ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
บทบาท-ผลงาน

บันทึกประกอบคำประท้วง กรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 13)

12
กันยายน
2567

Focus

  • บันทึกประกอบคำประท้วงกรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 13) ของนายปรีดี พนมยงค์ เสนอการวิเคราะห์เรื่องการเกี่ยวกับการล้มเลิกเค้าโครงการเศรษฐกิจของนายประยูร ภมรมนตรี โดยนายปรีดีได้อธิบายข้อเท็จจริงจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และบันทึกสำคัญ นอกจากนี้ยังมีข้อแย้งหนังสือชีวิต 5 แผ่นดินฯ จากการค้นคว้าของนักศึกษาในยุคหลัง 14 ตุลา ประกอบคำประท้วงฯ ครั้งนี้ซึ่งพบว่าในหนังสือชีวิต 5 แผ่นดินของข้าพเจ้านั้นมีข้อมูลคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงเพราะนายประยูรไม่ได้ทำให้เค้าโครงการเศรษฐกิจล้มเลิก

 


บันทึกประกอบคำประท้วงกรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดินฯ หัวข้อที่ 12 โดยนายปรีดี พนมยงค์

 

.12.

นิยายของพล.ท.ประยูร ประกอบความสําเร็จของท่านที่อ้างไว้ว่า
“ได้ล้มเลิกโครงการเศรษฐกิจพลิกแผ่นดินของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม”

 

ข้อสังเกต

ข้าพเจ้าได้บ้างไว้ในข้อ 6 ถึงการที่พล.ท.ประยูราได้เขียนไว้ในหนังสือของท่านหน้า 289 ว่าท่านได้รับความสําเร็จของผลงานในทุก ๆ ด้าน ในบรรดาด้านต่าง ๆ นั้นท่านได้กล่าวถึงด้านสําคัญด้านหนึ่งด้วย คือ

“2. ได้ล้มเลิกโครงการเศรษฐกิจพลิกแผ่นดินของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม”

ฉนั้นจึงเข้าใจได้ว่าท่านต้องปฏิเสธหลัก 6 ประการของคณะราษฎร โดยท่านถือ “หลักการ 3 ประการ ประกอบด้วยหลักการยึดอํานาจ 3 ประการ” ดังที่ข้าพเจ้าได้เสนอท่านผู้อ่านที่มีใจเป็นธรรมไว้แล้วในข้อ 11

เพื่อประกอบการปฏิบัติของพล.ท.ประยูรฯ ในเรื่องนั้น ท่านจึงได้ประพันธ์นิยายไว้ 3 เรื่องเพื่อผู้ชอบอ่าน-นิยายทํานองเรื่อง “ขุนช้างขุนแผน”, “เรื่องทะแกล้ว 3 เกลอ” ของ “Alexandre Dunas” และนิยายอื่นที่อิงชื่อบุคคลและชื่อสถานที่ซึ่งมีจริงส่วนเนื้อเรื่องนั้นผู้ประพันธ์เขียนเอาตามความชอบใจ ผู้ที่ชอบอ่าน-นิยายทำนองนั้นก็เพลิดเพลินแล้วหลงเชื่อเนื้อเรื่องว่าเป็นความจริงทางสารคดี

ในข้อ 12 นี้ ข้าพเจ้าขอเสนอท่านที่มีใจเป็นธรรมพิจารณาและวิเคราะห์วิจารณ์นิยายของพล.ท. ประยูรฯ เรื่องข้าพเจ้าเสนอโครงการเศรษฐกิจต่อผู้ก่อการฯ

ต่อไปในข้อ 13 ข้าพเจ้าจะเสนอนิยายของพล.ท.ประยูรฯ เรื่อง “สมมติพระยาทรงฯ เป็นพระเอก ผู้ปราบปรามปรีดีแจกโครงการเศรษฐกิจที่วัดแคราย”

และต่อไปในข้อ 14 ข้าพเจ้าจะเสนอนิยายของพล.อ.ประยูร เรื่อง “ฉากละครเรื่องใหม่โดยสมมติให้นายควงและหลวงเดชสหกรณ์เป็นพระเอกต่อต้านการแจกโครงการเศรษฐกิจของปรีดีที่บ้านนายควงและที่บ้าน ร.ท.ประยูรฯ

 

.12.1.

