
กฤต ไกรจิตติ :
ท่านอาจารย์สรรเสริญ ไกรจิตติ ก็เป็นอดีตอธิบดีพิพากษาศาลอุทธรณ์ แล้วก็เป็นบุตรของพระยากฤตราชทรงสวัสดิ์ (สุดใจ ไกรจิตติ) และคุณหญิงเชย กุญชร ซึ่งเป็นลูกสาวของพระยาอาทรธุระศิลป์ (ม.ล. ช่วง กุญชร ณ อยุธยา) กับคุณหญิงชม ท่านก็เป็นลูกเขยของนายฮวดและนางแผ้ว หุตะสิงห์ เพราะฉะนั้น วันนี้เราจะมาพูดกันถึงเรื่องของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) ในส่วนที่ท่านเกี่ยวข้องกับเรื่องของกระบวนการศาลยุติธรรม เพราะฉะนั้น พ่อก็สืบทอดหน้าที่จากคุณปู่แล้วก็พระยากฤตราชทรงสวัสดิ์ ซึ่งก็เป็นอธิบดีศาลอุทธรณ์ด้วย
แล้วก็พระยามโนปกรณ์ฯ ท่านก็ตำแหน่งสุดท้ายก่อนที่ท่านปรีดี พนมยงค์ จะมาเชิญไปเป็นนายกรัฐมนตรี ท่านก็เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ เพราะฉะนั้น นี่เป็นเรื่องของการสืบเรื่องของทางบรรพตุลาการ วันนี้คุณพ่อก็เลยยินดีที่จะคุยถึงเรื่องพระยามโนปกรณ์ฯ แล้วก็พูดเรื่องของศาลยุติธรรมด้วย พระยามโนปกรณ์ฯท่านก็มีบทบาทสำคัญนอกจากที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนใหญ่ถ้ารู้จักพระยามโนปกรณ์ฯ ในฐานะนายกรัฐมนตรีท่านแรก แต่ว่าในบทบาทของท่านในฐานะที่เป็นผู้พิพากษาผู้ใหญ่อาจจะยังไม่ค่อยมีใครได้ทราบเท่าที่ควร
วันนี้คุณพ่อก็จะได้เล่าให้ฟังถึงเรื่องว่า พระยามโนปกรณ์ฯ ท่านก็ได้เคยทำงานร่วมกับพระยากฤตราชทรงสวัสดิ์แล้วก็เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ท่านตุลาการผู้ใหญ่หลายท่านซึ่งก็มีรูปที่จะให้คุณพ่อได้ชี้ให้เห็น อันนี้นี่เป็นภาพถ่ายที่ศาลสถิตย์ยุติธรรม อันนี้เป็นภาพถ่ายท่านบรรดาผู้พิพากษาตุลาการถ่ายกับเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เมื่อ พ.ศ.2473 ที่ศาลสถิตย์ยุติธรรม


สรรเสริญ ไกรจิตติ :
ท่านที่นั่งกลางนี่คือเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศแล้วก็
กฤต ไกรจิตติ :
พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี (บุญช่วย วณิกกุล) อธิบดีศาลฎีกา
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และเป็นเพื่อนรักของบิดาผม คือ พระยากฤตราชทรงสวัสดิ์ แล้วนี่ก็พระยาเทพวิทุรฯ อธิบดีศาลฎีกาตอนนั้น นี่พระยามโนปกรณ์ฯ แล้วนี่ก็พระยากฤตราชทรงสวัสดิ์ บิดาผม
กฤต ไกรจิตติ :
แล้วก็ทางซ้าย
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
พระยามโหสถศรีพิพัฒน์ (เชิญ ปริชญานนท์) ใช่ไหม
กฤต ไกรจิตติ :
ท่านเป็นปลัดทูลฉลอง ตอนนั้น
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
พระยาอัชราชทรงสิริ (แม้น อรุณลักษณ์)

กฤต ไกรจิตติ :
ข้างบนนี้ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันน่าจะมีพระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ (วงศ์ ลัดพลี)

สรรเสริญ ไกรจิตติ :
แต่ที่สำคัญก็คือ เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ พระยามโนปกรณ์ฯ ท่านเป็นอธิบดีศาลอุทธรณ์ตอนนั้นเสร็จแล้วก็พอคุณหลวงประดิษฐ์ พระยากฤตราชทรงสวัสดิ์จำได้บิดาผม
กฤต ไกรจิตติ :
พอท่านปรีดีมาเชิญพระยามโนปกรณ์ฯ ไปเป็นนายกฯ คุณปู่เป็นอธิบดีศาลคดีต่างประเทศก็เลยมาเป็นอธิบดีศาลอุทธรณ์
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
แล้วต่อไปก็ไปเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม

กฤต ไกรจิตติ :
เพราะฉะนั้น นี่คือการสืบประวัติศาสตร์เรื่องบรรพตุลาการ แล้วคุณพ่อก็เกษียณในตำแหน่งอธิบดีศาลอุทธรณ์ด้วย เพราะฉะนั้นตั้งแต่พระยามโนปกรณ์ฯ มาพระยากฤตราชทรงสวัสดิ์แล้วก็มาคุณพ่อผมก็ถือว่าเป็นบรรพตุลาการที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องของศาลยุติธรรม

