตามกันทันด้วย ปฏิบัติการที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องหรือที่ข้องเกี่ยวกับเราก็เริ่มกันตั้งแต่ 8 ธันวาคม 2484 วันนั้นเป็นวันที่ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเข้าโจมตีเข้ารุกรานประเทศไทยจริง ๆ แล้วก่อนหน้านั้นวันนึงไปโจมตีหลายเมืองมาแล้ว วันต่อมาก็มาที่ไทยเขาจะขอผ่านไปทำสงครามกับอังกฤษในดินแดนทางภาคใต้ คือมลายูในเวลานั้น อันนั้นคือวันเปิดฉากปฏิบัติการรวมทั้งของเราด้วยครับ และความเคลื่อนไหวภายในก็เกิดขึ้นวันนั้นครับ

วันที่สำคัญก็คือในปีถัดมาคือวันที่ 21 ธันวาคม 2484 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ลงนามในสนธิสัญญากติกาพันธไมตรีกับญี่ปุ่นหรือพูดง่าย ๆ เราก็ร่วมหัวจมท้ายกับญี่ปุ่นในการที่จะต่อสู้กับฝ่ายสัมพันธมิตรแล้วในปีถัดมา 25 มกราคม 2485 นะครับ รัฐบาลจอมพล ป. ประกาศสงครามร่วมกับญี่ปุ่น ตอบกลับสัมพันธมิตรเดี๋ยวก็คงจะมีประเด็นเพิ่มเติมว่า พันธมิตรเขามี Reaction หรือมีปฏิกิริยากับเราอย่างไรในเรื่องนี้ แล้วก็วันสำคัญอีกวันนึงนะครับจริงๆ ถ้าพูดในแง่มุมลำปางเราอาจจะต้องย้อนไปนิดนึงครับ กรณีที่เราลงนามกับญี่ปุ่นในวันที่ 21 ธันวาคม และก็ประกาศสงครามกับเขาวันที่ 25 มกราคม 2485 ที่ลำปางเนี่ยนะครับที่ญี่ปุ่นผมเข้าใจว่านะครับถ้าดูจากภาพรวม ก็จะเป็นจุดศูนย์กลางยุทธศาสตร์ใหญ่ที่สำคัญมากเพราะกองทัพใหญ่ของญี่ปุ่นอยู่ที่ลำปางนะครับ

น้อง ๆ ทราบไหมครับว่า กองทัพของญี่ปุ่นเคยมาตั้งกองทัพที่นี่ถึง 3 กองพลเพราะฉะนั้นก็เลยเป็นฐานทัพใหญ่ของญี่ปุ่นเพราะถ้าเราดูจากแผนที่ลำปางจะเป็นจุดสำคัญมากที่จะเดินทางเข้าสู่พม่าหรือเมียนมาร์ครับ อันนั้นคืออีกวันนึงนะครับ ที่สำคัญในวันต่อมาหลังจากประกาศสงครามแล้วเราก็จะได้เห็นการปฏิบัติการของเสรีไทยเรื่อยมาจนกระทั่งสงครามสิ้นสุดลงในวันที่ 16 สิงหาคม 2488 วันนั้นมีการประกาศสันติภาพในนามรัชกาลที่ 8 โดยผู้สำเร็จราชการฯ ในเวลานั้นคือ ท่านปรีดี พนมยงค์ ทำให้ประเทศไทยพ้นจากภาวะสงครามนะครับ การประกาศสงครามกับสัมพันธมิตรในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. ก็เป็นโมฆะครับ

ฝากพวกเรานิดนึงเพราะนี้ที่เรากำลังคุยกันเนี่ยมันก็จะอยู่ในกรอบเหตุการณ์แบบนี้ส่วนการร่วมมือกันในฝ่ายของเสรีไทย พวกเราถ้าพอมีข้อมูลเราจะเห็นว่าปฏิบัติการนี้ขบวนการเสรีไทยนี้เป็นขบวนการที่หลอมรวมจิตใจไทยทุกคนนะครับ ไม่เลือกชนชั้น ไม่เลือกวรรณะ ไม่เลือกอาชีพ ไม่เลือกสถานภาพเพราะฉะนั้นมันจึงเป็นขบวนการที่ผมสามารถพูดได้ไหมครับว่าเป็นขบวนการกู้ชาติจริง ๆ นะครับ

ในส่วนของหลักการทำงานของเสรีไทยสั้น ๆ มาประมาณ 2-3 เรื่องก็คือ เรื่องแรกกลุ่มรุกรานเราก็คือ กลุ่มขบวนการเสรีไทยได้ก่อตั้งขึ้นวันที่ 8 ธันวาคมในวันนั้นที่ญี่ปุ่นรุกรานไทยเพื่อที่จะต่อต้านอำนาจฝ่ายญี่ปุ่นอันนี้ก็มีปฏิกิริยาทั้งในประเทศและก็นอกประเทศ ซึ่งเราก็จะได้พูดถึงกันด้วย

หลักประการที่ 2 ของเสรีไทยก็คือเรื่องของการที่จะต้องเมื่อต่อต้านญี่ปุ่นแล้ว เราก็ต้องแสดงตัวให้ อเมริกา อังกฤษ จีน นะครับ เห็นว่าเราไม่ได้เข้าข้างญี่ปุ่น เราประสงค์ที่จะร่วมมือต่อต้านญี่ปุ่นกับฝ่ายสัมพันธมิตรนี่ก็เป็นอีกภาระกิจหนึ่งที่เสรีไทยทุกที่ทุกสายพยายามที่จะดำเนินการแบบนี้

ประเด็นสุดท้ายอันนี้สำคัญมากครับ ผมพูดให้ฟังไปแล้วเมื่อกี้ครับ การที่รัฐบาลเดิมไปประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรอันนี้ทางขบวนการเสรีไทยต้องทำให้การประกาศในครั้งนี้ไม่มีผล มันสิ้นไปเพื่อที่จะทำให้ประเทศไทยกลับคืนไปสู่สถานะในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ก็คือพูดง่าย ๆ ว่าก่อนสงครามนั่นเอง ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรก็เป็นข้อผูกพันที่ทำให้ในที่สุดวันที่ 16 สิงหาคม 2488 เราต้องประกาศสันติภาพเพื่อประกาศให้การสงครามนั้นเป็นโมฆะ นี่คือภาพรวมของขบวนการเสรีไทยครับ

 

 

วีระ สตาร์ :

ขอบคุณครับ วันนี้ยินดีมากครับที่ได้เห็นเด็ก ๆ มาร่วมในกิจกรรมนี้ เด็กคืออนาคตของชาติถ้าเกิดเด็ก ๆ มีพื้นฐานดีรู้ที่มาก็จะรู้ที่ไปน่าเสียดายที่ประเทศไทยไม่ใส่ใจเรื่องประวัติศาสตร์มากมาย บทเรียนในหนังสือเรียนก็รู้สึกไม่ให้คะแนนเรื่องประวัติศาสตร์ เราถอดวิชาประวัติศาสตร์ออกเมื่อปี 2526 ไม่มีคะแนนให้เอาไปรวมกับ สปช. แต่ปัจจุบันนี้ก็พยายามรื้อฟื้นขึ้นมา เชื่อว่าถ้าเด็กได้เรียนประวัติศาสตร์เด็กก็จะรู้ที่มาก็จะรู้ที่ไปก็จะมีฐานรากที่เข้มแข็งและมั่นคง สามารถเดินก้าวต่อไปข้างหน้าได้ ที่ประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะที่เวียดนามเนี่ยเขาเรียนประวัติศาสตร์กันตั้งแต่อนุบาล แล้วก็เข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงชั้นมัธยมและพอจบมัธยมเนี่ยเขาจะรักชาติทันที เพราะเขาซาบซึ้งถึงบุญคุณวีรชน บรรพชนที่เคยสร้างชาติมา กว่าจะเป็นชาตินี้ยากลำบากมากก็เช่นเดียวกันกับประเทศไทย เรามีบูรพกษัตริย์มหาราชที่เสียสละเพื่อชาติต่อสู้เพื่อให้เรามีแผ่นดินอยู่อันนี้เพราะฉะนั้นเด็ก ๆ ต้องใส่ใจเรื่องประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นพื้นฐานของความเป็นชาติ ความรักชาติ

 

 

ผมดูแลคุ้มวิชัยราชาที่จังหวัดแพร่มา 30 กว่าปี คุ้มวิชัยราชาคืออะไร คุ้มวิชัยราชาเป็นบ้านที่เคยช่วยชาติมาหลายรอบตั้งแต่ 2429 เจ้าของบ้านคือพระวิไชยราชาช่วงนั้นเป็นเจ้าหนานขัติ มีเชื้อสายมาจากเจ้าหลวงเมืองแพร่ เจ้าหลวงเทพวงศ์ลิ้นตอง (ลิ้นทอง) ท่านนำช้างจากแพร่ น่าน ลำปาง ไปร่วมช่วยเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ซึ่งตอนนั้นเนี่ยยังไม่ได้เป็น เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เป็นแค่เจ้าหมื่นไวยวรนารถไปปราบฮ่อที่พัวพันทั้ง 5 ทั้ง 6 เอาช้างจากแพร่ 80 เชือก ไปประจำอยู่ที่เมืองซ่อน 2429 เดือน กรกฎาคม ฝนตกหนักมาก ช้าง 80 เชือก ที่ลำเลียงของจากเมืองซ่อนมาน่านและก็มาพิชัย ไม่สามารถเดินทางได้ ทำให้ทหารเจ็บป่วยเป็นไข้มาลาเลีย ทั้งกองทัพเหลือทหารที่ไปสู้รบได้แค่ 11 คน ส่วนกองช้างไม่เป็นไรนะครับ เพราะเขาใช้ยากลางบ้านพวกสมุนไพร  รากไม้ ตรงนั้นเรามีหมอประจำอยู่ 3 ท่าน เหลืออยู่แค่ท่านเดียวคือ หมอเทียนฮี้ที่ต่อมาเป็นเจ้าพระยาสารสิน เป็นต้นตระกูลสารสินซึ่งยังมีชีวิตอยู่ อันนี้ยังไม่เกี่ยวกับเสรีไทยนะครับ