นิยายของพล.ท.ประยูร ที่ข้าพเจ้าเสนอในข้อ 12 นี้ ปรากฏความตามหนังสือของพล.ท.ประยูรฯ หน้า 213-215 ดังต่อไปนี้

ครั้นเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองสําเร็จไปแล้ว คณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็ได้จัดให้มีการประชุมสัปดาห์ขึ้นเพื่อพิจารณาเหตุการณ์และการแสดงความคิดเห็นในเรื่องการบริหารบ้านเมือง ในโอกาสนี้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมก็ได้นําเรื่องโครงการเศรษฐกิจขึ้นมาปรึกษา ซึ่งคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองส่วนมากไม่ค่อยจะสนใจหรือได้อ่านโครงการนี้กันมาเลย นั่งสงบนิ่งกันเป็นส่วนมาก สรุปแล้วเอาอะไรก็เอากัน

ครั้นแล้วหลวงประดิษฐ์ฯ ก็ได้เชิญผู้ก่อการชั้นผู้ใหญ่มาพบเป็นรายบุคคล สําหรับ

ข้าพเจ้าเองก็ถูกสอบถามและจัดเป็นบันทึกหลักฐานไว้ ข้าพเจ้าก็แจงว่า เรามีความจําเป็นที่จะต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าควบความลําบากนานับประการ จึงไม่มีเวลาพิจารณาโครงการมหาศาลซึ่งใช้เวลานานโดยรอบคอบ จึงควรตั้งรอไว้ก่อน แต่ข้าพเจ้ายึดหลักในการบริหารสําคัญ 2 ประการ

ประการแรก ต้องเผชิญต่อข้อเท็จจริง

ประการที่สอง ดําเนินการเป็นขั้น ๆ เอาความสําเร็จในชั้นหนึ่ง ๆ เป็นบันไดดําเนินขั้นต่อไป ในที่สุดก็ถูกประณามว่าเป็นผู้ที่มีนโยบายสุกเอาเผากิน

หลวงประดิษฐ์กับพระยาทรงฯ

ต่อมาหลวงประดิษฐ์มนูธรรมก็ได้นําเรื่องโครงการเศรษฐกิจไปเสนอ พ.อ.พระยาทรงสุรเดชเพื่อพิจารณาในหลักการและรายละเอียด ซึ่งว่ากันอยู่ครึ่งค่อนวัน ท่านเจ้าคุณทรงฯ ว่าจะรับโครงการทั้งสิ้นไปไม่ได้ แต่เห็นว่าควรจะเอาไปทําการทดลองในท้องที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ จะต้องไม่บังคับโดยให้ราษฎรสมัครใจ ซึ่งในเรื่องนี้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมจะให้นายวิลาศ โอสถานนท์ ผู้ก่อการฯ ซึ่งศึกษาการเกษตรจากอังกฤษกลองทําดู แต่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมยืนยันว่า จะต้องรับโครงการไปดําเนินให้ครบรูป ซึ่งเจ้าคุณทรงสุรเดชไม่เห็นด้วย แล้วก็ลาโรงกันไป

ท่านเจ้าคุณทรงสุรเดชเรียกข้าพเจ้าไปพบปรารภว่าตราขรัวของลื้อ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) เอาโครงการเศรษฐกิจมาสาธยายให้ฟังเป็นเรื่องฟุ้งสร้านกันใหญ่ จะให้คนไทยทั้งชาติกินเงินเดือนเป็นลูกจ้างของรัฐบาล ซึ่งจําต้องบังคับแรงงาน และยึดที่ดินมาเข้ากองกลาง สร้างความวุ่นวายปั่นป่วนจึงได้ปฏิเสธไม่เห็นกับหลักการแล้วก็บ่นว่าข้าพเจ้าเอาหลวงประดิษฐ์มาร่วมคิด เป็นนักตํารา หาเผชิญต่อข้อเท็จจริงไม่ จะเป็นบุคคลที่สร้างความมุ่งมากในระบบการบริหารต่อไปซึ่งท่านเป็นผู้รับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงการปกครองผู้หนึ่ง ไม่สามารถปล่อยให้เอาบ้านเมืองเป็นเครื่องเล่นและทดลองประการใดได้ ก็เป็นอันว่าหลวงประดิษฐ์กับพระยาทรงสุรเดชมีแนวการบริหารบ้านเมืองที่ประสานกันไม่ได้

