ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ชีวิต-ครอบครัว

รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490

8
พฤศจิกายน
2565

“ไม่มีการรัฐประหาร ถ้ามีก็ต้องเป็นอั๊วเอง และอั๊วก็ยังไม่คิด” นี่คือคำพูดที่ผู้บัญชาการทหารบก พลเอก อดุล อดุลเดชจรัส รับรองแก่นายกรัฐมนตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ในค่ำวันที่ 6 พฤศจิกายน 2490 แต่แล้วต่อมาอีก 2 วัน คือวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ก็เกิดรัฐประหารขึ้น

รัฐบาลธำรงนาวาสวัสดิ์ ใช่ว่าจะไม่ทราบข่าวการทำรัฐประหารมาก่อน หลวงธำรงฯ เคยให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่านอนรอรัฐประหารอยู่ที่บ้านตามที่หนังสือพิมพ์อ้าง

ความจริงเรื่องรัฐประหารล้มรัฐบาลนี้ เกิดเป็นรูปเป็นร่างหลังจากพรรคประชาธิปัตย์เปิดอภิปรายทั่วไป ไม่ไว้วางใจรัฐบาลธำรงนาวาสวัสดิ์มาตั้งแต่ปลายพฤษภาคม 2490 หัวข้อที่ขอเปิดอภิปรายทั่วไป มีเรื่องความสงบเรียบร้อยภายใน ความมั่นคงทางการคลังและการเศรษฐกิจ การต่างประเทศ การแทรกแซงข้าราชการประจำตัว การรักษาฐานะของข้าราชการ การศึกษาของชาติ และกรณีสวรรคต

รัฐบาลธำรงนาวาสวัสดิ์ใจกว้าง ยุคนี้เป็นยุคประชาธิปไตยที่ไม่เคยมีใครเป็นมาก่อน เปิดให้มีการประชุมอภิปรายโต้ตอบได้ตลอดเวลา 7 วัน 7 คืน และถ่ายทอดการประชุมทางวิทยุกระจายเสียงให้ประชาชนได้ฟังกันทั่วประเทศ ในวันที่ 27 พฤษภาคม เป็นวันลงมติว่าสภาฯ จะไว้วางใจรัฐบาลหรือไม่ จากการลงคะแนนลับๆ สภาฯ ไว้วางใจรัฐบาลโดยคะแนน 86 ต่อ 55 อันเป็นคะแนนของฝ่ายค้าน รัฐบาลชนะ แต่เพื่อรักษามารยาทจึงลาออก แต่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ และมีโอกาสปรับปรุงคณะรัฐมนตรีใหม่

ในคืนวันที่ 3 กรกฎาคม 2490 คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 รวม 8 คน ได้ประชุมกันที่ทำเนียบท่าช้าง ตามคำเสนอของ พล.อ.อดุล อดุลเดชจรัส ทั้ง 8 คนนี้มี ดร.ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส  พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี  พล.อ.อดุล อดุลเดชจรัส ผู้บัญชาการทหารบก  พล.ร.ท.สินธุ์ กมลนาวิน ผู้บัญชาการทหารเรือ  พล.ร.ท.สังวร สุวรรณชีพ สารวัตรใหญ่ทหารบก  หลวงนฤเบศร์มานิต อดีตผู้สำเร็จราชการแทนองค์  พล.ท.เรือง เรืองวีรยุทธ ปลัดกระทรวงกลาโหม และ พล.ต.ต.พระพิจารณ์พลกิจ อธิบดีกรมตำรวจ โดย พล.ท.เรือง เรืองวีรยุทธ เป็นผู้บันทึกการประชุม

หลวงอดุลฯ ได้เสนอต่อที่ประชุมว่า เพื่อไม่ให้พวกก่อการและรัฐบาลต้องฉิบหาย และจะยอมให้ผู้ก่อการฉิบหายไม่ได้ ขอให้รัฐบาลแก้ไขความเสื่อมโทรมของบ้านเมือง และแก้ไขเหตุการณ์เลวร้ายต่างๆ ให้หมดไปโดยเร็วให้ประชาชนอยู่ร่มเย็นเป็นสุข และตำหนิว่ารัฐบาลไม่มีสมรรถภาพ และยิ่งตำรวจแล้วไม่มีสมรรถภาพใหญ่ ไม่เหมือนสมัยหลวงอดุลเป็นอธิบดีกรมตำรวจ

