Focus
- ในวาระ 101 ปีชาตกาล คุณสุพจน์ ด่านตระกูล ลูกศิษย์อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ นักคิดนักเขียนคนสำคัญที่มีบทบาทในการผลิตผลงานที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎร ขบวนการเสรีไทย เหตุการณ์ทางการเมืองและนายปรีดี พนมยงค์ โดยมีผลงานเด่นคือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต (ฉบับสมบูรณ์)
- ปัจจุบันนายสุพจน์มีผลงานรวมทั้งสิ้นกว่าร้อยเล่ม ซึ่ง ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีและอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ให้ความเห็นไว้ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรมฉบับเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2544 ว่าอาจจะมากกว่าผลงานดุษฎีบัณฑิตหรือศาสตราจารย์ของรัฐด้วยซ้ำไป นิพนธ์เหล่านั้น เล่มที่ ดร.ชาญวิทย์ เรียกว่าเป็น magnum opus คือ ชีวิตและงานของ ดร.ปรีดี พนมยงค์
เตียกิมต้องผู้เป็นบุตรชายคนโตของก๋งจิกและย่ากิ่งได้สมรสกับแม่บุษบา และได้ให้กําเนิดบุตร ธิดา ร่วมกัน 4 คน โดยนายสุพจน์ เป็นบุตรชายคนที่ 2 ถือกําเนิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 เดือนกันยายน พ.ศ. 2466 ณ บ้านปลายคลอง หมู่ที่ 6 ตําบลเชียรเขา อําเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ตามลําดับ คือ
1. นายปรีดา พนังวิเชียร (ถึงแก่กรรม)
2. นายสุพจน์ ด่านตระกูล
3.นายสุทิน ด่านตระกูล (หายสาบสูญ)
4. ด.ญ.สุจารี ด่านตระกูล (ถึงแก่กรรม)
ต่อมานายสุพจน์ ด่านตระกูล สมรสกับนางสาวโสภณ พรหมพระสิทธิ์ (รับราชการครู) มีบุตรธิดาร่วมกัน 7คน
1.นายผาไท (ตึ๋ง) ด่านตระกูล (ถึงแก่กรรม)
2. นางสาวผไททิพย์ (แดง) ด่านตระกูล
3. นางสาวพันธุ์ไททิพย์ (เดี้ยน) ด่านตระกูล
4. นายพงศ์ไท (เต๋า) ด่านตระกูล
5. นางสาวจุไททิพย์ (ดาม) ด่านตระกูล (สมรสกับนายอเล็ก ซานดาร์ ราดูโลวิช) มีธิดา 4 คน
5.1. นางสาวไทร่า ราดูโลวิช (ธิดาของนายอเล็กซ์กับภรรยา)
5.2. ด.ญ.แอนเดรีย ราคโลวิช (ธิดาของนายอเล็กซ์กับภรรยา)
5.3. ด.ญ.เตยา ไหมไท ราดูโลวิช
5.4. ด.ญ. อเล็กซานดร้า ราดูโลวิช
6. นายเผ่าไท (เต๋) ด่านตระกูล (สมรสกับนางสาวโสภา สุวรรณโพธิ์) มีบุตร 1 คน
6.1. ด.ช. ภูมิไท (เติบ) ด่านตระกูล
7. นางวันไททิพย์ (คอม) โพพิศ (สมรสกับนายพิเศษ โพพิศ) มีธิดา 1 คน
7.1. ด.ญ.ภาพไท (น้ําเขียน) ด่านตระกูล โพพิศ
ชีวิตวัยเยาว์