ในทางเศรษฐกิจดั่งคําปฏิญาณมาแล้วว่า จะบํารุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎร ไม่ให้ราษฎรอดหยาก ให้มีงานทํา ฉะนั้นจึงใคร่ถามว่าคณะรัฐบาลจะรับรองได้ไหมว่าจะเริ่มทําในเรื่องนี้ให้ทันเวลาที่จะดําเนินการในปีหน้า ถ้าและไม่รับรองที่จะทําแล้ว จะขอให้มี VOTE OF CONFIDENCE (ลงมติไว้วางใจ) เรียงตัวบุคคลไป

นายกรัฐมนตรี แถลงว่า ในเรื่องเศรษฐกิจนั้นไม่ใช่ว่าเราจะไม่ได้กระทํา เรามีอยู่แล้ว แต่เวลานี้กําลังพิจารณาอยู่ จนถึงได้ตั้งกรรมการขึ้นพิจารณา ก็มีพระยาราชวังสันเป็นประธาน ที่เราได้ทํานี้เราก็นึกว่าเป็นไปอย่างดีที่สุดและเร็วที่สุดที่จะทําได้ แต่ถ้าการที่ทําไปเช่นนี้ไม่เป็นที่พอใจแก่สภา เราก็ไม่ได้ขอว่าในสภาพได้ช่วยโปรดเอาพวกรัฐบาลนี้ไว้ที่จะแสดงหรือลงมติความไม่ไว้วางใจ เราก็ยินดีที่จะไปเสมอในเมื่อมีผู้อื่นที่ดีกว่าและจะทําได้เพราะฉะนั้นเราไม่มีความรังเกียจอย่างใดที่สภาจะลงมติความไม่ไว้วางใจต่อไป

นายจรูญ สืบแสง กล่าวว่า เท่าที่นายกรัฐมนตรีได้ตอบมา ก็แปลว่าได้มาแทนคณะรัฐมนตรีทั้งหมด คณะรัฐมนตรีย่อมมีความรับผิดชอบร่วมกันเท่าที่ได้ทราบมาว่า นโยบายในทางเศรษฐกิจนี้ไม่ลงรอยกันเพราะต่างคนต่างเห็นชอบไปคนละทาง

และบางคนก็มี PREJUDICE (อุปาทาน) ในบางคนหรือไม่อย่างนั้นก็มี PREJUDICE ในทางนโยบาย เช่นนโยบายของหลวงประดิษฐ์ฯ มีบางคนเข้าใจไปว่าเป็นนโยบายทาง COMMUNIST (คอมมิวนิสต์) หรือ SOCIALIST (โซเชียลิสต์) แต่เราต้องคิดว่านโยบายจะเป็นไปในทางใดก็ตาม ถ้าหากจะเป็นไปในทางที่จะให้ราษฎรได้รับประโยชน์แล้ว ก็ควรจะเสียสละได้แม้ชีวิต และเท่าที่เป็นอยู่เช่นนี้แล้ว เรามิได้ทําประโยชน์อันใดเป็นปึกแผ่น อาจจะนำซึ่งความแค้นเคืองของราษฎร เมื่อเช่นนี้ก็จะเป็นเหตุให้ความรับผิดชอบตกแก่คณะราษฎร ผู้เริ่มเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ เพราะได้ให้คํามั่นสัญญาไว้

พระยาทรงสุรเดช ตอบว่า นโยบายของหลวงประดิษฐ์ในทางเศรษฐกิจนั้นเพิ่ง เขียนแล้วเสร็จเมื่อ 7-8 วันนี้ ถ้าหากว่าเสร็จก่อนนี้เราก็จะได้โอกาสพิจารณาก่อนนี้