นายธำรงฯ ได้ชี้แจงให้ทราบว่า รัฐบาลได้พยายามแก้ไขอยู่อย่างเต็มความสามารถแล้ว แต่จะให้เป็นผลทันทีทันใดทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปได้ยาก เพราะประเทศเราได้รับความเสียหายจากสงครามมากมาย ยิ่งกว่านั้นรัฐบาลมีภาระหนักในเรื่องที่เกี่ยวกับต่างประเทศอยู่ด้วย หลวงอดุลฯ กล่าวสำทับว่า

“ถ้ารัฐบาลยังกระทำตัวเลวอยู่เช่นนี้ เมื่อเกิดการปฏิวัติหรือรัฐประหารขึ้นในขณะนี้ คิดว่าจะไม่ปราบปราม เพราะไม่ต้องการเอาทหารไทยฆ่าทหารไทยด้วยกันเอง ไม่ต้องการให้คนไทยฆ่าคนไทยกันเอง” พล.ร.ท.สิทธุ์ กมลนาวิน ได้กล่าวสนับสนุนความคิดนี้ ในที่สุดที่ประชุมก็มอบเรื่องนี้ให้ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีไปดำเนินการแก้ไขโดยเร็วที่สุด ก็แปลกดีไม่น้อย ไม่ทราบว่ารัฐบาลกระทำตัวเลวอย่างไรและผู้บัญชาการทหารบก, ผู้บัญชาการทหารเรือ มีหน้าที่อย่างไรในประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยและมีรัฐบาลที่ประชาชนเลือกขึ้นมาและชอบด้วยกฎหมายเช่นนี้

การอภิปรายทั่วไปของพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้ เป็นการก่อหวอดของลมร้ายทางการเมือง ซึ่งพัดทำลายระบอบประชาธิปไตยให้คลอนแคลนต่อไป ประกอบกับความเห็นแก่ตัวของผู้ก่อการ 24 มิถุนายน บางคน เช่น ผู้ที่กระหายอยากได้ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงงานยาสูบ, ตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพสามิตร ผู้ที่เรียกร้องให้รัฐบาลจ่ายเงินทดแทนที่ตนอ้างว่าได้ใช้เงินส่วนตัวไปในขบวนการเสรีไทย ค่าก่อสร้างสถานีตำรวจสามแยก ที่สร้างผิดสัญญา ฯลฯ

หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ปวดศีรษะกับเพื่อนร่วมก่อการนี้อย่างยิ่งและในที่สุดพวกนี้ก็ไปร่วมกับคณะของ นายควง อภัยวงศ์ โดยมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม ท่านผู้นำที่ไปเป็นชาววัฒนา อยู่ที่ลำลูกกา เป็นหัวคณะก่อการรัฐประหารขึ้น และหัวหน้าที่ปรากฏตัวแก่ประชาชนทันทีทันใดนั้นก็คือ พล.ท.ผิน ชุณหะวัน นายทหารนอกประจำการ ประกอบด้วย พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์เป็นกำลังอันสำคัญ ขณะที่มีการรัฐประหารนั้นนายกรัฐมนตรี ธำรงนาวาสวัสดิ์กำลังร่วมอยู่ในงานการกุศลที่สวนอัมพร หลวงธำรงฯ หลบหนีไปได้อย่างหวุดหวิดเต็มที

รัฐประหารล้มล้างรัฐบาลที่ประชาชนเลือกขึ้นมา แล้วพรรคประชาธิปัตย์ก็เข้าเป็นรัฐบาลแทน อนิจจา! การเมืองเมืองไทย

ทำเนียบท่าช้าง ที่พำนักของ รัฐบุรุษอาวุโส ดร.ปรีดี พนมยงค์ ถูกรถถังบุกยิงทำลายเพื่อจับตัวรัฐบุรุษอาวุโส ผู้ไม่มีหน้าที่ราชการใดๆ เลย เมื่อ พันโท ลม้าย อุทยานานนท์ ผู้บังคับกองพันที่ 2 กรมทหารราบที่ 11 เป็นผู้ควบคุมรถถังเข้าไปถึงภายในทำเนียบนั้น ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้จากไปแล้วคงมีแต่ท่านผู้หญิงพูนศุข และบุตร ถ้าหนีไม่ทันอาจถูกทำร้ายถึงแก่ชีวิตก็เป็นได้