ขออนุญาต เล่าเรื่องวิชัยราชานิดนึงว่าบัานหลังนี้เคยช่วยชาติมา เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี หรือเจ้าหมื่นไวยวรนารถมองไปเห็นทหารกองช้าง 80 คน ช้างอีก 80 เชือก ประมาณ 200 คนไม่เป็นไร ท่านก็เลยขอให้แต่งเครื่องแบบทหารที่ตายแล้วและก็เอาปืนของทหารที่ตายแล้วเนี่ยไปช่วยปราบฮ่อ ก็สามารถทำได้สำเร็จ ฮ้อที่ประกาศว่าอีก 3 วัน จะเอางวงช้างของพลายนาคซึ่งเป็นช้างประจำตัวของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี มาดับกลิ่นก็จบไปหลังจากนั้นเราก็สามารถ มาปราบฮ้อได้ฮ่อนี่ก็รบเก่งครับ ใช้ปืนไฟ แต่ว่าเราเราใช้เวลาอยู่ 10 กว่าปีจนกระทั่งเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีปราบสำเร็จ ก็บ้านหลังนี้ก็เท่ากับว่าได้ช่วยกับเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีทำให้มีประเทศไทยจนถึงทุกวันนี้ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเสรีไทยนั้นมีมากครับ

ลูกชายของพระเจ้าวิไชยราชา ท่านเป็น สส. คนแรกในระบบเลือกตั้ง 2475 หลังการปฏิวัติหมายถึงล้มล้างการปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เราก็เป็นประชาธิปไตย เราก็ยังไม่มีการเลือกตั้งอย่างจริงจังก็ให้ใครที่ยิ่งใหญ่หรือมีบารมีในจังหวัดนั้นมาเป็นผู้แทน ก็ได้เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ ซึ่งมีช้างอยู่ 200 เชือก รวยมากครับ ท่านได้สัมปทานป่าไม้ แล้วก็มาเป็น สส. คนแรก แต่พอท่านเข้าไปเนี่ยท่านก็เป็นอยู่วาระเดียว เพราะท่านคิดว่ามันไม่ใช่ของจริงอำนาจที่แท้จริงของปวงชนชาวไทยไม่ได้อยู่กับปวงชนชาวไทยมันอยู่กับคนแค่นิดเดียวของแผ่นดิน ท่านก็เลยไม่ได้เป็นแต่ connection ที่ท่านมีตอนเป็น สส. ทำให้ท่านปรีดี พนมยงค์กับพระยาพหลพลพยุหเสนาสนิทกัน ก็มีการถ่ายหนังพระเจ้าช้างเผือก ซึ่งใช้ช้างเยอะมาก ใช้ช้างเข้าฉากมากที่สุดในโลก ช้างก็มาจากเจ้าวงศ์นั่นแหละครับ เจ้าวงศ์แสนศิริพันธุ์ ท่านปรีดี พนมยงค์จะมานอนอยู่ที่คุ้มวิชัยราชา ทุกเช้าจะมีรถมารอรับแล้วก็ไปถ่ายทำที่ป่าแดง ที่หลังพระธาตุช่อแฮตรงนั้นเรามี Location สร้างเมืองใหม่ ท่านปรีดีอยู่ตรงนี้นานครับเป็นเดือนวิ่งไปวิ่งมา หนังเรื่องนี้สำเร็จ

 

 

หลังจากนั้นมาก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นบุกไทยอย่างที่บอก ความสัมพันธ์ที่มีกับท่านปรีดี พนมยงค์ ทำให้ท่านไปร่วมประชุมก่อตั้งเสรีไทยที่บ้าน ณ ป้อมเพชร ครั้งแรกร่วมกับนายพึ่ง ศรีจันทร์ นายทอง กันทาธรรมคุณพ่อของคุณภุชงค์ เริ่มตั้ง XO group ต่อต้านญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นมาก็เจ้าวงศ์และเสรีไทยเมืองแพร่มีบทบาทพอสมควรแม้กระทั่งการรับมอบซามูไรที่ยอมแพ้ในลำปาง เพราะว่าลำปางเป็นฐานใหญ่ของญี่ปุ่น มีกำลังถึง 3 กองพล เวลายอมแพ้ ท่านชโรช โล่ห์สุวรรณ ซึ่งเป็น OSS โดดร่มลงมาที่เมืองแพร่ได้รับคำสั่งให้มารับมอบดาบซามูไรที่นี้ที่จังหวัดลำปางก็ถือว่าเสรีไทยของภาคเหนือมีบทบาทสำคัญในการกอบกู้ แล้วก็ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเซ็นสัญญา 51 ข้อ แล้วก็ 29 ข้อ ทำให้เราเป็นชาติที่ไม่ถูกยึดครอง และบ้านเจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ เป็นคลังเก็บอาวุธของเสรีไทยที่โดดร่มลงมา หลักฐานมีเหตุการณ์บอกเล่าสืบทอดกันต่อมา เสรีไทยเมืองแพร่ ได้ร่วมกับ OSS หรืออเมริกันที่โดดร่มลงมา แล้วก็สถาปนาคน 500 คน ส่วนใหญ่เป็นครูแล้วก็ข้าราชการเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น แต่ว่าหลังจากนั้นไม่นานญี่ปุ่นก็ยอมแพ้ก็ทำให้การสู้รบที่เลือดจะเลอะหลังช้างจบ 

 

 

ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล :

เราได้ข้อมูลหลายข้อมูลเลยนะครับ ที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการเสรีไทยที่แพร่แล้วก็ลำปางด้วย ที่ จ. แพร่น่าจะเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของเสรีไทยทางภาคเหนือนะครับ ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดถ้าเกิดว่ายังไงเดี๋ยวคุณวีระช่วย อาจจะเป็นเพราะว่าแพร่อยู่ห่างด้วยนอกจากเจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ ที่เป็นคนร่วมมือกับคุณทองที่ช่วยกันประสานกับท่านปรีดีส่วนกลาง แพร่อาจจะใช้เป็นที่ที่ถูกเลือก เพราะว่าถ้าเกิดมาลงลำปางมันก็จะใกล้ญี่ปุ่นมากไปหน่อย เพราะฉะนั้นลำปางจึงเป็นพื้นที่ที่มีกองทัพญี่ปุ่นขนาดใหญ่ แพร่เองก็มีกองทัพญี่ปุ่นอยู่เหมือนกันแต่ก็ไม่ค่อยมากเท่ากับที่ลำปาง ส่วนเรื่องเจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ ก็ยังช่วย นอกจากช่วงปฏิบัติการเสรีไทยในช่วงสงครามแล้ว ภาพยนตร์พระเจ้าช้างเผือกของท่าน อ.ปรีดี พนมยงศ์ เจ้าวงศ์ แสนศิริช่วยเหลืออย่างมากในการให้ช้างมาเข้าฉาก ให้ที่พัก อ.ปรีดี ผมเองก็พึ่งทราบจากทางคุณวีระ ว่าท่านก็มีไปพักที่คุ้มวิชัยราชา เพราะว่าตอนนั้นน่าจะยังไม่มีโรงแรมในแพร่ ประเด็นอันนึงที่น่าสนใจ พวกเราน่าจะไม่ทราบลำปางเพราะด้วยความที่เป็นที่ตั้งกองพลใหญ่ของญี่ปุ่น วันที่เขาประกาศยอมแพ้ คือวันที่ 15 สิงหาคม ก็คือให้คุณชโรชมารับ พอญี่ปุ่นยอมแพ้ 15 สิงหาคม ท่าน อ.ปรีดีประกาศสันติภาพ วันที่ ไม่ 16 ก็ 17 สิงหาคม เร็ว ๆ เลยเพราะญี่ปุ่นเองเขาก็รู้สภาพในรอบแรกคุณวีระก็ให้ข้อมูลเราพอสมควรเลยทีเดียว โดยเฉพาะศูนย์กลางที่แพร่ เดี๋ยวต่อไปให้คุณวันใหม่ เพราะคุณวันใหม่ค้นคว้าส่วนที่เกี่ยวข้องกับลำปางมาเยอะทีเดียว 

 

 

วันใหม่ นิยม :

เรียนท่านรองผู้ว่า ท่านรองอธิการบดี ท่านอดีต สว.ชรินทร์ ท่านผู้อำนวยการ ท่านวิทยากร เรียน ผอ.ร.ร.ทุกท่าน ครู สวัสดีเด็ก ๆ มัธยมเด็กประถมทุกคนครับ ก็อาจจะดูเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนนิดนึง ก็งานเสรีไทยที่ตั้งชื่อหัวข้อใต้ดิน ถ้าเป็นวัยรุ่นก็ซักแบบ 10 ปีก่อนจะรู้จักคำว่าใต้ดินดีเลยเพราะค่ายเพลงใต้ดินของอะไรที่มันแบบเถื่อน ๆ ไม่สามารถทำได้ถูกต้องตามกฎหมายงานเสรีไทยก็คืองานแบบนั้นเพราะว่ารัฐบาลที่ประกาศตัวเป็นทางการว่าต้องร่วมญี่ปุ่นแต่เราก็ต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ ทำงานเสรีไทย สมัยนั้นเขาก็ยังไม่เรียกว่าเสรีไทยจนสงครามโลกที่ 2 แต่ประเทศไทยก็ไม่มีใครใช้หรอกเขาเรียกว่าพวกใต้ดินแล้วก็ถ้าเป็นส่วนตัวผมเองผมชอบใต้ดินมากกว่าทำให้ได้อารมณ์ของยุคสมัยดี แล้วก็คำว่า ชุมทาง เด็กคนไหนเคยใช้เส้นทางพหลโยธินไหม ยกมือได้ โรงเรียนใครอยู่บนนถนนพหลโยธินหรือบ้านใครอยู่ริมทางรถไฟ ใครเคยเที่ยวรถไฟจากลำปางเพราะมันมีทั้งอย่างน้อยมีถนนทางหลวงมาถึงแล้ว มีทางรถไฟแม่น้ำวัง แล้วทำไมอยู่ญี่ปุ่นต้องมาตั้งกองทัพ ชุมทางมันก็เป็นเมืองค้าขาย ใครเคยเที่ยวตลาดกาดกองต้าไหม