นายมังกร สามเสน กล่าวว่า เมื่อได้พูดถึงโครงการเศรษฐกิจแล้ว กราบเรียนว่า เวลานั้นมาในทางเศรษฐกิจของเราได้ถูกบีบคั้นมาก ถ้าไม่รีบแก้ไขแล้ว น่ากลัวจะลําบากในเวลาต่อไป และในเรื่องนี้ก็เคยได้เขียนโครงการเสนอต่อรัฐมนตรี ซึ่งหลวงประดิษฐ์รับว่าจะพิจารณาในโครงการนั้นได้เสนอให้เป็นบรรดาผู้ที่มีความรู้ความสามารถเป็นกรรมการ และอัญเชิญให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรงตำแหน่งนายกกิตติมศักดิ์ เพราะว่าเป็นงานที่เกี่ยวกับเงินทอง หากพระองค์ท่านเป็นนายกแล้ว เข้าใจว่าการหาเงินก็ง่าย จึ่งขอเสนอให้รีบเร่งเรื่องนี้เสียที เพราะเป็นการจําเป็นสําหรับชาติ...

นายวิลาศ โอสถานนท์ กล่าวว่า ตามที่นายจรูญ สืบแสง ใครจะทราบนั้นคงจะเป็นไปว่า คณะรัฐมนตรีได้ทําอะไรลงไปบ้างแล้วในทางเศรษฐกิจ แม้แต่จะบอกให้รู้แต่เพียงโครงการว่าจะทําอย่างนั้นอย่างนี้เท่านั้นเราก็จะเป็นใจแล้ว ซึ่งไม่ได้เนื้อความละเอียดและไม่น่าจะปิดบังอะไร

นายกรัฐมนตรี ตอบว่า เวลานี้เรามี PLAN (แผนการ) ที่จะทําอยู่ 2 ทาง ซึ่งอยู่ในการพิจารณาของกรรมาธิการ และเรายังบอกไม่ได้ว่าจะดําเนินนโยบายอย่างใดแน่นอน จนกว่าจะได้รับพิจารณารายงานของกรรมาธิการแล้ว

หลวงประดิษฐ์มนูธรรม กล่าวว่า เรื่องนโยบายนี้ เราได้ตกลงว่าจะพูดกันในวันอาทิตย์ เพราะฉะนั้นขอให้ได้ประชุมกันเสียก่อน ส่วนโครงการของนายมังกรนั้นได้รับ ไว้จริง รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2476 มีความตอนหนึ่งเกี่ยวกับโครงการเศรษฐกิจดังต่อไปนี้

 

.12.2.

พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ กล่าวว่า เมื่อประชุมครั้งก่อนคณะรัฐมนตรีว่าจะอธิบายถึงเรื่องโครงการเศรษฐกิจ ฉะนั้นจึงอยากจึงอยากทราบว่าได้ดําเนินไปเพียงใดแล้ว

พระยาราชวังสันแถลงว่า โครงการเศรษฐกิจซึ่งกําลังสนใจอยากฟังเวลานี้นั้น ตั้งแต่ได้กระทําการ การเปลี่ยนแปลงการปกครองกันมา หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นผู้รับว่าจะร่างขึ้น และเข้าใจว่าร่างขึ้นเสร็จในระหว่างที่ข้าพเจ้าไปเชียงใหม่ หรือก่อนนั้นแต่ยังไม่ได้แจก ในเรื่องนี้ข้าพเจ้าเองก็ได้ รีบทําเพื่อได้ออกเร็ว ๆ ครั้นเมื่อเสร็จแล้วก็ได้นําเสนอคณะรัฐมนตรีฯจึงได้ตั้งกรรมาธิการขึ้นมาคณะหนึ่ง ซึ่งเวลานี้ยังอยู่ในระหว่างกรรมาธิการพิจารณายังไม่ได้เสนอคณะรัฐมนตรีอีกที่หนึ่ง เพราะฉะนั้นเมื่อเสนอเมื่อใดคณะรัฐมนตรีก็จะได้ประชุมในคราวต่อไป เสร็จแล้วก็หวังว่าจะได้ทราบทั่วกัน ดังนั้นคั่นของการเศรษฐกิจจึงมีอยู่แค่นี้