คำถาม :
อยากให้เกริ่นถึงอาจารย์ปรีดีในเรื่องการศาล
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
ท่านอาจารย์ปรีดี ความจริงตอนนั้นผมยังเด็กอยู่เราก็ทำอะไรไม่ค่อยได้ เห็นแต่ท่านเดินผ่านไปผ่านมา เพราะท่านเป็นผู้ใหญ่มาก เราเป็นเด็กนักเรียน
กฤต ไกรจิตติ :
อันนี้เรื่องที่ท่านปรีดีกลับมาจากปารีสท่านก็มารับราชการกระทรวงยุติธรรมแล้วก็ทำงานอยู่ใต้บังคับบัญชาของบรรดาท่านผู้พิพากษาผู้ใหญ่ที่ในรูปเมื่อกี้นี้ ตั้งแต่เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ พระยามโนปกรณ์ฯ อธิบดีศาลฎีกา แล้วท่านก็เป็นอาจารย์สอนกฎหมาย และก็ท่านเป็นตำแหน่งเลขาธิการเนติบัณฑิตสภาด้วย อันนี้หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่ผมจะให้พ่อดูนะว่ารูปที่ได้พูดกันเมื่อวานนี้ ตรงนี้
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
หลวงธรรมนูญวุฒิกร


กฤต ไกรจิตติ :
นี่เป็นภาพที่ท่านปรีดี อันนี้เป็นภาพจากงานวันรัฐธรรมนูญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร รัชกาลที่ 9 เสด็จมา วันนี้คือวันที่ท่านเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ท่านเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม พระยามโหสถศรีพิพัฒน์
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
พระยามโหสถศรีพิพัฒน์ ปลัดกระทรวง
กฤต ไกรจิตติ :
แล้วคนนี้คือคุณหลวงธรรมนูญวุฒิกร
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
คนนี้คือ คุณหลวงธรรมนูญวุฒิกร พี่เขยผม
กฤต ไกรจิตติ :
เป็นลูกเขยพระยากฤตราชทรงสวัสดิ์ คนนี้ก็นี่ท่านปรีดีใช่มั้ย
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
ท่านปรีดี นี่ก็พระยากฤตราชทรงสวัสดิ์บิดาผม นี่ก็พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ (วงศ์ ลัดพลี)
กฤต ไกรจิตติ :
อันนี้คือตอนที่ท่านอาจารย์ปรีดี ได้ร่วมงานกับเจ้าพระยาศรีธรรมธิเบศ ใช่ไหม แล้วก็พระยากฤตราชทรงสวัสดิ์แล้วก็บรรดาผู้พิพากษาผู้ใหญ่
คำถาม :
เมื่อกี้นี้ที่ท่านสรรเสริญเกริ่นไว้ใช่ไหม ว่าอาจจะได้เจออาจารย์ปรีดีอยู่บ้างไกล ๆ อยากทราบว่าตอนนั้นตอนที่ท่านสรรเสริญอยู่ที่บ้าน หรือว่าในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลง ทางที่บ้านครอบครัวได้พูดถึงอาจารย์ปรีดีอย่างไรบ้าง
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่รู้เรื่อง รู้เรื่องแต่ว่าเคยหลังจากการปกครองมาแล้วนาน ผมเคยไปเยี่ยมท่านอาจารย์ปรีดี 2 ครั้ง ครั้งแรกก็ที่บ้านอยู่ ๆ ท่านผู้หญิงพูนศุขด้วย ครั้งที่ 2 ท่านพาไปทานอาหารนอกบ้านมีลูกชายท่านชื่อปาล พนมยงค์ ใช่ไหม ไปด้วยไปทานอาหารกันที่ร้านอาหาร จำไม่ได้แล้วอาหารอะไร
กฤต ไกรจิตติ :
อันนี้คราวนี้เรื่องที่ท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ทำงานอยู่ที่กระทรวงยุติธรรม ที่ได้ทำงานร่วมกับบรรดาท่านผู้พิพากษาผู้ใหญ่ ผมก็มีรูปที่จะให้คุณพ่อได้ชี้ให้เห็นตอนที่ได้เป็นอาจารย์แล้วก็เรียนร่วมกับคุณหลวงธรรมนูญวุฒิกร และอาจารย์ปรีดีซึ่งเป็นอาจารย์ผู้ใหญ่ แล้วก็มาตอนสมัยที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง สมัยรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายก ก็มีพิธีมอบครุยเนติบัณฑิตให้กับพวกคณะรัฐบาล ตอนนั้นรัฐบาลน่าจะเป็นรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