พี่วันใหม่แต่ก่อนเคยเป็นครู รร.รุ่งอรุณ ครูทางเลือกที่กรุงเทพฯ ก็พานักเรียน ม.3 มาลำปาง ก็พอจะคุ้น ๆ อยู่ สมัยก่อนกาดกองต้าก็จะเป็นตลาดขนาดใหญ่รวมสินค้า ทั้งไม้สัก ข้าว แล้วก็นอกจากจะใช้ชีวิตของเราแล้ว ทหารญี่ปุ่นสร้างค่ายก็ต้องใช้ไม้ ข้าวปลาอาหารก็ต้องเลี้ยง นอกจากเห็นว่าเป็นเมืองการค้าขายในลำปางนอกจากกองทัพญี่ปุ่นเค้ามีกองทัพไทยเหมือนกันถ้ามาตั้งที่ลำปางใหญ่โต กองทัพพายัพสมัยนั้นถ้าเทียบกับปัจจุบันก็คือกองทัพภาค 3 ก็มาตั้งกองพลเหมือนกันแล้วก็ตอนจังหวะต้นสงครามก็เป็นลำปางตั้งแต่แรกเป็นฐานสตาร์ทญี่ปุ่นถูกพม่าไปมันดาเลย์ ไทยบุกเชียงตุง ช่วยป้องกันสิ่งที่ญี่ปุ่น ตอนส่งท้ายสงครามเราเปลี่ยนรัฐบาลจอมพล ป. เป็นควง อภัยวงศ์ รัฐบาลนี้ประกาศฉากหน้าว่าร่วมมือกับญี่ปุ่น แต่ก็แม่ทัพนายกองข้าราชการรัฐมนตรีสัมพันธ์ก็เป็นเสรีไทยเพราะฉะนั้นกองทัพไทยก็ถอนรัฐฉานจากเชียงตุงมาจังหวัดลำปางญี่ปุ่นก็แพ้พม่าก็ถอยก็กลับมาจุดเริ่มต้นใหม่ที่ลำปางแต่คราวนี้ก็ไม่ได้เป็นพันธมิตร ในทางปฏิบัติก็เริ่มเป็นศัตรู ทำไปทำมาใคร ๆ ก็ต้องมาลำปาง ก็เสบียงก็อยู่ที่นี่แล้ว เครื่องใช้ไม้สอย น้ำมันเชื้อเพลิงก็ต้องมารวมกันที่นี่

 

 

แล้วก็ใครมีญาติเป็นทหารค่ายสุรศักดิ์ไหม คุณครูเด็ก ๆ มีญาติ ๆ มีพ่อแม่นายทหารค่ายสุรศักดิ์มนตรีไหมครับ คือค่ายสุรศักดิ์ฯ นี้ที่บ้านป่องนักที่จริงทหารค่ายนี้ก็คืออาศัยฐานของกองพล 4 ที่เขียนเอาไว้ก็คือทหารจากค่ายสุรศักดิ์ฯ ที่จังหวัดลำปางเกณฑ์มาแล้วตั้งกรมกองฯ อันนี้แผนที่เมื่อปี 2485 ไปซื้อมาก็มีเกาะคาแล้วก็มีรถไฟผ่านตอนนั้นทางหลวงสายแพร่ยังสร้างไม่เสร็จเริ่มมีถนนเชียงใหม่แบบดินลูกรังแล้ว ส่วนเกาะคาเคยเป็นโรงงานน้ำตาลตอนนี้เลิกกิจการไปแล้วก็ฐานะโรงงานน้ำตาลก็คือเป็นโรงงานอาจจะเทียบเท่ากับมิตรผลของสมัยนี้ก็ผลิตน้ำตาลได้มากเลี้ยงประเทศได้พอสมควรเลย

โรงงานน้ำตาลก็จะกลายเป็นฐานที่มั่นเสรีไทยที่มีโรงงานน้ำตาลเพราะว่าเมื่อก่อนเป็นแหล่งปลูกอ้อยซึ่งสมัยนี้เลิกดูไปแล้ว การปลูกต้นพืชผลก็แล้วแต่ว่าขายได้ตามยุคสมัยแล้วก็กองพล 4 มีที่มั่นก็คือ มีบ้านของรัฐอาจจะคุ้นกัน บางคนอาจจะบางทีนายทหารถ้าเกิดสมมุติว่ารอบ ๆ ต่อไปชวนกองพล 32 แล้วก็คุยเรื่องราวนี้กับเขาหน่อย ให้ได้ภาพว่าเสรีไทยโดยมากถ้าภาพทั่วไปจะเป็นว่าขัดแย้งกับจอมพล ป. แต่ก็มีความเป็นแต่จังหวะนี้ทหารร่วมมือด้วยแล้วก็เป็นพวกแม่ทัพพวกระดับแม่ทัพปลายสงครามเปลี่ยนตัวก็เป็นแม่ทัพก็เป็นเสรีไทย

คนขวาล่างเด็ก ๆ รู้จักลุงตู่รู้จักพี่อุ๊งอิ๊งไหมแต่ถ้าเป็นนายกรัฐมนตรีคุณลุงคนนี้ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็เคยเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีไทยเมื่อ 60 ปีก่อนแต่เมื่อย้อนไปประมาณสัก 80 ปีก่อนเป็นผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลำปางแต่ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 13 ก็เคยอยู่ลำปางเพราะงั้นลำปางเคยมีนายกมาประจำการเป็นทหารประจำการที่นี่ครับ แล้วก็กลายเป็นตัวละครสำคัญของเสรีไทยอีกท่านหนึ่งหลวงสุทธิสารรณกรตอนหลังก็คือประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญพร้อมกับที่สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี และก็เคยเป็นผู้บังคับการกรมที่ลำปาง พวกบรรดาโรงงานน้ำตาลนายทหารเขามาเจอกันได้ยังไง ทั้งบรรดานายอำเภอ ผู้ว่าตำรวจ มันมีความเรื่องนี้อาจจะขออนุญาตคุณครูขอโทษคุณครู แต่มันเป็นเรื่องจริงว่าลำปางส่วนนึงมาจากวงเหล้าอันนี้เป็นจุดเริ่มต้นเลย เพราะพวกบรรดาวัฒนธรรมข้าราชการอาจจะมีการสังสรรค์นิดนึงนะครับท่านรองพวกนี้ก็สังสรรค์หนักเลยวงเหล้าวงเที่ยว ผู้การ ผู้พัน ผู้กอง นายอำเภอ ตำรวจ ผู้กำกับก็จะมีวงเหล้าประจำชื่อคณะปิยมิตร จังหวัดลำปาง มีพี่ใหญ่ หัวหน้าคณะคือพันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เขาเรียกว่าพี่ใหญ่ และก็มีพ่อค้าที่เป็นพื้นเมืองจริงก็อย่างคุณพงษ์สวัสดิ์ สุริโยทัย ที่เป็นพ่อค้าไม้ คุณบุญเที่ยง พานิชพันธ์ พ่อค้าคนนึงในตลาดกาดกองต้า ตลาดจีนสมัยก่อนจากวงเหล้าก็คือ แหล่งรวมผู้มีอำนาจแถลงจังหวัดก็ถ้าเกิดมีอะไรเรื่องส่วนตัวก็ช่วยได้เรื่องส่วนรวมทหารญี่ปุ่น ต้องสงสัยว่าช่วยพูดกับทหารญี่ปุ่นก่อนตามกฎหมายว่าด้วยพันธมิตรเรื่องจะซ่อนนักบินฝรั่ง ซ่อนเสรีไทยอังกฤษก็คุยกันในวงนี้แล้วก็แยกแบ่งหน้าที่กันว่าใครทำงานอะไร

ทหารก็ขึ้นตรงต่อกองทหารมีเต็มเมืองลำปาง กรมกองทหารมีทั้งญี่ปุ่นมีทั้งไทยก็ตั้งป้อมบังเกอร์ใครเคยเล่นเกมแล้วเห็นบังเกอร์ไหมตีป้อมเคยไหม ซึ่งเคยมีป้อมแบบนั้นจริง ๆ เลยในลำปางถนนตามปากทางวัดแก้วดอนเต้า สถานีรถไฟมันเคยมีป้อมแบบนั้นก็เชิญหน้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมาแล้วอันนี้เป็นทหารจริง ๆ ทหารประจำการทีนี้ลับหลังทหารประจำการก็มีเสรีไทยจากอังกฤษนักเรียน นักศึกษามหาวิทยาลัยเลยวัยไม่ต่างจากมัธยมอย่างพวกเรา ก็เหมือนปกติเลยเรียนจบวิศวะฯ เรียนอะไรต่าง ๆ ที่อังกฤษ