นายจรูญ สืบแสง กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่ทราบว่ารัฐบาลได้รีบทําอยู่แล้ว แต่ยินดีช้าไปเพราะทางที่ควร เรื่องนี้ควรจะเริ่มลงมือมานานแล้ว (2) "คณะกรรมานุการ" ของรัฐบาลพิจารณา " เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ "ได้ประชุมพิจารณา ณ วังปารุสกวัน เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2476 รายงานการประชุมนั้นได้ตีพิมพ์ เปิดแผนซึ่งมีผู้นําไปพิมพ์ต่อ ๆ ไปไม่น้อยกว่า 10 ครั้งแล้ว

ผู้ที่เข้าร่วมประชุม (เรียงชื่อตามลําดับอักษร) คือ

1.หลวงคหกรรมบดี 2. หลวงเดชสหกรณ์ 3.หลวงเดชาติวงศ์วราวัฒน์ 4.พ.อ.พระยาทรงสุรเดช 5. นายทวี บุญเกตุ 6. นายแนบ พหลโยธิน 7. หลวงประดิษฐ์มนูธรรม 8. นายประยูร ภมรมนตรี 9. พระยามโนปกรณ์นิติธาดา 10. พล.ร.ท.พระยาราชวังสัน 11. นายวิลาศ โอสถานนท์ 12. พระยาศรีวิสารวาจา 13. ม.จ. สกลวรรณากร วรวรรณ 14. หลวงอรรถสารประสิทธิ์ กรรมานุการ และผู้จดรายงานการประชุม

นักศึกษาที่อ่านรายงานการประชุมนี้เเล้วให้ข้อสังเกตุว่า กรรมานุการ 13 คนในจํานวน 14 คนนั้นได้อภิปรายในที่ประชุม ส่วนนายประยูร ภมรมนตรีนั้นนิ่งเงียบโดยมิได้กล่าวแม้แต่คำเดียวในที่ประชุม เมื่อกรรมานุการ 13 คนได้อภิปรายเป็นเวลาหลายชั่วโมงแล้ว จึงมีมติดังต่อไปนี้

ที่ประชุมตกลงว่า ให้เป็นรายงานประชุมต่อผู้ก่อการ และเสนอคณะรัฐมนตรี ถือว่า "ความเห็นแตกเป็นสองทาง"

1. พระยามโนฯ ให้ดําเนินนโยบายเศรษฐกิจอย่างรัฐบาลเก่า และเลือกทําให้แปลกกว่าตามโอกาสอํานวย ไม่วางนโยบายเศรษฐกิจไว้

2. หลวงประดิษฐ์มนูธรรมให้วางหลักที่จะทําและดําเนินนโยบายตามเค้าโครงการ เมื่อตกลงนโยบายอันใดแล้ว ทั้งสภาเศรษฐกิจแห่งชาติสํารวจและวางแผน เมื่อมีกําลังเท่าใด ทำเพียงเท่านั้น และตกลงว่า ถ้าความเห็นไม่ลงรอยกัน และถ้ารัฐบาลเห็นทางพระยามโนฯ ให้หลวงประดิษฐ์ฯ ประกาศโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์ฯ ในนามของตนเอง และอย่าให้มาทําความเข้าใจผิดว่ารัฐบาลจะทําอย่างนั้น ให้ชี้แจงว่าหลวงประดิษฐฯ ไม่ใช่เป็นผู้ชี้ขาดในคณะรัฐมนตรี

(ลงนาม) อรรถสารประสิทธิ์ ผู้รายงาน

ประการที่ 3 นักศึกษาเห็นว่า เอกสารหลักฐานดังอ้างไว้ในประการที่ 2 นั้นเป็นความจริงทางสารคดี ส่วนข้อเขียนของพล.ท.ประยูรฯ เป็นเรื่องซึ่งพล.ท.ประยูรฯ แต่งขึ้นเองเพราะเหตุต่อไปนี้

(1) พระยาทรงได้แถลงในสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2476 คือ 9 เดือน 15 วัน ภายหลังวันยึดอํานาจปกครอง 24 มิถุนายน 2475 นั้นว่า

นโยบายหลวงประดิษฐ์ในทางเศรษฐกิจนั้นเพิ่งเขียนแล้วเสร็จเมื่อ 7-8 วัน ถ้าหากว่าเสร็จก่อนนี้ เราก็จะได้มีโอกาสพิจารณาก่อน