กฤต ไกรจิตติ :
อันนี้พระยาพหลใช่ไหม
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
พระยาพหลพลพยุหเสนา แล้วคนนี้พระยามโหสถศรีพิพัฒน์ หลวงธรรมนูญวุฒิกร หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ พระยากฤตราชทรงสวัสดิ์ พระยากฤตราชทรงสวัสดิ์อยู่ข้างหลังแถวที่ 2 พระยากฤตราชทรงสวัสดิ์บิดาผม นี่พระยามานวราชเสวี นี่พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ คนสุดท้ายพระมนูเวทย์วิมลนาท ท่านปรีดี
กฤต ไกรจิตติ :
เห็นไหม ท่านปรีดีทำงานกับบรรดาตุลาการท่านผู้ใหญ่ นี่ภาพนี้ก็แสดงให้เห็นถึงว่าท่านอาจารย์ปรีดีได้ทำงานร่วมกับบรรดาบรรพตุลาการผู้ใหญ่ มาตั้งแต่ท่านกลับจากปารีสเลย แล้ววันก่อนก็ไปค้นพบในเอกสารในหนังสือบทบัณฑิตว่าท่านอธิบายปรีดีท่านก็เป็นกรรมการสอบพวกเนติบัณฑิตใช่ไหม ท่านอยู่ร่วมคณะเดียวกับพระยามโนฯ แล้วนายปรีดีพนมยงค์ที่เป็นกรรมการออกข้อสอบด้วย เพราะฉะนั้น ก็มีหลักฐานว่าพระยามโนปกรณ์ฯ และท่านก็ทำงาน ท่านอาจารย์ปรีดีทำงานกับพระยามโนปกรณ์ฯมานานมากเลย
คำถาม :
ผมสนใจว่าบทบาทของพระยามโนปกรณ์ฯ ในศาล ท่านมีบทบาทสำคัญอย่างไรบ้างก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
อันนี้ผมไม่ทราบเพราะเหตุที่ว่าผมยังอายุยังน้อยอยู่ ทราบแต่ว่าท่านพระยามโนปกรณ์ฯ เดิมท่านเป็นอธิบดีศาลอุทธรณ์ แล้วท่านก็ออกไปเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ ปีเศษ ๆ แล้วท่านก็เห็นผลทางการเมืองของท่านอพยพ ลงไปอยู่ปีนัง อยู่ปีนังจนกระทั่งเสียชีวิตที่ปีนัง
คำถาม :
ที่บ้านเคยพูดถึงเหตุการณ์ที่พระยามโนปกรณ์ฯ เข้าไปเป็นนายกไหมครับว่าไม่น่าไปเลยไปก็ทำอะไรไม่ได้หรืออะไรอย่างนี้
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
ไม่เคยพูด พระยามโนปกรณ์ฯ พูดกันน้อยมาก รู้แต่ว่าพระยามโนปกรณ์ฯ เป็นน้องของพระยาสรรพกิจเกษตรการ (เกียรติ หุตะสิงห์) พระยาสรรพกิจเกษตรการนี่เป็นบิดาของ ดร.ประกอบ หุตะสิงห์
กฤต ไกรจิตติ :
ผมอยากขอให้พ่อผมได้ลองพูดถึงประกอบ หุตะสิงห์นิดนึง เพราะถือว่าเป็นบุคคลสำคัญเหมือนกัน

สรรเสริญ ไกรจิตติ :
ดร.ประกอบก็เป็นบุตรของพระยาสรรพกิจเกษตรการ แล้วก็ได้ไปเรียนที่เยอรมัน สำเร็จวิชากฎหมายจากเยอรมัน กลับมาเพราะสิ่งที่เป็นตำแหน่งสุดท้ายดูเหมือนเป็นประธานศาลฎีกา ผมเคยทำงานตอนสมัยประธานศาลฎีกา เป็นเลขานุการศาลฎีกา มีผู้พิพากษาอยู่ 7 คณะ คณะละ 3 คน ตอนนั้นมี 21 คน แต่เดี๋ยวนี้มีตั้งร้อยกว่าคน
กฤต ไกรจิตติ :
แล้วก็พ่อทำงานกับคุณหลวงธรรมนูญวุฒิกรด้วยใช่ไหม ตอนท่านเป็นประธาน
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
ท่านหลวงธรรมนูญวุฒิกรท่านเป็นประธานศาลฎีกา แล้วผมก็เป็นเลขานุการศาลฎีกา ก็ตอนนั้นมีผู้พิพากษาอยู่ 7 คณะ คณะละ 3 คน ทั้งหมด 21 คน รวมประธานศาลไปด้วยทั้งหมด 22 คน เวลาไปถึงตอนแรกไม่มีเครื่องขยายเสียงพระเอกที่ว่าเสียงรถราข้างนอกมันดังเหลือเกินไม่ได้ยิน ผมเลยทำการติดแอร์ในห้องประชุมสองอาทิตย์ก็ติดแอร์ได้สำเร็จก็ประชุมกันต่อไปได้ด้วยความสงบเรียบร้อย
กฤต ไกรจิตติ :
เพราะว่าหลวงธรรมนูญวุฒิกร ประวัติ ปัตตพงศ์ เป็นสามีของคุณแฉล้ม ปัตตพงศ์ ซึ่งเป็นบุตรีของพระยากฤตราชทรงสวัสดิ์ ซึ่งผมก็เรียกคุณป้า เพราะตอนนั้นคุณหลวงธรรมนูญวุฒิกรก็เป็นคุณลุง ทีนี้คุณหลวงธรรมนูญวุฒิกร ผมจะกล่าวเสริมว่า เมื่อกี้เราจะเห็นภาพว่าอาจารย์ปรีดีท่านก็ยืนอยู่ข้างหลวงธรรมนูญวุฒิกร เพราะว่าท่านก็ทำงานด้วยกันตั้งแต่ท่านอาจารย์ปรีดีเข้ารับราชการกระทรวงยุติธรรม ท่านคุณหลวงธรรมนูญวุฒิกร ท่านก็เป็นผู้พิพากษาผู้ใหญ่และก็เป็นอาจารย์ด้วย เพราะฉะนั้น ความเชื่อโยงระหว่างญาติผู้ใหญ่ทางด้านผู้พิพากษาตุลาการก็มีพระยามโนปกรณ์ฯ พระยากฤตราชทรงสวัสดิ์ ดร.ประกอบ หุตะสิงห์ แล้วก็คุณหลวงธรรมนูญ วุฒิกร พระยามโนปกรณ์ฯ ท่านเป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ แล้วก็ไปเป็นนายก