แต่พอเกิดสงครามฯ สมัครเป็นเสรีไทยสายอังกฤษ ฝึกเป็นทหารที่อังกฤษที่อินเดียแล้วกระโดดร่มไปเมืองไทยแล้วก็มาที่ลำปาง มีคุณทศ พันธุมเสน คนนี้ไปอยู่ที่โรงงานน้ำตาลเกาะคาตั้งสถานีวิทยุ อีก 2 คน หม่อมเจ้าจีริดนัย คุณบุญส่งก็อยู่ที่ค่ายทหารตั้งสถานีวิทยุรับที่ค่ายทหารก็เหมือนต้องแยกกันจะได้แบบที่ญี่ปุ่นจับ 1 ที่ได้อีก 1 ที่จะได้ยังอยู่ประมาณนี้แล้วก็ถามว่าสถานีวิทยุพรุ่งนี้ทำอะไรก็ฝากส่งข่าว เมื่อกี้มีน้องกล่าว Speech ว่ามีการส่งข่าวก็รวบรวมข่าวส่งข่าวเมื่อกี้บอกแล้วสถานีมีที่ค่ายทหารกับโรงงานน้ำตาล ทีนี้ไปสืบแล้วหาขาวยังไงก็อาศัยบรรดาพวกวงเหล้า โดยบรรดาพ่อค้าที่อำเภอพาไปดูว่าญี่ปุ่นซื้ออะไรเยอะซื้อข้าวกี่ตันเท่ากับทหารกี่คนก็จะส่งข่าวได้ว่าญี่ปุ่นมีทหารเท่าไหร่หรือประทานโทษ กรณีซ่องโสเภณีก็พาไปมาแล้วก็พวกบรรดาวงศ์ปิยมิตรโดยถามพวกเสรีไทยก็รับว่าแอบดูทหารญี่ปุ่นว่ามีเท่าไหร่ มีจำนวนใช้บริการหนาแน่นหรือท่าทางบาดเจ็บแค่ไหน พวกนี้ก็จะเป็นแหล่งที่มีญี่ปุ่น ชุมชนมีเรื่องเล่าขำ ๆ ว่าเสรีไทยบางคนก็แบบซ่อนตัวในห้องห้องนึงแล้วถ่ายญี่ปุ่นทุกประตูหรือว่าจับได้แล้ว คือคน ๆ นั้นกำลังความต้องการเต็มที่และก็กำลังจะใช้ห้องนั้นขนาดเจ้าของต้องบอกว่าห้องไม่ว่าง...

บางทีก็พวกทหารเองหรือบรรดาวงเหล้าก็สื่อข่าวแล้วป้อนข่าวให้ก็อาจจะจากประเทศอื่น เขาก็จะส่งไปที่เมืองแม่ที่อังกฤษ ไปที่อินเดีย หรือส่งวิทยุแล้วเขาก็อาจจะทิ้งระเบิดที่มันแม่นยำขึ้น ต้องต่อสู้ด้วยกองกำลังกองโจรขณะที่ทหารตั้งป้อมตีบังเกอร์แถว ๆ ยังไม่ทันตีแล้วตั้งเป้ามาเชิญหน้าในเมืองลำปางก็ตามพื้นที่ด้านหลังใครเคยเห็นร่มชูชีพไหม ที่ในเกมส์มีเครื่องบินตกเป็นพื้นที่ไหนตกลงมาก็อย่างนี้เวลาเราร้องขอ ก็เสรีไทยที่จัดเป็นวิทยุไปที่ฐานทัพภาค 4 ว่าจะตั้งกองโจรก็คือเป็นพวกแบบซ่อนแล้วก็ซุ่มยิงก็ให้แบบโดนในเกม พวกสไนเปอร์ในเกมส์ ซึ่งเสรีไทยก็คือแบบนั้น

 

ใครเคยไปแพร่ไหมในห้องนี้จังหวัดแพร่ ยกมือขึ้น

จังหวัดแพร่ก็บังเอิญว่ามีทหารกองพันนึงในลำปางไปเป็นทหารเกณฑ์จังหวัดแพร่ครับ ซึ่งท่านสร้างอนุสาวรีย์ที่มีการอนุรักษ์เอาไว้ ที่อยู่ในลำปางก็มีสถานีวิทยุอเมริกา และรับจ้างทำอาหารญี่ปุ่น รู้ไหมสมัยก่อนกางเกงในมีกระเป๋าคุณลุงเป็นคนทหารก็จบถ้าเกิดว่าญี่ปุ่นเนี่ยอยู่ตรงไหนกินอะไรมีเท่าไหร่ใส่กระเป๋ากางเกงในสมัยนั้นไม่มีโทรศัพท์ก็ส่งให้นายอยู่แล้วก็พี่ใหญ่สนิทแล้วพี่อยากเห็นก็ส่งข่าวให้ส่งให้บริการที่จังหวัดแพร่ให้มันตรงจุดที่ญี่ปุ่นอยู่ถ้าไม่มีเสรีไทยที่ระเบิดไม่ค่อยแม่นยำไม่ตรงจุดก็จะโดนคนไทยเยอะ พอมีเสรีไทยการขึ้นระเบิดจะแม่นยำขึ้นก็จะโดนญี่ปุ่น ญี่ปุ่นก็เคยมาถามผู้การทหารไทยว่าทำไมฐานทัพทำไมฐานทัพที่อยู่ศาลากลางถึงยังอยู่ดี แต่ทำไมค่ายของมันโดนเละเลย

แล้วก็อีกเรื่องที่น่าตื่นเต้นก็คือ การซ่อนเชลยนะฮะ หลัง ๆ ก็มีเครื่องบินทิ้งระเบิดลำปางแล้วก็แล้วก็ถูกยิงตก มันมีปืนยิงฟ้าใครจะไปเล่นเกมขับเครื่องบินแล้วเจอกระสุนไหม...แต่มีเครื่องบินลำเลียงโชคร้ายตกแต่ถ้าผิดรอดชีวิตก็มีผู้การฯ ไปรับด้วยตัวเองแล้วก็มีอังกฤษอันนี้หลักฐานกองทัพอากาศไทยมีว่าผู้การฯ รับไปเป็นเชลย...และสามารถส่งกลับฐานทัพเก่าได้คือ ฐานทัพอเมริกามีผู้การขับรถจากค่ายทหารไปส่งที่โรงงานน้ำตาล...แล้วก็จบสงครามฯ 

สรุปว่าลำปางก็มีเสรีไทยและก็หน่วยเหนือในยุคที่เป็นช่วงเสรีไทยใหม่แล้วก็ประสานงาน เพราะฉะนั้นพวกกองทัพกองพลก็มีส่วนร่วมแล้วก็มีทั้งทหาร มีทั้งมหาดไทย มีทั้งตำรวจแล้วพวกนี้ก็มีความสัมพันธ์ส่วนตัวผ่านวงเหล้าคณะปิยะมิตรแล้วก็สามารถประสานเครือข่าย...ได้มีประสิทธิภาพเป็นเรื่องผลพลอยได้

 

 

อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ:

สวัสดีครับคุณครู น้อง ๆ และท่านผู้ชมทุก ๆ ท่าน ผมดีใจเป็นอย่างมากที่ได้มาพูดคุยกับทุกท่านในวันนี้นะครับ เพราะว่าเป็นครั้งแรกที่ได้มาธรรมศาสตร์ลำปางเนาะ แล้วก็เมื่อสักครู่นี้ คุณวันใหม่กล่าวถึงบทบาทของเสรีไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับโรงงานน้ำตาลนะครับ  ผมคิดว่าถ้าเรามองเป็นภาพยนตร์ จินตนาการว่าเราดูภาพยนตร์เนี่ย ผมมองว่าโรงงานน้ำตาลมีความสำคัญและเป็นฉากสำคัญมากของของลำปางนะครับ ทีนี้ในสมัยที่ผมยังเป็นนักเรียนเหมือนน้องๆเนี่ยครับ มันมีคำพูดยอดฮิตในยุคนั้นเนาะ แต่ก็หลายปีมาแล้ว สิบกว่าปีหรือเผลอๆมากกว่านั้น คือ “ลำปางหนาวมาก” นะฮะ ไม่ทราบว่าพวกท่านทันกันหรือเปล่า ทันใช่ไหมครับ (หัวเราะ) เหมือนว่าไม่นานนะครับ แต่ก็เป็นสิบกว่าปีมาแล้ว สำหรับคำว่า “ลำปางหนาวมาก” ทีนี้ ที่ผมจะเล่าก็คือจะเล่าทำนองว่า “ลำปางหวานมาก” เพราะว่าผมจะเล่าจุดเริ่มต้นที่ความหวานก่อนนะครับ

ทีนี้ในภาพคือโรงงานน้ำตาลเกาะคานะครับ ผมจะเล่าเกริ่นอย่างนี้นะครับ คือว่าเดิมทีพอภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 มันมีความคิดที่ว่าเมืองไทยควรจะมีโรงงานน้ำตาลแบบสมัยใหม่  แบบสมัยใหม่นี่คือต่างจากแบบเดิม คือเมืองไทยมีน้ำตาลมานานแล้วแต่ว่าเมื่อก่อนนี้เขาก็ทำเป็นแบบวิธีเก่า ๆ  ทีนี้แบบสมัยใหม่คือมีเครื่องจักรมีอะไรที่ทำให้มันผลิตน้ำตาลได้มากขึ้นนะครับ เขาก็เลือกว่าจะทำที่ไหน ทำที่ชลบุรี ทำที่ศรีราชาหรือบางคนบอกทำที่นครปฐมใช่ไหมฮะ แต่ว่าก็โปรเจ็คหรือโครงการต่าง ๆ ที่จะทำโรงงานน้ำตาลมันมีอุปสรรคและเมื่อทำไม่สำเร็จสักทีนะครับ