หมายความว่าปรีดีเพิ่งเขียนโครงการเศรษฐกิจเสร็จเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2476 ฉะนั้นเหตุการณ์ก่อนวันนั้นที่ พล.ท.ประยูรฯ อ้างว่าปรีดีทําโครงการเศรษฐกิจ "ไปเสนอพระยาทรงฯ ซึ่งว่ากันอยู่ครึ่งค่อนวัน" และ "เจ้าคุณทรงสุรเดชไม่เห็นด้วย แล้วก็ลาโรงกันไป" และอ้างว่าพระยาทรงฯ ได้ประณามปรีดีต่าง ๆ นานานั้น จึงไม่เป็นความจริงทางสารคดี

(2) ในนิยายของพล.ท.ประยูร เรื่องของพระราชทานธรรมการปกครองแลกกันเมื่อเดือนมิถุนายน 2475 นั้น (โปรดดูข้อ 6. และข้อ 9.) พล.ท.ประยูรฯ ได้แต่งเรื่องวิวาทพระยาทรงฯ กับนายปรีดีไว้มากมาย แล้วสรุปท้ายว่า "เป็นกับว่าความสัมพันธ์ระหว่างพระยาทรงสุรเดชกับหลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้แตกสลายไป อย่างไม่มีทางจะประสานกันได้" เป็นครั้งที่ 1 แล้วที่ประสานกันไม่ได้ แต่ในตอนท้ายแห่งนิยายของท่านที่วาดภาพเรื่องปรีดีนําโครงการเศรษฐกิจไปเสนอพระยาทรงฯ ที่นำมาลงพิมพ์ในข้อ 12.1 นั้น พล.ท.ประยูรฯ กล่าวไว้เป็นครั้งที่ 2 ว่า "หลวงประดิษฐ์ฯ กับพระยาทรงสุรเดชมีแนวการบริหารบ้านเมืองที่ประสานกันไม่ได้"

ถ้าสมมติว่าความจริงเป็นตามที่พล.ท.ประยูรฯ แต่งเรื่องขึ้นนั้นแล้ว ปรีดีซึ่งโดนพระยาทรงฯ พยายามครั้งที่ 1 แล้วก็ไม่หลาบจำ คือไปยุ่งเกี่ยวกับพระยาทรงฯ อีกดูประหนึ่งว่าปรีดีต้องการประจบสอพลอเอาใจพระยาทรงฯ เพื่อหวังจะให้ท่านสนับสนุนความเป็นใหญ่เหมือนบางคน ฉนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่คนอย่างปรีดีจะนำโครงการเศรษฐกิจไปเสนอพระยาทรงฯ นอกที่ประชุมเพื่อขอความกรุณาให้ท่านสนับสนุนนอกที่ประชุมกรรมานุการ

ประการที่ 4

บันทึกรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2476 ปรากฏว่า พระยาราชวังสัน ร.ม.ต.กลาโหมได้แถลงชัดแจ้งว่า ปรีดีได้รับมอบจากรัฐบาลเป็นผู้ร่างขึ้นและพระยาราชวังสันได้กล่าวเสริมว่า  "ในเรื่องนี้ข้าพเจ้าเองก็ได้เคยขอร้องให้รีบทําเพื่อได้ออกเร็ว ๆ"

 

 

 

โปรดติดตามตอนถัดไปใน "บันทึกประกอบคำประท้วงกรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 14)"

 

หมายเหตุ :

  • คงอักขร การสะกดคำศัพท์ การเว้นวรรค และเลขไทยตามเอกสารต้นฉบับ
  • ภาพประกอบจากบันทึกประกอบคำประท้วงของนายปรีดี พนมยงค์

 

ภาคผนวก

คำขอขมาของห้างหุ้นส่วนจำกัดบรรณกิจเทรดดิ้งและประกาศกระทรวงศึกษาธิการเพิกถอนคำตัดสินของคณะกรรมการพิจารณาหนังสือแห่งชาติ หนังสือชื่อ “ชีวิต 5 แผ่นดินของข้าพเจ้า” โดย พล.ท. ประยูร ภมรมนตรี

 

 

บรรณานุกรม

หลักฐานชั้นต้น :

  • ปรีดี พนมยงค์, บันทึกประกอบคำประท้วงของนายปรีดี พนมยงค์, (มปท., มปป.)

เรื่องที่เกี่ยวข้อง :