นายสุพจน์ ด่านตระกูล เกิดในครอบครัวที่พอมีอันจะกิน ณ หมู่บ้านปลายคลอง ที่บ้านเป็นร้านค้าขายของสารพัดไม่ต่างอะไรกับมินิมาร์ทที่เปิด 24 ชั่วโมงในปัจจุบัน ขายทั้งเครื่องอุปโภค บริโภค หยูกยาข้าวสาร อาหารแห้ง เป็นเจ้าของเรือใหญ่บรรทุกข้าวเปลือกได้ คราวละ 20 ตัน ทั้งยังทําทอง ขายทอง ชีวิตในวัยเยาว์ของเขาจึงค่อนข้างสุขสบายเป็นหัวโจกวิ่งเล่นทั้งวัน หิวเมื่อไรจึงกลับบ้าน สํารับกับข้าวมีพร้อมอยู่ในครัวไม่เคยขาด เมื่อโตพอเข้าโรงเรียนได้เตี่ยจึง นําไปฝากเรียนที่โรงเรียนวัดใกล้บ้านจนจบชั้น ป. 4 แล้วเข้าเรียนต่อ ชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนประจําจังหวัด กระทั่งจบ ม. 4 เตี่ยส่งไปเรียน ต่อที่บางกอก เข้าเรียนครั้งแรกที่โรงเรียนสุวิชวิทยาลัย (พ.ศ. 2482) เรียนได้หนึ่งปี โรงเรียนเกิดมีปัญหาครูแยกกันเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่ง ไปตั้งโรงเรียนใหม่ชื่อว่า โรงเรียนอุดมวิทย์ เช่าตึกเรียนอยู่แถวสี่แยกคอกวัว
นายสุพจน์เป็นนักกีฬามวยสมัครเล่นที่มีฝีมือครูพละซึ่งย้ายมาอยู่ที่โรงเรียนอุดมวิทย์จึงชักชวนให้มาเรียนด้วย จนใกล้จะสอบไล่ ชั้น ม. 5เกิดมีปัญหาการยุบโรงเรียนอีกครั้ง ครูบางส่วนรวมทั้งครู พละคนเดิมย้ายไปสอนที่โรงเรียนราชวิทย์ (หน้าวัดศิริอํามาตย์) และ นํานักเรียนย้ายไปเรียนต่อที่นั่นด้วย แต่คราวนี้นายสุพจน์ไม่ได้ย้าย ตามเพื่อนๆ ไป เพราะเบื่อหน่ายปัญหาวุ่นวายในโรงเรียนจึงตัดสินใจ ยุติการเรียนโดยไม่ยอมไปสอบไล่ แม้ครูพละที่รักใคร่สนิทสนมกันดี จะเพียรพยายามตามให้ไปสอบอยู่หลายครั้ง
เริ่มต้นงานการเมือง
หลังออกจากโรงเรียนนายสุพจน์เดินทางกลับบ้านเกิดเพื่อช่วย ดูแลกิจการของครอบครัว ถ้าตัดสินใจมุ่งมั่นดําเนินรอยตามทําธุรกิจที่บ้าน ชีวิตคงมั่งคั่งและสุขสบาย แต่เพราะโชคชะตาฟ้าลิขิตให้ชีวิตต้องเข้ามาเกี่ยวพันกับงานการเมือง จึงมีเหตุให้ต้องเดินทางเข้าบางกอกอีกครั้งในปี พ.ศ. 2485 มาพักอาศัยอยู่กับพี่ชาย (นายปรีดา พนังวิเชียร) ซึ่งขณะนั้นรับราชการอยู่กองตรวจคนเข้าเมือง ส่วนพี่สะใภ้เปิดร้าน ขายของชําอยู่หน้าตลาดบ้านขมิ้น ฝั่งธน นายสุพจน์พักอาศัยอยู่ที่บ้าน พี่ชายโดยช่วยงานขายของเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่พักใหญ่ จนมีเพื่อนชักชวนไปชุมพรเพื่อหางาน รองานอยู่พักใหญ่จึงได้เข้าทํางานกับกองทัพญี่ปุ่น ในตําแหน่งเสมียนโกดัง ประจําอยู่ที่ท่าเรือเขาฝาชี จังหวัดระนอง เป็นท่าเรือที่ญี่ปุ่นสร้างขึ้นใหม่บนฝั่งแม่น้ำละอุ่น กม. 93 เพื่อบริการขนส่งยุทธสัมภาระ และกําลังพลทางทะเลจากประเทศไทยสู่พม่าอีกเส้นทางหนึ่ง และในโอกาสนั้นได้เข้าร่วมกับกลุ่มต่อต้านญี่ปุ่น (เสรีไทย) ทําหน้าที่รายงานการเคลื่อนไหวของกําลังพลและยุทธปัจจัยของฝ่ายญี่ปุ่นที่ผ่านเข้าออกทางท่าเรือเขาฝาชี