จนกระทั่งในช่วงปี 2478 นายกรัฐมนตรีขณะนั้นคือพระยาพหลพลพยุหเสนา ไม่แน่ใจว่าท่านอาจจะเคยมาลำปางหรือว่าท่านมีความสนใจในลำปางยังไง ท่านตัดสินใจเลยว่าควรจะสร้างโรงงานน้ำตาลที่ลำปาง เพราะทราบว่ามีชาวลำปางทำไร่อ้อยเยอะมาก แล้วก็ส่วนใหญ่จะเป็นคนไทยที่ทำ เพราะว่าอย่างที่ชลบุรี บางครั้งจะเป็นชาวจีนเขามาทำ หรืออย่างนครปฐมริมแม่น้ำนครชัยศรีก็จะเป็นชาวจีนที่เป็นคนทำ ท่านอยากให้โรงงานน้ำตาลเป็นของคนไทย และเป็นของรัฐบาลทำด้วย ก็เลือกเลยว่านี่แหละเกาะคา ลำปาง ทีนี้ฮะ การที่มีโรงงานน้ำตาลที่เกาะคาเนี่ย น้อง ๆ สามารถโม้ได้เลยว่าที่ลำปางมีโรงงานน้ำตาลทันสมัยแห่งแรกของเมืองไทย คือสมมุติว่าไปที่อื่นแล้วก็เพื่อนถามบ้านเธอมีอะไรที่แบบว่ายิ่งใหญ่หรือเป็นสิ่งแรกบ้าง ตอบได้เลยว่าโรงงานน้ำตาลครับ

การเข้ามาของโรงงานน้ำตาลนั้น เนื่องจากว่าคนไทยในยุคนั้นยังไม่สามารถที่จะสร้างโรงงานหรือเครื่องจักรได้เองได้ ก็ต้องมีคนช่วยใช่ไหมฮะ ฝรั่งที่เข้ามาช่วยเป็นชาติแรก พูดง่ายๆก็คือเขาประมูลและให้เข้ามาติดตั้งเครื่องจักรมาสร้างโรงงานน้ำตาล

ปัจจุบันน้อง ๆ เคยได้ยินประเทศสาธารณรัฐเชคไหมฮะ แต่ในยุคนั้น เขายังไม่แยกจากกัน คือมันเป็นยุคเมื่อร้อยปีที่แล้วนะ เค้ายังเป็นประเทศเชโกสโลวาเกีย ซึ่งเป็นประเทศใหม่ เพิ่งตั้งไม่นาน แล้วเขาก็มีความสามารถ ชาวเช็คนี่มีความสามารถเกี่ยวกับเครื่องจักร  เขาเรียกว่าเครื่องถ้วย เครื่องเหล็กอะไรอย่างเนี้ย  เขาก็ประมูลแล้วเขาก็มาทำ ซึ่งเป็นไปได้ว่า เขาทำโรงงานที่เกาะคาก็จริง แต่เป็นไปได้ว่าเค้าต้องเข้ามาในเมืองลำปางด้วยใช่ไหมครับ เป็นไปได้ว่าเช็คเนี่ยอาจจะมาอยู่ในเมืองลำปาง แต่ว่าอันนี้ยังต้องตามค้นหลักฐาน ซึ่งน้องๆอาจจะค้นพบก็ได้นะ ว่าแถวบ้านอาจจะมีชาวเช็คเคยมาพัก ซึ่งผมเองยังค้นไม่เจอ แต่เป็นไปได้ว่ามีชาวเช็คเข้ามาในเมืองลำปาง  ซึ่งเมื่อชาวเช็คสร้างโรงงานน้ำตาลเสร็จแล้วทางรัฐบาลพระยาพหลก็ให้เปิดโรงงานน้ำตาลช่วงประมาณปี 2480 เนาะ เอ่อ แต่บุคคลต่าง ๆ ที่เข้ามาในโรงงานน้ำตาลนี่เป็นชาวฟิลิปปินส์ คือเค้าเอารูปแบบการบริหารโรงงานน้ำตาลมาจากฟิลิปปินส์  มีนายช่างต่าง ๆ ในโรงงานน้ำตาลเป็นชาวฟิลิปปินส์ ทีนี้ทำให้ในเมืองลำปางมีชาวฟิลิปปินส์มาอยู่เยอะมาก บางคนเป็นช่างภาพด้วยนะ เป็นช่างถ่ายรูป

 

เรื่องเล่าถึงว่าโรงงานน้ำตาลแล้วเดี๋ยวหยุดไว้ก่อน ให้รู้สึกว่ามีอะไรน่าตื่นเต้นสงสัย แล้วเดี๋ยวจะเล่าต่อ

ก็มีชาวฟิลิปปินส์เข้ามา จริง ๆ แล้วนอกจากชาวฟิลิปปินส์ที่เข้ามาเป็นช่างภาพ มาเป็นจิตรกรแล้ว มีชาวต่างชาติอีกชาติหนึ่งเข้ามาอยู่ในเมืองลำปางด้วย โดยเข้ามาเป็นช่างถ่ายภาพ น้อง ๆ คิดว่าเป็นชาติอะไร เป็นชาวเอเชียนี่แหละ ที่เข้ามาเป็นช่างถ่ายภาพ นั่นก็คือชาวญี่ปุ่น   นั่นหมายความว่าจริง ๆ แล้วชาวญี่ปุ่นหรือทหารญี่ปุ่นไม่ได้พึ่งเข้ามาในเมืองปี 2484 แต่เข้ามานานมากแล้ว  ทีนี้มีวิธีการเข้ามา 2 แบบ แบบแรกก็คือใส่แต่งชุดทหารมาเลย เป็นทูตทหาร เป็นคณะทหารเข้ามาในเมืองลำปางเนาะ แล้วก็มีการต้อนรับ  อย่างเช่นในปี 2482 พันโทไซโต้พาทหารญี่ปุ่นมาประมาณเกือบ 30 นายเข้ามาในเมืองลำปางนะครับ แล้วตอนนั้นเนี่ย ยุคนั้นเค้าก็มีกรมการจังหวัดเนาะ หัวหน้าคณะกรมการจังหวัดก็คือ หลวงอุตตรดิตถาภิบาล เนี่ย ก็พานายทหารญี่ปุ่นทั้งหลายไปเลี้ยงอาหารพื้นเมือง เขาบอกว่ามีอาหารถึง 11 อย่าง ใช้เงินในการเลี้ยงทั้งหมด 75 บาท 12 สตางค์ แต่ 75 บาทยุคนั้นถือว่าเงินเยอะมาก ๆ นะฮะทุกวันนี้ 75 บาทอาจจะกินก๋วยเตี๋ยวไม่อิ่มนะ แต่ว่ายุคนั้นเลี้ยงได้ตั้ง 30 คนนะครับ

เขาก็บอกว่ามีอาหารพื้นเมืองได้ทั้งหมด 11 อย่าง โห ผมอ่านปุ๊บผมหิวเลย แต่ว่าเสียดายว่าหาไม่เจอว่ามีอาหารพื้นเมืองอะไรบ้าง มีผักอะไรนะ ผักเชียงดาผัดไข่หรือเปล่า มีจิ๊นส้มหรือเปล่า แต่เคยอ่านพบเหมือนกันว่าชาวญี่ปุ่นก็ชอบกินจิ๊นส้มเหมือนกันนะ ในตอนหลังที่เข้ามาอยู่เนี่ย นอกนั้นก็มีการเลี้ยงน้ำขิงด้วย แล้วก็มีน้ำหวานต่าง ๆ อาจจะมีชาวญี่ปุ่นก็ดื่มเบียร์ คือเข้ามาเป็นแบบทางการ แต่ที่ไม่เป็นทางการคือปลอมตัวเป็นช่างภาพ คือเขาเป็นทหารญี่ปุ่น ซึ่งเรียกว่าแฝงตัวมาก่อน ซึ่งแฝงมาหลายจังหวัด อย่างทางภาคใต้นี่ก็แฝงมาตัวเป็นช่างภาพ ทางลำปางเขาก็แฝงมาก่อน เพื่อจะเข้ามาดูว่าถ้าเขาเข้ามาในประเทศจริงๆ เขาจะมาอยู่ยังไง แต่ว่าชาวลำปางชาวบ้านก็ไม่รู้ ก็รู้สึกโอ้ มีชาวต่างชาติเข้ามา มีชาวญี่ปุ่นมาถ่ายภาพ ก็ไม่ทราบว่าเข้ามาเป็นสปาย มาเป็นสายลับก่อน นี่แสดงว่าชาวญี่ปุ่นเข้ามาก่อนเยอะแล้วพอสมควรในเมืองลำปาง โดยที่เราก็ไม่ระแคะระคาย ไม่ล่วงรู้

อย่างที่บอกครับว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 ถ้าตามที่บันทึกว่ามันเกิดขึ้นในเมืองไทยก็คือ 8 ธันวาคม 2484 ที่ว่าญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก มีรายละเอียดที่น่าสนใจ ที่เกี่ยวข้องกับเมืองลำปางโดยเฉพาะก็คือ พอสักวันที่ 13 เนี่ย มีหนังสือพิมพ์ที่กรุงเทพบอกว่าเมืองลำปางถูกยึดแล้ว แต่โดยทหารพม่าและทหารแขกมีมาจากทางข้างบน และเขาบอกว่าเมืองลำปางตอนนี้มีการต่อสู้ ทหารตำรวจปะทะกับผู้ที่เข้ามายึดเมือง ท้ายที่สุดแล้วนี่มันเป็นข่าวลือ เพราะว่าตอนนั้นเค้าเรียกปลัดจังหวัด ก็เป็นกรมการจังหวัด ปลัดจังหวัดก็ดูแล เขาชื่อ หลวงศุภการบริรักษ์นะ ท่านก็รีบส่งข่าวไปกรุงเทพฯ ว่า ไม่จริง ลำปางยังสงบเรียบร้อย ยังปลอดภัย ยังกินอิ่มหมีพีมัน  เดินเที่ยวได้ มันเป็นข่าวลือ ไม่ได้เกิดอะไรนี่ ก็ปลอดภัย ก็สงบเรียบร้อยดี แต่ว่านะฮะ ไม่นานหลังจากนั้น

