ขบวนการเสรีไทยคือปฏิบัติการเฉพาะกิจของคนไทยผู้รักชาติ ปราถนาจะรักษาไว้ซึ่งเอกราชและอธิปไตยของประเทศไทย ดำเนินการในช่วงเวลาตั้งแต่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ถึง 25 กันยายน พ.ศ. 2488 โดยปฏิบัติการร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรต่อต้านญี่ปุ่น มีจุดเริ่มต้นใน 3 พื้นที่ คือ ประเทศไทย สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ
เวลาประมาณ 02.00 น. ของวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 กองทัพญี่ปุ่นบุกประเทศไทย ยกพลขึ้นบกตามจังหวัดต่างๆ ทางชายทะเลฝั่งอ่าวไทย เช่น สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี คนไทยในจังหวัดเหล่านั้นได้จับอาวุธต่อสู้ทหารญี่ปุ่นอย่างกล้าหาญ แต่เป็นช่วงเวลาที่นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปตรวจงานบริเวณจังหวัดภาคตะวันออกใกล้กัมพูชา เมื่อกลับมาประมาณ 07.00 น. ได้ตัดสินใจให้กองทัพญี่ปุ่นผ่านประเทศไทยไปยังมลายูและพม่าตามคำขอและสั่งให้คนไทยยุติการต่อต้านญี่ปุ่น
ในช่วงเวลาค่ำของวันเดียวกัน นายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้นและเพื่อนๆ สนิทร่วมปรึกษาหารือที่บ้านนายปรีดี และตกลงใจพลีชีพเพื่อชาติในการรักษาไว้ซึ่งเอกราชและอธิปไตย โดยจัดตั้ง “องค์การต่อต้านญี่ปุ่น” ซึ่งต่อมาประกอบด้วยคนไทยที่รักชาติทุกชนชั้นวรรณะ ทั้งในและนอกประเทศ นายปรีดีได้รับการร้องขอให้เป็นหัวหน้าและกำหนดแผนปฏิบัติการต่อไป
พันธกิจสำคัญได้ถูกกำหนดขึ้นในช่วงแรก คือ
1. เพื่อต่อสู้ญี่ปุ่นผู้รุกราน (ประเทศไทยประสงค์จะเป็นกลางและอยู่อย่างสันติ)
2. เพื่อให้สัมพันธมิตรรับรองว่าเจตนารมณ์อันแท้จริงของคนไทยไม่เป็นศัตรูต่อสัมพันธมิตร
ในช่วงต่อมา เมื่อนายกรัฐมนตรีประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาแล้ว จึงมีพันธกิจเพิ่มมาอีก คือ
3. เพื่อให้สัมพันธมิตรรับรองว่าประเทศไทยไม่ตกเป็นฝ่ายแพ้สงครามและมีการผ่อนหนักเป็นเบา รวมถึงการให้ประเทศไทยมีสถานะเช่นเดิมเมื่อก่อนวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484
ทั้งนี้นายปรีดีขอให้ทุกคนรักษาเรื่องนี้เป็นความลับและปฏิบัติตามวินัยอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้ใครมาทำลายขบวนการได้
มีเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับขบวนการเสรีไทยเกิดขึ้นหลายอย่าง
- 16 ธันวาคม พ.ศ. 2484 นายปรีดีออกจากคณะรัฐมนตรีและได้รับการแต่งตั้งโดยสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะเดียวกันนายปรีดียังคงเป็นผู้ประศาสน์การของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ส่งผลให้ท่านสามารถใช้สถานที่ในมหาวิทยาลัยเป็นสำนักงานขององค์การต่อต้านญี่ปุ่นได้ (องค์การนี้ได้ใช้ชื่อว่า ขบวนการเสรีไทย ในเวลาต่อมา )
- 21 ธันวาคม พ.ศ. 2484 รัฐบาลไทยประกาศใช้กติกาสัญญาพันธไมตรีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ในเรื่องความร่วมมือทางการเมือง เศรษฐกิจ และการทหาร
ในช่วงนี้ รัฐบาลอังกฤษมีคำสั่งให้เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำกรุงวอชิงตัน ยื่นบันทึกช่วยจำต่อกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ว่าการที่รัฐบาลไทยทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นย่อมเป็นเหตุผลเพียงพอที่จะประกาศสงครามกับไทยได้ แต่มีคนไทยจำนวนมากที่วางตนเป็นปฏิปักษ์กับญี่ปุ่น จึงควรให้การสนับสนุน โดยอังกฤษจะยังไม่ประกาศสงครามกับไทย และจะไม่เริ่มดำเนินการใดๆ ทางทหารต่อไทย อังกฤษยังไม่ถือว่าไทยเป็นศัตรู แต่เป็นดินแดนที่ถูกศัตรูยึดครอง สหรัฐอเมริกาเห็นด้วยกับอังกฤษ
- 8 และ 24 มกราคม พ.ศ. 2485 กรุงเทพฯ ถูกเครื่องบินสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดอย่างหนัก เกิดความเสียหาย มีผู้เสียชีวิต
- 25 มกราคม พ.ศ. 2485 ไทยประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
- 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 อังกฤษและบางประเทศในเครือจักรภพ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ อัฟริกาใต้ ประกาศสงครามต่อไทย แต่สหรัฐอเมริกาไม่ได้ประกาศสงครามตอบ
ขบวนการเสรีไทยในสหรัฐอเมริกา
8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 - พฤษภาคม พ.ศ. 2485 เป็นช่วงเวลาในการวางแผนและสนับสนุนการปฏิบัติการของสหรัฐอเมริกา
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตันดี.ซี. และเจ้าหน้าที่สถานทูตตัดสินใจไม่กลับประเทศไทยตามคำสั่งของรัฐบาลไทยที่กรุงเทพ และไม่รับรู้สัญญาที่ประเทศไทยทำกับญี่ปุ่น ม.ร.ว.เสนีย์พูดทางวิทยุแจ้งคนไทยเรื่องดังกล่าวนี้ และกล่าวว่าพร้อมจะต่อสู้เพื่อรักษาเอกราชและอธิปไตยของไทยไว้
ม.ร.ว.เสนีย์และคนไทยที่ตั้งใจมุ่งมั่นเช่นนั้นได้รับมอบหมายจากรัฐบาลสหรัฐให้ปฏิบัติการสนับสนุนรัฐบาลสหรัฐในหลายประการ ทั้งเรื่องการประชาสัมพันธ์ การรวบรวมข้อมูลและทำแผนที่ประเทศไทย และได้วางแผนที่จะให้มีการปฏิบัติการทางทหารในประเทศไทย ภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกาในการต่อสู้ญี่ปุ่น โดยการนำของ พ.ท.ม.ล.ขาบ กุญชร ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารในขณะนั้น