นั่นเป็นก้าวแรกของวัยหนุ่มที่เขาได้เข้ามามีส่วนร่วมกับงานการเมือง จนภายหลังสงครามยุติจึงได้กลับเข้าบางกอกอีกครั้งโดยพี่ชาย (นายปรีดา) ซึ่งขณะนั้นลาออกจากราชการมาเป็นหัวหน้าบรรณาธิการ ข่าวการเมืองของหนังสือพิมพ์เกียรติศักดิ์ได้ชักชวนนายสุพจน์มาทํางานด้วย เริ่มจากเป็นเจ้าหน้าที่พิสูจน์อักษร ทําอยู่นานเป็นปีจึงลาออกจาก หนังสือพิมพ์เกียรติศักดิ์ไปทํางานที่หนังสือพิมพ์สยามรัฐ (นายสละ ลิขิตกุล เป็นบรรณาธิการในขณะนั้น) ในตําแหน่งผู้สื่อข่าวอาชญากรรม ทําอยู่ราวปีกว่าจึงลาออกอีกครั้งเพื่อไปทํางานเป็นคนหาข่าวการเมืองให้กับหนังสือพิมพ์จีนชื่อว่า กงหวอป่อ (มีเจ้าหน้าที่แปลข่าวให้) การ ทําข่าวบุคคลสําคัญในแวดวงการเมืองและราชการ ทําให้รู้เห็นความไม่ชอบธรรมในหลาย ๆ ด้านแต่ไม่สามารถเขียนลงในหนังสือพิมพ์ได้จึงปรึกษาหารือกับเพื่อนฝูงและเริ่มต้นเคลื่อนไหวงานการเมืองโดยการตีพิมพ์ใบปลิวตีแผ่ความไม่เป็นธรรม จนนําไปสู่การชักชวนผู้ที่มีหัวก้าวหน้าและมีบทบาททางการเมืองรวมกลุ่มกันจัดตั้งขบวนการกู้ชาติ กระทั่งถูกจับกุมในคดี 10 พ.ย. 2495 หรือที่รู้จักกันในนามกบฏสันติภาพ ศาลพิพากษาลงโทษจําคุก 20 ปีและลดให้เหลือ13 ปี 4 เดือน แต่ติดคุกอยู่ประมาณ 5 ปี ก็ได้รับนิรโทษกรรมในคราวฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. 2500)
หลังออกจากคุกได้ไม่นาน นายสุพจน์ตัดสินใจกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านเกิดนครศรีธรรมราชอีกครั้ง และออกหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นชื่อว่าเสียงชาวใต้ แต่พิมพ์จําหน่ายได้ไม่กี่ครั้งก็ตัดสินใจกลับเข้าบางกอกมา ทํางานที่นิตยสารรายสัปดาห์ ประชาศักดิ์ ในตําแหน่งคอลัมนิสต์ (เขียนวิจารณ์การเมือง) และได้เริ่มต้นชีวิตคู่กับศรีภรรยา (นางสาวโสภณ พรหมพระสิทธิ์) หลังจากนั้นได้ออกหนังสือเล่มเล็ก ๆ เรื่อง ขบวนการกู้ชาติ ทําให้ถูกจับกุมอีกครั้งในปี พ.ศ. 2501 ข้อหากบฏภายในราชอาณาจักรและมีการกระทําอันเป็นคอมมิวนิสต์ (ในยุคเผด็จการ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์) ถูกศาลทหารพิพากษาลงโทษจําคุก 3 ปีใน ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ และยกฟ้องข้อหามีการกระทําอันเป็นคอมมิวนิสต์
ชีวิตนักเขียน