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
พระยามโนปกรณ์ฯ เท่าที่ทราบท่านไปเรียนกฎหมายที่อังกฤษแล้วก็อยู่ Inns court แห่งหนึ่ง แล้วก็สำเร็จเป็น Bachelor of Law ของอังกฤษ เพราะฉะนั้นท่านก็เป็นผู้มีความรู้ความสามารถมาอยู่ศาลก็เป็นอธิบดีศาลอุทธรณ์ จนกระทั่งไปเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย

คำถาม :
ในฐานะที่อาจารย์ปรีดีเคยทำงานกับพระยามโนปกรณ์ฯ ท่านทราบไหมว่า อาจารย์ปรีดีจะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ท่านเห็นว่ายังไงกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
ตอนนี้ผมตอบไม่ได้แล้ว
กฤต ไกรจิตติ :
ผมก็คิดว่าท่านปรีดีที่วางแผนที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองก็เป็นความลับถูกไหม แต่ผมเองก็รู้สึกดีใจที่ได้พบหลักฐานว่า หลวงประดิษฐ์ได้ทำงานกับพระยามโนปกรณ์ฯ ตั้งแต่กลับมาจากปารีสมารับราชการจากบทบัณฑิตย์ ปี 2471 ท่านได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์จากนายปรีดีเป็นหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ในปี 2470 ท่านเป็นกรรมการสอบนักกฎหมายในตอนนั้นมีเจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) ซึ่งเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เป็นผู้บังคับการสูงสุด และมีพระยาจินดาภิรมย์ราชสภาบดี ซึ่งมีหลักฐานปรากฏว่านายปรีดี พนมยงค์ อยู่ในคณะกรรมการที่ออกข้อสอบแล้วก็ดูแลเรื่องการสอบกฎหมายคณะเดียวกับพระยามโนปกรณ์ฯ จากหลักฐานตรงนี้เลยจึงทำให้เราเห็นว่าพระยามโนและท่านปรีดีรู้จักกันตั้งแต่ตอนเป็นมารับราชการใหม่ ๆ และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ท่านปรีดีได้มาเชิญพระยามโนปกรณ์ฯ ไปเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะเคยเป็นอดีตผู้บังคับบัญชา และทำงานกับท่านมาตลอด จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยังทำงานกับบรรดาผู้พิพากษาผู้ใหญ่ทั้งหมดอยู่
คำถาม :
หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วก็ทราบมาว่าท่านพระยามโนปกรณ์ฯ ก็เป็นหนึ่งในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ อาจารย์ปรีดีก็เป็นหนึ่งในนั้น เป็นคณะราษฎรเพียงคนเดียว ในตอนนั้นท่านพระยามโนปกรณ์ฯ มีบทบาทอย่างไรบ้าง

สรรเสริญ ไกรจิตติ :
ท่านพระยามโนปกรณ์ฯ เป็นผู้ร่วมร่างรัฐธรรมนูญคนหนึ่ง แล้วท่านก็เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย แล้วท่านก็ทำงานอยู่ได้และท่านก็ทำงานได้ปีกว่า ๆ ท่านก็ยุบสภา หลังจากยุบสภาเสร็จท่านก็ไปอยู่ปีนัง จนกระทั่งเสียชีวิตที่ปีนัง
คำถาม :
อยากทราบรายละเอียดและบทบาทของการร่างรัฐธรรมนูญท่านพอทราบไหม
กฤต ไกรจิตติ :
คือว่าพระยามโนปกรณ์ฯ ก็พอท่านปรีดีทูลเกล้าฯ ถวายรัฐธรรมนูญฉบับที่ท่านยกร่าง แล้วพระเจ้าอยู่หัวลงพระปรมาภิไธยว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว แล้วก็เลยมีการตั้งอนุกรรมการขึ้นมาเพื่อจะยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ท่านพระยามโนปกรณ์ฯ ท่านก็ได้เป็นประธานอนุกรรมการ แล้วก็มีคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญอยู่ 7- 8 ท่าน หนึ่งในนั้นก็คือท่านอาจารย์ปรีดี ซึ่งอาจจะเป็นผู้แทนจากคณะราษฎรท่านเดียว และต่อมาก็เชิญพระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล)