ต่อมา มีนักเรียนไทยและข้าราชการประมาณ 30 คน ร่วมประชุมวางแผนจัดตั้งขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นและได้ใช้ชื่อเสรีไทย ซึ่งมาจากการนำเสนอของนายจก ณ ระนอง ในที่ประชุมนั้น และ 21 คนจากกลุ่มนี้ตัดสินใจเป็นอาสาสมัครเสรีไทยที่จะร่วมดำเนินการปฏิบัติการทางทหารรุ่นแรกจากสหรัฐอเมริกา
อาสาสมัครเสรีไทยทั้ง 21 คนนี้ต้องเข้ารับการฝึกอบรมการปฏิบัติการทางทหารในหลายพื้นที่ภายใต้การฝึกของหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ คือ OSS ( Office of Strategic Services) หรือที่เรียกว่าสำนักบริการด้านยุทธศาสตร์ ซึ่งรวมถึงการฝึกการดำรงชีพในสถานการณ์เลวร้าย การใช้อาวุธทุกประเภท การผลิตและปลดชนวนระเบิด การรบแบบกองโจร การก่อวินาศกรรม การข่าวกรอง การรับส่งวิทยุ การฝึกปฏิบัติการนี้ใช้เวลานานพอควร ตั้งแต่มิถุนายน พ.ศ. 2485 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2486
เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกปฏิบัติการแล้ว อาสาสมัครเสรีไทยกลุ่มนี้ออกเดินทางในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2486 ลงเรือรอนแรมเป็นเวลาประมาณ 95 วัน จากเมืองบัลติมอร์ สหรัฐอเมริกา ผ่านคลองปานามา มหาสมุทรแปซิฟิค ผ่านทางใต้ออสเตรเลีย เข้ามหาสมุทรอินเดีย ขึ้นบกที่บอมเบย์ ประเทศอินเดีย เพื่อเดินทางไปฝึกต่อที่รัฐอัสสัมอีก 2 เดือน (มิถุนายน-สิงหาคม พ.ศ. 2486)
จากอินเดียเดินทางด้วยเครื่องบินไปคุนหมิง จุงกิง และซือเหมา ประเทศจีน และบางส่วนได้เริ่มลักลอบเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยทางภาคเหนือ โดยแบ่งเป็นกลุ่มเล็กๆ เมื่อปลายกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487
การเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยของอาสาสมัครเสรีไทยเหล่านี้เป็นไปด้วยความยากลำบาก ทั้งเดินเท้า ล่องเรือ เดินทางด้วยม้าผ่านป่าทึบ โดยจ้างคนจีนเป็นคนนำทาง และเป็นเรื่องเศร้าสลดที่มีอาสาสมัครเสรีไทยสองคนถูกปล้นชิงทรัพย์เสียชีวิตระหว่างทาง คือ นายการะเวก ศรีวิจารณ์ และนายสมพงศ์ ศัลยพงศ์
ตุลาคม พ.ศ. 2487 อาสาสมัครเสรีไทยที่เดินทางเข้าเมืองไทยได้สำเร็จสามารถติดต่อกับฐานปฏิบัติการในซือเหมาประเทศจีนได้เป็นครั้งแรก
นอกจากนั้น ยังมีการส่งอาสาสมัครเสรีไทยรุ่นพิเศษ (2 คน) และรุ่นที่สอง (15 คน) เข้ารับการฝึกปฏิบัติการทางทหารเช่นเดียวกัน และได้เดินทางเข้าประเทศไทยในเวลาต่อมาด้วย
อย่างไรก็ตาม มีนักเรียนไทยอีกจำนวนหนึ่งเข้าร่วมสนับสนุนรัฐบาลสหรัฐในการทำสงคราม โดยปฏิบัติการด้านการข่าวในรูปแบบต่างๆ ด้วย
ขบวนการเสรีไทยในอังกฤษ
8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 เมื่อทราบข่าวว่าญี่ปุ่นบุกไทย พ.ท.ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตนพระเชษฐาของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ได้เขียนจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีเชอร์ชิลของอังกฤษในขณะนั้นแสดงเจตนารมณ์ขออาสาต่อสู้กับญี่ปุ่น ซึ่งอังกฤษได้ขอให้ช่วยทำแผนที่เกี่ยวกับประเทศไทย
มิถุนายน พ.ศ. 2485 ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้ส่งคุณมณี สาณะเสน เจ้าหน้าที่จากสถานทูตไทยที่กรุงวอชิงตัน มาที่อังกฤษเพื่อช่วยตั้งขบวนการเสรีไทยเช่นเดียวกับที่สหรัฐอเมริกา โดยมีอาจารย์เสนาะ ตันบุญยืน และ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นหลัก ร่วมกับนักเรียนไทยที่สนใจเป็นอาสาสมัครเสรีไทย ปรากฏว่ามี 36 คน ที่ได้รับการคัดเลือกให้ร่วมเป็นทหารในกองทัพบกอังกฤษและได้รับการฝึกการปฏิบัติการทางทหารในลักษณะคล้ายกันกับอาสาสมัครเสรีไทยจากสหรัฐ ในช่วงสิงหาคม-กันยายน พ.ศ. 2485 ในอังกฤษ
พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 อาสาสมัครเสรีไทยจากอังกฤษออกเดินทางโดยเรือ ใช้เวลาประมาณ 75 วัน รอนแรมจากเมืองลิเวอร์พูล ผ่านมหาสุทรแอตแลนติก ผ่านเคปทาวน์ เข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย ถึงบอมเบย์ เมื่อ 27 เมษายน พ.ศ. 2486 เพื่อเดินทางไปฝึกต่อ
พฤษภาคม พ.ศ. 2486 อาสาสมัครเสรีไทยจากอังกฤษได้แยกตัวไปปฏิบัติงานในหลายพื้นที่ทั้งอินเดีย ปากีสถาน และเริ่มลักลอบเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยด้วยวิธีต่างๆ
ตุลาคม พ.ศ. 2486-สิงหาคม พ.ศ. 2488 อาสาสมัครเสรีไทยที่เข้ามาประเทศไทยสำเร็จ ได้ปฏิบัติงานติดต่อประสานงานกับขบวนการเสรีไทยในประเทศเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น และประสานงานกับฝ่ายทหารของอังกฤษด้วย
ขบวนการเสรีไทยในประเทศไทย
อาจจัดแบ่งการปฏิบัติการได้เป็น 2 ประเภทหลักคือ
- ปฏิบัติการทางการเมืองและการทูต
- ปฏิบัติการทางทหาร
ปฏิบัติการทางการเมืองและการทูต
พันธกิจที่ 1 : ดูแลบุคคลสัญชาติอังกฤษ อเมริกัน และอื่นๆ ที่ถูกกักกัน ทันทีที่ประเทศไทยประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและอังกฤษในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 โดยไทยขอกักกันและดูแลบุคคลเหล่านี้เอง และใช้สถานที่ส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งนายปรีดี ยังเป็นผู้ประศาสน์การอยู่เป็นที่กักกัน