หลังออกจากคุก นายสุพจน์ได้สานต่อความคิดที่ต้องการเผยแพร่ผลงานนําเสนอข้อเท็จจริงของสังคมต่อไปโดยไม่หยุดยั้ง ซึ่งบุคคลสําคัญที่ทําให้เขาสามารถทํางานได้อย่างต่อเนื่องเช่นนี้ไม่ใช่ใครอื่น คือ ภรรยาสุดที่รักของเขาเอง เธอเป็นผู้หญิงที่มีความอดทนสูงยิ่ง แม้ต้องอุ้มท้องลูกชายคนโตอดมื้อกินมื้อในขณะที่นายสุพจน์ยังถูกจองจําอยู่ เธอก็มิได้ย่นระย่อสู้อุตส่าห์อดทนฝ่าฟันอุปสรรคนานาจนกระทั่งสามีออกจากคุก เธอยังเป็นแรงสนับสนุนให้เขาทํางานสู้กับความไม่เป็น ธรรมต่อไป แม้การทํางานเช่นนี้จะไม่ได้ทําให้ครอบครัวมั่งมีศรีสุข แต่เธอมีความสามารถในการจัดสรรดูแลค่าใช้จ่ายในครอบครัวทําให้ ลูกทุกคนได้มีข้าวปลาอาหาร เสื้อผ้า หนังสือ อุปกรณ์การเรียนและ ศึกษาจนจบการศึกษาขั้นสูงสุดตามความสามารถของแต่ละคน
ในการเขียนงานแต่ละครั้งนายสุพจน์มักใช้ชื่อจริง อาจมีนามปากกา อยู่บ้าง เช่น สัจจา วาที/ บุรี รังสรรค์/ กุน กันยายน, สาวก แต่ไม่ใคร่ใช้บ่อยนัก เคยมีคนสงสัยว่าเขียนเรื่องเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายหลายต่อหลายเล่มทําไมกล้าใช้ชื่อจริงความลับคือภรรยาของเขาเองเป็นคนแนะนําให้นายสุพจน์ใช้ชื่อจริงในการเขียนงานที่หมิ่นเหม่เสี่ยงต่อคุก ตารางทุกชิ้นเพราะเชื่อว่าการใช้ความจริงเข้าสู้จะเป็นปราการที่ปกป้องตัวเขาได้ดีที่สุด
และงานเขียนที่พิมพ์ซ้ําบ่อยสุดน่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ร.8 ซึ่งนายสุพจน์ต้องการทําความจริงให้ปรากฏ โดยอาศัยเอกสารทางราชการ สํานวนคดีคําให้การของพยานโจทก์และจําเลย จากเอกสารของตํารวจที่ได้บันทึกไว้ จากบันทึกรายงานการประชุมรัฐสภา รวมทั้งเอกสารจากเพื่อนที่เข้าไปเป็นทนายให้กับจําเลยในคดีนี้ เล่มแรกที่พิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณชนคือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต พิมพ์ครั้งแรกก็เป็นเบสท์เซลเลอร์จึงตีพิมพ์อีกครั้ง ครั้งละ 5,000 เล่ม โดยไม่ได้แสดงความคิดเห็นใด ๆ ปะปนเข้าไป มีแต่ข้อเท็จจริงล้วน ๆ นายสุพจน์อธิบายไว้ว่า คดีอาญาเช่นนี้เราจะนั่งนึกคิดมาแต่งเรียง เหตุการณ์เอาเองไม่ได้ ต้องอาศัยข้อเท็จจริงและหลักฐานที่ปรากฏเท่านั้น และเมื่อมีใครเอาความเท็จมาพิมพ์เผยแพร่ นายสุพจน์จําเป็นต้องเขียนชี้แจง และเรื่องดังกล่าวจะเอามาพูดแค่ว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ คําเดียว ไม่พอ ต้องมีเอกสารสํานวนคดีอ้างอิง ทําให้ต้องพิมพ์เรื่องกรณีสวรรคตหลายต่อหลายครั้งรวมทั้งสิ้นมากกว่า 20 เล่ม ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ใช่เป็นการพิมพ์ขึ้นมาก่อน แต่เป็นการเขียนชี้แจงตอบโต้ข้อเขียนที่บิดเบือนเกือบทั้งสิ้น