และอย่างที่ทราบก็คือ ญี่ปุ่นบุกเข้ามาใช่ไหมครับ แล้วก็กองทหารไทยก็เข้ามา แต่ว่าสิ่งที่ทำให้ชาวลำปางต้องตื่นเต้นตกใจพอสมควรก็คือ เริ่มมีอะไรฮะ เครื่องบินมาทิ้งระเบิด ทีนี้ถามว่าก่อนหน้าเครื่องบินมาทิ้งระเบิดเนี่ยมีการฝึกซ้อมไหม  ทางรัฐบาลไทยช่วงนั้นเขาก็เริ่มคิดแล้วว่า ให้ซ้อม ก็ให้ซ้อมหลายจังหวัดนะฮะ ให้ซ้อมว่าถ้าเครื่องบินมาทิ้งระเบิด จะหนี จะมีหลุมหลบภัยอะไรยังไง แต่ในความเป็นจริง อันนี้ประสบการณ์จริงของเราๆท่านๆ เราซ้อมอะไรก็ตาม แต่เวลาเกิดเหตุการณ์จริงเราจะได้ทำตามที่ซ้อมไหมครับ เพราะว่ามันตกใจใช่ไหมฮะ ตามสัญชาตญาณคน พอตกใจวิ่งไปทางไหนก็ได้ ให้ปลอดภัยก่อน แต่ตอนซ้อมบอกเดี๋ยวต้องวิ่งไปตรงนี้กี่ก้าว ต้องวิ่งไปทางนี้ สรุปพอจริง ๆ ไม่มีใครสนใจว่าวิ่งทางไหนกี่ก้าว คือทางไหนก็ได้ หลบภัยไว้ก่อน ก็ชุลมุนวุ่นวายพอสมควร

 

มีการบันทึกว่าที่เครื่องบินมาทิ้งระเบิดเมืองลำปางแล้วเป็นความทรงจำแล้วชาวบ้านไม่ลืมเลย หรือแม้กระทั่งทางการก็จดบันทึกไว้  ที่ผมไปค้นมา มีหลักๆครั้งใหญ่ 3 วันก็คือ 20 พฤศจิกายน 2486 แล้วก็อีกครั้งหนึ่งคือสิ้นปีเลย 31 ธันวาคม 2486 และอีกครั้งหนึ่งก็คือ 3 มกราคม 2487 การที่มีเครื่องบินมาทิ้งระเบิดเนี่ย น้อง ๆ เป็นนักเรียนอยู่ คิดว่ามันส่งผลกระทบต่อนักเรียนหรือโรงเรียนหรือไหมมันไม่มีอารมณ์เรียนแล้ว ไม่รู้จะโดนระเบิดหรือเปล่า

อีกอย่างคือโรงเรียนในยุคนั้น พูดง่าย ๆ ก็ถูกทำให้กลายเป็นสถานที่ทั้งของทหารไทยและทหารญี่ปุ่น ทีนี้ตอนนั้น ก็มีโรงเรียนสำคัญที่เขาเรียกโรงเรียนช่างไม้ช่างเหล็กแล้วก็มีโรงเรียนช่าง ช่างทอ ช่างทอผ้า ช่างเย็บผ้าครับ ทางทหารไทยที่เข้ามาตั้งฐานทัพเนี่ย อาจจะเพื่อรักษาความสงบหรือป้องกันภัยทั้งของญี่ปุ่นหรืออะไรต่าง ๆ ทหารไทยจะขอใช้พื้นที่ของโรงเรียนช่างไม้ช่างเหล็กแล้วก็ให้เป็นคลังเสบียงอาหารเนาะ แล้วก็ตรงสนามหน้าโรงเรียนมีการติดตั้งปืนต่อสู้อากาศยานไว้ด้วย ส่วนโรงเรียนช่างทอจะทำเป็นคลังวัสดุต่าง ๆ อย่างโรงเรียนที่สำคัญ อย่างโรงเรียนลำปางกัลยาณี อันนี้ให้ลองทายว่าทหารญี่ปุ่นหรือทหารไทยตั้งอยู่ ลำปางกัลยาณีน่าจะทหารญี่ปุ่นหรือทหารไทย ทหารญี่ปุ่นครับ อย่างโรงเรียนลำปางกัลยาณีนี้ทหารญี่ปุ่นขอเป็นพื้นที่ตั้งฐานที่มั่นของทหารญี่ปุ่นเลยครับ ส่วนโรงเรียนบุญวาทย์ฯ เป็นโรงเรียนที่ในช่วงเวลานั้นยังให้เปิดเรียนอยู่ ยังให้นักเรียนมาเรียนได้ แล้วก็มีกิจกรรมอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ

ในช่วงนั้นที่โรงเรียนบุญวาทย์ฯ ทหารอากาศหรือว่าทหารต่าง ๆ จะขอยืมสนามหน้าโรงเรียนเพื่อให้เป็นที่จัดกิจกรรมอย่างหนึ่ง ก็คือจัดแข่งขันชกมวย ถามว่าทำไมต้องชกมวย ชกมวยเพื่ออะไร ในระหว่างสงครามมีความสุขกับการชกมวยหรือ ไม่ใช่ แต่ชกมวยเพื่ออยากให้แบบว่าให้คนดู มีการเก็บค่าเข้าชมเพื่อนำไปซื้อยารักษาโรคหรือยาต่าง ๆ ที่จะช่วยทหารบาดเจ็บอะไรอย่างนี้นะฮะ แล้วก็พอชกไปได้ถึงประมาณปี 86 อย่างที่บอกว่ามันมีเครื่องบินมาทิ้งระเบิดเนี่ย คราวนี้ไม่มีอารมณ์ชกแล้ว เพราะเครื่องบินมาทิ้งระเบิดทุกวัน ก็เลิกชกฮะ แล้วก็ปรากฏว่านักเรียนก็ไม่ได้เรียนเต็มที่ เพราะว่ามันส่งผลกระทบ ก็กลายเป็นว่าสุดท้ายแล้วโรงเรียนก็ต้องหยุดเรียน ต้องอพยกนักเรียนไปอยู่ในที่ปลอดภัย หรือบางคนนักเรียนยังไม่ทันสอบเสร็จ ครูบอกอ้าวไม่ต้องซีเรียส ไม่ต้องสอบแล้ว ให้ผ่านเลย นักเรียนก็ไชโย ก็ไม่ต้องเรียน ไม่ต้องสอบให้เหนื่อย หรืออย่างโรงเรียนเทศบาลนี่ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นของญี่ปุ่น เขาจะแบ่งเลยว่าโรงเรียนเทศบาลเป็นของทหารญี่ปุ่นตั้งเป็นฐานที่มั่น แต่ถ้าโรงเรียนประชาบาลนะฮะ ยุคนั้นก็ยังมีโรงเรียนประชาบาล ก็จะเป็นของทหารไทยใช่ไหม

ต่อมาโรงเรียนก็อาจจะต้องหยุด หรือแบบต้องอพยพนักเรียนไปอยู่ในที่ปลอดภัย หรือนักเรียนยังไม่ทันสอบ ครูบอกอ้าวไม่ต้องไปเรียนแล้วให้ผ่านเลย นักเรียนก็ไชโยไม่ต้องเรียนไม่ต้องสอบให้เหนื่อย หรือโรงเรียนเทศบาล ส่วนใหญ่ก็เป็นของญี่ปุ่นเขาจะแบ่งเลยว่าโรงเรียนเทศบาลเป็นของทหารญี่ปุ่นตั้งสถานที่มั่น แต่ถ้าโรงเรียนประชาบาลก็จะเป็นของทหารไทยใช่ไหม แล้วทีนี้อย่างที่ที่พี่เล่าเมื่อกี้ว่ามีโรงงานน้ำตาลที่เกาะคา และมีการประกวดนางงามโรงงานน้ำตาลไทย คือคุณอารีย์ ปิ่นแสง ก็ได้เป็นนางงามประจำโรงงานน้ำตาลแล้วก็ส่งไปประกวดนางสาวไทยที่กรุงเทพฯ และได้ตำแหน่งรองนางสาวไทยด้วยแล้วตอนหลังจอมพล ป. เป็นผู้สร้างหนังก็ให้เป็นนางเอกภาพยนตร์เรื่องบ้านไร่นาเรา แล้วก็พระเอกก็เป็นทหารอากาศ คือ เรืออากาศเอกทวี จุลทรัพย์ ที่ตอนหลังจะมาเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในกองทัพอากาศไทย เป็นนักการเมือง

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงงานน้ำตาลกับกลายเป็นฐานที่มั่นออกเสรีไทยนะก็มีเรื่องเล่าหรืออย่างที่คุณวันใหม่เล่าก็จะเป็นสมาคมพบปะกันกลายเป็นว่า เวลามีนักบินโดดร่มมา เครื่องบินโดนยิงตกก็จะช่วยนักบินโดยพาไปส่งที่โรงงานน้ำตาลเกาะคา ทำให้ที่นี่กลายเป็นอย่างที่ผมเกริ่นตอนแรก คือนอกจากผลิตความหวาน แล้วยังสร้างความร่วมมือและมีบทบาทสำคัญเป็นฉากสำคัญในสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนนักเรียนอย่างน้อง ๆ โรงเรียนหยุดบางทีก็ช่วยเป็นหูเป็นตา เราอาจจะไม่สามารถไม่ร่วมปฏิบัติการรบได้ แต่ว่าช่วยเป็นหูเป็นตาบอกพ่อจ๋าเห็นทหารญี่ปุ่น ตรงนี้เราก็ต้องบอกว่าทุกคนก็เป็นหน่วยสืบข่าวได้ ช่วยเหลือประเทศได้ทุกคน อันนี้เป็นเรื่องราวของชาวลำปางกับสงครามโลก และปฏิบัติการเสรีไทยในลำปางก็มีประมาณนี้ครับ ขอบคุณครับ