ส่วนนี้ก็อาจจะกล่าวได้ว่า นอกจากท่านจะเป็นอดีตอธิบดีผู้พิพากษาอุทธรณ์ และเป็นตุลาการผู้ใหญ่ท่านก็เป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญถาวรท่านแรก ซึ่งต่อมารัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2475 ก็มีการแก้ไข ในปี พ.ศ.2489 ที่ท่านปรีดีได้ยกร่างขึ้นมาแล้วแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2475 เสร็จแล้วใช้ได้เพียง 1 ปี ก็เกิดการปฏิวัติรัฐประหาร ก็มีการตั้งคณะสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ถาวรขึ้นมาใหม่ ตอนนั้นก็มีเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศท่านเป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ผมเห็นว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่น่าจะใช้ได้มาจนปัจจุบัน เพราะว่าสภาที่ร่างรัฐธรรมนูญในขณะนั้นมีทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา แล้วก็มีท่านผู้ใหญ่ทางกฎหมายหลายท่าน ตอนนั้นพระยากฤตราชทรงสวัสดิ์ท่านเป็นสมาชิกวุฒิสภา ท่านก็เลยมีส่วนร่วมในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2492 ก็เลยอยากจะขอกล่าวว่า ดร.ประกอบ หุตะสิงห์ เมื่อมีการรัฐประหาร 14 ตุลาฯ แล้วพระเจ้าอยู่หัวฯ ท่านได้มีการโปรดเกล้าให้อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายก ดร.ประกอบ หุตะสิงห์ ก็ได้มาเป็นประธานคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2517 ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยที่สุด ตอนนั้นอาจารย์สรรเสริญก็ไปเเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญด้วย
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
ดร.หยุด แสงอุทัย กับหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อย่างว่าท่านคิดถึงไป 3 เรื่องของท่านมีกรรมการทั้งหมดประมาณ 10 คน จำได้ว่านั่งข้าง ๆ ดร.หยุด แสงอุทัย แล้วก็ร่างรัฐธรรมนูญจนเสร็จ มีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ท่านคอยขัดคอบ้างเห็นด้วยบ้างตั้งแต่ท่านร่างรัฐธรรมนูญจบไปเป็นฉบับแรก

กฤต ไกรจิตติ :
ก็อาจกล่าวได้ว่าท่านพระยามโนปกรณ์ฯ ท่านก็เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในเรื่องการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรก แล้วก็ตามมาด้วยพระยากฤตราชทรงสวัสดิ์ก็ทำงานร่วมกับเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2492 และก็มารัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2517 ซึ่ง ดร.ประกอบ หุตะสิงห์ หลานของท่านพระยามโนฯ ก็เป็นประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่านี้เป็นการสืบทอดบทบาทภารกิจทางด้านศาลยุติธรรม
คำถาม :
ทำไมท่านถึงคิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2492 และฉบับ พ.ศ. 2517 เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
ก็เราเป็นผู้ร่างเราก็คิดว่าเป็นประชาธิปไตยที่สุด
กฤต ไกรจิตติ :