และเนื่องจากหนังสือทั้งหมดทุกเล่มของนายสุพจน์ ทั้งผลงานทางประวัติศาสตร์การเมือง ศาสนา หรือการชี้แจงกรณีสวรรคต การเปิดเผยความจริงในแต่ละครั้งย่อมไม่เป็นที่พอใจกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้เสียผลประโยชน์ ทําให้ถูกขู่ ถูกติดตามบ้าง และเคยมีถึงกับถูกบุกค้นบ้าน แต่นายสุพจน์ไม่เคยท้อถอยกับอุปสรรคไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัยในชีวิต หรือแม้แต่ทุนรอนในการพิมพ์หนังสือ เพราะการพิมพ์ในแต่ละครั้งใช้ต้นทุนสูงและผลตอบแทนน้อย หากเขายังสู้อดทนยืนหยัดทุกวิถีทางมุ่งมั่น เด็ดเดี่ยวที่จะทําความจริงให้ปรากฏ โดยไม่หวังตําแหน่ง ชื่อเสียง ยศฐาบรรดาศักดิ์ใด ๆ ด้วยเหตุผลเพียงเขาเป็นคนรักสัจจะ และจะไม่ยอมให้ใครมาบิดเบือน ประการเดียวคือ ความจริงตราบใดที่เขายังมีชีวิตอยู่
จนกระทั่งวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2539 นายสุพจน์ ด่านตระกูล จึงได้รับการประกาศเกียรติคุณต่อบรรณาธิการหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนในฐานะนักเขียนดีเด่น (รางวัลเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป) โดย อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์เป็นครั้งแรกในชีวิต
ปัจจุบันนายสุพจน์มีผลงานรวมทั้งสิ้นกว่าร้อยเล่ม ซึ่ง ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (อดีตอธิการบดีและอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ได้ให้ความเห็นไว้ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรมฉบับเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2544 ว่าอาจจะมากกว่าผลงานดุษฎีบัณฑิตหรือศาสตราจารย์ (ของรัฐ) ด้วยซ้ำไป นิพนธ์เหล่านั้น เล่มที่ ดร.ชาญวิทย์ เรียกว่าเป็น magnum opus คือ ชีวิตและงานของ ดร.ปรีดี พนมยงค์
หากผลงานหนังสือที่ทําให้นายสุพจน์ภาคภูมิใจ กลับเป็นหนังสือ 3 เล่มนี้ คือ
1. แถลงการณ์คอมมิวนิสต์สยาม
2. พุทธศาสนาสอนอะไร (ใช้นามปากกาว่า สาวก)
3. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต (ฉบับสมบูรณ์)
นายสุพจน์ได้เคยกล่าวไว้ในการให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร สานแสงอรุณ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ว่า