 

 

ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล :

เรื่องราวความหวานท่ามกลางควันระเบิดนะครับ ผมเองก็คงจะไม่มีอะไรเพิ่มเติมนะครับก็เป็นเกร็ดเล็ก ที่น่าสนใจมากในส่วนของลำปางและโรงงานน้ำตาลนะครับ เข้าใจว่าถ้าจำไม่ผิดโรงงานน้ำตาลยังอยู่นะครับ เป็นกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินของเอกชนไปแล้ว วันนี้ได้ข่าวว่าทางสถาบันปรีดี พนมยงค์ จะไปเยี่ยมดูด้วยใช่ไหมครับ ที่โรงงานน้ำตาลแห่งนี้ มีประเด็นเล็ก ๆ น้อย ๆ นะครับ อยากจะฝากพวกเราก็คือคุณอาชญาสิทธิ์ให้เราเห็นนะครับ ก็คือเป็นหน้าเป็นตาเลยโรงงานน้ำตาลกับนางงามน้ำตาล ก็ยังไปเป็นนางเอกด้วยใช่ไหม เป็นภาพยนตร์เรื่องบ้านไร่นาเราที่จอมพล ป. สร้างนะครับ ท่านอาจารย์ปรีดีก็เลยสร้างภาพยนตร์พระเจ้าช้างเผือก และกลายเป็นภาพยนตร์การเมือง เป็นการเสนอภาพจุดยืนในทางสงครามของแต่ละฝ่ายครับ

วิทยากรแต่ละท่านสามารถพูดได้อีกสักรอบหนึ่งครับ อาจจะมีอะไรเพิ่มเติมเล็ก ๆ น้อย ๆ ส่วนที่รอบแรกอาจจะยังไม่พูดถึงครับ ในรอบที่ 2 จะรบกวนคุณวีระ สตาร์ให้ช่วยเพิ่มเติมจากที่เล่าให้ฟังในช่วงแรกในเรื่องของแพร่ และความร่วมมือกับทางลำปางบ้างครับ มีประเด็นอะไรเพิ่มเติมบ้างไหมครับ ผมเคยได้ยินข่าวว่ามีประเด็นเรื่องคุณจำกัด พลางกูร ที่จะไปจีนจุนกิง รบกวนคุณวีระเชิญเลยนะครับ

 

 

วีระ สตาร์ : 

ขอบคุณครับ ทั้งเสรีไทยภาคเหนือคือทั้งที่แพร่และที่ลำปางได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด และบทบาทของเสรีไทยในลำปางถูกจำกัดเพราะกองทัพญี่ปุ่นแล้วก็สายลับญี่ปุ่นเยอะมาก แต่ทำให้โฉ่งฉ่างไม่ได้แต่ที่แพร่เราสามารถเดินเครื่องได้อย่างเสรี เพราะว่าญี่ปุ่นไม่ได้อยู่นั่นมากมายมหาศาลเหมือนอย่างที่ลำปาง เราใช้เด็กตัวเล็ก ๆ สื่อสารหรือว่าขนอาวุธ เพื่อนชื่อ วิทยา คำภูมิ่ง ท่านเสียไปแล้ว ตอนสมัยเด็ก ๆ ท่านบอกว่า เขาให้เอาปืนห่อเสื่อแล้วก็ไปส่งที่จุด ๆ หนึ่ง ปรากฏว่าท่านก็เอาปืนแบกไปใส่เสื่อห่อไว้พันไว้แล้วก็ผูกเชือกถือไปโทง ๆ ปรากฏว่าโดนญี่ปุ่นเรียกครับ ญี่ปุ่นเรียกมาคุยด้วยก็พวกที่แอบดูอยู่ก็ที่มาส่งปืนก็ตกใจเห้ยมันจับได้หรือเปล่า แล้วลูกหลานเราจะเป็นอย่างไร ปรากฏว่าเด็กคนนั้นญี่ปุ่นเรียกก็เดินเข้าไปถือปืนไปด้วยนะ ญี่ปุ่นมีลูกอยู่ที่ญี่ปุ่นแล้วก็รู้สึกเห็นเด็กคนนี้เดินผ่านก็คิดถึงลูกก็เลยเรียกไปลูบหัว คุยด้วยแล้วก็ปล่อยไป คือไม่ได้มีอะไรแต่ก็ว่านี่คือ เราใช้แนวร่วมที่เป็นเด็ก ผู้ใหญ่อย่างที่บอกบ้านเจ้าวงศ์ เป็นจุดที่เราทิ้งร่มลงมาแล้วก็เอาอาวุธยุทโธปกรณ์ สัมภาระทั้งหลายเก็บไว้ที่จุดต่าง ๆ ส่วนในเวียงก็เป็นบ้านเจ้าวงศ์

ก็จะพูดในฐานะที่เคยเป็นนักรบเก่า อยากจะพูดถึงว่าท่านชมที่ท่านวันใหม่พูดถึงนั้น หน้าที่ของท่านถ้าเผื่อเป็นสมัยนี้หน้าที่ของท่านคือทำหน้าที่ชี้เป้า ทำแผนที่ ทำเรื่องราวต่าง ๆ ให้กับเครื่องบินที่สมัยก่อนไม่ได้มีอุปกรณ์ทันสมัยมากมายชี้เป้าได้อย่างถูกต้อง จำกัดความเสียหายให้อยู่แต่เฉพาะศัตรูไม่โดนบ้านเรือนประชาชน ทำให้อย่างที่บอกญี่ปุ่นสงสัยว่าทำไมตรงเฉพาะจุดค่ายทหารญี่ปุ่น ก็ถือว่าหน้าที่ของนายชม ซึ่งท่านเสียชีวิตไปเพียงไม่กี่ปี ท่านอยู่เลยไปทางป่าแดง จะเป็นจุดที่คนอพยพมาจากทิเบตและจะมีภาษาพูดเป็นภาษาของเขาโดยเฉพาะเลย นายชมทำหน้าที่เหมือนกับพวกเราสมัยนี้ถ้ารบในประเทศที่สามก้จะทำหน้าที่ชี้เป้า ที่ลาวข้าศึกมีอาวุธยุทโธปกรณ์เหนือกว่า แต่เรามีเครื่องบินก็ทำหน้าที่ชี้เป้าลงได้อย่างดีก็สร้างความเสียหายให้กับข้าศึกศัตรูเหมือนกับนายชมท่านทำ ที่ลำปางอย่างที่ทราบกันว่าเรามีถนนหนทางที่สามารถไปต่อถึงเชียงราย เกือบถึงพม่าได้ ไปได้เกือบสะดวกสบายถึงว่าแม้จะเป็นถนนลูกรัง

แต่ก็ว่ามันก็เป็นเส้นทางพหลโยธินที่มาจากกรุงเทพฯ แล้วก็ไปเรื่อย ๆ ที่ก็มามีเส้นทางรถไฟที่มาจากกรุงเทพฯเชื่อมต่อมาถึงลำปางไปถึงเชียงใหม่ ตรงนี้มีญี่ปุ่นอยู่มากมาย การส่งกำลังบำรุงใช้ทั้งถนนใช้ทางรถไฟส่วนมากก็จะเป็นทางรถไฟ เครื่องบินก็จะมาทิ้งระเบิกทางรถไฟก็ทิ้งทั้งที่อุตรดิตถ์ สายเหนือก็คือลำปาง เส้นที่ไม่ได้ไปทิ้งก็คือ เชียงใหม่ ตรงนั้นญี่ปุ่นมีน้อย ญี่ปุ่นมาตรงนี้ เพื่อบุกพม่า แล้วก็บุกอินเดีย ตามแผนยุทธศาสตร์ของเขาซึ่งต้องการที่จะกวาดล้างอังกฤษทั้งอำนาจของจักวรรดินิยมออกไปจากภูมิภาคนี้แล้วก็รวมพวกกับเอเชียในฐานะที่คนเอเชียด้วยกัน พวกเราก็สงสัยเหมือนถ้าเกิดญี่ปุ่นชนะสงครามมันจะเป็นไปได้ไหมถ้าเกิดเขาที่จะทำแบบจีน พวกนี้ฆ่าคนจีนไปเยอะแยะมากมาย เพราะฉนั้นถ้าเกิดเราไม่มีการช่วยเหลือจากสัมพันธมิตรประเทศไทยอาจจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่บอก เสรีไทยที่สามารถจะช่วยได้ ส่งกำลังบำรุงไปรบที่พม่า มารวมพลกันที่ลำปาง จากลำปางก็ขนส่งทางรถไปเชียงราย พม่ายันไปที่เชียงตุง เราเลือกจุด ๆ นี้เพราะว่าใกล้ชายแดนจีน การสู้รบไม่ดุเดือดเหมือนทางใต้ของพม่า ตรงนั้นญี่ปุ่นรบกันแหลกราญพวกอังกฤษ ตรงนี้ก็เท่ากับว่าเป็นการไปถนอมกำลังไว้ถึงหนึ่งกองพล กองพลพายัพที่มีคือ พล.ท.จรูญ เสรีเริงฤทธิ์ เป็น ผบ.พล แล้วก็มีจอมพลผิน ชุณหะวัณ เป็นพ่อของชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นกองกำลังพลมาจากโคราชก็ไปอยู่ตรงนั้น การรบตรงนั้นก็เบาบางแต่บางครั้งก็ดุเดือด จุดที่จะไปเมืองพยาค เมืองสำคัญที่เป็นจุดนัดพบ จอมพล สฤษดิ์ โดนต่อต้านอย่างหนักใช้ควายลากปืนใหญ่ เพราะตอนนั้นฝนตกหนักเลยแล้วก็ลำบากมากเอาควายลากปืนใหญ่ไปยิง มันมีจุดอยู่จุดหนึ่้งชื่อดอยเหมย จุดนี้ก็เลยไม่ได้ทหารของจอมพล สฤษดิ์