พันธกิจที่ 2 : นายปรีดีตัดสินใจส่งตัวแทนขบวนการเสรีไทยไปติดต่อฝ่ายสัมพันธมิตร โดยเริ่มจาก นายจำกัด พลางกูร ผู้ริเริ่มคนหนึ่งในการตั้งองค์การต่อต้านญี่ปุ่นในประเทศ ที่ต่อมาใช้ชื่อว่าขบวนการเสรีไทย เช่นเดียวกับที่สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ และคุณไพศาล ตระกูลลี้ ในฐานะล่าม เพื่อสื่อสาร/ส่งข่าวให้สัมพันธมิตรทราบถึงเรื่องราวของขบวนการเสรีไทยในประเทศ โดยประสงค์จะร่วมมือกับสัมพันธมิตร
ทั้งนี้ นายจำกัด ออกเดินทางจากกรุงเทพเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 เดินทางสู่จังหวัดนครพนม ผ่านลาว เวียดนาม สู่ประเทศจีน จุดหมายคือ จุงกิง และได้เดินทางรอนแรมด้วยความอดทน ทั้งโดยรถไฟ รถยนต์ เรือเมล์ชายฝั่ง เดินเท้า นั่งเกี้ยว ลงเรือถ่อ และเครื่องบิน ถึงจุงกิงเมื่อ 21 เมษายน พ.ศ. 2486 ซึ่งท่านอยู่ที่นั่นจนเสียชีวิตเพราะป่วยในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2486
เมื่อเข้าประเทศจีนแล้ว นายจำกัดได้พยายามอย่างยิ่งที่จะสื่อสารกับฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อให้ทราบถึงเรื่องราวการปฏิบัติการของขบวนการเสรีไทยในประเทศไทย ได้โทรเลขไปถึง ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ที่กรุงวอชิงตัน และโทรเลขไปถึงสถานทูตอังกฤษและสหรัฐฯ ที่จุงกิง รวมทั้งทางการจีนเพื่อขอพบเจียง ไคเช็ค
การดำเนินการของนายจำกัด ต้องพบอุปสรรคมากมาย ทั้งความไม่แน่ใจของหลายฝ่ายในสถานภาพของนายจำกัด การเดินทางที่ทรหด การถูกประกบและการถูกกีดกันโดยทหารจีน อาจเพื่อสร้างอิทธิพลครอบงำเสรีไทย ทำให้คุณจำกัดไม่ได้พบผู้ที่ต้องการพบในช่วงแรก
อย่างไรก็ดี เมื่ออังกฤษส่ง พ.ท.ม.จ. ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตนมาที่จุงกิง จึงได้พบกับนายจำกัด เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2486 ซึ่งการพบครั้งนี้นับเป็นกุญแจดอกสำคัญของความสำเร็จของขบวนการเสรีไทยในประเทศ เพราะข้อมูลทั้งหลายจากนายจำกัดได้ถูกนำไปถ่ายทอดสู่สัมพันธมิตร จึงทำให้ขบวนการเสรีไทยในประเทศ ซึ่งนำโดยนายปรีดีได้รับการยอมรับ และสามารถประสานกันได้กับสัมพันธมิตรทั้งหมดในเวลาต่อมา
พันธกิจที่ 3 : หลังจากไม่ได้รับข่าวจากนายจำกัดเลย นายปรีดีจึงได้ส่งผู้แทนขบวนการเสรีไทยในประเทศไปอีกคณะ เมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 คือ คณะนายสงวน ตุลารักษ์ และนายแดง คุณะดิลก ซึ่งเดินทางมาถึงจุงกิงเมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2486 และได้พบกับนายจำกัด พลางกูร ด้วย คณะนี้ได้เดินทางต่อไปยังสหรัฐอเมริกาในช่วง พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 และต่อไปลอนดอนช่วงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487
การมาของคณะผู้แทนขบวนการเสรีไทยในประเทศทำให้สัมพันธมิตรทั้ง สหรัฐฯ อังกฤษและจีน ตระหนักว่าในประเทศไทยมีองค์การต่อต้านญี่ปุ่น หรือขบวนการเสรีไทย ซึ่งมีนายปรีดีเป็นหัวหน้า ที่พร้อมจะร่วมมือกับสัมพันธมิตรในการทำสงครามครั้งนี้
พันธกิจที่ 4 : ปฏิบัติการทางการเมืองเพื่อเปลี่ยนรัฐบาลทางระบบสภาผู้แทนราษฎร
เนื่องจากเมื่อ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2486 กรุงเทพถูกโจมตีทางอากาศอย่างรุนแรงจากสัมพันธมิตร ทั้งไทยและญี่ปุ่นไม่มีโอกาส ไม่มีความสามารถต้านทานได้
รัฐบาลไทยจึงสั่งปิดสถานศึกษาทุกระดับในกรุงเทพฯ และให้คนอพยพออกไป จอมพล ป. เตรียมสร้างเพชรบูรณ์เป็นเมืองหลวง
20 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 สภาผู้แทนราษฎร ลงมติลับไม่อนุมัติพระราชกำหนดระเบียบบริหารราชการนครหลวงเพชรบูรณ์
22 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 สภาผู้แทนราษฎร ลงมติลับไม่อนุมัติพระราชกำหนดการจัดสร้างพุทธบุรีมณฑล
24 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 จอมพล ป. ลาออก
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 พล.ท. พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตทิพอาภา ประธานคณะผู้สำเร็จราชการฯ ทรงลาออก
1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 สภาผู้แทนราษฎร มีมติให้นายปรีดี เป็นผู้สำเร็จราชการฯ เพียงผู้เดียว
1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 นายควง อภัยวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีบุคคลในขบวนการเสรีไทย เป็นรัฐมนตรีหลายคน
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งนี้ ส่งผลให้การปฏิบัติการทางทหาร การประสานงาน ร่วมมือกันระหว่างขบวนการเสรีไทยกับทางการไทย และกองบัญชาการทหารสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตรในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ที่เมืองแคนดี ศรีลังกา เกิดได้จริง ทำให้ส่งสายลับเข้ามาในประเทศไทยและปฏิบัติการตามแผนได้ ในช่วงครึ่งปีหลังของ พ.ศ. 2487
ปฏิบัติการทางทหาร
1. จัดตั้งพลพรรคเสรีไทยในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ได้ 39 จังหวัด ทุกภาคทั้งประเทศ มีการตั้งค่ายฝึกและเก็บอาวุธที่ได้รับจากสัมพันธมิตร มีนายทหารและเจ้าหน้าที่ของฝ่ายสัมพันธมิตรมาเป็นครูฝึก เพื่อต่อสู้ขับไล่กองทัพญี่ปุ่น ทำการรบแบบกองโจร
ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมพลพรรคเสรีไทย มีทั้งที่เป็นราษฎรทั่วไป ครู ข้าราชการปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โดยมี สส. หรือข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นหัวหน้ารับผิดชอบในแต่ละพื้นที่ มีจำนวนพลพรรคเสรีไทยทั้งสิ้นตั้งแต่ 30,000 – 40,000 (แนวหน้า) ไปจนถึง 80,000 – 100,000 คน ทั้งหมด
2. จัดตั้งระบบข่าวกรอง รวบรวมและส่งข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้ง ความเคลื่อนไหวของทหารญี่ปุ่นในประเทศไทย รวมถึงข่าวกรองด้านทหารอื่นๆ และดินฟ้าอากาศเพื่อส่งให้สัมพันธมิตร
มีการตั้งสถานีวิทยุเสรีไทยในพื้นที่ต่างๆ เพื่อสื่อสารกับฐานทัพสัมพันธมิตรในเมืองแคนดี ศรีลังกา และกัลกัตตา ในอินเดีย ได้เริ่มทำงานข่าวกรองอย่างเป็นระบบตั้งแต่ตุลาคม พ.ศ. 2487
3. การสนับสนุนความเข้มแข็งของหน่วยพลพรรคเสรีไทย
- การรวบรวมอาวุธยุทโธปกรณ์ และสัมภาระอื่นๆ จากการทิ้งร่มโดยสัมพันธมิตร ตามที่กองบัญชาการเสรีไทยขอไป
- การรับส่งบุคคลโดยวิธีต่างๆ ทั้งเรือดำน้ำ โดดร่ม เครื่องบินทะเล เครื่องบิน (ซึ่งต้องมีการสร้างสนามบินลับ เช่นที่โนนหัน ภูเขียว นาอาน)
การปฏิบัติการทางทหาร เพื่อเตรียมความพร้อมในการต่อสู้ขับไล่กองทัพญี่ปุ่นได้ดำเนินการมาตั้งแต่กันยายน/ตุลาคม พ.ศ. 2487 จนถึง สิงหาคม พ.ศ. 2488
- 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 มีสาส์นของนายปรีดี ในฐานะหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ถึงรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ขอให้เสรีไทยในประเทศลุกขึ้นต่อสู้กับกองทัพญี่ปุ่นอย่างเปิดเผย แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรยับยั้งไว้ โดยขอให้รอเวลาที่กองทัพสัมพันธมิตรจะทำการบุกครั้งใหญ่ จึงจะปฏิบัติการพร้อมกัน
สาส์นของนายปรีดีฉบับนี้ทำให้สัมพันธมิตรเชื่อมั่นในอุดมการณ์ของขบวนการเสรีไทยที่หวงแหนเอกราชและอธิปไตยของชาติ และมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติการทางทหารร่วมกับสัมพันธมิตรในการทำสงครามกับญี่ปุ่น
- 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 มีการประชุมร่วมของผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรที่พอตสดัม เยอรมันนี และมีข้อตกลงหนึ่งที่ให้แจ้งไปยังนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ขอให้จำนน แต่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นไม่ยอม
- 1 สิงหาคม พ.ศ. 2488 นายปรีดีได้รับเชิญจากฝ่ายญี่ปุ่นให้ประชุมเรื่องสนามบินลับ ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2488 (ซึ่งทหารญี่ปุ่นได้ออกค้นหาสนามบินลับที่ขอนแก่น และสกลนคร)
- 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 สัมพันธมิตรทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมา และที่นางาซากิ ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488
- 14 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ญี่ปุ่นยอมจำนนต่อสัมพันธมิตรโดยไม่มีเงื่อนไข
ในวันเดียวกัน พล.ร.อ. ลอร์ด หลุยส์ เม้าน์ทแบตเตน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของสัมพันธมิตรในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ ได้รับคำแนะนำจากสหรัฐอเมริกาผ่านกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษให้ส่งสาส์นถึงนายปรีดี แนะนำให้ออกประกาศโดยด่วนที่สุดปฏิเสธการประกาศสงครามของไทยต่ออังกฤษและสหรัฐเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 และให้ยกเลิกการเป็นพันธมิตรและข้อตกลงกับญี่ปุ่นทั้งสิ้น
- 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 นายปรีดีประกาศสันติภาพตามคำแนะนำของลอร์ด เม้าน์ทแบตเตน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตรในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
- 25 กันยายน พ.ศ. 2488 มีการสวนสนามโดยพลพรรคเสรีไทยประมาณ 8,000 คน จากทั่วประเทศที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยมีนายปรีดีเป็นประธาน หลังจากนั้น ท่านได้ปราศรัยแก่ผู้แทนพลพรรคเสรีไทยที่สโมสรมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ขอบคุณพลพรรคเสรีไทยทุกคน และมีข้อความตอนหนึ่งในคำปราศรัยว่า
“........ในโอกาสนี้ ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะแสดงเปิดเผยในนามของสหายทั้งหลาย ถึงเจตนาอันบริสุทธิ์ ซึ่งเราทั้งหลายได้ถือเป็นหลักเป็นคติในการรับใช้ชาติครั้งนี้ว่า เรามุ่งจะทำหน้าที่ ในฐานะที่เราเกิดมาเป็นคนไทย ซึ่งจะต้องสนองคุณชาติ เราทั้งหลายไม่ได้มุ่งหวังทวงเอาตำแหน่งในราชการมาเป็นรางวัลตอบแทน การกระทำทั้งหลายไม่ใช่ทำเพื่อประโยชน์ของบุคคลหรือหมู่คณะใด แต่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของคนไทยทั้งมวล...... ผู้ที่ได้ร่วมงานกับข้าพเจ้าคราวนี้ ถือว่าทำหน้าที่รับใช้ชาติ มิได้ถือว่าเป็นผู้กู้ชาติ การกู้ชาติเป็นการกระทำของคนไทยทั้งปวง.........”
และนี่ถือเป็นการยุติบทบาทของขบวนการเสรีไทยทั้งหมด
สิ่งละอันพันละน้อยจากขบวนการเสรีไทย
1. การทำงานของผู้นำขบวนการเสรีไทยและทุกคนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน ตามสถานะแต่ละบุคคล ซึ่งมีทั้งคุณสมบัติและคุณธรรมหลายประการ เช่น
- มีอุดมคติสูงส่งในเรื่องการรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติ
- กล้าตัดสินใจเดินหน้าปฏิบัติการในรูปแบบต่างๆ เพื่อสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตนเอง
- การไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ อย่างจริงจังและจริงใจ และพร้อมจะสูญเสียทุกอย่างแม้กระทั่งชีวิตตนเอง
2. ตัวอย่างอุปสรรคหรือความท้าทายต่างๆ ในการปฏิบัติงาน
- ตั้งแต่ตอนญี่ปุ่นเริ่มบุกเมื่อ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 เวลา 02.00 น. ไม่ว่าจะเป็นที่ บางปู สมุทรปราการ ประจวบฯ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ทุกที่มีการรวมพล เตรียมพร้อมต่อสู้ หลายแห่งไม่ได้สู้รบเพราะรัฐบาลสั่งให้ยุติการต่อต้าน แต่บางแห่ง เช่นที่ประจวบฯ สู้กันอยู่ 32 ชั่วโมง เพราะคำสั่งยุติเพิ่งไปถึงเมื่อ 13.00 น. ของวันที่ 9 ทำให้มีการบาดเจ็บและเสียชีวิต ส่วนผู้อยู่แนวหลังช่วยกันสนับสนุนเรื่องเสบียงอาหาร
- ในการเตรียมความพร้อมช่วงกลางปี พ.ศ. 2487 - 2488 ที่มีการตั้งค่ายฝึกอาวุธเต็มที่ มีการปฏิบัติการหลายรูปแบบ การเตรียมการนี้อยู่ในสมรภูมิจริงคือ ประเทศไทย ซึ่งมีกองทัพญี่ปุ่นอยู่ทั่วไปหมด ทุกคนต้องเผชิญกับความเป็นความตายทั้งสิ้น การขับเคลื่อนทุกกิจกรรมเป็นเรื่องยาก แต่ทำได้สำเร็จ เช่น
- การสร้างสนามบินที่บ้านเต่างอย จ.สกลนคร ญี่ปุ่นรู้ระแคะระคาย ต้องมีการพรางตา
- การสร้างสนามบินที่โป่งแดง จ.ตาก เมื่อฝ่ายไทยคิดว่าปิดเป็นความลับไม่ไหว จึงแจ้งญี่ปุ่นว่าทางราชการได้ มอบหมายให้มาถางป่าเพื่อปลูกพืชไร่ช่วยคนอดอยาก ทหารญี่ปุ่นคุมทุกวันในการปราบที่ เสร็จแล้วเอาถั่วมาปลูก ญี่ปุ่นจึงถอนทหารกลับ
- การนำอาวุธจากการทิ้งร่มของสัมพันธมิตรที่ จ.เพชรบุรีเข้ากรุงเทพฯ ซึ่งมาตามเส้นทางปกติไม่ได้ เพราะสะพานข้ามแม่น้ำขาดหมด ต้องข้ามแพขนานยนต์ของญี่ปุ่น โดยอาวุธก็กองๆ ไว้ มีเพียงผ้าใบคลุมแต่ไม่มีทหารญี่ปุ่นเปิดดู
- การเดินทางที่นำพาอาสาสมัครเสรีไทยจาก จ.ตากเข้ากรุงเทพฯ ต้องเช่าเรือถ่อจากตากไปกำแพงเพชร แล้วจึงเช่าเรือยนต์เข้ากรุงเทพฯ แต่น้ำแห้งมาก ต้องเข็นเรือและนอนกลางหาดทราย ใช้เวลา 10 วัน
- การขนอาวุธร้ายแรงต่างๆ จาก จ.ขอนแก่นสู่กองบัญชาการเสรีไทยที่กรุงเทพ เสี่ยงมาทางรถยนต์ ฝ่ายไทยเตรียมสร้างเรื่องว่า อาวุธเหล่านี้จะนำส่งกระทรวงมหาดไทยเพราะเป็นอาวุธของข้าศึก ซึ่งนำมาทิ้งที่อินโดจีน (ลาว) แต่ร่มลอยมาตกริมแม่น้ำโขง จ.เลย ระหว่างทางพบด่านญี่ปุ่น 3 – 4 ครั้ง แต่ผ่านมาได้
- ที่ จ.ลำปาง มีพลทหารปลอมตัวเป็นคนงานในค่ายญี่ปุ่น ใช้ผ้าขาวพันขาทั้งสองไว้ จดบันทึกข้อมูลที่สังเกตได้ในค่ายญี่ปุ่นเพื่อส่งต่อให้พลพรรคเสรีไทย ซึ่งทำหน้าที่สื่อสารไปยังสัมพันธมิตร
- ที่ จ.แพร่ มีพลพรรคเสรีไทยที่ต้องเดินทางจากแพร่ไปกรุงเทพเพื่อลงเรือดำน้ำไปอินเดีย ฝึกการรับส่งวิทยุ แต่ต้องเดินทางทั้งโดยจักรยาน รถ และรถไฟ เป็นเวลาหลายวัน จึงไปไม่ทันเรือดำน้ำ
3. ความรัก ความเมตตา และความอาทรต่อกันในความเป็นเพื่อนมนุษย์ แม้ในยามสงคราม
- ที่ จ.แพร่ เมื่อมีการตั้งค่ายฝึกพลพรรคเสรีไทย มีนายทหารอเมริกันจำนวน 3 นายเป็นครูฝึก ในยามนั้นทุกคนได้รับอาหารซึ่งอาจเป็นอาหารไทยธรรมดา หรืออาจเป็นอาหารพื้นเมืองซึ่งคาดว่าทหารอเมริกันไม่คุ้นชิน เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ อดีต ส.ส. แพร่ ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานป่าไม้ขณะนั้นและได้ช่วยเหลือขบวนการเสรีไทยมาก น่าจะได้รับรู้ถึงความห่างไกลบ้านของนายทหารอเมริกัน ความไม่คุ้นชินอาหาร คงคิดถึงอาหารของเขา เช่น ขนมปัง เจ้าวงศ์ไปตามหาผู้ที่เคยทำขนมปังได้ ให้เข้ามาทำขนมปังในค่ายให้นายทหารอเมริกัน
- ที่ จ.ตาก หลังจากญี่ปุ่นยอมจำนนแล้ว ทหารญี่ปุ่นขอทำอาหารเลี้ยงฝ่ายไทย ตั้งใจขออภัยอย่างจริงใจ อธิบายว่าทหารต้องทำตามคำสั่ง ทหารญี่ปุ่นเป็นผู้นำสัมภาระ เครื่องครัวและสิ่งต่างๆ มาประกอบอาหารเลี้ยงฝ่ายไทย
เข้าใจว่าคงมีเรื่องราวเช่นนี้อีกไม่น้อย ซึ่งทำให้เชื่อมั่นว่ามนุษย์ทุกคนสามารถแบ่งปันและมอบความรัก ความเมตตา ให้แก่กันและกันได้
หมายเหตุ
1. คุณบดินทร์มีจิตผูกพันกับเรื่องราวขบวนการเสรีไทยอย่างมากและลึกซึ้งมาโดยตลอด โดยจุดเริ่มต้นมาจากการที่คุณพ่อคือ ศาสตราจารย์นายแพทย์ บุญเลี้ยง ตามไท ได้ตัดสินใจเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครเสรีไทยรุ่นแรกจากสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ยังเป็นนักศึกษาผู้รับทุนอยู่ที่สหรัฐอเมริกาในขณะนั้น คุณพ่อได้เข้าร่วมด้วยความมุ่งมั่น แน่วแน่ กล้าหาญ ตั้งใจจะมีส่วนร่วมในการรับใช้ชาติ เพราะเชื่อว่า “ชาติ” ยิ่งใหญ่กว่า “ตนเอง”
เช่นเดียวกับอาสาสมัครเสรีไทยทุกคน คุณพ่อเข้าร่วมขบวนการเสรีไทยโดยไม่รู้ว่าจะต้องเผชิญอะไรบ้าง โรคภัยไข้เจ็บ สิงสาราสัตว์ หรือศัตรู ไม่รู้ว่าจะได้มีโอกาสมีชีวิตรอดกลับมาหรือไม่ อย่างไร
2. คุณบดินทร์เชิญชวนทุกคนเสมอให้ร่วมกันคิดว่าก้าวต่อไปในสังคม เราจะช่วยกันคนละไม้คนละมือ โอบอุ้ม สนับสนุน ให้เราทุกคนใช้สันติวิธีในการดำเนินชีวิต เพื่อจะนำไปสู่ ‘สันติภาพ’ ที่แท้จริงได้อย่างไร
3. คุณบดินทร์ชวนคิดต่อไปอีกว่า เราจะทำอย่างไรกันได้บ้าง ที่จะให้คนจำนวนมากขึ้นได้มองเห็นคุณค่าของคุณสมบัติและคุณธรรมหลายประการที่อาสาสมัครเสรีไทยได้แสดงออกในการปฏิบัติการในช่วงสงคราม เชื่อว่าในอนาคตโลกจะเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน คาดคะเนไม่ได้ ให้เรากล้าที่จะลงมือทำในสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเอง ด้วยความซื่อสัตย์ ไม่รับสินบน ไม่รับตำแหน่ง หรือผลประโยชน์ใดๆ
Free Thai Movement:
A Great Undertaking
The Free Thai or Seri Thai Movement was an ad hoc operation of Thai patriots who aspired to uphold Thailand's independence and sovereignty. It was active between 8 December 1941 and 25 September 1945. Its activities were carried out jointly with the Allies against Japan and began in three places, Thailand, the United States and Britain.
At 02.00 hours on 8 December 1941, the Japanese armed forces invaded Thailand. Their troops landed on various beaches along the Gulf of Thailand coast including Samut Prakan, Prachuap Khiri Khan, Chumphon, Surat Thani, Nakhon Si Thammarat, Songkhla and Pattani. The people in these provinces bravely took up arms to resist while the then Prime Minister, Field Marshal P. Phibunsongkhram, was on a field inspection trip in the eastern region near Cambodia. Upon his return at around 07:00 hours, the Prime Minister decided to allow the Japanese troops safe passage to Malaya and Burma as Japan requested, and ordered all resistance to cease.
On the evening of the same day, Pridi Banomyong, the Minister of Finance at that time, held a consultation at his home with some of his close friends and together they decided to sacrifice their lives for the nation's independence and sovereignty by establishing an anti-Japan organization, which was later joined by Thai patriots of all classes living both in Thailand and abroad. Pridi was asked to lead the organization and work on its plan of action.
The initial key missions included:
1. to fight the Japanese invaders (Thailand aspired to be and live peacefully);
2. to have the Allies recognize that the true intent of Thais was not to be the Allies' enemy.
In the ensuing period after the Prime Minister declared war on the United States, another mission was added:
3. to have the Allies certify that Thailand would not be on the side of the defeated in the war and would be granted concessions, including a return to the status that it was in before 8 December 1941.
Pridi requested everyone to keep matters confidential and strictly adhere to discipline so that no one could destroy the movement.
There were many key events in the Free Thai Movement operations.
- 16 December 1941. Pridi left the cabinet and was appointed Regent by the House of Representatives. At the same time, he remained Chancellor of the University of Moral and Political Sciences and so was able to use the campus as the office of the anti Japan movement. (This was later renamed the Seri Thai Movement.)
- 21 December 1941. The Thai government declared the Thai-Japanese Treaty of Amity on political, economic and military cooperation.
At this time, the British government ordered its ambassador in Washington DC to submit a memorandum to the US State Department stating that the fact that Thailand had entered into a treaty of amity with Japan was sufficient grounds for declaring war on Thailand, but since many Thais had placed themselves as adversaries of Japan, they should be supported. Britain would not declare war on Thailand and would not initiate any military operations against Thailand as it was not yet considered an enemy, but territory occupied by an enemy. The US agreed with Britain.
- 8 and 24 January 1942. Bangkok was heavily bombed by the Allies causing damage and loss of life.
- 25 January 1942. Thailand declared war on the US and Britain
- 6 February 1942. Britain and some Commonwealth countries
such as Australia, New Zealand and South Africa, declared war on Thailand, while the US did not.
The Free Thai Movement in the United States
From 8 December 1941-May 1942 was the period of planning and supporting US operations.
MR Sent Pramoj, the Thai ambassador in Washington, and the embassy staff decided not to return to Thailand as ordered by the Thai government and to ignore the treaty that Thailand had made with Japan. MR Seni announce this on the radio to the Thai people and stated his readiness to fight on to maintain the country's independence and sovereignty.
MR Seni Pramoj and other Thais who were similarly committed were assigned by the US to carry out several operations including public relations, information gathering and mapping Thailand, and planned military operations in the country under the leadership of the US to fight the Japanese, led by Lt Col ML Kab Kunchorn, the military attache at that time.
Later on, about 30 Thai students and government officials held a meeting to plan the establishment of a resistance movement to be named Seri Thai, which was a proposal of Chok Na Ranong at the meeting. 21 participants at the meeting decided to volunteer to join the first military operation launched from the US.
The 21 volunteers had to attend military training at several sites under the supervision of the US government's Office of Strategic Services (OSS). The training programme included how to survive in adverse conditions, the use of all types of weapons, the production and removal of explosive fuses, guerrilla warfare, sabotage, the intelligence gathering and radio operations. This training program lasted quite a long time, from June 1942 to March 1943.
Upon completion, this group of Free Thais embarked on a ship in March 1943 and journeyed for around 95 days from Baltimore in the US through the Panama Canal and across the Pacific Ocean. They entered the Indian Ocean via the south of Australia and disembarked at Bombay, India, in order to Assam for a further two months training (June-August 1943).
From India they traveled by plane to Kunming, Chongqing and Simao in China and some were smuggled into Northern Thail small groups at the end of February 1944.
The journey of the Free Thai volunteers was full of hardship. They traveled on foot, by boat, and on horseback through thick forest led by hired Chinese guides. Sadly, 2 volunteers, Karavek Sivijarn and Somphong Sanyaphong were robbed and killed en route.
In October 1944, the Free Thai volunteers were able to enter Thailand and successfully made contact with their base in Simao for the first time.
In addition, a special group of 2 volunteers and a second group of trainees (15 persons) was sent to attend training and later entered Thailand.
There was also a group of Thai students who provided support to the US war effort by working on intelligence gathering in various forms.
The Free Thai Movement in Britain
8 December 1941. On hearing the news of the Japanese invasion, Lt Col MC Subhasvastiwongse Snith Svastivatana, brother of Queen Rambai Barni, Queen Consort of Rama VII, wrote a letter to Prime Minister Churchill of Britain declaring his intention to volunteer to fight the Japanese. Britain asked him to help draw maps relating to Thailand.
June 1942. MR Seni Pramoj sent Mani Sanasen, an official of the Thai embassy in Washington DC, to England to help establish a FreeThai movement as in the US. Professor Sanoh Tanboonyeun and Dr. Puey Ungphakorn were the key contacts together with the interested students there. 36 volunteers were selected to join the British military and underwent similar training to the Free Thai volunteers in the US in August-September 1942 in England.
November 1942. The Free Thai volunteers from England embarked on a 75-day sea journey from Liverpool through the Atlantic. Ocean via Cape Town to the Indian Ocean and reached Bombay on 27 April 1943 in order to undergo further training.
May 1943. The Free Thai volunteers from England split up to go to different operations in India and Pakistan and began their journey to enter Thailand by various means.
October 1943 - August 1945. The Free Thai volunteers successfully entered Thailand and made contact with the Free Thai movement in the country and also coordinated with the British army.
The Free Thai movement in Thailand
The Movement's operations can be divided into two main types: political and diplomatic; and military.
Political and Diplomatic Operations
Mission No. 1. Looking after American, British and other nationals who were detained immediately after Thailand declared war on the United States and Britain on 25 January 1942. Thailand was granted the authority to oversee these detentions using part of the campus of the University of Moral and Political. Sciences, still under the chancellorship of Pridi, as a detention camp.
Mission No. 2. Pridi decided to send a delegation of the Free Thai Movement to contact the Allies starting with Chamkad Balankura, a founding member of the anti-Japan movement which had changed its name to the Free Thai Movement as in the US and Britain, and Phaisan Trakunlee, interpreter, to carry messages and news to inform the Allies on the Free Thai Movement in Thailand and its intention to cooperate with the Allies.
Chamkad left Bangkok on 28 February 1943 and traveled to Nakhon Phanom, through Laos and Vietnam to his destination in Chongqing. He persevered on a long journey by train and car, on coastal mail boats, on horse and palanquin, by punt and airplane, and finally reached Chongqing on 21 April 1943. He remained there until his death by illness on 7 October 1943.
Once in China, Chamkad tried hard to communicate with the Allies on the operations of the Free Thai Movement in Thailand He sent telegrams to MR Seni Pramoj in Washington DC and to the British and US embassies in Chongqing, as well as to the Chinese authorities to meet Chiang Kai Shek.
Chamkad's operations met with countless obstacles, including the suspicions among many parties about his status and daunting journey. He was tailed by Chinese soldiers and obstructed in order to gain influence over the Free Thais, resulting in initial failure to make the desired contacts.
However, when Britain sent Lt Col MC Subhasvastiwongse Snith Svastivatana to Chongqing to meet Chamkad on 5 August 1943, their first meeting was the key to the success of the Free Thai Movement in Thailand because all the information carried by. Chamkad was conveyed to the Allies, resulting in the recognition of the Pridi-led movement in Thailand leading to effective coordination among all the Allies in the following period.
Mission No. 3. Because of a lack of news from Chamkad, Pridi dispatched another Movement delegation on 15 July 1943, comprising Sanguan Tularak and Daeng Gunatilaka, who arrived in Chongqing on 1 September 1943. They met with Chamkad Balankura before continuing on to the US in November 1943 and on to London in February 1944.
The arrival of the Free Thai Movement delegation in their countries made the US, Britain and China recognize that Thailand had a resistance movement against Japan, the Free Thai Movement led by Pridi, that was prepared to cooperate with the Allie the war.
Mission No. 4. Political activities to change the government through parliamentary means.
After Bangkok was subjected to heavy bombing by the Allies on 23 December 1943, against which neither the Thais nor the Japanese had any opportunity or capacity to resist, the Thai government ordered the closure of educational institutions at all levels and the evacuation of the city. Field Marshal Phibunsongkhram prepares to make Phetchabun the new capital.
20 July 1944. Parliament resolved through a secret ballot to reject the Emergency Decree on the Phetchabun Capital City Administration.
22 July 1944. Parliament resolved through a secret ballot to reject the Emergency Decree on the construction of Buddha Buri Monthon.
24 July 1944. Field Marshal Phibunsongkhram resigned.
31 July 1944. Lt Col Prince Aditya Dibabha, President of the Regency Council, resigned.
1 August 1944. Parliament resolved to appoint Pridi as sole Regent.
1 August 1944. Khuang Aphaiwong was appointed Prime Minister with a number of Free Thai Movement members as cabinet ministers.
This political change allowed effective joint military operations, coordination and collaboration between the Free Thai Movement and the Thai authorities, and the Allied Supreme Command South East Asia based at Kandy, Sri Lanka, to become a reality, enabling the implementation of the operational phase by the infiltration of secret agents into the country during the second half of 1944.
Military operations
1. Organization of Free Thai cadres in 39 provinces in every region of the country. Training camps were set up where weapons received from the Allies were stored, while Allied officers and staff acted as trainers in guerrilla warfare to repel the Japanese army.
These cadres included ordinary people, teachers, administration officials, and chiefs of subdistricts and villages, headed by members of parliament or provincial governors in each area. They number from 30,000-40,000 (frontline) to 80,000-100,000 in total.
2. Establishment of an intelligence gathering and sharing system on the locations and movements of Japanese troops in Thailand, including other types of military intelligence and weather forecasts.
Free Thai radio stations were placed in various areas to communicate with the Allied bases in Kandy, Sri Lanka, and Calcutta, India.
Systematic intelligence work began in October 1944
3. Strengthening the capacity of the Free Thai cadres
- Stockpiling weapons and ammunition and other military supplies delivered by the Allies upon request through parachute drops.
- Reception and deployment of personnel through various means such as submarines, parachuting and airplanes (which required the construction of secret airstrips such as at Non Han, Phu Khiao and Na An).
These military operations in preparation for the fight to drive the Japanese out of the country started in September/0ctober 1944 and continued until August 1945.
- 20 May 1945. A message was sent from Pridi as the head of the Free Thai Movement to the US Secretary of State requesting consent for the Free Thais to rise up and fight openly against the Japanese occupiers. The Allies however withheld consent and requested that they wait for the appointed time when the Allies armed forces would launch an all-out joint attack.
This message from Pridi convinced the Allies of the ideological commitment of the Free Thai Movement to national independence and sovereignty and to joint military operations with them in waging war against Japan.
- 17 July 1945. One of the agreements made at the Potsdam Conference of the Allied leaders in Germany was to advise the Prime Minister of Japan to surrender, but he refused.
- 1 August 1945. Pridi received an invitation from the Japanese to attend a secret meeting on the secret airstrips on 3 August 1945. (The Japanese military had been searching for a secret airstrips/landing zones in Khon Kaen and Sakon Nakhon.)
- 6 August 1945. The Allies dropped an atomic bomb on Hiroshima and then on Nagasaki on 9 August 1945.
- 14 August 1945. Japan surrendered unconditionally to the Allies.
On the same day, Admiral Lord Louis Mountbatten, Supreme Allied Commander in Asia and the Pacific, received advice from theUS through the British Foreign Office to send a message to Pridi to make a most urgent declaration to repudiate the 25 January 1942 declaration of war against Britain and the US and to revoke all amity agreements made with Japan.
- 16 August 1945. Pridi declared peace as advised by Lord Mountbatten, Supreme Allied Commander in Asia and the Pacific,
- 25 September 1945. A parade of about 8000 Free Thai cadres from all over the country was staged at the Democracy Monument presided over by Pridi. He addressed the Free Thai representatives at the University of Moral and Political Sciences Club, thanking all Free Thai cadres. An extract of the speech follows:
“On this occasion, I wish to reveal on behalf of all comrades the honest intention that we all share as a principle in serving our country at this time. We aimed to carry out our duty as Thai-born people who are obliged to repay the nation. None of us have any expectation of being rewarded with positions in government service. None of the acts committed were for personal benefit or for the benefit of any party; all were for the benefit of all Thais. ... Those who have worked with me at this time regarded the work as service to the nation, not saving the nation; saving the nation is an act that belongs to all Thais.”
And this was considered the termination of the Free Thai Movement.
Odds and Ends from the Free Thai Movement
1. The work of all the Free Thai leaders, whoever they were and wherever they were, was carried out in accordance with their individual status and shares several attributes and virtues:
- high ideals in regard to preserving national independence and sovereignty;
- courage in making decisions to move forward in various kinds of operation to attain greater things than themselves;
- a total and genuine lack of expectation of any reward and a readiness to lose anything even their lives
2. Examples of obstacles and challenges encountered in the operations
- From the time Japan invaded at 02:00 hours on 8 December 1941, mobilization for combat took place in various localities, whether Bang Pu, Samut Prakan, Prachuap Khiri Khan, Chumphon, Ranong, Surat Thani, Nakhon Si Thammarat, Songkhla or Pattani. In some places, no actual combat occurred following government orders, but in other places, such as Prachuap, where the orders reached the province only at 13:00 hours on 9 December, there were casualties and deaths. Other people behind the front lines supplied food to the front.
- During the preparation period from mid-1944 to 1945, when military training camps were organized, various kinds of operations were carried out because preparations were taking place on the actual battlefield/theatre of war and everyone faced serious life threatening situations where any action was a difficult maneuver.
Yet achievements were made:
A landing strip was constructed in Tao Ngoi, Sakon Nakhon Province. The Japanese got wind of it so it had to be camouflaged.
A landing strip was constructed in Pong Daeng, Tak Province. Thinking it would be difficult to keep secret, the Thais told the Japanese that they were ordered by the government to clear the land for field crops to feed the hungry. The work was done under Japanese guards who only withdrew from the site after some legumes were planted there.
Arms dropped by the Allies in Phetchaburi Province were transported to Bangkok. As all the bridges across the rivers were destroyed, the arms had to be transported on Japanese ferry boats The cache of arms was stacked on the boats covered only with a tarpaulin, but no Japanese soldier was curious enough to take a look.
Free Thai volunteers were escorted from Tak Province to Bangkok. A punt had to be hired to take them from Tak to Kamphaeng Phet where a motorboat was hired to continue down to Bangkok. The river was very low so the boat had to be pushed through and the people had to sleep on beaches on the way. The trip took 10 days.
War weapons were transported from Khon Kaen to the Free Thai Movement headquarters by car. The Thais created a story that these weapons were being sent to the Ministry of the Interior as they belonged to the enemy. They had been dropped in Laos and floated down the Mekhong River to beach in Loei Province. Along the way, they successfully got through 3-4 Japanese checkpoints.
In Lampang Province, a cadre disguised himself as a labourer in the Japanese camp with his legs bandaged with white cloth. He recorded information observed in the camp and passed it on to the Movement to communicate to the Allies.
In Phrae Province, a Free Thai cadre had to travel from Phrae to Bangkok to embark on a submarine to go to India for training on radio communications. Because he had to travel by bicycle, car and train, which took many days, he missed the submarine.
In Phrae, where a training camp was set up for Free Thai cadres, there were three American military trainers in the camp who shared ordinary Thai food or local cuisine that everyone in the camp ate, which was probably unfamiliar to them. Prince Wong Saensiriphan, a former Member of Parliament for Phrae and the owner of a logging concession there, who provided a great deal of support to the Free Thai Movement, probably realized that being far away from home, the Americans must be missing their usual food, so he searched for someone who knew how to bake bread to go to the camp to bake for them.
In Tak Province, after Japan surrendered, the Japanese soldiers asked to cook a meal for the Thai side, wishing to apologise sincerely, explaining that soldiers had to follow orders. They brought supplies, kitchen utensils and everything needed to prepare the treats for the Thais.
There must have been many such stories which confirmed the belief that every human being has the capacity to share and extend loving compassion and kindness to each other.
Remarks.
1. Boudin had a great attachment to the stories of the Free Thai Movement, starting from the fact that his father, Professor Dr. Bunliang Tamthai, decided to join the first batch of volunteers in the United States of America while studying there on a scholarship. His father joined with a steadfast commitment and courage, intending to serve the country in the belief that 'nation' is greater than 'oneself'.
Like all Free Thai volunteers, he signed up without knowing what he might have to face, disease and illness, wild animals or enemies, not knowing whether or how he would survive the ordeal.
2. Boudin invited everyone to join in thinking together about the next step for society, how we can come together to lend a hand to uphold and support the use of nonviolent ways of life in order to reach true 'peace.'
3. Boudin asked us to think further about what we can do to get more people to appreciate the value of the many attributes and principles demonstrated by the Free Thai volunteers in their wartime operations. The future world will be full of uncertainty that we cannot foresee; we should dare to act upon things that are greater than our own selves with honesty, and without accepting bribes, positions or other benefits in return.
ที่มา : ผุสดี ตามไท. “ขบวนการเสรีไทย: พันธกิจที่ใหญ่ยิ่ง.” ใน “In Loving Memory Of Boudin Tamthai”. (กรุงเทพฯ: พี.วาทิน พรินติ้ง.2565). หน้า 34-55.
- ขบวนการเสรีไทย
- ผุสดี ตามไท
- ฝ่ายสัมพันธมิตร
- จอมพล ป. พิบูลสงคราม
- ปรีดี พนมยงค์
- องค์การต่อต้านญี่ปุ่น
- สงครามโลกครั้งที่ 2
- มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
- เสนีย์ ปราโมช
- ขาบ กุญชร
- จก ณ ระนอง
- การะเวก ศรีวิจารณ์
- สมพงศ์ ศัลยพงศ์
- ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์
- สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
- รัชกาลที่ 7
- วินสตัน เชอร์ชิล
- มณี สาณะเสน
- เสนาะ ตันบุญยืน
- ป๋วย อึ๊งภากรณ์
- จำกัด พลางกูร
- ไพศาล ตระกูลลี้
- เจียง ไคเช็ค
- สงวน ตุลารักษ์
- แดง คุณะดิลก
- พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตทิพอาภา
- ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- ควง อภัยวงศ์
- สหรัฐอเมริกา
- อังกฤษ
- ฮิโรชิมา
- นางาซากิ
- หลุยส์ เม้าน์ทแบตเตน
- อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
- บุญเลี้ยง ตามไท
- บดินทร์ ตามไท