“อยากให้คนหนุ่มสาวได้อ่านหนังสือ 3 เล่มนี้ เพราะจะเข้าใจ คําว่า คอมมิวนิสต์ พุทธศาสนาและความเป็นจริงของประวัติศาสตร์ ในบางตอนของสังคมไทยได้กระจ่างยิ่งขึ้น ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออกรวมทั้งประเทศสังคมนิยมอื่น ๆ เป็นปรากฏการณ์ชั่วคราวในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงระบอบสังคมโดยทั่วไป และโดยประการสําคัญมันมิใช่เป็นการล่มสลายแต่มันของลัทธิสังคมนิยมหรือลัทธิมาร์กซิสม์อันเป็นสัจธรรม เป็นการล่มสลายของบุคคลหรือคณะบุคคลผู้กุมอํานาจรัฐนั้น ๆ ที่ไม่ได้หมดยึดกุมทฤษฎีมาร์กซิสม์อย่างถึงที่สุด ก็เช่นเดียวกับความล่มสลายของ พวกอลัชชี (ผู้แต่งกายเลียนแบบสงฆ์แต่ประพฤติชั่ว) ในบ้านเราที่มีให้เห็นอยู่เป็นประจํา แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าศาสนาพุทธหรือคําสอนของพระพุทธองค์อันเป็นสัจธรรมล่มสลายไปแล้ว ฉันใดก็ฉันนั้น”
ตามรอยบาทพระพุทธองค์
นายสุพจน์ไม่เพียงแต่เป็นผู้ยึดมั่นความจริงในทางประวัติศาสตร์การเมืองเท่านั้น แต่นายสุพจน์ยังเป็นผู้ศึกษาธรรมและยึดมั่นในแก่นของธรรมตามความหมายที่พระพุทธองค์ได้ทรงสั่งสอนไว้ และมีผลงานที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาอยู่เนือง ๆ แต่เล่มที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งที่น่าจะเอ่ยถึงคือ โต้พระอนันต์ เสนาขันธ์ และคณะ เรื่องคําสอนเดียรถีย์ (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2522) เพราะท่านพุทธทาสถูกโจมตีว่าเป็น เดียรถีย์ นายสุพจน์จึงได้ออกหนังสือเล่มนี้มาปกป้องท่าน ทั้ง ๆ ที่ ไม่ได้มีความใกล้ชิดคุ้นเคยกับท่านเป็นการส่วนตัวเลยแม้สักนิด แต่ถ้าเป็นสัจธรรมแล้วพร้อมที่จะต่อสู้ยืนยันและปกป้องผู้บริสุทธิ์โดยไม่ เคยเกรงกลัวต่ออํานาจใด ๆ ในปัจจุบันคําสอนของท่านพุทธทาสได้รับการยอมรับจากพุทธศาสนิกชนเกือบค่อนประเทศ และหนังสือเล่มนี้ก็ถูกเก็บรวบรวมอยู่ในจําพวกหนังสือดี ณ สวนโมกขพลาราม อําเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
นายสุพจน์เป็นผู้ที่ใฝ่หาความรู้รอบด้านทั้งโอกาสโลก สังขารโลกและสัตตโลก โดยเฉพาะเรื่องของศาสนาที่ใครหลายคนอาจเข้าใจว่ามาร์กซิสม์กับศาสนานั้นไปด้วยกันไม่ได้ แต่นายสุพจน์ผู้ศึกษาทั้งศาสนาและคอมมิวนิสต์ชี้แจงว่า
“สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเมื่อ 2500 กว่าปีล่วงมาแล้วกับ = สิ่งที่มาร์กซ์ค้นพบเมื่อ 150 กว่าปีมานี้คือกฎธรรมชาติอย่างเดียวกัน พระพุทธเจ้าเรียกว่า ไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ส่วน มาร์กซ์ เรียกว่า Dialectics (เคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง ขัดแย้ง พึ่งพิง) จะเห็นได้ว่านั่นคือกฎธรรมชาติอย่างเดียวกัน เพียงแต่นําไปประยุกต์ ใช้ในลักษณะต่างกัน แต่มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน คือความดับทุกข์ มาร์กซ์ดับทุกข์ที่เนื่องมาจากสภาพแวดล้อมทางรูปธรรม พระพุทธองค์ ดับทุกข์ที่เนื่องมาจากอวิชชาทางนามธรรม”