เช้ามืดของวันที่ 9 พฤศจิกายน จากท้องพระโรงกองบัญชาการทหารเรือพระราชวังเดิม ธนบุรี ดร.ปรีดี พนมยงค์ และ ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ส่ง นายไสว สุทธิพิทักษ์ เป็นตัวแทนไปเจรจากับ พลเอก อดุล อดุลเดชจรัส หรืออีกนัยหนึ่งคือ หลวงอดุลฯ ผู้บัญชาการทหารบก ณ ที่พักในวังปารุสกวัน

ตัวแทนแจ้งแก่หลวงอดุลฯ ว่า รัฐบาลจะสั่งปราบกบฏนี้จะมีความเห็นอย่างไร หลวงอดุลฯ ดูออกจะตลึงเล็กน้อย แล้วกล่าวแก่ตัวแทนว่า ไปบอกหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ และท่านปรีดีฯ เถิดขออย่าให้มีการปราบปรามต่อต้านคณะรัฐประหารเลย ขอให้เห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และขอให้รัฐบุรุษทั้งสองหลบหนีไปก่อน ความจริงเป็นอย่างนี้

ดร.ปรีดี พนมยงค์ และ หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ พร้อมตัวผู้ติดตามออกเดินทางจากกองบัญชาการกองทัพเรือไปพำนักอยู่ที่ฐานทัพเรือสัตหีบ เป็นอันว่าการทำรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ได้ผลสำเร็จมีรัฐบาลขึ้นทันทีทันใด โดยนายควง อภัยวงศ์แห่งพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านในรัฐสภาที่ผ่านมาเข้าเป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2490 นับว่าเป็นบทบาทการเมืองที่ประหลาดใจอยู่ไม่น้อย นอกจากจารีตประชาธิปไตยเอามากทีเดียว เพราะตามธรรมนิยมของระบอบประชาธิปไตยนั้น ไม่มีฝ่ายค้านในประเทศใดยอมรับเป็นรัฐบาลเพราะการรัฐประหาร

ฝ่ายค้านจะเข้าเป็นรัฐบาลก็ต่อเมื่อสามารถเอาชนะรัฐบาลในสภาฯ ด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือ โดยการรับเลือกตั้งเข้ามาใหม่ และมีคะแนนเสียงสนับสนุนจากประชาชนมากกว่าฝ่ายที่เป็นรัฐบาลอยู่เท่านั้น กรรมของนายควง อภัยวงศ์ ในการเป็นรัฐบาลครั้งนี้หนังสือในเมืองไทย และหนังสือพิมพ์ในต่างประเทศพากันแสดงความประหลาดใจและวิจารณ์การกระทำนอกจารีตนี้เป็นอันมาก แต่ถ้าเขาคิดอีกอย่างหนึ่ง อย่างที่ข้าพเจ้าคิด คือคิดว่า นายควง อภัยวงศ์ ได้ร่วมเป็นตัวการในการรัฐประหารด้วยแล้ว ก็ไม่น่าจะวิจารณ์แต่อย่างใด

เมื่อรัฐประหารแล้ว ก็ได้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ออกมาใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผู้เขียน คือ หลวงกาจสงคราม ซึ่งเป็นบุคคลชั้นหัวหน้าของคณะรัฐประหาร เรียกว่า รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม เพราะเขียนแล้วซ่อนไว้ใต้ตุ่ม รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ควรมาจากหลังคาหรือเพดาน ขื่อแป ไม่น่าจะมาจากใต้ตุ่มเลย

ดร.ปรีดี พนมยงค์ พักอยู่ที่ฐานทัพเรือสัตหีบ ได้ 10 วันก็มาปรากฏตัวในกรุงเทพฯ ที่บ้านของกัปตันเดนนิส ทูตทหารเรืออังกฤษประจำประเทศไทย โดยความช่วยเหลือของทูตทหารเรือผู้นี้พร้อมด้วยเอกอัครราชทูตอังกฤษ เอกอัครราชทูตอเมริกัน และทูตทหารเรืออเมริกัน คอมมานเดอร์ การ์ดส์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ พร้อมด้วยผู้ติดตาม 3 คน ก็ได้ลงเรือเร็วของทูตทหารเรืออเมริกัน ไปท่องเที่ยวตกปลาที่สันดอนแม่น้ำเจ้าพระยา และจากนั้นก็ได้โดยสารเรือบรรทุกน้ำมันของบรรษัทเชลล์ที่รออยู่ เดินทางต่อไปยังนครสิงคโปร์