สำหรับผม รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2492 เรื่องการมีวุฒิสภามีทั้งสมาชิกสภาผู้แทนและก็มีวุฒิสภาแล้วก็เรื่องของหลักกฎหมาย อำนาจอธิบไตย 3 อำนาจ บริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการเท่าเทียมกัน ตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน และก็มีบทบัญญัติ ผมได้อ่านคำปรารภของเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศที่รายงานต่อสภาว่าเป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับแรกที่มีบทบัญญัติเรื่องสิทธิเสรีภาพแล้วก็เรื่องของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง สิทธิการเมือง ใส่เข้าไปในรัฐธรรมนูญด้วยตรงนี้ผมคิดว่าน่าจะใช้เป็นหลักการได้ สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันซึ่งจริง ๆ แล้วก็ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยอะไรทั้งสิ้น ในส่วนนี้ผมจึงคิดว่าเรื่องของศาลยุติธรรมตั้งแต่สมัยโบราณ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ท่านเป็นบิดาแห่งกฎหมายไทย รัชกาลที่ 5 ท่านได้ปฏิรูประบบศาลยุติธรรม แต่ทุกวันนี้ศาลยุติธรรมอาจจะต้องมาพิจารณาเรื่องของการสืบทอดเจตนารมณ์ของกฎหมาย
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
ถ้าก่อนนี้ศาลยุติธรรมมีผู้พิพากษาตอนสมัยผมเป็นเลขานุการศาลฎีกามีผู้พิพากษาอยู่เพียง 7 คณะ เดี๋ยวนี้ทราบว่าเป็นร้อย ร้อยกว่าคณะผู้พิพากษาศาลฎีกา คณะละ 3 คน รวมกันก็ตั้งร้อยกว่าคน
คำถาม :
เสรีไทยท่านได้เข้าร่วมไหม
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
เสรีไทยไม่ได้เข้าร่วม เป็นเพียงส่วนประกอบของท่านปรีดี พนมยงค์ ตอนนั้นท่านสร้างหนังเรื่อง “พระเจ้าช้างเผือก” แล้วก็เอาอาจารย์ที่ธรรมศาสตร์ไปเป็นพระเอกพระรอง มีครูไวท์ และเอ็ดเวิร์ด ขึ้นช้างไปชนช้าง เท่าที่จำได้ตอนนั้นผมก็ยังเด็กมากเป็นนักเรียนเตรียมปริญญาธรรมศาสตร์ ไปวิ่งรบกับเขาเขาให้ล้มเราก็ล้ม เขาให้เรายืนเราก็ยืน ในตอนหลังเขาให้บางคนล้มบ้างบางคนยืนบ้าง
กฤต ไกรจิตติ :
คราวนี้ก็มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับท่านปรีดี เพราะตอนที่ท่านปรีดีไปเรียนต่อที่ปารีส ฝรั่งเศส ตอนนั้นพระยาภาษาปริวัตรซึ่งเป็นบรรพบุรุษของคุณแม่ ก็ไปเป็นที่ปรึกษาของสถานทูตไทยที่ปารีส พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากรท่านเป็นเอกอัครราชทูต และท่านก็เป็นผู้ที่รับผิดชอบดูแลนักเรียนไทยที่ไปเรียนขณะนั้น
คำถาม :
ผมสนใจว่าพระยากฤตราชสวัสดิ์เคยพูดถึงอาจารย์ปรีดี อย่างไรบ้าง
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
พระยากฤตราชสวัสดิ์เป็นบิดาผมแต่ว่าผมไม่ทราบว่าท่านพูดถึงอาจารย์ปรีดีว่าอย่างไรบ้างแต่เคยทำงานร่วมกัน เคยทำงานร่วมกับอาจารย์ปรีดี
คำถาม :
แล้วคนที่อยู่ในศาลฎีกา คนที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมพูดถึงอาจารย์ปรีดีตอนที่ท่านลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศบ้างไหม
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
พูดแต่ในทางที่ดีชมเชยท่านปรีดี ไม่มีใครตำหนิติเตียนแล้วผมเอกก็เคยไปหาท่าน 2 ครั้ง อย่างที่เล่าให้ฟังไปแล้วเมื่อว่าครั้งแรกไปหาที่บ้าน ครั้งที่ 2 ไปทานอาหารที่ร้านอาหารกับลูกชายท่านคุณปาล พนมยงค์
คำถาม :
ทำไมคุณสรรเสริญถึงอยากไปหาท่านปรีดี
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
ก็ไปเยี่ยมท่านในฐานะเป็นผู้หลักผู้ใหญ่คนแล้วท่านก็เป็นนักกฎหมายชั้นยอดคนหนึ่งของเมืองไทยแต่ท่านถูกเหตุการณ์บ้านเมืองให้ท่านอพยพไปอยู่ที่ชานเมืองปารีสที่เรียกว่าเมือง Antony เพราะฉะนั้นผมก็ได้ไปเยี่ยมท่านที่เมือง Antony สองครั้ง
คำถาม :
แล้วอย่างนี้ติดต่ออย่างไรคะในการไปเยี่ยมท่านอาจารย์ปรีดี