“มาร์กซ์ไม่ได้วิจารณ์ตัวศาสนา มาร์กซ์เพียงแต่พูดว่า คนติด ศาสนานั้นเหมือนกับติดยาฝิ่น มาร์กซ์วิจารณ์ไปที่คน เพราะสิ่งที่คนเหล่านั้นปฏิบัติต่อศาสนาก็คือการสวดอ้อนวอน นายทุนสวดอ้อนวอนเพื่อพระเจ้าคุ้มครองความมั่งคั่ง มมั่งคั่งของพวกเขา กรรมกรสวดอ้อนวอน เพื่อพระเจ้าประทานความมั่งคั่งมาให้ ซึ่งมาร์กซ์บอกว่ามันเป็นเรื่องเหลวไหลและหลอกลวง เพราะปรากฏการณ์ที่เป็นจริงคือความมั่งคั่งและความของนายทุนมาจากแรงงานของกรรมกรทั้งหลายนั่นเอง อัตคัดขาดแคลนของกรรมกรก็มาจากการกดขี่ขูรีดของนายทุน และถ้ามาร์กซ์จะวิจารณ์ไปที่ตัวศาสนาก็ย่อมหมายถึงศาสนาที่มีการสวดอ้อนวอน ซึ่งไม่ใช่ศาสนาพุทธแน่นอน
จึงเป็นความเข้าใจผิดอย่างมากที่คอมมิวนิสต์บางประเภทได้ลากเอาศาสนาพุทธเข้าไปสู่ความขัดแย้งกับคอมมิวนิสต์ แต่ทั้งนี้จะตําหนิ พวกเขาเหล่านั้นแต่ฝ่ายเดียวก็มิได้ เพราะประสบการณ์ที่พวกเขาได้ พบเห็นและรู้จักไม่ว่าจะจากวัด จากตํารา หรือจากความประพฤติ ปฏิบัติของผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นพุทธมามกะโดยทั่วไป ก็ล้วนแต่เป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระทั้งสิ้น แต่สิ่งที่น่าตําหนิก็คือการปิดประตูขังตัวเองไม่สนใจศึกษาค้นคว้าและรับรู้ว่าแก่นของศาสนาพุทธจริง ๆ นั้นปฏิเสธ
สิ่งนอกเหนือธรรมชาติ และสอนเน้นแต่กฎของธรรมชาติเท่านั้น ไม่มีนรกสวรรค์เข้ามาเกี่ยวแต่ที่เข้ามาเกี่ยวตามที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกนั้นเป็นเรื่องของพระอรรถกถาจารย์ และพระฎีกาจารย์ที่เริ่มต้นมาจากอัศวโฆษ พหูสูตรของพราหมณ์ที่เข้ามาบวชอยู่ในศาสนาพุทธภายหลัง ยุคของพระเจ้าอโศกมหาราช จนกระทั่งบัดนี้กาฝากของศาสนาพราหมณ์ได้เจริญงอกงามครอบคลุมพุทธศาสนาตัวจริงไปหมดแล้ว ดังที่ปรากฏ อยู่ทั่วไปตามวัด ตามบ้านหรือตามงานรัฐพิธีต่าง ๆ”
นอกจากเป็นผู้ศึกษาแล้ว นายสุพจน์ยังเป็นผู้ปฏิบัติธรรมโดย ยึดถือหลักการปฏิบัติบูชามาก่อนอามิสบูชา ความใฝ่ใจทางศาสนานั้นอาจสืบเนื่องมาจากตอนยังเยาว์นายสุพจน์มียายผู้บวชเป็นแม่ชี ชื่อแม่ชีพม ช่วงเวลาหนึ่งที่ยายไม่สบายต้องมารักษาตัวอยู่บ้าน และมีญาติมิตรมา ร่วมปฏิบัติธรรมที่บ้านกันเป็นประจํา เด็กชายสุพจน์ ในขณะนั้นยัง ไม่ใคร่เข้าใจว่า การเดินย่องไปมา พึมพําถ้อยคําเบา ๆ นั้นคืออะไร แต่มีประโยคหนึ่งจําได้ติดใจเป็นประโยคที่ยายแม่ชีคุมมักพูดบ่อย ๆ คือ “สวรรค์ในอก นรกในใจ นิพพานอยู่ที่ไหน อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล อยู่ ในใจเราเอง” กระทั่งเติบโตมาเข้าร่วมงานการเมืองจนต้องถูกจองจํา ในขณะนั้น (พ.