หนังสือพิมพ์สเตรสไทม์ อันออกในเวลาเช้า แห่งวันที่ 25 พฤศจิกายน 1947 (2490) ได้เสนอข่าวใหญ่ว่า ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้ออกจากประเทศไทย ไปถึงนครสิงคโปร์เมื่อวันอาทิตย์ที่แล้ว (วันที่ 23) และได้รับการต้อนรับอย่างดีจากข้าหลวงใหญ่พิเศษของอังกฤษประจำภาคอาเซียอาคเณย์ ลอร์ด คิลเลอร์น

 

“Nai Pridi Phanomyong, former Premier and wartime pro-Allied resistance leader in Siam, arrived in Singapore from Bangkok on Sunday after having been smuggled out of Siam on a merchant ship.

Pridi Phanomyong fled from the forces of Field Marshal Phibun Songkram, former pro-Japanese dictator of Siam who overthrew the Thamrong Nawasawat Government by an Army coup two weeks ago.

The Singapore Government and the Special Commissioner in South-East Asia, Lord Killern, have cooperated in withholding from publication the place where Pridi Phanomyong is sheltering in Singapore, and the measure of outside assistance given to him to escape from Siam.

An official spokesman said last night that Pridi Phanomyong had asked for temporary sanctuary and privacy on his arrival in Singapore and that his wishes “would be respected.”

Officials earlier yesterday said in reply to Press questions: “Four Siamese have arrived in Singapore and have asked to remain incognito.”

Officials said last night that Pridi Phanomyong remains with three Siamese who escaped with him, and that he has no immediate plans for the future.

Political observers guess that his flight from Siam means the temporary end of any chance of large-scale organized resistance for the overthrow of the present Siamese Government.

Pridi Phanomyong was a former Premier and a “strong man” of Siamese politics since the 1932 revolution.

During the war he led the effective “Free Thai” resistance against the then pro-Japanese puppet dictator and present  behind-the-scenes dictator of Siam, Field Marshal Phibun Songkram.

Pridi Phanomyong became post-war Premier of Siam and toured Allied Europe and America, where statesmen hailed him as a resistance hero.

Newspapers published the formerly top-secret accounts of how he was known to the South-East Asia Command by the code-name ‘Ruth’, and how he sheltered Allied underground operators in Siam and kept a flow of accurate spy-information from Japanese-occupied Siam to Allied headquarters by radio.

Pridi Phanomyong resigned the Premiership after the political repercussions of the unsolved assassination of the young King Ananda Mahidol.

Premier Thamrong replaced him.

Since the fall of the Thamrong government, the coup organizers have alleged the implication of Pridi Phanomyong's henchmen in the death of the King.”

 

ในวันเดียวกันนั้น หนังสือพิมพ์เวลาบ่ายชื่อ สิงคโปร์ฟรีเพรส ก็ได้ให้ข่าวเพิ่มเติมว่า ดร.ปรีดี พนมยงค์ พำนักอยู่ที่เกาะเซนต์จอห์น ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับสิงคโปร์ ณ สถานที่ซึ่งจัดไว้สำหรับรับแขกเมือง อีกด้านหนึ่งของเกาะเป็นด่านกักโรค

 

“Nai Pridi Phanomyong, Siam's “senior statesman”, who escaped arrest when Marshal Phibun carried out his Nov. 9 coup, is now on St. John's Island, Singapore quarantine station. He is living there in private accommodation, with three Siamese companions.

How Pridi escaped is still a mystery. He is believed however, to have taken temporary refuge in one of the embassies in Bangkok, from where he was smuggled out and put aboard a ship.

Officials in Singapore this morning were silent. They had no statements to make, no comments, no information.

The American Consul-General, Mr. Paul Josselyn, denied that any American Officials had contacted Pridi. Nor, he said, had Pridi asked for an American visa.

As a refugee from Siam's militarist regime, Pridi is entitled to the usual hospitality which the British Government accords to all political exiles, writes a correspondent. He is in the same position as M. Mikolajczak, the Polish statesman, who was flown to London in an R.A.F. plane after his escape to Western Germany.

Leader of Siam's wartime underground, Pridi was known to South East Asia Command intelligence officers as “Ruth.” Pridi was in daily radio contact with Lord Mountbatten's headquarters at Kandy for almost 18 months of the war.”

 

หนังสือพิมพ์สเตรตไทม์ ฉบับวันที่ 26 พฤศจิกายน 1947 ยังได้เสนอคำที่ได้สัมภาษณ์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ เรื่องการที่ได้หลบหนีภยันตรายออกนอกประเทศ และการที่ไม่ทำการสู้รบกับรัฐบาลอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ในขณะนั้น) ว่า เพราะจะเป็นการนำไปสู่การที่คนไทยจะต้องเสียเลือดเนื้อด้วยกัน เป็นการย้ำเจตนาของ ดร.ปรีดี พนมยงค์เอง ที่ได้พูดทางวิทยุกระจายเสียง จากสถานีวิทยุตะวันออกไกลของอังกฤษไปถึงบรรดาศิษย์และมิตรสหายผู้ร่วมอุดมคติ ให้ระงับการที่จะใช้กำลังอาวุธเข้าต่อสู้กับผู้กุมอำนาจปกครอง บ้านเมืองในเวลานั้น

 

“A warning given him a few hours before the Phibun coup enabled Pridi Phanomyong to escape from Siam.

The former Siamese premier and wartime resistance leader said in: Singapore yesterday that the warning came from Siam’s Army Commander-in-Chief.

His house was on a river and he had escaped Marshal Phibun’s men by leaving in a small boat two hours before they arrived, Nai Pridi Phanomyong said.

He had stayed some days under Siamese Naval protection, and had decided against armed resistance to the new Government "because it would cause bloodshed amongst the Thais.”

Nai Pridi withheld the news of those who aided his escape from Siam.

He described himself as a “senior statesman” and said that his escape to Singapore “had the character of a private visit.”

Nai Pridi Phanomyong, who was speaking at his first press conference since his escape, said he was willing to return to Bangkok and assist a coalition government if he could be sure of justice.”

 

ในวันที่ 5 มิถุนายน 2491 ต่อมาปรากฏข่าวว่า ดร.ปรีดี พนมยงค์ได้ออกเดินทางจากนครสิงคโปร์ไปยังเกาะฮ่องกง เมื่อปลายเดือนก่อน

 

“Nai Pridi Phanomyong, the former Prime Minister of Siam, leff Singapore late last month aboard a cargo vessel, the Wah Chong, bound for Hong Kong.

It was stated recently that Nai Pridi would be leaving Singapore, where he sought political refugee after the Phibun coup d’etat, for England.

Officials were unable to state yesterday whether he intended to fly to the U.K. from Hong Kong, or what his future plans were.”

 

และจากฮ่องกง ก็ได้มีข่าวเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมว่า ท่านได้เดินทางไปยังนครเซียงไฮ้ ซึ่งขณะนั้น ยังอยู่ในอำนาจครอบครองของรัฐบาลจีนก๊กมินตั๋ง

 

“Hong Kong police sources said yesterday that they believed that Nai Pridi Phanomyong, one-time Siamese premier now a refugee, is now believed to be in Shanghai.

They said Pridi, who is wanted in Bangkok for questioning in the death of the late King Ananda Mahidol, left for Shanghai about 10 days ago.”

 

แต่ในวันเดียวกันนั้นเอง เจ้าหน้าที่ตำรวจแห่งนครเซียงไฮ้ก็ได้ปฏิเสธข่าวนี้ ว่า “ไม่ทราบเรื่อง” ดร. ปรีดี พนมยงค์ ว่าได้ไปยังนครเซียงไฮ้เลย

 

“Police here do not know whether former Siamese Premier Nai Pridi Phanomyong has or has not recently arrived from Hong Kong, as alleged by the police there.

Nai Pridi is wanted in Bangkok for alleged complicity in the death of King Ananda Mahidol.”

 

“รัฐบาลไทยสั่งจับตัวนายปรีดี พนมยงค์ ในข้อหาว่า มีส่วนพัวพันกับกรณีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล”

อ่านต่อ ขบวนการ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒

 

ที่มา : ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์, รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490, ใน ดร.ปรีดี พนมยงค์, (กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์, 2493),  หน้า 770-783