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
ก็รู้ที่อยู่ของท่านที่เมือง Antony ก็เลยตามไป
คำถาม :
แล้วครอบครัวได้รู้จักไปมาหาสู่ก่อนที่นายปรีดีจะลี้ภัยไปได้ติดต่อกันก่อนหน้านี้ไหม
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
ทางครอบครัวไม่เคยติดต่อไปเลย เคยเจอกันที่ฝรั่งเศสสองครั้งเท่านั้นเอง

กฤต ไกรจิตติ :
แต่ที่บ้านหุตะสิงห์ ตอนเด็ก ๆ ผมเคยไปเวลาทำบุญบ้านที่บ้านคุณย่า คุณหญิงเชย ทางอาจารย์ประกอบหุตะสิงห์ ลูกหลานก็มากันหมดเพราะมารดาของของชวดชมเป็นพี่สาวของพระยามโนฯ เพราะฉะนั้นคุณชม หุตะสิงห์ เลยถือว่าเป็นญาติที่สนิทกันเลย
คำถาม :
ถ้าอย่างนั้นอาจจะให้ฝากว่าปรีดี พนมยงค์ นั้นมีความสำคัญกับคนรุ่นหลังอย่างไรบ้าง
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
ท่านเป็นที่เคารพนับถือของคนรุ่นหลัง ๆ รวมทั้งผมด้วยก็เคารพนับถือท่านปรีดี พนมยงค์ ด้วยเหมือนกัน แล้วผมก็ได้ไปหาท่านที่เมืองแอนโทนี ถึง 2 ครั้ง อย่างที่ได้เล่าให้ฟังไปแล้ว

กฤต ไกรจิตติ :
สำหรับผมซึ่งก็เป็นอดีตอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย แล้วก็เป็นอดีตเอกอัครราชทูตประจำเวียดนาม อินเดีย ฮังการี และมาเลเซีย ผมมีความชื่นชมและเคารพท่านปรีดี พนมยงค์ อย่างยิ่ง ในฐานะที่ท่านเป็นพื้นฐานของระบอบการปกครองและระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ท่านปรีดีก็เป็นบุคคลสำคัญที่สุดในเรื่องของการต่างประเทศท่านก็มีบทบาทสำคัญ ในเรื่องการแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม แน่นอนว่าเรื่องของสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมก็ไปตั้งแต่เรื่องศาลกงศุล สมัยคุณปู่พระยากฤตราชทรงสวัสดิ์ เป็นผู้พิพากษาคดีต่างประเทศยังมีศาลกงสุลอยู่ที่ภูเก็ต คือพระยากฤตราชทรงสวัสดิ์ท่านเคยไปเป็นอธิบดีศาลมณฑลภูเก็ต
ตอนนั้นก็ยังมีศาลกงสุลอยู่แล้วคุณปู่ก็เล่าพ่อให้ฟังว่า ตอนสมัยที่กงศุลยังมีอยู่ที่ภูเก็ต เป็นศาลคดีต่างประเทศก็มีผู้แทนจากสิงคโปร์ พวกผู้พิพากษาอังกฤษก็ขึ้นบัลลังก์ด้วย สืบพยานไปนะเสร็จแล้วตอนบ่าย อากาศมันร้อนก็มีผู้พิพากษาชาวอังกฤษก็หลับไป คุณปู่ก็บอกว่าไม่เป็นไรหลับก็หลับไป คุณปู่ก็ฟังพิจารณาต่อไปจนเสร็จ ไม่ปลุกด้วย แล้วก็ปล่อยให้ผู้พิพากษาอังกฤษนอนหลับอยู่บนบัลลังก์วันรุ่งขึ้นเขาก็มาต่อว่า ทำไมปล่อยให้เขาหลับบนบัลลังก์ คุณปู่ก็เลยบอกว่า I daren't enter your decision ไม่กล้าก้าวล่วงเพราะพระยากฤตราชทรงสวัสดิ์ ท่านก็เป็นผู้พิพากษา ซึ่งมีบทบาทสำคัญในเรื่องของการแก้ไขกฎหมาย และเรื่องของการที่ท่านเป็นอธิบดีศาลมณฑลภูเก็ตเป็นมณฑลใหญ่ แล้วก็ไปรู้จักกับท่านพระยารัษฎานุประดิษฐ์ด้วย พระยากฤตราชทรงสวัสดิ์ ซึ่งผมก็จะไฮไลท์ตรงนี้ด้วยเพราะมันเกี่ยวข้องกับกระบวนการศาลยุติธรรมเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ซึ่งแน่นอนที่สุดว่าท่านปรีดี พนมยงค์ ท่านต้องนับถือที่สุดเลยแล้วก็เกี่ยวข้องกันกับเรื่องคณะราษฎร วันนี้ถือว่าเป็นวันดีที่เราจะได้เริ่มต้นศึกษาเพิ่มเติมเรื่องประวัติพระยามโนปกรณ์ฯ บทบาทของท่านที่เกี่ยวข้องกับท่านอาจารย์ปรีดี ในส่วนที่เป็นเรื่องของกระบวนการศาลยุติธรรม
คำถาม :
คราวที่แล้วที่เราสัมภาษณ์เรื่องโรงเรียนเตรียมปริญญามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง(ต.ม.ธ.ก. ) คราวนี้เราพูดถึงเรื่องการศาลและกฎหมายก็เลยอยากทราบว่าหลักการที่อาจารย์สรรเสริญใช้ในการตัดสินคดี ในฐานะรองประธานศาลฎีกาหรือว่าความคดี ที่อาจารย์เคยเขียนถึงฎีกาประวัติศาสตร์หมอจันทร์ คดีหมอจันทร์ หรือว่าอาจารย์จะเล่าเรื่องคดีหมอจันทร์กับพระยารัษฎา อาจารย์มีหลักในการพิพากษาอย่างไรบ้าง
กฤต ไกรจิตติ :
คุณปู่ไปเป็นอธิบดีศาลมณฑลภูเก็ต ช่วงที่ท่านพระยารัษฎาฯ ท่านเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต เพราะฉะนั้นก็เคยร่วมงานกันอยู่ประมาณ 4 ปี เพราะว่าอธิบดีศาลกับพระยารัษฎาฯ เป็นคนดูแลทางด้านการปกครอง แล้วก็ในประวัติของปู่พระยากฤตราชทรงสวัสดิ์ แต่ประเด็นสำคัญก็คือ เรื่องของหมอจันทร์ก็เป็นคนสนิทของพระยารัษฎาฯ เสร็จแล้วก็เกิดมีเรื่องที่เข้าใจผิดขัดข้องหมองใจกัน หมอจันทร์ก็เลยไปยิงพระยารัษฎาฯ กับพระสถลสถานพิทักษ์ ซึ่งเป็นหลานชายเป็นเจ้าเมืองตรังแล้วตอนนั้น พระยากฤตราชทรงสวัสดิ์ท่านเป็นอธิบดีศาลมณฑลภูเก็ต ก็ดูแลศาลเจ็ดจังหวัด รวมถึงตรังด้วย
เหตุเกิดขึ้นที่ตรัง เพราะฉะนั้นแล้วก็คุณปู่ก็ต้องเป็นผู้พิพากษาคดีนี้ เสร็จแล้วก็คำพิพากษาให้ประหารชีวิตแล้วต่อมาหมอจันทร์ก็ถวายฎีกาพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ท่านก็ยืนตามนั้นให้ คุณหญิงแฉล้มซึ่งเป็นลูกสาวของพระยากฤตราชทรงสวัสดิ์แล้วก็อยู่ที่ภูเก็ตตอนนั้น น่าจะอายุประมาณ 2 ขวบ จำคำกลอนที่คนเขียนบันทึกเรื่องคำให้การของหมอจันทร์ว่า หมอจันทร์สารภาพว่าไปยิงพระยารัษฎาเพราะอะไร เขียนเป็นบทกลอนเลยทั้งนี้ก็เลยมาโยงเกี่ยวกับหลวงธรรมนูญวุฒิกร ซึ่งแน่นอนว่าท่านปรีดี พนมยงค์ ก็ทำงานใกล้ชิดด้วย แล้วก็พระยากฤตราชทรงสวัสดิ์ นี่ก็คือเรื่องที่อ่านที่ไหนเรื่องคดีหมอจันทร์ ดุลยภาพ เพราะว่าเป็นคดีประวัติศษสตร์พระยารัษฎานี่ท่านเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เฉพาะในเมืองไทยเพราะตอนที่ผมเป็นทูตที่มาเลเซียก็มีการจัดสัมนาความสัมพันธ์ในมาเลเซียโดยเอาโอกาสที่ครบ 100 ปี อสัญกรรมของพระยารัญฎามาเป็นหัวข้อในการสัมนาว่า มีพวก ณ ระนอง ได้มาร่วมงานกันเป็นร้อยคนจัดร่วมกับทางสถานทูตไทยที่กัวลาลัมเปอร์แล้วก็สถานกงสุลใหญ่ก็เลยมาร่วมประวัติศาสตร์ไทยมาเลเซียซึ่งมีทางสุลต่านเคดะห์ หรือเจ้าพระยาไทรบุรี
สงครามรามภักดีสมัยที่มาเลเซียยังคงอยู่ใต้กรปกครองของสยาม มีรัฐปะลิศ กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี เรื่องของพระยารัษฎา แล้วก็เรื่องของลูกหลานพระยาไทรบุรีก็คือ ตนกู อับดุล เราะห์มาน ซึ่งมารดาเป็นคนไทย เพราะฉะนั้น ผมเป็นทูตที่มาเลเซียคิดดูเอากันว่า ถ้านายกคนแรกของมาเลเซียมีแม่เป็นคนไทยแล้วความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับมาลายาสมัยนั้นก็มีเรื่องของรัฐเคดะห์เจ้าพระยาไทรบุรีท่านส่งลูกหลานท่านมาเรียนที่เมืองไทย โรงเรียนราชวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์แล้วก็แน่นอนว่าตอนที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมเด็จกรมพระสวัสดิ์วัตนวิศิษฎ์ รวมทั้งพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ลี้ภัยอยู่ที่ปีนังพวกเจ้าพวกสุลต่านของรัฐเคดะห์ ก็มาถวายการต้อนรับดูแลสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ อย่างดีแน่นอนว่าตระกูล ณ ระนอง ผมว่าน่าจะมีบทบาทสำคัญที่สุดตอนที่เปลี่ยนแปลงการปกครองก็พระยารัษฎา พระยาประดิพัทธภูบาลเหล่านี้ผมมีสารคดีที่ทำไว้แล้ว
สรรเสริญ ไกรจิตติ :
ขอบคุณมากที่มาสัมภาษณ์ หวังว่าคงจะได้เรื่องได้ราวได้ความไปพอสมควร





ผู้สัมภาษณ์ : กองบรรณาธิการ
สถาบันปรีดี พนมยงค์
ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2567