ศ. 2495) พระพิมลธรรมมาเทศน์และสอนวิปัสสนา กรรมฐาน ภาพที่เคยเห็นตอนเด็ก ๆ จึงผุดขึ้นมาอีกครั้ง และระลึกได้ว่ายายเคยเขียนหนังสือธรรมะชื่อว่า อธิษฐานธรรม พิมพ์ที่โรงพิมพ์มิตตระกูล จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อออกจากคุกจึงได้กลับไป บ้านเกิดออกติดตามหาหนังสือเล่มนี้กระทั่งได้มา แต่พอถูกจําคุกอีกครั้งหนังสือเล่มนี้ก็สูญหายไป
ชีวิตครอบครัว
หลังจากนายสุพจน์ได้เริ่มต้นชีวิตคู่กับศรีภรรยา (นางสาวโสภณ พรหมพระสิทธิ์) ได้ไม่นาน ชีวิตครอบครัวก็ลุ่ม ๆ ดอน ๆ เนื่องจาก นายสุพจน์ต้องถูกจองจําในคดีการเมืองถึง 2 ครั้ง ในระยะเวลาที่ห่าง กันแค่ปีเดียว และเมื่อนายสุพจน์ออกจากคุกครอบครัวได้กลับมาอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันก็ยังมีปัญหาในเรื่องค่าครองชีพ หากคู่ชีวิตมิใช่นางโสภณ แล้วไซร้ นายสุพจน์อาจมิได้มีโอกาสทํางานตามอุดมการณ์ ได้สําเร็จ เพราะคงมีผู้หญิงไม่กี่คนที่ยินยอมให้สามีมุ่งมั่นทํางานเพื่อ ผู้อื่นเช่นนี้ แต่ด้วยสํานึกทางการเมืองที่มีอยู่ในตัวไม่ต่างจากนายสุพจน์ จึงทําให้ทั้งสองครองคู่อยู่ได้ด้วยความเสียสละอย่างสูงของผู้เป็นภรรยาที่ต้องเข้าใจ เข้มแข็ง และอดทนเป็นอย่างยิ่ง
กระทั่งปัจฉิมวัยที่ควรจะได้พักผ่อนอย่างสุขสบาย แต่นายสุพจน์ป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ศรีภรรยาจึงได้ให้การดูแลตามแนวธรรมชาติบําบัด ซึ่งเน้นอาหารที่ต้องมีการเตรียมผัก ผลไม้หลายชนิด และด้วยวัยที่สูงขึ้นตามกาลเวลาทําให้ต้องเหน็ดเหนื่อยเป็นอย่างมาก ต่อมานายสุพจน์ป่วยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองอีกครั้งในปี พ.ศ. 2551 คู่ทุกข์คู่ยากยังคงดูแลนายสุพจน์เป็นอย่างดีทั้งเรื่องกิจวัตรประจําวันอาหาร และการทําแผลที่เกิดขึ้นจากโรคภัย การชําระทําความสะอาด สิ่งปฏิกูลจากการขับถ่ายโดยไม่มีความรังเกียจ ถึงแม้นว่าเส้นทางสาย อาชีพนักเขียนของนายสุพจน์จะต้องฝ่าฟันอุปสรรคนานัปการ แต่ในเรื่อง ของคู่ครองเรียกได้ว่านายสุพจน์เป็นผู้มีโชคอย่างหาผู้เปรียบมิได้ เพราะยากยิ่งนักที่คน ๆ หนึ่งจะได้พบผู้ที่เข้าใจ อดทนและเสียสละให้กับเราได้มากขนาดนี้ ส่วนในเรื่องของบุตร ธิดา แล้ว ลูกทุกคนล้วนมีสัมมาอาชีพ เป็นผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบ เฉกเช่นผู้รักษาธรรมทั่วไป
บรรณานุกรม
- อนุสรณ์นายสุพจน์ ด่านตระกูล, (ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2552)