ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เกร็ดประวัติศาสตร์

บันทึกประกอบคำประท้วงกรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 14)

18
กันยายน
2567

Focus

  • บันทึกประกอบคำประท้วงกรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 14) ของนายปรีดี พนมยงค์ เสนอการวิเคราะห์เรื่องการเกี่ยวกับเค้าโครงการเศรษฐกิจในหนังสือชีวิต 5 แผ่นดินของข้าพเจ้าของนายประยูร ภมรมนตรี โดยนายปรีดีได้อธิบายข้อเท็จจริงจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ บันทึก และการค้นคว้าของนักศึกษาในยุคหลัง 14 ตุลา ประกอบคำประท้วงฯ ครั้งนี้ซึ่งพบว่าในหนังสือชีวิต 5 แผ่นดินของข้าพเจ้านั้นมีข้อมูลคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงเพราะนายประยูรไม่ได้ทำให้เค้าโครงการเศรษฐกิจล้มเลิก

 

 

.12.3.

 

ต่อไปนี้เป็นคําชี้แจงเพิ่มเติมของข้าพเจ้า (ปรีดี)

ประการที่ 5

การที่ข้าพเจ้า (ปรีดี) เสนอร่างโครงการเศรษฐกิจข้าไปก็เพราะภายหลัง 24 มิถุนายน 2475 จนถึงธันวาคม 2475 นั้น ข้าพเจ้าได้รับภาระมากมายหลายอย่างจากรัฐบาลในการยกร่างเบื้องต้นแห่งรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 และเร่งรัดร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ค้างอยู่กับร่างกฎหมายว่าด้วยเทศบาลและระบบบริหารใหม่และงานธุรการที่พระยาพหลฯ หัวหน้าคณะราษฎรได้มอบหมายให้ จึงไม่มีเวลาพอที่จะร่างโครงการเศรษฐกิจให้ได้เร็วเสร็จก่อนต้นเดือนมีนาคม 2476 ข้าพเจ้ามุ่งรับใช้คณะราษฎรและชาติไทยเป็นส่วนรวมอย่างเต็มกําลัง มิใช่ใช้เวลาประจบสอพลอผู้ใหญ่ในคณะราษฎร และในคณะรัฐบาลเพื่อหวังประโยชน์ส่วนตัว หรือใช้เวลาไปในทางสำมเลเทเมาหาผู้หญิงไปนั่งรถเที่ยวเล่น

ประการที่ 6

ท่านที่ปรารถนาสัจจะยอมเห็นได้จากบันทึกรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่อ้างถึงแล้วนั้นว่า ผู้ก่อการฯ หลายคนที่เป็นสมาชิกสภาฯได้เรียกร้องให้รัฐบาลแก้เศรษฐกิจของชาติที่กําลังเสื่อมโทรมนั้นให้ดีขึ้นโดยการกระทําโครงการเศรษฐกิจ

ผู้ก่อการฯ นั้นได้กล่าวในนามของตนและในนามของเพื่อนก่อการที่เข้าร่วมเปลี่ยนการปกครอง เพราะมีอุดมคติที่เห็นความเดือดร้อนของประชาชนในทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นฐานรากของสังคมจึงต่างกับ ร.ท.ประยูรฯ กับเพื่อนจํานวนน้อยของท่านที่ตกลงตามหลัก 6 ประการของคณะราษฎร แล้วก็เปลี่ยนใจภายหลังแล้วจึงเขียนขัดปรีดีไว้ในหนังสือของพล.ท.ประยูรฯ หน้า 211 ว่า

แต่หลวงประดิษฐ์มุ่งทําการปฏิวัติในลักษณะครบรูปมีทั้งลัทธิเศรษฐกิจซึ่งคณะราษฎร และกรรมการราษฎรซึ่งมีคณะเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่มีผู้ใดเห็นที่ดําเนินไปตามความคิดเห็นของคนโดยเอกเทศ

มิหนำซ้ำ พล.ท.ประยูรฯ ได้ซัดทอดเพื่อนก่อการที่มีอุดมคติเหมือนกับผู้ก่อการบางท่านที่ได้แถลงในสภาฯ กล่าววข้างบนนั้น โดยพล.ท.ประยูร เขียนไว้ในวรรคต้นแห่งหน้า 214 ว่า

ในโอกาสนี้หลวงประดิษฐมนูธรรมก็ได้นําเรื่องโครงการเศรษฐกิจขึ้นมาปรึกษา ซึ่งคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองส่วนมากไม่ค่อยจะสนใจหรือได้ผ่านโครงการนั้นกันมาเลยนั่งลงหนึ่งกันเป็นส่วนมาก สรุปแล้วเอาอะไรก็เอากัน

ข้อความที่พล.ท.ประยูรฯ เขียนดูหมิ่นเพื่อนก่อการส่วนข้างมากนั้นขัดแย้งต่อความเป็นจริงตามทหารหลักฐานดังต่อไปนี้

(1)

ในรายงานการประชุมคณะกรรมานุการพิจารณาโครงการเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2475 นั้นมีกรรมานุการ 13 คน ในจํานวน 14 คนได้สนใจและมีการอภิปรายทุกคนส่วน ร.ท.ประยูร นั่งสงบนิ่งไม่ปริปากสักคำเดียวในที่ประชุม

(2)

เมื่อคณะกรรมานุการนั้นได้ปฏิบัติตามมติที่ประชุมให้นํารายงานการประชุมเสนอผู้ก่อการหลายคนก็ได้แสดงความเห็นแล้วลงมติด้วยคะแนนเสียงส่วนข้างมากเห็นชอบด้วยกันเค้าโครงการเศรษฐกิจ

(3)

ต่อมาอีกไม่กี่วันคือ วันที่ 1 เมษายน 2476 (ปีปฏิทินขณะนั้นทั้งคนวันที่ 1 เมษายน) รัฐบาลซึ่งมีพระยามโนปกรณ์เป็นนายกรัฐมนตรี และร.ท.ประยูรฯ เป็นรัฐมนตรีกับเลขาธิการคณะรัฐมนตรีกับรัฐมนตรีบางนายให้นำความกราบบังคมทูลในหลวงให้ทรงประกาศพระราชกฤษฎีกาเปิดสภาฯ และงดใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 โดยในคณะรัฐมนตรีมีอํานาจนิติบัญญัติและอํานาจบริหารปกครองประเทศตามแบบเผด็จการชนิดหนึ่งนั้นก็ได้อ้างเหตุสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนข้างมากไว้ในคําปรารภแห่งพระราชกฤษฎีกานั้นว่า

ปรากฏว่ามีสมาชิกจํานวนมาก แสดงความปรารถนาแรงกล้าที่จะทําการเปลี่ยนแปลงในทางนั้น (นโยบายเศรษฐกิจ)

ประการที่ 7

หนังสือของ พล.ท.ประยูร หน้า 213 พล.ท.ประยูร เขียนไว้ว่า

ครั้นแล้วหลวงประดิษฐ์ก็ได้เชิญผู้ก่อการฯ ผู้ใหญ่มาพบเป็นรายบุคคล สําหรับข้าพเจ้าเองก็ถูกสอบถามและจุดเป็นบันทึกหลักฐานไว้ ข้าพเจ้าก็ชี้แจงว่า เรามีความจําเป็นที่จะต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยความลําบากนานับประการ จึงไม่มีเวลาพอพิจารณาโครงการมหาศาลซึ่งใช้เวลานานโดยรอบคอบ จึงควรตั้งรอไว้ก่อน แต่ข้าพเจ้าเปิดหลักในการบริการมา 2 ประการ

ประการแรก ต้องเผชิญต่อข้อเท็จจริง

ประการที่สอง ดําเนินการเป็นขั้น ๆ เอาความสําเร็จในชั้นหนึ่ง ๆ เป็นต้นได้ดําเนินขั้นต่อไป ในที่สุดก็ถูกประณามว่าเป็นผู้ที่มีนโยบายสุกเอาเผากิน ข้าพเจ้า(ปรีดี) ขอชี้แจงความจริงดังจะกล่าวในประการที่ 8, 9, 10, 11 ต่อไป

ประการที่ 8

ข้าพเจ้ามิได้เชิญผู้ใหญ่ต่อการมาพบเป็นรายบุคคล เพราะถ้าทําดังนั้นก็เป็นการผิดมารยาทที่ไม่เคารพผู้ใหญ่

ประการที่ 9

การประชุมเค้าโครงการเศรษฐกิจนั้นได้พิจารณาในคณะกรรมานุการ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2475 ยังอ้างถึงแล้วในข้อ (1) (ข) ซึ่งมีบันทึกรายงานการประชุมจดคําพูดของผู้อภิปรายทุกคน แต่พล.ท.ประยูรฯ นั่งสงบนิ่งหลวงอรรถสารฯ ผู้จดรายงานจึงไม่มีถ้อยคําของพล.ท.ประยูรฯ ที่จะจดไว้ในรายงานการประชุมฯ พล.ท.ประยูรฯ ไม่ปริปากเลยในที่ประชุมส่วนนอกที่ประชุมนั้นท่านจะพูดกับใครอย่างไรบ้างนั้นไม่อาจทราบได้

ประการที่ 10

พล.ท. ประยูรฯ อ้างว่าท่านชี้แจงถึงหลักในการบริหารสําคัญ 2 ประการคือ

ประการแรก ต้องเผชิญข้อเท็จจริง นั้นท่านก็ได้เขียนไว้เองอีกแห่งหนึ่งในหนังสือของท่านหน้า 117 พรรณนาถึงการที่ท่านกลับจากฝรั่งเศสถึงกรุงเทพฯ แล้วได้กล่าวถึงฐานะเศรษฐกิจของบ้านเมืองไว้ตามที่ท่านเขียนว่า เศรษฐกิจการครองชีพซบเซา รายได้ของรัฐบาลตกต่ำ กําลังดุลงบกันวุ่น ผู้คนหน้าตาไม่สบายวิพากษ์วิจารณ์กันพึมพำ จะทําอย่างไรมันเป็นเรื่องของดวงและเวรกรรม ทั้งนี้แสดงว่า พล.ท.ประยูรฯ ประสบพบเห็นหรือเผชิญข้อเท็จจริงแล้วว่าประชาชนไทยต้องประสบความทุกข์มากเนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ท่านสละหลักประการที่ 3 ของคณะราษฎร ท่านจึงไม่ใส่ใจในโครงการเศรษฐกิจที่จะแก้ความเดือดร้อนของราษฎรทางเศรษฐกิจโดยท่านเปลี่ยนอุดมคติเสียแม้ว่า “จะทําอย่างไรได้เป็นเรื่องของดวงและเวรกรรม”

ประการที่ 11

พล.ท.ประยูรฯ อ้างว่าท่านชี้แจงหลักบริหารประการที่ 2 ของท่านว่า “ดําเนินการเป็นขั้น ๆ เอาความสําเร็จในขั้นหนึ่ง ๆ เป็นบันไดต่อไป” นั้นเป็นคําอ้างที่ฝ่าฝืนความจริงคือ

(1)

ไม่ปรากฏในรายงานการประชุมกรรมานุการ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2476 ว่าพล.ท.ประยูรฯ…(ข้อมูลขาดหาย)... ได้พูดเช่นนั้นเลย ถ้าหากสมมติว่าพล.ท.ประยูรฯ พูดเช่นนั้นในที่ประชุมฯก็คงจะมีกรรมานุการคนหนึ่งคนใด ถามว่า พล.ท.ประยูรฯ ได้อ่านเค้าโครงการเศรษฐกิจฯ นั้นทราบแล้วมิใช่หรือว่า การทําโครงการเศรษฐกิจนั้นก็ต้องทําเป็นขั้น ๆ ไปคือ ขั้นแรกสํารวจขั้นที่ 2 วางแผนตามกําลังความสามารถที่จะทําได้ ขั้นที่ 3 ลงมือปฏิบัติในระยะเวลาที่กําหนดไว้ แล้วสำรวจผลตามแผนการเป็นระยะ ๆ ไปว่าได้ผลตามแผนการหรือมีข้อบกพร่องก็แก้ได้ในระยะต่อไป ขั้นที่ 4 เมื่อสําเร็จตามแผนการระยะต้นแล้วจึงวางแผนการระยะสองสําเร็จระยะสองแล้วก็วางแผนการสําหรับระยะต่อไปเป็นระยะ ๆ หรือเป็นทีละขั้น ๆ

(2)

ตามบันทึกการประชุมคณะกรรมานุการฯเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2476 นั้น ปรากฏมติของที่ประชุม ดังต่อไปนี้

2. หลวงประดิษฐ์มนูธรรมให้วางหลักที่จะทําและดําเนินนโยบายตามเค้าโครงการเมื่อตกลงนโยบายอันใดแล้ว ตั้งสภาเศรษฐกิจแห่งชาติสํารวจและวางแผน เมื่อมีกําลังเท่าใด ทำเพียงเท่านั้น

ทั้งนี้แสดงชัดแจ้งว่าข้าพเจ้า(ปรีดี) มิได้เสนอให้ดําเนินเศรษฐกิจของชาติอย่างสุ่มสี่สุ่มห้า หากให้ตั้งสภาเศรษฐกิจแห่งชาติสํารวจสถานะเศรษฐกิจเสียก่อนแล้วจึงวางแผนว่าจะทําได้เพียงใดตามกําลังของประเทศ

คํากล่าวอ้างของพล.ท.ประยูรฯ ดังกล่าวข้างบนนั้นจึงมิให้สัจจะทางสารคดี

 

โปรดติดตามตอนถัดไปใน “บันทึกประกอบคำประท้วงกรณีหนังสือชีวิต 5 แผ่นดิน เรื่องข้อเท็จจริงของการอภิวัฒน์ 2475 (ตอนที่ 15)”

 

หมายเหตุ :

  • คงอักขร การสะกดคำศัพท์ การเว้นวรรค และเลขไทยตามเอกสารต้นฉบับ
  • ภาพประกอบจากบันทึกประกอบคำประท้วงของนายปรีดี พนมยงค์

 

ภาคผนวก

คำขอขมาของห้างหุ้นส่วนจำกัดบรรณกิจเทรดดิ้งและประกาศกระทรวงศึกษาธิการเพิกถอนคำตัดสินของคณะกรรมการพิจารณาหนังสือแห่งชาติ หนังสือชื่อ “ชีวิต 5 แผ่นดินของข้าพเจ้า” โดย พล.ท. ประยูร ภมรมนตรี

 

 

บรรณานุกรม

หลักฐานชั้นต้น :

  • ปรีดี พนมยงค์, บันทึกประกอบคำประท้วงของนายปรีดี พนมยงค์, (มปท., มปป.)

เรื่องที่เกี่ยวข้อง :