พวกทหารจีนกองพล 93 ก๊กมินตั๋ง ตั้งรางปืนกลไว้ จอมพลสฤษดิ์ตีอยู่เป็นวันไม่จบ ผ่านไปไม่เท่าไหร่ท่านนัดกับกองพลอื่น ๆ ที่อยู่ด้านหน้าที่ไม่สามารถฝ่าจุดนี้ไปได้ ท่านก็สั่งพัก หัวเสียลงมา ก็นั่งปรึกษากันได้ยินเสียงคุยกันจ้อกแจ้กข้างหลัง ท่านก็หันไปก็เห็นทหารหน้าตา ท่านก็หันถามว่า มึงมาจากไหน มาจากแพร่ครับ มึงทำลายอันนี้ได้ไหม ได้ครับ เพราะเขาดูอยู่ พอบอกได้ท่านก็แปลกใจแล้วยิ่งแปลกใจหนักเข้าไปอีกเห็นชุดที่มาจากแพร่ ทหารลูกข้าวเหนียว สามารถยึดดอยเหมยได้ เขาใช้ยุทธวิธีไปข้างหลังแบบพระนเรศวรมหาราชตีเมืองคัง เข้าไปด้านหลังยึดเมืองได้ ทำให้บรรจบกับหน่วยอื่นสามารถเป็นไปได้ ถ้าไม่อย่างนั้นก็คงจะยุ่งยากลำบาก แล้วแผนการรบทั้งหมดจะเปลี่ยนแปลงไป ต่อมาจอมพล สฤษดิ์ ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีท่านก็มาเยี่ยมแพร่ ท่านก็คิดวีรกรรมของพวกนี้ที่เคยรบแล้วก็เสียสละ ท่านก็เลยขอให้สร้างอนุสาวรีย์ อนุสาวรีย์อยู่ที่ประตูมาร ถ้าใครผ่านไปตรงนั้นก็สามารถที่จะเข้าไปดูได้ ทุกวันที่ 3 กุมภาพันธ์จะมีการฉลองวางพวงมาลาระลึกวีรกรรมของทหารจากเหนือ ตีดอยเหมยได้ ทำให้แผนการรุกเชียงตุงสามารถสำเร็จได้

 

ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล :

ขอบคุณคุณวีระมากเลยนะครับ อย่าว่าแต่รุ่นหนู ๆ เลยลูก ตัวลุงเองยังไม่ทราบถึงเหตุการณ์เหล่านี้ครับ เสรีไทยเขารักษาความลับกันนะครับ ผมได้ยินว่าบางทีรักษาความลับจนถึงขั้นว่า เมื่อสงครามสิ้นสุดไปแล้วก็ยังไม่บอกแม้กระทั่งญาติใกล้ชิด ลูกเมียก็ไม่บอกเพิ่งมาบอกเอาตอนใกล้ตาย พวกเราก็เลยไม่ค่อยทราบเรื่องราวรวมไปถึงบรรยากาศการเมืองที่เปลี่ยนไปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เราก็เลยไม่รู้ว่าใครร่วมขบวนการเสรีไทยบ้างหลังจากที่สงครามผ่านไปแล้ว เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาคุณวันใหม่มีอะไรอยากเพิ่มเติมไหมครับ

 

 

วันใหม่ นิยม :

ที่จริงที่ข้ามไปก็ค่อนข้างที่จะเป็นปลีกย่อยเช่น ลำปางที่ใครมาอยู่ทั้งทหารญี่ปุ่น กองทัพไทยเมื่อกี้คุณโอมก็บอกว่า พม่าบุก จริง ๆเป็นทหารพม่าอิสระ ใครเคยได้ยินชื่อ ออง ซาน ซูจี คุณพ่อของออง ซาน ซูจี ชื่อนายพลอองซานก็ตั้งกลุ่มตะขิ่น กองทัพตั้งที่กรุงเทพฯ ส่วนหนึ่งตั้งที่ลำปาง เพราะในลำปางมีชุมชนพม่า อย่างนามสกุล วงศ์พรหมมินทร์ คนพื้นถิ่นอาจจะพอได้ยิน นามสกุลพ่อค้าเก่า เศรษฐีเก่าที่ข้ามไปเช่นว่า แม่ทัพนายกองหลังจอมพล ป. ถูกปลด ลาออกจากนายกที่อาจารย์ฐาปนันท์ พูดถึง หลวงสินาดโยธารักษ์ ก็อยู่ในกองบัญชาการของนายปรีดี พนมยงค์ เราไม่ค่อยรู้รายละเอียดเท่าไหร่ว่าเป็นรองผู้บัญชาการสูงสุดทำการแทนแม่ทัพบกทัพใหญ่ คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา ที่ป่วยไม่สามารถทำงานได้เท่ากับว่าเราได้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแม่ทัพใหญ่ที่เป็นเสรีไทยจริง ๆ ที่ผมเสนอสถานที่จริงไปในรอบแรก เช่น กาดกองต้า เพื่อให้เห็นภาพว่าเป็นบ้านเก่า บ้านไม้ อย่างโรงงานน้ำตาลฯ ที่อาจเป็นของเอกชนก็สามารถขอสปอนเซอร์ได้

ถ้าสมมุติว่าขอเข้าไปเยี่ยมชม แต่ปืนเก็บไปแล้วหลังสงคราม เด็ก ๆ อาจจะลองจินตนาการว่าจะซ่อนโรงงานน้ำตาล ฝึกอย่างไรไม่ให้เสียงดังไปนอกค่ายฯ ส่วนการจำลองสถานที่ค่ายฯ โดยใช้จินตนาการ หรือหากโตหน่อยก็ต้องทราบว่าผู้ใหญ่ในบ้านเมืองคนไหนมีความสัมพันธ์กับลำปาง ใครสามารถทำเส้นทางกราฟิกหรือสเก็ตภาพได้ หรือเด็กประถมฯ ระบายสีไหม มัธยมสเก็ตภาพเองวาดจากจินตนาการว่านายถนอมพาคุณทศ พันธุมเสน ไปฝึกขี่จักรยานจากโรงงานน้ำตาลไปกาดกองต้า เพราะว่าหากจัดกิจกรรมดี ๆ ก็สามารถทำเป็นหลักสูตรและจะทำให้การเรียนรู้มีชีวิตชีวามากกว่าการเรียนรู้ในห้องนี้ หากคุณครูท่านไหนสนใจสามารถติดต่อสถาบันปรีดี พนมยงค์ได้

 

 

อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ :

ผมอยากจะโยงมาถึงแนวคิดของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ที่อาจารย์ปรีดีตั้งขบวนการเสรีไทย มีปลายทางสำคัญคือต้องการให้เกิดสันติภาพจะเห็นได้ว่าในหลายพื้นที่ เราอาจจะมีภาพจำจากละครว่า ตอนที่ทหารญี่ปุ่นเข้ามาเมืองไทยในหลายพื้นที่มีปัญหาหรือความขัดแย้งอย่างที่เราเคยดูละครอย่างที่เคยเห็นเป็นภาพจำแต่อย่างที่เห็นว่าในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ในสงครามเราอาจจะปฏิบัติการลับระหว่างกันแต่ในฐานะความเป็นมนุษย์ความเป็นคน เวลาญี่ปุ่นไปซื้อของในตลาด หรือแม้กระทั่งว่าชาวไทยเจอญี่ปุ่นมันก็มีความสัมพันธ์ในแง่คนปกติ และการสร้างหนังพระเจ้าช้างเผือกของอาจารย์ปรีดีเพื่อเชิดชูสันติภาพ และเมื่อสงครามเลิกจะเห็นว่ามันมีสันติภาพได้แม้มนุษย์ทุกคนจะถูกจัดวางในพื้นที่สามารถเป็นมิตรกันได้ 

 

ถาม-ตอบ ในช่วงท้ายของการเสวนาฯ 

 

ผู้เข้าร่วมเสวนา :

คำถามก็อยากเป็นเชิงความคิดเห็นที่ให้กับวิทยากรในเชิงประวัติศาสตร์ไทยว่า อยากจะส่งเสริมการศึกษาให้เป็นรูปธรรมเชิงความร่วมมืออย่างไร

วันใหม่ นิยม :

ในความคิดเห็นส่วนตัวว่าประวัติศาสตร์เชิงการเมืองในประเด็นของเสรีไทยมีมายาคติของความเป็นฝักฝ่าย ชูเรื่องนี้เท่ากับต่อต้านอำนาจรัฐไหม ถ้าในระดับมหาวิทยาลัยก็อยากให้เป็นเรื่องของคนลำปางทุกคน หรือเรื่องของเสรีไทยก็ให้เป็นเรื่องของคนทุกฝ่าย ให้ทำเป็นหลักสูตรที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย

อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ :

ความสำคัญของเรื่องลำปางต้องมีการส่งเสียงว่ามีเรื่องเล่าอีกมากมาย ไม่ใช่แค่สิ่งที่คนอื่นเข้าใจ คนทุกพื้นที่สามารถเล่าเรื่องกันได้ เพราะประวัติศาสตร์คือการสนทนา

วีระ สตาร์ :

สงครามไม่ได้มีผู้ชนะ ผู้แพ้ก็แพ้หมด มีแต่ความสูญเสีย เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ทุกคนรับทราบถึงการสูญเสีย 

 

 

ที่มา : มูลนิธิปรีดี พนมยงค์ และ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง จัดกิจกรรม PRIDI Sanjorn : เรื่องเล่าประวัติศาสตร์และปฏิบัติการเสรีไทยในลําปาง โดยจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง